เมนูอาหารโรคเบาหวาน เมนูอาหารสําหรับคนเป็นโรคเบาหวาน ต้นไม้รักษาโรคเบาหวาน MUSLIMTHAIPOST

 

เมนูอาหารโรคเบาหวาน เมนูอาหารสําหรับคนเป็นโรคเบาหวาน ต้นไม้รักษาโรคเบาหวาน


1,119 ผู้ชม


เมนูอาหารโรคเบาหวาน เมนูอาหารสําหรับคนเป็นโรคเบาหวาน ต้นไม้รักษาโรคเบาหวาน

 

 

 เมนู! อาหารสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน

วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารหลากหลายชนิดเพื่อให้ ได้สารอาหารครบถ้วนที่ร่างกายต้องการ โดยเลือกรับประทานอาหารตามกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 อาหารจำพวก ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก มัน ถั่วเมล็ดแห้ง 1 ส่วน ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม โปรตีน 3 กรัม ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี
- ข้าวสุก 1/2 ถ้วยตวง (ประมาณ 1 ทัพพีเล็กในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า)
- ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่, เส้นเล็ก 1/2 ถ้วยตวง (ประมาณ 1 ทัพพีเล็ก)
- ถั่วเขียว, ถั่วดำ, ถั่วแดงสุก 1/2 ถ้วยตวง
- ข้าวต้ม 3/4 ถ้วยตวง (2 ทัพพีเล็ก), วุ้นเส้นสุก ½ ถ้วยตวง
- ข้าวโพด 1 ฝัก (5 นิ้ว), แครกเกอร์สี่เหลี่ยม 3 แผ่น
ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานอาหารในกลุ่มนี้ได้เช่นเดียวกับคนปกติไม่จำเป็นต้อง งดหรือจำกัดมากเกินไป เพราะข้าวเป็นแหล่งของพลังงานที่ร่างกายต้องการใช้เพื่อการทำกิจกรรมหรือแรง งานที่ผู้ป่วยทำในแต่ละวัน เช่น ผู้ป่วยที่อ้วนรับประทานข้าวได้มื้อละ 2 ทัพพีเล็ก ถ้าไม่อ้วนรับประทานข้าวได้มื้อละ 3 ทัพพี เมื่อเลือกรับประทานก๋วยเตี๋ยวหรือขนมปังแล้วต้องงดหรือลดข้าวในมื้อนั้นลง ตามสัดส่วนที่กำหนด อาหารในกลุ่มนี้รับประทานได้มื้อละ 2-4 ส่วน ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานข้าวซ้อมมือหรือขนมปังที่ทำจากแป้งที่ไม่ ขัดสีเพื่อจะได้ใยอาหารเพิ่มขึ้น
กลุ่มที่ 2 ผักชนิดต่างๆ 1 ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 2 กรัม ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี
- แครอท, ฟักทอง, ข้าวโพดอ่อน 1/2 ถ้วยตวง
- ผักคะน้า, บร็อกโคลี 1/2 ถ้วยตวง
- ถั่วแขก, ถั่วลันเตา, ถั่วฝักยาว 1/2 ถ้วยตวง
อาหารกลุ่มนี้มีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารมากผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานให้มากขึ้นในทุกมื้ออาหาร โดยเฉพาะผักใบสีเขียวสดหรือสุกรับประทานได้ตามต้องการ ถ้านำผักมาคั้นเป็นน้ำควรรับประทานกากด้วยเพื่อจะได้ใยอาหาร ใยอาหารจะช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลและไขมันในอาหารทำให้ระดับน้ำตาลและไขมันใน เลือดลดลงผู้ป่วยเบาหวานควรรับประทานผักวันละ 2-3 ถ้วยตวง ทั้งผักสดและผักสุก
กลุ่มที่ 3 ผลไม้ 1 ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี
- กล้วยน้ำว้า 1 ผล, ฝรั่ง 1/2 ผลใหญ่, ส้ม 1 ผล (2 1/2 นิ้ว)
- กล้วยหอม 1/2 ผล, แอปเปิ้ล 1 ผลเล็ก, ชมพู่ 2 ผล
- มะม่วงอกร่อง 1/2 ผล, เงาะ 4-5 ผล, ลองกอง 10 ผล
- มะละกอสุก 8 ชิ้นขนาดพอดีคำ, แตงโม 10 ชิ้นขนาดพอดีคำ
ผลไม้ทุกชนิดมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบถึงแม้จะมีใยอาหาร แต่หากรับประทานมากกว่าปริมาณที่กำหนดจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานผลไม้ 1 ชนิดต่อมื้อ วันละ 2-3 ครั้งหลังอาหารควรหลีกเลี่ยงผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน ขนุน ละมุด หรือผลไม้ตากแห้ง ผลไม้กวน ผลไม้เชื่อม ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กระป๋อง การรับประทานผลไม้ครั้งละมาก ๆ แม้จะเป็นผลไม้ที่ไม่หวานก็ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้
กลุ่มที่ 4 เนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน 1 ส่วน มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 3 กรัม ให้พลังงาน 55 กิโลแคลอรี
- เนื้อหมู, เนื้อวัว ไม่ติดมันและหนัง หั่น 8 ชิ้น (ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ)
- เนื้อไก่, เป็ด ไม่ติดมันและหนัง หั่น 8 ชิ้น
- ปลาทู (ขนาด 1 1/4 นิ้ว) 1 ตัว, ลูกชิ้น 6 ลูก
- เต้าหู้ขาว 1/2 หลอด, ไข่ขาว 3 ฟอง
อาหารกลุ่มนี้ให้โปรตีนเป็นหลักผู้ป่วยควรได้รับทุกมื้อ มื้อละ 2-4 ช้อนกินข้าวพูนน้อย ๆ และควรเลือกเนื้อสัตว์ชนิดไม่ติดมันและหนัง รับประทานปลาและเต้าหู้ให้บ่อยขึ้น
กลุ่มที่ 5 ไขมัน 1 ส่วน มีไขมัน 5 กรัม ให้พลังงาน 45 กิโลแคลอรี
- น้ำมันพืช/น้ำมันหมู 1 ช้อนชา, เนย 1 ช้อนชา, กะทิ 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำนมไขมันเต็ม 240 มล. มีไขมัน 8 กรัม ให้พลังงาน 150 กิโลแคลอรี
- น้ำนมพร่องมันเนย 240 มล. มีไขมัน 5 กรัม ให้พลังงาน 120 กิโลแคลอรี
- น้ำนมไม่มีไขมัน 240 มล. มีไขมันน้อยมาก ให้พลังงาน 90 กิโลแคลอรี
- โยเกิร์ต ชนิดครีมไม่ปรุงแต่งรส 240 มล. ปริมาณพลังงานขึ้นกับชนิดของนมที่นำมาทำโยเกิร์ต ถ้าใช้ไขมันเต็มจะให้พลังงาน 150 กิโลแคลอรี เท่ากับน้ำนม


แหล่งที่มา : med.swu.ac.th

อัพเดทล่าสุด