https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคงูสวัด อาการ แนวทางการรักษาโรคงูสวัด โรคงูสวัดห้ามกินอะไร MUSLIMTHAIPOST

 

โรคงูสวัด อาการ แนวทางการรักษาโรคงูสวัด โรคงูสวัดห้ามกินอะไร


19,831 ผู้ชม


โรคงูสวัด อาการ แนวทางการรักษาโรคงูสวัด โรคงูสวัดห้ามกินอะไร

 

โรคงูสวัด  (Herpes Zoster)

สาเหตุ

            เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า "วาริเซลลาซอสเตอร์ (วี-แซด) ไวรัส" ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ครั้งแรกจะแสดงอาการของไข้สุกใส (ซึ่งมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก)  ส่วนน้อยอาจไม่มีอาการแสดงให้ปรากฏ ดังนั้นผู้ป่วยจึงมักมีประวัติเคยเป็นไข้สุกใสมาก่อน หลังจากหายจากไข้สุกใสแล้ว เชื้อจะหลบซ่อน และแฝงตัวอยู่บริเวณปมประสาทใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจนานหลายปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ             

เมื่อร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เช่น อายุมาก ถูกกระทบกระเทือน มีความเครียด ทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ  โรคเอดส์ หรือโรคมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน เป็นต้น เชื้อที่แฝงตัวอยู่นั้นก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และกระจายในปมประสาท ทำให้เส้นประสาทอักเสบ  (เกิดอาการปวดตามแนวเส้นประสาท) เชื้อจะกระจายไปตามเส้นประสาทที่อักเสบ  และปล่อยเชื้อไวรัสออกมาที่ผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวยาวตามแนวเส้นประสาท คล้ายกับรูปร่างของงู  จึงเรียกว่า โรคงูสวัด

 อาการ

             ก่อนมีผื่นขึ้น 1-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแปล๊บ คล้ายถูกไฟช็อตในบริเวณที่ผื่นจะขึ้น ซึ่งเป็นบริเวณปมประสาทที่มีเชื้อไวรัสแฝงตัวอยู่ อาจมีอาการคันและแสบร้อนร่วมด้วย เป็นพักๆ หรือตลอดเวลา บางรายอาจมีไข้ หนาวสั่น ร่วมได้  ผื่นมักเริ่มขึ้นตรงบริเวณที่มีอาการ ลักษณะเป็นผื่นแดงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ต่อมากลายเป็นตุ่มน้ำใสเรียงตามแนวผิวหนังซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ตามแนวที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทที่อักเสบ ตุ่มน้ำมักทยอยขึ้นใน 4 วันแรก แล้วค่อยๆ แห้งตกสะเก็ดใน 7-10 วัน เมื่อตกสะเก็ดและหลุดออกไป อาการปวดจะทุเลาไป รวมแล้วจะมีผื่นอยู่นาน 10-15 วัน ผู้ที่มีอายุมากอาจ มีอาการนานเป็นเดือนกว่าจะหาย

งูสวัดพันตัวแล้วทำให้ตายหรือไม่

โรคงูสวัดไม่ทำให้ตาย และสามารถหายได้เองในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานปกติ   โดยผื่นในโรคงูสวัดนั้น จะไม่สามารถพันตัวเราจนครบรอบเอวได้เพราะแนวเส้นประสาทของตัวเรา จะมาสิ้นสุดที่บริเวณกึ่งกลางลำตัวเท่านั้น  ดังนั้นในคนธรรมดาที่มีภูมิต้านทานปกติ งูสวัดจะไม่ลุกลามเกินแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่งของร่างกาย

ยกเว้นในกรณีที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้ยากดภูมิต้านทาน               ผื่นอาจปรากฏขึ้นสองข้างพร้อมกัน ทำให้ดูเหมือนงูสวัดพันรอบตัวได้ บางครั้งในรายที่เป็นรุนแรงอาจเกิดผื่นงูสวัดแบบ แพร่กระจาย ผื่นอาจลุกลามเข้าสู่สมองและอวัยวะภายในอื่นๆ เช่นปอดหรือตับเป็นต้น  ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้    

 งูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่

             ในคนที่ภูมิคุ้มกันปกติ การสัมผัสหรือใกล้ชิดไม่ได้ทำให้ติดงูสวัด เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยงูสวัดนั้นเกิดยาก เพราะงูสวัดจะแพร่เชื้อในระยะที่ตุ่มน้ำแตกและสัมผัสสารคัดหลั่งจากตุ่มน้ำโดยตรง จึงสามารถที่จะสัมผัส ใกล้ชิด กินข้าวร่วมกับผู้ป่วยได้ตามปกติ   ยกเว้นในคนที่ยังไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อน หากสัมผัสคนที่เป็นงูสวัดก็จะได้รับเชื้อและเป็นไข้สุกใสได้

            แต่ในผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดแบบแพร่กระจายอาจสามารถแพร่เชื้อทางลมหายใจได้ด้วย

การรักษา
                การรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด ลดไข้ เป็นต้นเนื่องจากโรคงูสวัดสามารถหายได้เองเมื่อผู้ป่วยมีภูมิต้านทานดี เช่น พักผ่อนเพียงพอ ในบางครั้งหากผื่นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เป็นหนอง การใช้ยาปฏิชีวนะแบบทา หรือรับประทานจะมีประโยชน์     สำหรับผู้สูงอายุ หรืออายุมากกว่า 50 ปี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก หรือมีอาการปวดรุนแรงตั้งแต่แรกที่มีผื่นขึ้น การใช้ยาต้านไวรัสแบบรับประทาน ที่ใช้บ่อยคือยา อะไซโคลเวียร์  ครั้งละ 800 มก. วันละ 5 ครั้ง ทุก 4ชั่วโมง (เว้นมื้อดึก 1 มื้อ) การให้ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังเกิดอาการจะมีประโยชน์ในการลดความรุนแรง และช่วยให้หายเร็วขึ้น รวมทั้งลดภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้         ในรายที่รุนแรง แบบแพร่กระจายหรือเข้าตา แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสในรูปแบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำ

ภาวะแทรกซ้อน
        ที่พบบ่อยคือ อาการปวดตามแนวประสาทหลังเป็นงูสวัด

โดยเฉลี่ยพบได้ประมาณร้อยละ 10-15 ของผู้ป่วยงูสวัด พบได้ประมาณร้อยละ 50 ในผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป และมากกว่าร้อยละ 70 ในผู้ป่วยอายุ 70  ปีขึ้นไป โดยยิ่งอายุมากยิ่งเป็นรุนแรงและนาน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่แรก  หรือเกิดขึ้นภายหลังผื่นหายหมดแล้วก็ได้ มีลักษณะปวด ลึกๆ แบบปวดแสบปวดร้อนตลอดเวลา หรือปวดแบบแปลบๆ เสียวๆ (คล้ายถูกมีดแทง) เป็นพักๆ ก็ได้ มักปวดเวลาถูกสัมผัสเพียงเบาๆ ปวดมากตอนกลางคืนหรือเวลาอากาศเปลี่ยนแปลง บางครั้งอาจรุนแรงมากจนทนไม่ได้ อาการปวดมักหายได้เอง (ร้อยละ 50 หายเองภายใน 3 เดือน และร้อยละ 75 จะหายเองภายใน 1ปี)    บางรายอาจปวดนานหลายปี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งถ้าขึ้นที่บริเวณใบหน้า

 การปฏิบัติตนเมื่อพบว่าเป็นงูสวัด

       1)  รักษาแผลให้สะอาด ในระยะเป็นตุ่มน้ำใสที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ หรือ กรดบอริก 3% ปิดประคบไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วชุบเปลี่ยนใหม่ ทำวันละ 3-4 ครั้ง ในระยะตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลต้องระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่จะเข้าสู่แผลได้ ควรใช้น้ำเกลือสะอาดชะแผล แล้วปิดด้วยผ้าก๊อซสะอาด                                                           

       2)  ถ้าปวดแผลมากสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ได้

       3)  ไม่ควรใช้เล็บแกะเกาตุ่มงูสวัดเพราะอาจทำให้ มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กลายเป็นตุ่มหนอง แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็น

      4)  การรับประทานอาหาร  สามารถรับประทานได้ทุกอย่าง โดยไม่มีข้อห้าม

        5)  ไม่ควรเป่า หรือพ่นยาลงบนแผล เพราะจะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็น

 ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นงูสวัดแล้วต้องมาพบแพทย์ทันที

      1)  ผู้สูงอายุ มากกว่า 50 ปีชึ้นไป

       2)   ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ จากการได้ยากดภูมิต้านทาน ได้แก่ ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือจากการได้รับการฉายรังสี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งของต่อมน้ำเหลือง หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นต้น

       3)  มีผื่นงูสวัดที่จมูก หรือใกล้ตา เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะลามเข้าตาได้ ทำให้เกิดกระจกตาอักเสบ แผลกระจกตา ม่านตาอักเสบ ต้อหิน  ประสาทตาอักเสบ หรือตาบอดในที่สุด

        4)  มีผื่นงูสวัดที่ใบหน้า,บริเวณหูด้านนอกหรือแก้วหู  เพราะอาจทำให้เกิดอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก บ้านหมุน คลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรืออาเจียน ได้

        5) มีผื่นงูสวัดที่เข้าได้กับผื่นแบบแพร่กระจาย

โรคงูสวัด  (Herpes Zoster)

สาเหตุ


           เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า "วาริเซลลาซอสเตอร์ (วี-แซด) ไวรัส" ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ครั้งแรกจะแสดงอาการของไข้สุกใส (ซึ่งมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก)  ส่วนน้อยอาจไม่มีอาการแสดงให้ปรากฏ ดังนั้นผู้ป่วยจึงมักมีประวัติเคยเป็นไข้สุกใสมาก่อน หลังจากหายจากไข้สุกใสแล้ว เชื้อจะหลบซ่อน และแฝงตัวอยู่บริเวณปมประสาทใต้ผิวหนัง ซึ่งอาจนานหลายปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ             

เมื่อร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เช่น อายุมาก ถูกกระทบกระเทือน มีความเครียด ทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ  โรคเอดส์ หรือโรคมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน เป็นต้น เชื้อที่แฝงตัวอยู่นั้นก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และกระจายในปมประสาท ทำให้เส้นประสาทอักเสบ  (เกิดอาการปวดตามแนวเส้นประสาท) เชื้อจะกระจายไปตามเส้นประสาทที่อักเสบ  และปล่อยเชื้อไวรัสออกมาที่ผิวหนัง เกิดเป็นตุ่มใสเรียงเป็นแนวยาวตามแนวเส้นประสาท คล้ายกับรูปร่างของงู  จึงเรียกว่า โรคงูสวัด

 

อาการ


             ก่อนมีผื่นขึ้น 1-3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแปล๊บ คล้ายถูกไฟช็อตในบริเวณที่ผื่นจะขึ้น ซึ่งเป็นบริเวณปมประสาทที่มีเชื้อไวรัสแฝงตัวอยู่ อาจมีอาการคันและแสบร้อนร่วมด้วย เป็นพักๆ หรือตลอดเวลา บางรายอาจมีไข้ หนาวสั่น ร่วมได้  ผื่นมักเริ่มขึ้นตรงบริเวณที่มีอาการ ลักษณะเป็นผื่นแดงอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ต่อมากลายเป็นตุ่มน้ำใสเรียงตามแนวผิวหนังซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ตามแนวที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทที่อักเสบ ตุ่มน้ำมักทยอยขึ้นใน 4 วันแรก แล้วค่อยๆ แห้งตกสะเก็ดใน 7-10 วัน เมื่อตกสะเก็ดและหลุดออกไป อาการปวดจะทุเลาไป รวมแล้วจะมีผื่นอยู่นาน 10-15 วัน ผู้ที่มีอายุมากอาจ มีอาการนานเป็นเดือนกว่าจะหาย

 

งูสวัดพันตัวแล้วทำให้ตายหรือไม่

โรคงูสวัดไม่ทำให้ตาย และสามารถหายได้เองในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานปกติ   โดยผื่นในโรคงูสวัดนั้น จะไม่สามารถพันตัวเราจนครบรอบเอวได้เพราะแนวเส้นประสาทของตัวเรา จะมาสิ้นสุดที่บริเวณกึ่งกลางลำตัวเท่านั้น  ดังนั้นในคนธรรมดาที่มีภูมิต้านทานปกติ งูสวัดจะไม่ลุกลามเกินแนวกึ่งกลางลำตัวไปอีกซีกหนึ่งของร่างกาย

ยกเว้นในกรณีที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้ยากดภูมิต้านทาน               ผื่นอาจปรากฏขึ้นสองข้างพร้อมกัน ทำให้ดูเหมือนงูสวัดพันรอบตัวได้ บางครั้งในรายที่เป็นรุนแรงอาจเกิดผื่นงูสวัดแบบ แพร่กระจาย ผื่นอาจลุกลามเข้าสู่สมองและอวัยวะภายในอื่นๆ เช่นปอดหรือตับเป็นต้น  ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้    

 

งูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่

             ในคนที่ภูมิคุ้มกันปกติ การสัมผัสหรือใกล้ชิดไม่ได้ทำให้ติดงูสวัด เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยงูสวัดนั้นเกิดยาก เพราะงูสวัดจะแพร่เชื้อในระยะที่ตุ่มน้ำแตกและสัมผัสสารคัดหลั่งจากตุ่มน้ำโดยตรง จึงสามารถที่จะสัมผัส ใกล้ชิด กินข้าวร่วมกับผู้ป่วยได้ตามปกติ   ยกเว้นในคนที่ยังไม่เคยเป็นโรคสุกใสมาก่อน หากสัมผัสคนที่เป็นงูสวัดก็จะได้รับเชื้อและเป็นไข้สุกใสได้

            แต่ในผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดแบบแพร่กระจายอาจสามารถแพร่เชื้อทางลมหายใจได้ด้วย

การรักษา
                การรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด ลดไข้ เป็นต้นเนื่องจากโรคงูสวัดสามารถหายได้เองเมื่อผู้ป่วยมีภูมิต้านทานดี เช่น พักผ่อนเพียงพอ ในบางครั้งหากผื่นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เป็นหนอง การใช้ยาปฏิชีวนะแบบทา หรือรับประทานจะมีประโยชน์                                                                             สำหรับผู้สูงอายุ หรืออายุมากกว่า 50 ปี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมาก หรือมีอาการปวดรุนแรงตั้งแต่แรกที่มีผื่นขึ้น การใช้ยาต้านไวรัสแบบรับประทาน ที่ใช้บ่อยคือยา อะไซโคลเวียร์  ครั้งละ 800 มก. วันละ 5 ครั้ง ทุก 4ชั่วโมง (เว้นมื้อดึก 1 มื้อ) การให้ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังเกิดอาการจะมีประโยชน์ในการลดความรุนแรง และช่วยให้หายเร็วขึ้น รวมทั้งลดภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้         ในรายที่รุนแรง แบบแพร่กระจายหรือเข้าตา แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสในรูปแบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำ

ภาวะแทรกซ้อน
        ที่พบบ่อยคือ อาการปวดตามแนวประสาทหลังเป็นงูสวัด

โดยเฉลี่ยพบได้ประมาณร้อยละ 10-15 ของผู้ป่วยงูสวัด พบได้ประมาณร้อยละ 50 ในผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป และมากกว่าร้อยละ 70 ในผู้ป่วยอายุ 70  ปีขึ้นไป โดยยิ่งอายุมากยิ่งเป็นรุนแรงและนาน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่แรก  หรือเกิดขึ้นภายหลังผื่นหายหมดแล้วก็ได้ มีลักษณะปวด ลึกๆ แบบปวดแสบปวดร้อนตลอดเวลา หรือปวดแบบแปลบๆ เสียวๆ (คล้ายถูกมีดแทง) เป็นพักๆ ก็ได้ มักปวดเวลาถูกสัมผัสเพียงเบาๆ ปวดมากตอนกลางคืนหรือเวลาอากาศเปลี่ยนแปลง บางครั้งอาจรุนแรงมากจนทนไม่ได้ อาการปวดมักหายได้เอง (ร้อยละ 50 หายเองภายใน 3 เดือน และร้อยละ 75 จะหายเองภายใน 1ปี)    บางรายอาจปวดนานหลายปี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งถ้าขึ้นที่บริเวณใบหน้า

 

การปฏิบัติตนเมื่อพบว่าเป็นงูสวัด

       1)  รักษาแผลให้สะอาด ในระยะเป็นตุ่มน้ำใสที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ หรือ กรดบอริก 3% ปิดประคบไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วชุบเปลี่ยนใหม่ ทำวันละ 3-4 ครั้ง ในระยะตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลต้องระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่จะเข้าสู่แผลได้ ควรใช้น้ำเกลือสะอาดชะแผล แล้วปิดด้วยผ้าก๊อซสะอาด                                                           

       2)  ถ้าปวดแผลมากสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ได้

       3)  ไม่ควรใช้เล็บแกะเกาตุ่มงูสวัดเพราะอาจทำให้ มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กลายเป็นตุ่มหนอง แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็น

      4)  การรับประทานอาหาร  สามารถรับประทานได้ทุกอย่าง โดยไม่มีข้อห้าม

        5)  ไม่ควรเป่า หรือพ่นยาลงบนแผล เพราะจะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน แผลหายช้า และกลายเป็นแผลเป็น

 

ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นงูสวัดแล้วต้องมาพบ 

 แพทย์ทันที

      1)  ผู้สูงอายุ มากกว่า 50 ปีชึ้นไป

       2)   ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ จากการได้ยากดภูมิต้านทาน ได้แก่ ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือจากการได้รับการฉายรังสี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งของต่อมน้ำเหลือง หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นต้น

       3)  มีผื่นงูสวัดที่จมูก หรือใกล้ตา เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะลามเข้าตาได้ ทำให้เกิดกระจกตาอักเสบ แผลกระจกตา ม่านตาอักเสบ ต้อหิน  ประสาทตาอักเสบ หรือตาบอดในที่สุด

        4)  มีผื่นงูสวัดที่ใบหน้า,บริเวณหูด้านนอกหรือแก้วหู  เพราะอาจทำให้เกิดอัมพาตใบหน้าครึ่งซีก บ้านหมุน

คลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรืออาเจียน ได้

        5) มีผื่นงูสวัดที่เข้าได้กับผื่นแบบแพร่กระจาย

        6) มีอาการปวดรุนแรงซึ่งกระทบต่อชีวิตประจำวัน

 

ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานหนัก จะกระตุ้นให้เกิดงูสวัดได้

 

แหล่งที่มา : ra.mahidol.ac.th

อัพเดทล่าสุด