https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ข่าวอาเซียนประเทศพม่า อาเซียนประเทศต่างๆ อาเซียนประเทศกัมพูชา ความเป็นมา MUSLIMTHAIPOST

 

ข่าวอาเซียนประเทศพม่า อาเซียนประเทศต่างๆ อาเซียนประเทศกัมพูชา ความเป็นมา


973 ผู้ชม


ข่าวอาเซียนประเทศพม่า อาเซียนประเทศต่างๆ อาเซียนประเทศกัมพูชา ความเป็นมา

 

 


สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
Republic of the Union of Myanmar


ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจีน (๒,๑๘๕ กม.)
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับลาว (๒๓๕ กม.) และไทย (๒,๔๐๑ กม.)
ทิศตะวันตกติดกับอินเดีย (๑,๔๖๓ กม.) และบังกลาเทศ (๑๙๓ กม.)
ทิศใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
พื้นที่ ๖๕๗,๗๔๐ ตารางกิโลเมตร (ประมาณ ๑.๓ เท่าของไทย)
เมืองหลวง นครเนปิดอว์ (Nay Pyi Taw)
(ตามที่ระบุในบทที่ ๑๓ ของรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๑ แต่รัฐบาลพม่ายังไม่ได้แจ้งเวียนให้ทราบอย่างเป็นทางการ)
ประชากร ๕๗.๕ ล้านคน (ปี ๒๕๕๒)
ภาษาราชการ พม่า
ศาสนา ศาสนาพุทธ (ร้อยละ ๙๐) ศาสนาคริสต์ (ร้อยละ ๕) ศาสนาอิสลาม (ร้อยละ ๓.๘) ศาสนาฮินดู (ร้อยละ ๐.๐๕)

หมายเหตุ* เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ รัฐบาลพม่าประกาศเปลี่ยนธงชาติและตราประจำชาติอย่างเป็นทางการ และเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๔ ภายหลังจากการเข้าร่วมพิธีสาบานตนของประธานาธิบดีพม่า รัฐบาลพม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศอย่างเป็นทางการจาก "สหภาพพม่า หรือ Union of Myanmar" ไปใช้ชื่อประเทศใหม่ตามรัฐธรรมนูญคือ “สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์” (the Republic of the Union of Myanmar)
การเมืองการปกครอง
ประมุข พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe)
ผู้นำรัฐบาล นายเต็ง เส่ง (U Thein Sein)
รัฐมนตรีต่างประเทศ นายญาณ วิน (U Nyan Win)
ระบอบการปกครองเผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC) โดยมีประธาน SPDC เป็นประมุขประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล
เขตการปกครอง แบ่งการปกครองเป็น 7 รัฐ (state) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย และ 7 ภาค (division) สำหรับเขตที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า
วันชาติ ๔ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๘ (๒๔๙๑)
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย ๒๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ (๒๔๙๑)
เศรษฐกิจการค้า
หน่วยเงินตรา จั๊ต อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ ๓๒.๘๖ จั๊ตเท่ากับประมาณ ๑ บาท (ณ วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ๒๓.๓ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๕๒)
รายได้ประชาชาติต่อหัว ๔๐๕.๗ ดอลลาร์สหรัฐ (ปี ๒๕๕๒)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ ๔.๔ (ปี ๒๕๕๒)
สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันสำเร็จรูป
สินค้าส่งออกสำคัญ ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์*
ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับพม่า

๑. ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป
ไทยกับพม่าสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๙๑ และได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตของทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๒ ไทยและพม่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน โดยมีความสัมพันธ์กว้างขวางในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ

ปัจจุบัน นายอภิรัฐ เหวียนระวี ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหภาพพม่า และนายอ่อง เต็ง (Aung Thein) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย

เมื่อปี ๒๕๕๑ ไทยและพม่าร่วมกันฉลองครบรอบ ๖๐ ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ร่วมมือกันดำเนินโครงการและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน โครงการที่ฝ่ายไทยให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ได้แก่ (๑) โครงการจัดทำป้ายระบุความสำคัญของต้น พระศรีมหาโพธิ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกไว้ในระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินเยือนพม่าเมื่อปี ๒๕๐๓ รวมทั้งการปรับปรุงภูมิทัศน์ในบริเวณดังกล่าว (๒) โครงการปรับปรุงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลท่าขี้เหล็ก (๓) โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ หู คอ จมูก ในพื้นที่ทุรกันดารของพม่า (๔) โครงการแปลวรรณกรรมราชาธิราชฉบับภาษาพม่าเป็นภาษาไทย (๕) โครงการอบรมแพทย์โรคไซนัสด้วยเครื่อง Endoscope (๖) โครงการปรับปรุงพจนานุกรมภาษาไทย - พม่า และภาษาพม่า - ไทย และ (๗) โครงการให้ความช่วยเหลือโรงพยาบาลแม่และเด็ก กรุงย่างกุ้ง เป็นต้น

ปัจจุบัน มีคนไทยในพม่าประมาณ ๖๐๐ คน ส่วนใหญ่พำนักในกรุงย่างกุ้ง เมืองมัณฑะเลย์ และเมืองตะไน รัฐคะฉิ่น

๒. ความสัมพันธ์ด้านการเมือง
ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือทวิภาคี ได้แก่
๑.๒.๑ คณะกรรมาธิการร่วมไทย - พม่า (Thailand - Myanmar Joint Commission on Bilateral Cooperation - JC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในภาพรวม ได้จัดการประชุมครั้งที่ ๖ เมื่อวันที่ ๗ - ๙ มกราคม ๒๕๔๕ ที่จังหวัดภูเก็ต สำหรับการประชุมครั้งที่ ๗ ซึ่งพม่าจะเป็นเจ้าภาพ พม่าได้เลื่อนออกมาจนถึงขณะนี้

๑.๒.๒ คณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee - JBC) ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนร่วมกัน โดยประชุมครั้งที่ ๖ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน - ๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ ฝ่ายไทยมี ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (ตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นประธานคณะกรรมการฯ ร่วมกับนายหม่อง มิ้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า ปัจจุบัน นายวศิน ธีรเวชญาน เป็นประธานคณะกรรมการฯ ฝ่ายไทยและได้เป็นประธานร่วมเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเขตแดนร่วมอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ที่เมืองเมียวดี โดยมีนายหม่อง มิ้นท์ เป็นประธานร่วมฝ่ายพม่า

๑.๒.๓ คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee - RBC) มีแม่ทัพภาคที่สามของไทยและแม่ทัพภาคสามเหลี่ยมของพม่า (Triangle Commander) เป็นประธานร่วมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน โดยประชุมครั้งที่ ๒๕ เมื่อวันที่ ๖ - ๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ ที่จังหวัดเชียงราย

๑.๒.๔ คณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่น (Township Border Committee - TBC) มีทั้งหมด ๕ แห่ง (อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง) มีผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่เกี่ยวข้องของไทยและผู้บังคับกองพันที่เกี่ยวข้องของพม่าเป็นประธานร่วมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนในระดับท้องถิ่น โดยมีการประชุมอยู่อย่างต่อเนื่อง

๓. ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

๓.๑ การค้า
ไทยและพม่ามีกลไกความร่วมมือในกรอบคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย - พม่า (Joint Trade Commission - JTC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน โดยได้ประชุมครั้งที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒ - ๕ เมษายน ๒๕๕๓ ที่หัวหิน ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์สองฝ่ายได้รับมอบหมายให้เป็นประธานการประชุม โดยฝ่ายพม่ารับที่จะจัดประชุมครั้งที่ ๖ ในเดือนเมษายน ๒๕๕๔ ที่นครเนปิดอว์

ไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ ๑ ของพม่า (ในขณะที่พม่าเป็นคู่ค้าอันดับที่ ๒๓ ของไทย) โดยในปี ๒๕๕๒ มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม ๔,๓๒๖ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี ๒๕๕๑ ร้อยละ ๔.๙ โดยมูลค่าของการค้าของไทยคิดเป็นร้อยละ ๒๖.๓ ของมูลค่าการค้ารวมของพม่าทั้งหมด โดยเป็นการค้าชายแดน ๔,๑๕๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๖๗ ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมด ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า ๑,๒๓๖.๘๘ ล้านดอลลาร์สหรัฐ อันมีปัจจัยหลักมาจากการที่ไทยรับซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่าร้อยละ ๙๑.๓๒ ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ สินค้าไขมันและน้ำมันสำเร็จรูปจากพืชและสัตว์ เครื่องดื่ม ปูนซีเมนต์ สินค้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และสินค้าเคมีภัณฑ์ สินค้าเม็ดพลาสติก และสินค้าที่ไทยนำเข้าจากพม่าที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค สินค้าไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะ และผักผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ เป็นต้น

๓.๒ การลงทุน
ในปัจจุบัน ไทยเป็นประเทศที่ลงทุนในพม่าเป็นอันดับที่ ๑ โดยภาคเอกชนไทยลงทุนในพม่ารวมทั้งสิ้น ๖๑ โครงการ มีมูลค่าการลงทุนสะสมตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ - ๒๕๕๓ คิดเป็นมูลค่า ๙,๕๖๘.๐๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ ๓๐ ของการลงทุนจากต่างประเทศในพม่าทั้งหมด ส่วนประเทศที่ลงทุนในพม่าเป็นอันดับที่ ๒ คือ จีน และอันดับที่ ๓ คือ ฮ่องกง

การลงทุนของไทยในพม่าที่สำคัญ ได้แก่ สาขาพลังงาน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เหมืองแร่ สาขาอุตสาหกรรม ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ปศุสัตว์และประมง การแปรรูปสินค้าเกษตรกรรม และสาขาโรงแรมและการท่องเที่ยว

ไทยและพม่าได้เริ่มเจรจาจัดทำความตกลงการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกันตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ โดยสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในทุกข้อบทในร่างความตกลงฯ เมื่อวันที่ ๑๕ - ๑๖ กันยายน ๒๕๔๘ และได้มีการลงนามในความตกลงดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑ (ยังไม่มีผลบังคับใช้เนื่องจากอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อแลกเปลี่ยนสัตยาบันสาร)

๓.๓ การท่องเที่ยว
ในปี ๒๕๕๒ มีนักท่องเที่ยวชาวพม่ามาไทยจำนวน ๗๙,๒๗๙ คน และในปี ๒๕๕๓ (มกราคม - กันยายน ๒๕๕๓) มีนักท่องเที่ยวพม่าเดินทางมาไทยแล้ว ๓๗,๙๕๙ คน และนักท่องเที่ยวไทยไปพม่า ๓๓,๐๔๘ คน

๓.๔ การพัฒนาโครงข่ายเส้นทางคมนาคม
(๑) การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรมและเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวาย - จังหวัดกาญจนบุรี รัฐบาลไทยสนับสนุนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรมและเส้นทางคมนาคม (ถนน รถไฟ สายส่งไฟฟ้าและท่อก๊าซ/น้ำมัน เชื่อมต่อระหว่างเมืองทวายกับชายแดนไทย/พม่าที่บ้านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี) ตามที่ได้ตกลงในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสร้างท่าเรือน้ำลึกทวายลงนาม เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ ขณะนี้รัฐบาลพม่าและบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเม้นต์ จำกัดอยู่ระหว่างการดำเนินการพัฒนาโครงการในรายละเอียด โครงการนี้เป็นการเชื่อมโยงโครงข่าย economic corridor ระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทยที่ลดระยะเวลาการขนส่งและการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ช่วยรองรับการพัฒนาพื้นที่และความกินดีอยู่ดีของประชาชนทั้งสองฝ่าย

(๒) เส้นทางถนนสามฝ่าย ไทย - พม่า - อินเดีย (เส้นทางแม่สอด/เมียวดี - หมู่บ้านติงกะหยิงหย่อง เชิงเขาตะนาวศรี - กอกะเร็ก - พะอัน - ท่าตอน) รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อก่อสร้างเส้นทางจากแม่สอด/ เมียวดี - หมู่บ้านติงกะหยิงหย่อง เชิงเขาตะนาวศรี ระยะทาง ๑๗.๓๕ กิโลเมตร มูลค่า ๑๒๒.๙ ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๙ ขณะนี้ รัฐบาลไทยเห็นชอบในหลักการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อก่อสร้างถนนช่วงต่อจากหมู่บ้านติงกะหยิงหย่อง เชิงเขาตะนาวศรี - กอกะเร็ก ระยะทาง ๒๘.๖ กิโลเมตร มูลค่า ๘๗๒ ล้านบาท

(๓) สะพานมิตรภาพไทย - พม่าข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ ๑ และแห่งที่ ๒ ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือเพื่อก่อสร้างสะพานฯ แห่งที่ ๑ มูลค่า ๑๐๔.๖ ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๐ ต่อมาในปี ๒๕๔๙ สะพานฯ เกิดชำรุด ขณะนี้กรมทางหลวงอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อซ่อมแซมสะพานฯ แบบถาวร และเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เร่งรัดการก่อสร้างสะพานฯ แห่งที่ ๒ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เจ้าหน้าที่เทคนิคสองฝ่ายอยู่ระหว่างการหารือในรายละเอียด

๔. ความร่วมมือด้านการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า
ไทยและพม่ามีความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้บริการการพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าที่ศูนย์ออกหนังสือเดินทางชั่วคราวที่อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ระหว่างวันที่ ๑ กรกฎาคม - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ ซึ่งการให้บริการดังกล่าวได้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่แรงงานต่างด้าวในการพิสูจน์สัญชาติได้อย่างรวดเร็ว สองฝ่ายจึงเห็นประโยชน์ของการขยายเวลาเปิดบริการของศูนย์ฯ นี้ (ต่อมาได้ขยายเวลาไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๓) ล่าสุด เมื่อวันที่ ๑๔ - ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าได้หารือเรื่องการพิสูจน์สัญชาติและการนำเข้าแรงงานพม่าและร่วมเยี่ยมชมศูนย์ออกหนังสือเดินทางชั่วคราวที่จังหวัดระนอง ปัจจุบัน มีแรงงานพม่าที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วจำนวน ๑๘๘,๓๒๓ คน และยังเหลืออีกจำนวน ๗๐๘,๘๒๖ คน ซึ่งต้องดำเนินการพิสูจน์สัญชาติให้เสร็จ ภายในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ขณะนี้มีการนำเข้าแรงงานพม่าแล้วจำนวน ๕๕๑ คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓)

๕. ความร่วมมือด้านยาเสพติด
ไทยและพม่ามีความร่วมมือด้านการแก้ไขปัญหาเรื่องยาเสพติดอย่างใกล้ชิด และประสบผลสำเร็จในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร อันนำไปสู่การจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดของทั้งสองฝ่ายในหลายโอกาส อีกทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบของทั้งสองฝ่ายมีการประชุมหารือเป็นประจำ นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังดำเนินโครงการความร่วมมือไทย - พม่าด้านการพัฒนาทางเลือก ซึ่งมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการฝึกอบรม ให้คำปรึกษาในการดำเนินโครงการพัฒนาทางเลือกแก่ฝ่ายพม่าต่อไป ล่าสุด สองฝ่ายร่วมประชุมทวิภาคีไทย - พม่า เรื่องความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ ๑๔ เมื่อวันที่ ๑๔ - ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ที่เมืองมัณฑะเลย์

๖. ความร่วมมือทางวิชาการ
ไทยให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาในหลายโครงการ ทั้งด้านสาธารณสุข (โครงการยกระดับโรงพยาบาลท่าขี้เหล็ก หน่วยแพทย์เคลื่อนที่หู คอ จมูก การบริจาคเงินให้โรงพยาบาลต่าง ๆ) ด้านการเกษตร (โครงการพัฒนาระบบปศุสัตว์ตามแนวชายแดน) และด้านการศึกษา (ทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโทและการฝึกอบรม) ผ่านสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ที่ได้ดำเนินการมาแล้วกว่า ๒๐ ปี มอบทุนไปแล้วกว่า ๑,๕๐๐ ทุน ในวงเงินงบประมาณประมาณ ๕๕๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๒ คิดเป็นมูลค่ารวม ๕๓ ล้านบาท รวมทั้งความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทางเลือกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือเพื่อปราบปรามยาเสพติดตามโครงการบ้านยองข่า ดำเนินการโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และอยู่ระหว่างการผลักดันให้โครงการหมู่บ้านหนองตะยาเกิดผลเป็นรูปธรรม

๗. ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาและด้านมนุษยธรรม
ไทยเป็นประเทศแรกที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมในกรณีที่พม่าประสบภัยพิบัติจากพายุไซโคลนนาร์กีส เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ไทยให้ความช่วยเหลือคิดเป็นมูลค่าประมาณ ๙๖๔.๓๖ ล้านบาท (๒๙.๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และจนถึงปัจจุบันไทยยังให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูและบูรณะประเทศในลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โครงการตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เช่น โครงการก่อสร้างโรงเรียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นสถานที่หลบภัยได้ที่หมู่บ้านกะดงกะนี โครงการก่อสร้างศูนย์อนามัยที่หมู่บ้านตามาน โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลขนาด ๑๖ เตียงที่หมู่บ้านดอเยง การปรับปรุงศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และในระยะต่อไป จะเน้นการพัฒนาบุคลากรและเพิ่มขีดความสามารถแก่ชุมชนท้องที่ เช่น การฟื้นฟูภาคการเกษตร การสร้างศูนย์อนามัย การบูรณะศาสนสถาน การฝึกอบรมครูที่โรงเรียนบ้านกะดงกะนี และแผนงานการพัฒนาศักยภาพด้านอุตุนิยมวิทยา ระบบการเตือนภัย เป็นต้น

๘. ความร่วมมือด้านสังคม วัฒนธรรมและสาธารณสุข
ไทยส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน และการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกันผ่านความร่วมมือทางวัฒนธรรม เช่น กระทรวงการต่างประเทศได้อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายยังวัดในพม่าเป็นประจำทุกปี (ปี ๒๕๕๓ กำหนดจัดในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน) และสมาคมไทย - พม่าเพื่อมิตรภาพยังจัดการทอดกฐินสามัคคีที่พม่าต่อเนื่องทุกปีด้วยเช่นกัน (ปี ๒๕๕๓ กำหนดจัดในวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) นอกจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้จัดทำโครงการฝึกอบรมล่ามภาษาไทย - พม่าให้แก่เจ้าหน้าที่/บุคลากรไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร (เมื่อวันที่ ๗ - ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๓) และการสัมมนาทางวิชาการความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับพม่า ในวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๓ และสมาคมไทย - พม่าเพื่อมิตรภาพมีโครงการนำนักศึกษาพม่าเยือนไทย ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ มีแผนงานจะจัดโครงการนำแพทย์พม่ามาฝึกอบรมที่ประเทศไทย และโครงการสนับสนุนการเตรียมการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ของพม่าในปี ๒๕๕๖

๙. ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย
๙.๑ ความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๓๒)
๙.๒ บันทึกความเข้าใจเพื่อการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย - พม่า (ลงนามเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓)
๙.๓ บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (ลงนามเมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๓๓)
๙.๔ บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าเกี่ยวกับเขตแดนคงที่ช่วงแม่น้ำสาย - แม่น้ำสบรวก (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๓๔)
๙.๕ ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย - พม่า (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๓๖)
๙.๖ ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าว่าด้วยการก่อสร้าง กรรมสิทธิ์ การจัดการและบำรุงรักษาสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำเมย/ทองยิน (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๗)
๙.๗ ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าเพื่อการค้าชายแดนระหว่างประเทศทั้งสอง (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๙)
๙.๘ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการธนาคาร (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๙)
๙.๙ หนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับพม่าว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสอง (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐)
๙.๑๐ บันทึกความเข้าใจเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจากพม่า (ลงนามเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐)
๙.๑๑ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๑)
๙.๑๒ ความตกลงด้านวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่า (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๒)
๙.๑๓ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและสารตั้งต้น (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๔)
๙.๑๔ ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (ลงนามเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕)
๙.๑๕ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงาน (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๖)
๙.๑๖ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กับคณะกรรมาธิการการลงทุนของพม่า (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗)
๙.๑๗ บันทึกความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานระหว่างสหภาพพม่า - ไทย (ลงนามเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๗)
๙.๑๘ หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกงานก่อสร้างถนนในสหภาพพม่าสายเมียวดี - เชิงเขาตะนาวศรี (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗)
๙.๑๙ บันทึกความเข้าใจความร่วมมือไทย - พม่าว่าด้วยการจัดการทรัพยากรน้ำ (ลงนามเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
๙.๒๐ บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพลังงานและกระทรวงพลังงานไฟฟ้าพม่าว่าด้วยความร่วมมือในโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่ลุ่มน้ำสาละวินและลุ่มน้ำตะนาวศรี (ลงนามเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๘)
๙.๒๑ บันทึกความเข้าใจเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมทางการเงินเพื่อการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน ระหว่างสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กับ Central Control Board on Money Laundering พม่า (ลงนามเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๘)
๙.๒๒ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรไทย - พม่า (ลงนามเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๘)
๙.๒๓ บันทึกความตกลงว่าด้วยการก่อสร้าง การถือครองกรรมสิทธิ์และการบริหารจัดการโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำฮัจจี (ลงนามเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๘)
๙.๒๔ ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑)
๙.๒๕ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๑)
๙.๒๖ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะหญิงและเด็ก (ลงนามเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๒)
๙.๒๗ บันทึกความเข้าใจด้านความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างสภาธุรกิจไทย - พม่ากับสภาธุรกิจพม่า - ไทย (ลงนามเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๓)

๑๐.การเยือนที่สำคัญ
๑๐.๑ ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๒ - ๕ มีนาคม ๒๕๐๓

- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
๑) เสด็จพระราชดำเนินเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ - ๕ มีนาคม ๒๕๓๑
๒) เสด็จพระราชดำเนินเยือนพม่าเป็นการส่วนพระองค์เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๑
๓) ทรงฝึกทำการบินไปยังพม่า ๓ ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 18 ๑๘ มกราคม ๒๕๕๐ (กรุงย่างกุ้ง) วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๑ (กรุงย่างกุ้ง) และวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๑ (เมืองมัณฑะเลย์)

- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๑) เสด็จพระราชดำเนินเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๙
๒) เสด็จพระราชดำเนินเยือนพม่าเป็นการส่วนพระองค์ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ ๓ - ๔ มีนาคม ๒๕๓๗ (เมืองเชียงตุง) และเมื่อวันที่ ๑๐ - ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๖ (กรุงย่างกุ้ง เมืองมัณฑะเลย์ เมืองมูเซ เมืองมิตจิน่า เมืองพุเตา เมืองเมียะอู)
๓) เสด็จพระราชดำเนินเยือนพม่าในลักษณะ goodwill private visit เพื่อทอดพระเนตรโครงการฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่หลังเหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กีส และการปรับปรุงศูนย์โลหิตแห่งชาติ (กรุงย่างกุ้ง นครเนปิดอว์ เมืองเพียพน เมืองโบกาเล รัฐมอญ) เมื่อวันที่ ๑๕ - ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓
รัฐบาล

นายกรัฐมนตรี / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ ๒๙ - ๓๐ เมษายน ๒๕๔๔ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมประชุม AMM Informal Retreat ที่กรุงย่างกุ้ง
- วันที่ ๑ - ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๔ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๑๙ - ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๔ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๔ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือน เมืองท่าขี้เหล็กเพื่อพบกับ พล.ท. ขิ่น ยุ้น เลขาธิการ ๑ SPDC และกำหนดจุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ ๒
- วันที่ ๕ - ๖ เมษายน ๒๕๔๕ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ๓ ฝ่าย ไทย - พม่า - อินเดีย ครั้งที่ ๑ เรื่องการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ที่กรุงย่างกุ้ง
- วันที่ ๕ - ๖ สิงหาคม ๒๕๔๕ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือน (working visit) ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า ที่กรุงย่างกุ้ง
- วันที่ ๙ - ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเยือนพม่าในลักษณะ retreat ที่เมืองงาปาลี
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนเมืองท่าขี้เหล็กเพื่อลงนามความตกลงว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ ๒ และวางศิลาฤกษ์งานก่อสร้างสะพาน
- วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนพม่าในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี ที่กรุงย่างกุ้ง
- วันที่ ๑๐ - ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุม ACMECS Summit ที่เมืองพุกาม
- วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๗ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนพม่าในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี ที่กรุงย่างกุ้ง
- วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๗ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุม World Buddhist Summit ที่กรุงย่างกุ้ง
- วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เยือนพม่าในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี ที่กรุงย่างกุ้ง
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม - ๑ กันยายน ๒๕๔๘ นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๙ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเยือนนครเนปิดอว์
- วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๒๓ - ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๒๒ - ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๒ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนพม่าอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วม การประชุมรัฐมนตรี BIMSTEC ครั้งที่ ๑๒ ที่นครเนปิดอว์
- วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเยือนพม่าอย่างเป็นทางการ

๑๐.๒ ฝ่ายพม่า
- วันที่ ๘ - ๙ มีนาคม ๒๕๔๒ พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย SPDC/ นายกรัฐมนตรีพม่าเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๓ - ๕ กันยายน ๒๕๔๔ พล.อ.ขิ่น ยุ้น เลขาธิการ - ๑ SPDC เยือนไทย
- วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๔ พล.อ.ขิ่น ยุ้น เลขาธิการ ๑ SPDC เดินทางมาที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อกำหนดจุดที่จะก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ ๒
- วันที่ ๒๓ - ๒๖ เมษายน ๒๕๔๕ รอง พล.อ.อาวุโส หม่อง เอ รอง SPDC เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๖ พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย SPDC/ นายกรัฐมนตรีพม่าเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ พล.อ.ขิ่น ยุ้น เลขาธิการ - ๑ SPDC เดินทางมาที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อทำพิธีวางศิลาฤกษ์งานก่อสร้างสะพาน
- วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ พล.อ.ขิ่น ยุ้น นายกรัฐมนตรี เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๓๐ - ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ พล.อ.ขิ่น ยุ้น นายกรัฐมนตรี เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุม BIMST-EC Summit ที่กรุงเทพฯ
- วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๙ นายญาน วิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนไทยเพื่อเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ ๒ ที่จังหวัดเชียงราย
- วันที่ ๒๙ เมษายน - ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑ พล.อ.เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรี เยือนไทยอย่างเป็นทางการ
- วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ - ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ พล.อ.เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่อำเภอชะอำ/หัวหิน และได้หารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
- วันที่ ๙ - ๑๑ เมษายน ๒๕๕๒ พล.อ.เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
- วันที่ ๑๗ - ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒ นายญาน วิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๔๒ และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ที่จังหวัดภูเก็ต
- วันที่ ๒๓ - ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ พล.อ.เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่อำเภอชะอำ/หัวหิน และได้หารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๒

แหล่งที่มา : sites.google.com

อัพเดทล่าสุด