https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ขบวนการฟันน้ำนม ย้อนหลัง ฟันน้ำนมหลุด the tooth fairy เทพพิทักษ์ฟันน้ำนม MUSLIMTHAIPOST

 

ขบวนการฟันน้ำนม ย้อนหลัง ฟันน้ำนมหลุด the tooth fairy เทพพิทักษ์ฟันน้ำนม


946 ผู้ชม


ขบวนการฟันน้ำนม ย้อนหลัง ฟันน้ำนมหลุด the tooth fairy เทพพิทักษ์ฟันน้ำนม

ฟันน้ำนมนั้นสำคัญไฉน?  
                                                     ขบวนการฟันน้ำนม ย้อนหลัง ฟันน้ำนมหลุด the tooth fairy เทพพิทักษ์ฟันน้ำนม    

          ท่านที่มีบุตรหลานหรือน้องเล็กๆ ที่น่ารัก อาจจะเคยสังเกตเห็นว่าเด็กๆ มีฟันน้ำนมซี่น้อยๆ ซึ่งเริ่มงอกขึ้นมาซี่แรกตั้งแต่อายุ 6 เดือนในฟันหน้าล่าง และค่อยๆ งอกเพิ่มขึ้นจนครบ 20 ซี่เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบเป็นต้นไป ฟันน้ำนมซี่น้อยๆ ที่น่าดูเหล่านี้จะถูกทดแทนด้วยฟันถาวรต่อไปเมื่อเด็กโตขึ้น โดยเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ ฟันน้ำนมซี่หน้าล่างและบนจะเริ่มโยกและหลุดไป ทำให้เด็กบางคนมีลักษณะฟันหลอด้านหน้า และต่อมาไม่นานนักก็จะมีฟันถาวรซี่โตงอกขึ้นมาแทนที่ และมักจะ.งเล็กน้อยในขณะที่ขากรรไกรและใบหน้ากำลังเจริญเติบโต จนเมื่ออายุประมาณ 10-12 ขวบ ฟันถาวรจะขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมทั้งหมดและแถมมีฟันกรามถาวรเพิ่มขึ้นอีก 4-8 ซี่ 
ท่านที่มีบุตรหลานหรือน้องเล็กๆ ที่น่ารัก อาจจะเคยสังเกตเห็นว่าเด็กๆ มีฟันน้ำนมซี่น้อยๆ ซึ่งเริ่มงอกขึ้นมาซี่แรกตั้งแต่อายุ 6 เดือนในฟันหน้าล่าง และค่อยๆ งอกเพิ่มขึ้นจนครบ 20 ซี่เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบเป็นต้นไป ฟันน้ำนมซี่น้อยๆ ที่น่าดูเหล่านี้จะถูกทดแทนด้วยฟันถาวรต่อไปเมื่อเด็กโตขึ้น โดยเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ ฟันน้ำนมซี่หน้าล่างและบนจะเริ่มโยกและหลุดไป ทำให้เด็กบางคนมีลักษณะฟันหลอด้านหน้า และต่อมาไม่นานนักก็จะมีฟันถาวรซี่โตงอกขึ้นมาแทนที่ และมักจะ.งเล็กน้อยในขณะที่ขากรรไกรและใบหน้ากำลังเจริญเติบโต จนเมื่ออายุประมาณ 10-12 ขวบ ฟันถาวรจะขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมทั้งหมดและแถมมีฟันกรามถาวรเพิ่มขึ้นอีก 4-8 ซี่

          การที่ฟันน้ำนมหลุดออกไปและมีฟันถาวรมาแทนที่เมื่อเด็กโตขี้น มีผลให้หลายๆ ท่านไม่เห็นความสำคัญของฟันน้ำนมเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่ฟันน้ำนมจะทำหน้าที่อยู่ในช่องปากได้นานประมาณ 6-10 ปี และในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ร่างกายของเด็กกำลังเจริญเติบโต ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีฟันน้ำนมที่แข็งแรง เพื่อทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารในการไปเสริมสร้างการเจริญของร่างกาย และเป็นที่น่าเสียดายที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองหลายท่านละเลยต่อการดูแลฟันน้ำนม รวมไปถึงการแปรงฟันทำความสะอาดฟันน้ำนมของเด็ก เป็นผลให้เด็กจำนวนมากเป็นโรคฟันผุ หัก แหว่ง ปวดฟัน และไม่สามารถใช้ฟันเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ

          จากผลการสำรวจสุขภาพช่องปากของเด็กไทยโดยกระทรวงสาธารณสุขครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2544 พบว่า โดยทั่วไปเด็กอายุ 3 ขวบ จำนวน 7 ใน 10 คน จะมีฟันน้ำนมผุ โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุคนละประมาณ 3 ซี่ และเมื่อเด็กโตขึ้นจนอายุ 6 ขวบ ฟันน้ำนมก็จะผุมากขึ้น โดยเด็ก 9 ใน 10 คนมีฟันผุประมาณคนละ 6 ซี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กชนบท ที่มีอุบัติการณ์ของฟันผุสูงมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และนับได้ว่ามีความรุนแรงของโรคฟันผุสูงมาก จนถือได้ว่าเป็นปัญหาทันตสาธารณสุขและปัญหาสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของเด็กและการเจริญเติบโตต่อไปในอนาคตด้วย

          ท่านที่เคยพาบุตรหลานไปทำฟันแล้ว คงสังเกตได้ว่าหมอฟันจะให้การรักษาเด็กที่กำลังปวดฟันได้ยากมาก เนื่องจากเด็กจะกลัวมาก เพราะฟันที่ปวดอยู่นั้นแตะต้องแทบไม่ได้เลย จึงกลัวหมอจะทำให้เจ็บมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการทำฟันที่มีประวัติการปวดเหล่านี้ ในหลายกรณีมักลงเอยด้วยการถอนฟัน ซึ่งเป็นประสพการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กอย่างแน่นอน โดยทั่วไปหมอฟันเด็ก (ทันตแพทย์ที่ศึกษาต่อทางด้านทันตกรรมสำหรับเด็กโดยเฉพาะ) จะสามารถจัดการเด็กที่ร้องไห้และไม่ให้ความร่วมมือในการทำฟันได้อย่างนุ่มนวล และมีวิธีการให้การดูแลรักษาฟันเด็กอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยไม่จำเป็นต้องถอนฟันเสมอไป เช่น การรักษารากฟันน้ำนมในเด็ก การอุดฟันที่ผุยังไม่มากนักด้วยวัสดุที่ปล่อยฟลูออไรด์ในการป้องกันโรคฟันผุ โดยไม่ต้องใช้เครื่องกรอฟันและฉีดยา การใช้เลเซอร์กำจัดรอยฟันผุ เป็นต้น แต่หมอฟันเด็กก็ยังมีจำนวนน้อยและส่วนมากทำงานอยู่ในเมืองใหญ่เท่านั้น

          อย่างไรก็ดี หมอฟันทั่วไปก็สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมและให้การรักษาด้วยเทคโนโลยีใหม่ได้ถ้าได้ติดตามความรู้ใหม่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ แต่การรักษาเท่าใดก็ไม่สามารถไล่ทันโรคฟันผุที่รุนแรงมากขึ้นเช่นนี้ได้ การป้องกันโรคและการเสริมสร้างสุขภาพช่องปากในเด็กจึงมีความสำคัญยิ่ง ปัญหาหลักประการหนึ่งได้แก่การให้เด็กเล็กดูดดื่มนมหวานจากขวดนมหลังอายุเกินหนึ่งขวบขึ้นไปแล้ว ซึ่งในช่วงอายุดังกล่าวควรดูแลให้เด็กดื่มนมในถ้วย และที่สำคัญอย่าใช้นมหวานในเด็กเล็ก ซึ่งนอกจากน้ำตาลในนมหวานจะเป็นสาเหตุหลักของโรคฟันผุแล้ว ยังมีผลให้เด็กติดความหวานและอาจเป็นเหตุให้เด็กอ้วนจนเกินไปได้ด้วย การดื่มนมไม่หวานจะมีผลให้เด็กได้รับนมอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องได้รับน้ำตาลเพิ่มเติมในนมที่ไม่จำเป็น เพราะในนมบริสุทธิ์มีน้ำตาลนมที่เพียงพออยู่แล้ว

          ที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการดูแลป้องกันโรคฟันผุในเด็ก ได้แก่การทำความสะอาดฟันและการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอในเด็ก ตั้งแต่ฟันงอกขึ้นมาแล้ว ให้เป็นอุปนิสัยประจำเช่นเดียวกับการอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายของเด็ก โดยในเด็กเล็กอายุ 6 เดือนที่ฟันน้ำนมเพิ่งงอกขึ้นมาให้ใช้ผ้านุ่มสะอาดชุบน้ำเช็ดฟันทุกวัน และเมื่อเด็กโตขึ้นมาและมีฟันน้ำนมมากซี่ขึ้น การใช้แปรงสีฟันของเด็กที่มีขนแปรงนุ่มมากและด้ามแปรงขนาดกะทัดรัด โดยพ่อแม่หรือผู้ปกครองช่วยแปรงให้ในระยะเริ่มต้น และต่อไปคอยควบคุมดูแลให้แปรงฟันร่วมกับยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในจำนวนน้อย (ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว) แปรงวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 2 นาทีอย่างทั่วถึงบนฟันทุกซี่ทุกด้านเป็นประจำทุกวัน ก็จะสามารถช่วยป้องกันโรคฟันผุได้ 
เห็นความสำคัญอย่างนี้แล้ว คงต้องมาช่วยกันให้ความสำคัญในการดูแลฟันน้ำนมของบุตรหลานของท่าน เพื่อช่วยลดปัญหาโรคฟันผุในเด็ก และช่วยไม่ให้เด็กต้องไปถอนฟันก่อนกำหนด ทำให้เด็กมีฟันน้ำนมแข็งแรง ขาวสะอาด ใช้งานในการบดเคี้ยวอาหารเพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ขอขอบคุณ ประชาคมวิจัย ฉบับที่ 54 หน้าที่ 21
ประทีป พันธุมวนิช 
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด