https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาหารสำหรับโรครูมาตอยด์ อาหารสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ อาหารสําหรับคนเป็น โรครูมาตอยด์ MUSLIMTHAIPOST

 

อาหารสำหรับโรครูมาตอยด์ อาหารสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ อาหารสําหรับคนเป็น โรครูมาตอยด์


707 ผู้ชม


อาหารสำหรับโรครูมาตอยด์ อาหารสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ อาหารสําหรับคนเป็น โรครูมาตอยด์

 

อาหารเสริมกับโรคข้อ

นพ. พงษ์ศักดิ์ วัฒนา

       เป็นความเชื่อของมนุษย์เราตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ที่พยายามขวนขวายหาวิธีการลดอาการปวดของข้อต่อที่อักเสบ ตลอดจนอาการปวดทุกชนิดที่เป็นเรื้อรังและไม่ทราบสาเหตุ โดยการเลือกหรืองดอาหารบางประเภทว่าสามารถลด อาการปวดลงได้ ในปัจจุบันนี้ได้มีการพิสูจน์ที่แน่นอนว่าอาหารที่มีกรดยูริกสูง อาทิเช่น เครื่องในสัตว์ ยอดผักบาง ประเภท จะทำให้มีอาการกำเริบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าต์ได้ กรุณาเข้าใจว่าการงดอาหารเหล่านี้ ก็ไม่ได้ทำให้โรค เก๊าต์หายไป ด้วยยาที่รักษาโรคเก๊าต์ในปัจจุบัน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าต์ก็ยังคงสามารถรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกได้ และยังคงดื่มแอลกอฮอล์ในวงสังคมได้
       ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป แม้แต่ในประเทศไทยมีการจำหน่ายอาหารเสริมกันอย่างมากมาย และมีการอวดอ้างสรรพคุณในการรักษาโรคจากอาการปวดได้ทุกชนิด เป็นธุรกิจที่ดีมาก อาหารเสริมดังกล่าวมีดังนี้
                          1. อาหารเสริมแคลเซี่ยม
                          2. วิตามินเสริม
                          3. น้ำมันจากปลา ( Fish Oil )
                          4. เกลือแร่ต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก , ธาตุสังกะสี
                          5. สมุนไพรชนิดต่าง ๆ
                          6. กระเทียม
                          7. น้ำผึ้ง
                          8. กลูโคซามีน , ดอนครอยติน ( Glueosamine และ Chondroitin )
                          9. น้ำผลไม้ น้ำจากลูกยอทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ
          อาหารเสริมเหล่านี้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าสามารถรักษาโรคอาการปวดข้อ หรืออาการปวดเรื้อรัง น้อย มาก ในต่างประเทศกลุ่มของอาหารเสริมสามารถจะหาซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อซึ่งพวกเรา คงทราบแล้ว ว่ากว่าร้อยละ90ของโรคข้อเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จำเป็นต้องรับประทานยาต้านการอักเสบ (N’SAID s) เป็นระยะเวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี ก็พยายามดิ้นรนที่จะรักษาโรคข้อ ให้หายขาดจากการแนะนำของ เพื่อน การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ หรือการซื้อขายทางตรง ( Direct Sale ) เพื่อหวังว่าอาการทางโรคข้อมีโอกาส หายขาดได้ การซื้ออาหารเสริมมารับประทานกันเองทำให้ต้องสูญเสียเงินทองอย่างมหาศาลในแต่ละปีผู้เขียนเคยพบ อาหารเสริมจำนวนมากมายจากผู้ป่วยที่มารักษาที่คลินิกส่วนตัวที่นำมาให้ดู โดยที่ญาติอาจจะเป็นลูกหรือพี่น้องที่หวัง ดีซื้อส่งมาจากประเทศอเมริกา มาให้รับประทานวิตามินเสริม ในขนาดที่แนะนำจะไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพแต่ถ้ารับ
ประทานวิตามินเอ หรือวิตามินดี ในขนาดที่สูงกว่าที่กำหนดไว้จะมีอันตรายต่อสุขภาพได้ อาหารเสริมที่มีไขมันต่ำ และมีใยอาหาร ผลไม้หรือผัก จะมีประโยชน์ต่อคนทุกคน ธาตุเหล็ก ใช้ในการรักษาในโรคโลหิตจาง ซึ่งพบบ่อยใน คนที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ สาเหตุการเป็นโรคโลหิตจางมีสาเหตุจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เอง หรือจากการ รับประทานยาต้านอักเสบ ( N ’ SAID s ) ทำให้เกิดแผลในกระเพาะหรือจากรับประทานยาสเตียรอยด์มานาน ๆ การรับประทานธาตุเหล็กอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์โรคข้อทุกครั้งก่อนรับประทานธาตุเหล็ก
แคลเซี่ยมเป็นอาหารเสริมยอดฮิตในปัจจุบันประชาชนทั่วไปเมื่อมีอาการปวดจากข้อเสื่อมหรือข้ออักเสบชนิดใดก็ตาม จะไปซื้อแคลเซี่ยมมารับประทาน ทำให้บริษัทขายนมมีการผสมระดับของแคลเซี่ยมให้สูงขึ้น เพื่อเป็นจุดขายของ สินค้าของตน แคลเซี่ยมจะมีประโยชน์
       1. ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต 
       2. ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องแบ่งแคลเซี่ยมที่แม่รับประทานไปให้ลูกในท้อง 
       3. ในผู้สูงอายุที่รับประทานลำบาก และระบบย่อยอาหารไม่ค่อยดี
       4. ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำลง
แคลเซี่ยมจะช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ป้องกันโรคกระดูกโปร่งบาง ( Osteoporosis ) ซึ่งโรคนี้ปกติจะไม่ค่อยมี อาการปวด จะมีอาการปวดเมื่อกระดูกหักแล้วประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดคิดว่าแคลเซี่ยมสามารถรักษาโรคข้ออักเสบ ได้ ( Arthritis ) บางคนดื่มนมตลอดทั้งวันเพื่อให้อาการปวดเข่าหายไป ซึ่งนอกจากจะเสียเงินแล้วยิ่งทำให้ตนเอง อ้วนมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น กลูโคซามีน และคอนตรอยติน อาหารเสริมในกลุ่มนี้เป็นที่นิยมกันมาก
มีกว่า 100 ชนิด ผลิตจากหลายบริษัท กลูโคซามีน สกัดมาจากกระดองปู กุ้งมังกร และเปลือกกุ้ง ส่วนคอนตรอยติน สกัดมาจากหลอดลมของวัว ควาย โดยเชื่อว่าสารทั้ง 2 ชนิดนี้จะช่วยซ่อมสร้างผิวกระดูกอ่อนที่ปลายกระดูกในข้อต่อ เสื่อม ให้กลับฟื้นขึ้นมาได้ และทำให้ลดอาการปวดลง แพทย์กระดูกและข้อในประเทศสหรัฐอเมริกาไม่เชื่อว่า อาหารเสริมกลุ่มนี้ช่วยรักษาข้อเสื่อมได้ แต่แพทย์กระดูกและข้อในทวีปยุโรปมีความเชื่อว่าช่วยรักษาได้        โดยสรุปแล้วการรักษาโรคข้อเสื่อมด้วยกลูโคซามีน และคอนดรอยตินในโรคข้อเสื่อมยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ แต่มีหลักการคร่าว ๆ ดังนี้ ถ้ารับประทานยาในกลุ่มนี้แล้วไม่ได้ผลในการลดอาการปวดจากข้อเสื่อมในระยะเวลา
1 – 2 เดือน ควรหยุดยาได้แล้ว ปกติจะได้ผลในระยะเวลา 6 – 8 สัปดาห์ โดยใช้ขนาดดังนี้
                          กลูโคซามีน 1,500 มก. / วัน
                          คอนดรอยติน 1,200 มก. / วัน
         1. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อย ร้อยละ 0.3-1.5 ในประชากรทั่วไปเป็นโรคข้อที่ไม่ ่ทราบสาเหตุ และรักษาไม่หายขาด มีการอักเสบของข้อต่อทุกข้อในร่างกายในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาได้มีผู้พยายาม ที่จะหาวิธีการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ให้หายขาดการรักษาในปัจจุบันได้แต่ใช้ยากดอาหารอักเสบของข้อต่อให้ ้นานที่สุดที่จะนานได้ การให้อาหารเสริมซึ่งผลการรักษายังไม่ได้ผลแน่นอน          การให้อาหารเสริมมีหลักการในการรักษาดังนี้
                          ลักษณะที่ 1 เป็นการเสริมอาหารที่ช่วยลดอาการปวดลงในอาหาร
                          ลักษณะที่ 2 เป็นการกำจัดสารที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของอาการปวด หรืออาการกำเริบออกจากอาหาร
อย่างไรก็ตาม อาหารที่มีไขมันต่ำ มีใยอาหาร , ผลไม้ , ผัก จะมีประโยชน์อย่างมากในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ มักจะมีอาการของโรคโลหิตจางร่วมด้วย อาจจะมาจากยาต้านการอักเสบ ( N ’ SAID s ) ที่รับประทานนาน ๆ ทำให้เป็นโรคแผลในกระเพาะและมีเลือดออกการรับประทานธาตุเหล็กอย่างเดียวอาจไม่ได้ผล 
          2. โรคข้อเสื่อม พบบ่อยในผู้ที่น้ำหนักตัวมาก และผู้สูงอายุ เป็นกับข้อต่อที่รับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า , ข้อตะโพก การลดน้ำหนักตัวด้วยการรับประทานอาหารที่ถูกวิธีร่วมกับการออกกำลังกาย ถ้าท่านมีปัญหาในการลดน้ำหนัก ปรึกษาแพทย์จะปลอดภัยที่สุด
           3. โรคกระดูกพรุน , โรคกระดูกโปร่งบาง (Osteoporosis)โรคกระดูกพรุนพบบ่อยในผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนแล้ว การรักษาโรคกระดูกโปร่งบาง หรือกระดูกพรุน โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอจะ
ทำให้กระดูกแข็งแรงได้ ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนแล้วควรให้อาหารเสริมแคลเซี่ยม 1 กรัม / วัน , วิตามินดี 40 ยูนิต / วัน ( นมที่ปราศจากไขมันครึ่งลิตรจะมีแคลเซี่ยมสูง 700 มก. )
            ถ้าท่านอยากจะลองรับประทานอาหารเสริมขอแนะนำดังนี้

1.

ปรึกษาแพทย์ก่อนว่าควรจะรับประทานอาหารเสริมหรือไม่ ?

2.

อย่าหยุดยาที่แพทย์สั่งให้รับประทาน

3.

ควรจะให้แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นอาการปวดจากโรคข้อเสื่อม กลูโคซามิน , คอนดรอยติน
ไม่สามารถรักษาอาการปวดจากโรคเนื้องอก ( Cancer ) , กระดูกหัก หรือข้ออักเสบรู
มาตอยด์ได้

4.

อย่ารับประทานอาหารเสริม ถ้าท่านตั้งท้องหรือคิดว่าตั้งท้อง และไม่ควรให้เด็กรับประทาน

5.

ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน ถ้ารับประทานกลูโคซามิน ควรจะตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
ให้บ่อยขึ้น

6.

คนที่แพ้อาหารทะเล จะมีโอกาสแพ้อาหารเสริมกลูโคซามีนด้วย

7.

ถ้าท่านรับประทาน แอสไพริน ในการป้องกันหลอดเลือดตีบในหัวใจ ถ้ารับประทานคอน
ดรอยติน ควรจะตรวจการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย

8.

อย่าหยุดยาที่รับประทานในการรักษาโรคข้อ แม้รับประทานอาหารเสริมแล้วลดอาการปวด
ข้อได้

9.

บริหารร่างกาย รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วนเกินไป และรับประทานอาหารตามที่แพทย์สั่ง
 

 


แหล่งที่มา : thaiarthritis.org

อัพเดทล่าสุด