https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สาเหตุโรคเบาหวาน การดูแลรักษาโรคเบาหวาน ประกันโรคเบาหวาน MUSLIMTHAIPOST

 

สาเหตุโรคเบาหวาน การดูแลรักษาโรคเบาหวาน ประกันโรคเบาหวาน


670 ผู้ชม


สาเหตุโรคเบาหวาน การดูแลรักษาโรคเบาหวาน ประกันโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน (Diabetes)

สาเหตุโรคเบาหวาน การดูแลรักษาโรคเบาหวาน ประกันโรคเบาหวาน
    เป็นโรคที่เกิดจากการผิดปกติของการเผาผลาญสารคาร์โบไฮเดรต เนื่องจากการขาดสารอินซุลินซึ่งผลิตโดยตับอ่อน
    อาการเฉพาะของโรค
    คือ มีจำนวนน้ำตาลสูงในเลือดและมีในปัสวะ

สาเหตุของโรคเบาหวาน


       1. เกิดจากพันธุกรรม จากการศึกษาพบว่า บิดา มารดา หรือญาติพี่น้อง เป็นโรคเบาหวาน จะมีโอกาส ถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้
       2. คนอ้วน มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนไม่อ้วน 80% ของผู้เป็นโรคเบาหวาน
       3. ความเสื่อมของตับอ่อน เกี่ยวกับการเผาผลาญอาหาร จำพวกแป้ง ไขมัน โปรตีนผิดปกติ
       4. อายุมากขึ้น ก็มีโอกาสเป็นมากขึ้น 

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคเบาหวาน

  1. จากการสังเกตุอาการต่าง ๆ ดังนี้
    • กินจุ , คันตามผิวหนัง
    •  น้ำหนักลด, เป็นแผลรักษายาก
    •  หิวน้าบ่อย, อ่อนเพลีย
    •  ปัสวะมาก และ บ่อย, หญิงที่แท้งบุตรบ่อย
    •  ชาตามมือตามเท้า, ทารกตายในครรภ์
    •  คลอดก่อนกำหนด, ตาพร่ามัว
    •  คลอดบุตรตัวโต น้ำหนักเกิน 4,000 กรัม
  2. จากการาตรวจเลือด เมื่อตรวจเลือดแล้วพบน้ำตาลสูงกว่า 115 มิลลิกรัม ใน 100 มิลลิลิตร (คนปกติระดับน้ำตาล 70-100 มิลลิกรัม)

การปฏิบัติตัว และการป้องกัน

  1.  ลดอาหารที่มีนำตาลทุกชนิด เช่น ขนมหวาน ลูกอม เครื่องดื่มรสหวาน และที่มีแอลกอฮอล์ ผลไม้ เช่น ทุเรียน ขนุน องุ่น
  2.  ลดอาหารเนื้อสัตว์ติดมันต่าง ๆ
  3.  ลดอาหารประเภทไขมัน ที่ได้จากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เนย และของทอดทุกชนิด
  4.  ลดอาหารที่ปรุงด้วยกะทิ
  5.  เพิ่มอาหารประเภทผักให้มากขึ้น โดยเฉพาะผักประเภทใบ ได้แก่ ผักคะน้า ตำลึง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี
  6.  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้เหมาะสมกับวัย
  7.  ตรวจสุขภาพร่ายกายเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


แหล่งที่มา : bknowledge.org

อัพเดทล่าสุด