https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การปลูกถั่วเขียว ถั่วเขียวต้ม อ้วนหรือไม่ ประโยชน์ของถั่วเขียวต้มน้ำตาล MUSLIMTHAIPOST

 

การปลูกถั่วเขียว ถั่วเขียวต้ม อ้วนหรือไม่ ประโยชน์ของถั่วเขียวต้มน้ำตาล


692 ผู้ชม


การปลูกถั่วเขียว ถั่วเขียวต้ม อ้วนหรือไม่ ประโยชน์ของถั่วเขียวต้มน้ำตาล


“ถั่วเขียว” อาหารสุขภาพดี

เลือกรับโปรตีนจากพืชแทนเนื้อสัตว์

 การปลูกถั่วเขียว	ถั่วเขียวต้ม อ้วนหรือไม่ ประโยชน์ของถั่วเขียวต้มน้ำตาล 

เห็นหน้าตาบ้านๆ อย่างนี้ “ถั่วเขียว” ไม่ได้เป็นอาหารแต่เฉพาะของพวกเราชาวไทย แต่ถั่วเม็ดกลมๆ เล็กๆ ชนิดนี้ปลูกกันทั่วไปในพื้นที่เขตร้อน

ไม่ว่าจะเป็นจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า บังกลาเทศ อินเดีย ลามไปถึงทางตอนใต้ของแถบยุโรป และอเมริกาใต้ด้วย

องค์ประกอบที่สำคัญของถั่วเขียวคือ แป้ง (62.7%) โปรตีน (21.7%) ความชื้น (10.2%) และไขมัน (1.5%) จึงพอจะสรุปได้ว่าถั่วเขียวไม่ใช่พืชที่ให้น้ำมันหรือโปรตีนเป็นหลัก แต่ก็ถือว่ามีโปรตีนสูงเมื่อเทียบกับบรรดาถั่วทั้งหลาย แล้วพอมีแป้งอยู่เยอะ ถั่วเขียวเลยถูกนำไปเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมแป้งถั่วเขียว ที่เอาไปทำวุ้นเส้น หรือซ่าหริ่ม

มีงานวิจัยพบว่า วุ้นเส้นให้ค่าการตอบสนองต่อน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อเทียบกับอาหารคาร์โบไฮเดรตอื่นๆ อย่างข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ หรือเส้นหมี่ จึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าแป้งมีผลต่อระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด เพราะคาร์โบไฮเดรตที่บริโภคเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดที่มีความสัมพันธ์กับโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด

อย่างไรก็ตาม การบริโภคถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์จากถั่วเขียว ควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะถ้ากินมากเกินพอดีก็จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเกินกว่าที่ร่างกายต้องการใช้ และถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นอันว่ากินถั่วเขียว หรือวุ้นเส้นแล้วอย่านึกว่าไม่อ้วน มากเกินไปก็อ้วนได้เหมือนกัน

ในเมื่อถั่วเขียวมีโปรตีนสูงเมื่อเทียบกับถั่วเมล็ดแห้งอื่นๆ จึงนับว่าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนได้ นอกจากนี้ โปรตีนจากถั่วเขียวยังมีราคาถูกเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ การเลือกรับประทานโปรตีนจากพืชแทนเนื้อสัตว์ ช่วยสามารถหลีกเลี่ยงการรับไขมันเกินความจำเป็นได้ด้วย ถั่วเขียวยังมีวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด ที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น วิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก แคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งจำเป็นต่อความแข็งแรงของกระดูก และธาตุเหล็กซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดง ยังมีใยอาหารช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด และลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย

-ถั่วเขียว จึงเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และทำอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่ ถั่วเขียวต้มน้ำตาล หรือเมนูอาหารคาวก็ต้องตำรับคลาสสิกจากเมืองจีน...ผัดถั่วงอก แต่ถ้าอยากประยุกต์จานเด็ดแบบตะวันตก 'ถั่วงอกแนวฟิวชั่น' ใช้เป็นส่วนผสมของสลัดจานโปรดก็ไม่ผิด

- ถั่วงอก คือ ถั่วเขียวที่เพาะให้งอกราก ขึ้นง่าย ประหยัดเวลาและสตางค์ แต่มีข้อมูลว่าถั่วงอกส่วนใหญ่ที่วางจำหน่ายนั้นมีสารปนเปื้อนอยู่เพียบ เนื่องจากผู้ขายอยากให้ดูน่ากินกรุบกรอบ ขาว อวบ และมีคุณสมบัติคงทนเหี่ยวช้าเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางไกล ผู้บริโภคเลยรับสารเคมีไปเต็ม ๆ ไม่ว่าจะเป็นสารเร่ง สารอ้วน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟด์) สารคงความสด (ฟอร์มาลิน) สารเคมีพวกนี้กระทรวงสาธารณสุขห้ามใช้กับอาหาร เพราะมีอันตรายต่อร่างกาย รับประทานเข้าไปแล้วอาจมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาทและอาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตกันเลยทีเดียว

ในเมื่อถั่วงอกปลูกง่าย ทางที่ดีปลูกกินเองในบ้าน แค่ 3 วัน ก็ได้กินแล้ว สมัยเรียนประถมหลายคนต้องเคยปลูก ถ้าจำได้ก็ลงมือขุดดินหลังบ้านกันเลย...

- ถั่วเขียวต้มน้ำตาล

ส่วนผสม ถั่วเขียว 1 ถ้วยน้ำตาลทราย 2/3 ถ้วย น้ำเปล่า 5 ถ้วย

- วิธีทำ ล้างถั่วเขียว คัดเอาเม็ดเสียๆ ออก แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง แล้วเอาถั่วเขียวใส่หม้อตุ๋นเล็กๆ เติมน้ำตาลและน้ำลงไป ตุ๋นประมาณ 1 ชั่วโมง ตักเอาฟองออก ตุ๋นต่อจนครบ 2-3 ชั่วโมง ระดับความเปื่อยตามชอบ


แหล่งที่มา : thaihealth.or.th

อัพเดทล่าสุด