วิธีการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง วิธีการป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง ยารักษาโรคถุงลมโป่งพอง MUSLIMTHAIPOST

 

วิธีการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง วิธีการป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง ยารักษาโรคถุงลมโป่งพอง


1,176 ผู้ชม


วิธีการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง วิธีการป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง ยารักษาโรคถุงลมโป่งพอง

 

 

 

โรคถุงลมโป่งพองกับการออกกำลังกาย 

วิธีการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง วิธีการป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง ยารักษาโรคถุงลมโป่งพอง
โรคถุงลมโป่งพอง   เป็นโรคเรื้อรังที่มีผลกระทบต่อระบบอวัยวะของร่างกายหลายระบบและยังมีผลกระทบต่อด้านจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างมาก    การรักษาผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นต้องมีการรักษาโดยวิธีการใช้ยาร่วมกันไปกับวิธีอื่นๆ(ที่ไม่ใช้ยา)ควบคู่ไปด้วยไปด้วย   ซึ่งวิธีอื่นๆได้แก่ 
     -    การให้ความรู้ในด้านของตัวโรคเอง   การดูแลและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยและครอบครัว 
     -    การป้องกันการลุกลามของโรค   โดยการหยุดสูบบุหรี่ 
     -    การรักษาภาวะทุโพชนาการ   เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้จะมีดรรชนีมวลกาย(BMI) หรือน้ำหนักตัวเมื่อเทียบกับความสูง   ต่ำกว่าปกติ   ซึ่งมี ผลต่อความแข็งแรงของร่างกาย    จึงควรรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง  คาร์โบไฮเดรตต่ำ   เพื่อลดการผลิตกาซคาร์บอนไดออกไซด์ลง   ทำให้ลดภาระงานของระบบหายใจในการขับกาซนี้ออกจากปอด 
     -  การฝึกความแข็งแรงและความคงทนของกล้ามเนื้อภายใต้การควบคุมดูแล   ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่ง   ซึ่งจะขอกล่าวในรายละเอียดต่อไปนี้ 
ทำไมต้องออกกำลังกาย 
ในคนไข้ที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง   สามารถออกกำลังกายที่บ้านได้   โดยปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน   เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้  มีโอกาสที่จะมีโรคอื่นๆร่วมด้วย  เช่น  โรคหัวใจ  โรคความดันโลหิตสูง 
การออกกำลังกายดีต่อผู้ป่วยโรคนี้   เนื่องจาก   
- สามารถควบคุมอาการของโรคได้ 
- สามารถใช้ออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ   เนื่องจากการออกกำลังกายช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสำหรับการหายใจ  กล้ามเนื้อแขนและขา 
- ทำให้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น   สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น 
- ทำให้สภาวะทางจิตใจดีขึ้น 
- ทำให้การนอนหลับดีขึ้น 
เลือกวิธีไหนดี 
การออกกำลังกายที่ดีและง่ายที่สุดของผู้ป่วยโรคนี้   คือการเดิน   โดยเฉพาะที่อาการปานกลางและรุนแรง   ซึ่งสามารถใช้วิธีการเดินร่วมกับการฝึกหายใจโดยวิธีห่อปากหรือเป่าปาก   การฝึกการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลม   การบริหารกล้ามเนื้อแขนและขา   ในคนที่อาการไม่รุนแรง    อาจเลือก  การว่ายน้ำ  การวิ่งเหยาะ  การปั่นจักรยาน  หรือการเต้นรำร่วมด้วย 
     
หลักของการออกกำลังกาย 
1 ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน 
2 ต้องมีการอบอุ่นร่างกาย (warm up)   เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายก่อน   ควรใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที   โดยการอบอุ่นร่างกาย   อาจใช้วิธีการหายใจแบบวิธีเป่าปาก หรือฝึกการหายใจโดยใช้กระบังลม 
3 เริ่มต้นทีละน้อย   และค่อยๆเพิ่มการออกกำลังกาย   ขึ้นกับความสามารถในการออกกำลังกายและความรุนแรงของโรคของแต่ละบุคคล   โดยอาจเริ่มต้นที่ 10 นาที   แล้วค่อยๆเพิ่มจนได้ระยะเวลาประมาณ 30 นาที   หรือในคนที่โรคมีความรุนแรงมาก   อาจใช้เวลาเริ่มต้นในการออกกำลังกาย   2-3 นาที   และแบ่งทำวันละ 2-3 ครั้ง  
4 เลือกชนิดของการออกกำลังกายที่ชอบ   ถ้าเบื่อสามารถเปลี่ยนเป็นชนิดอื่นได้เช่น   ถ้าวิ่งเหยาะเป็นประจำ   อาจเปลี่ยนเป็น เต้นรำ หรือปั่นจักรยาน 
5 มีการหยุดพักเป็นช่วงๆ   ไม่ควรหักโหม 
6 ควรมีเพื่อนในการออกกำลังกาย   ทำให้การออกกำลังกายสนุก  ไม่น่าเบื่อ   และจะได้มีคนคอยดูแลช่วยเหลือ   ในกรณีที่อาจมีการกำเริบของโรคหรืออุบัติเหตุ 
7 ต้องมีการคลายอุ่น (cool down)   หลังการออกกำลังกาย  ใช้เวลา 5-10 นาที   โดยค่อยๆลดความหนักของการออกกำลังกายลงก่อนหยุดออกกำลังกาย   
8 อย่าละเลยอาการต่างๆซึ่งบ่งบอกว่าการออกกำลังกายอาจหนักเกินไป   เช่นอาการวิงเวียน  เหงื่อออกมาก ใจสั่น หายใจหอบตื้น เจ็บหน้าอก   ซึ่งถ้ามีอาการ ควรหยุดและพักการออกกำลังกายไว้ก่อน   เมื่อเริ่มออกกำลังกายอีกครั้ง ให้ลดระดับของการออกกำลังกายลงมาให้อยู่ในระดับที่ไม่เหนื่อย 
จะทราบได้อย่างไรว่าออกกำลังกายได้เหมาะสมหรือไม่ 
ให้ลองสังเกตดูว่า 
    ถ้าไม่สามารถพูดได้ในขณะออกกำลังกาย เนื่องจากเหนื่อย    แสดงว่า   การออกกำลังกายนั้นหนักเกินไป 
    ถ้าสามารถพูดได้ในขณะออกกำลังกาย    แสดงว่า   การออกกังกายนั้นกำลังพอดี 
    ถ้าร้องเพลงได้ในขณะออกกำลังกาย   แสดงว่า   การออกกำลังกายนั้นเบาเกินไป 
ชนิดของการออกกำลังกาย 
       1     stretching   (การผ่อนคลายกล้ามเนื้อและการยืดเกร็งกล้ามเนื้อ)   เป็นวิธีที่ดีในการอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย และการคลายอุ่นร่างกายหลังการออกกำลังกาย 
       2     aerobic    ออกกำลังกายโดยรักษาระดับการออกกำลังกายให้ไม่หนักเกินไป   การตอบสนองของการเต้นของหัวใจเปลี่ยนแปลงไม่มาก   เพื่อเพิ่มความสามารถในการใช้ออกซิเจนของร่างกาย   เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะ การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นรำ 
       3    resistant   (การฝึกแรงต้าน)   เช่น การยกน้ำหนักเบาๆในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง   ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น   โดยเฉพาะกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกาย ซึ่งจะช่วยทำให้การหายใจดีขึ้น 
การฝึกหายใจแบบเป่าปาก 
ก่อนที่จะเริ่มการออกกำลังกายและระหว่างการออกกำลังกายควรฝึกหายใจวิธีเป่าปาก (การห่อปาก)   ทำได้โดย 
- หายใจเข้าผ่านจมูก  ให้หน้าท้องโป่ง  
- หายใจออกทางปาก   พร้อมกับการทำปากจู๋  หรือห่อปาก   เพื่อค่อยๆเป่าลมออกจากปาก 
- ให้หายใจออกยาวประมาณ 2 เท่าของการหายใจเข้า   เพื่อที่จะปล่อยลมออกจากปอดให้นานขึ้น   โดยทั่วไป  จะหายใจเข้าประมาณ 4 วินาที    หายใจออกประมาณ 6-8 วินาที 
การฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลม 
นอนหนุนหมอนหลายใบ  ให้อยู่ในท่าเอน   วางมือข้างหนึ่งบนท้อง   อีกข้างหนึ่งบนหน้าอก   หายใจเข้าให้ท้องโป่ง   จะรู้สึกว่ามือที่ท้องขยับ  แต่มือที่หน้าอกไม่ขยับ    หลังจากนั้นหายใจออก  จะรู้สึกว่ามือที่ท้องขยับ  แต่มือที่หน้าอกไม่ขยับเช่นกัน 
การบริหารกล้ามเนื้อส่วนบน 
1     ท่าเหยียดแขน                    -      กางและยกแขนขึ้นไปด้านข้างระดับหัวไหล่     พร้อมกับ     หายใจออก ทำปากจู๋ 
                                                 -     วางมือกลับข้างลำตัว     พร้อมกับ     สูดหายใจเข้า 
2     ท่าหมุนข้อศอก                 -     นั่งหรือยืนแยกขาเล็กน้อย   วางมือลงบนไหล่ ให้ข้อศอกอยู่ระดับเดียวกับหัวไหล่   หมุนเป็นวงกลมไปด้านหน้าและหมุนกลับ     พร้อมกับ     หายใจออก ทำปากจู๋  
                                                 -     หยุดหมุน อยู่ในท่าเริ่มต้น     พร้อมกับ     สูดหายใจเข้า 
3     ท่ายกแขนสูดหายใจ          -      ยกแขนขึ้นมาด้านหน้า    งอข้อศอก ให้ข้อศอกอยู่ระดับเดียวกับหัวไหล่   หันฝ่ามือเข้าหากัน   เหวี่ยงแขนออกด้านข้างลำตัวทั้งสองข้าง     พร้อมกับ     สูดหายใจเข้า           
                                                 -     เหวี่ยงแขนคืนตำแหน่งเดิมในท่าเริ่มต้น     พร้อมกับ     หายใจออก ทำปากจู๋ 
การบริหารกล้ามเนื้อส่วนล่าง 
1     ท่าเหยียดเข่า          -     นั่งเก้าอี้   ให้เข่าทั้งสองข้างเหยียดตรงและยกขาขึ้นจากพื้น     พร้อมกับ     หายใจออก ทำปากจู๋ 
                                     -     วางขาลง     พร้อมกับ     สูดหายใจเข้า 
2     ท่ายกขา                 -     นั่งเก้าอี้ในท่าปกติ   ยกขาขึ้นหนึ่งข้าง ในขณะที่งอเข่า   ยกให้เข่าเข้าใกล้หัวไหล่     พร้อมกับ     หายใจออก ทำปากจู๋                        
                                     -     วางขาลงในท่าเริ่มต้น     พร้อมกับ     สูดหายใจเข้า 
3     ท่าขึ้นบันได          -     ก้าวขึ้นบันไดหนึ่งขั้น     พร้อมกับ     หายใจออก ทำปากจู๋  
                                     -     ก้าวลงจากบันได      พร้อมกับ     สูดหายใจเข้า 
ในระหว่างออกกำลังกาย   เมื่อรู้สึกเหนื่อยหอบ ให้หยุดพัก    และพักในท่าที่ลำตัวเอนไปด้านหน้า   ซึ่งจะช่วยการทำงานของกระบังลมให้ดีขึ้น   เพื่อช่วยผ่อนคลายความเหนื่อย   และช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น    ตัวอย่างเช่น 
 -      นั่งตามสบาย   โน้มตัวไปด้านหน้า   เอาศอกยันไว้ที่ต้นขา   ปล่อยศีรษะตามสบาย   อยู่ในท่านี้จนกระทั่งไม่เหนื่อยหอบ 
 -     นั่งฟุบหน้าที่โต๊ะ   ให้ตัวเอนไปด้านหน้า 
 -     ยืนพิงกำแพงโดยให้ขาห่างจากกำแพงเล็กน้อย   เอนตัวมาด้านหน้า 
กายออกกำลังกายที่ดี   ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ   โดยใช้เวลาในการออกกำลังวันละ 20-30 นาที   และอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในกลุ่มผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง และปานกลาง    ส่วนในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงอาจออกกำลังกายช่วงสั้นๆ 3-5 นาที วันละ 3-4 ครั้ง ขึ้นกับอาการของแต่ละบุคคล ไม่ควรหักโหม   และอย่าลืมว่าก่อนที่จะเริ่มต้นออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่านก่อน 
ขอให้ทุกท่านมีความสุข สนุกกับการออกกำลังกาย   มีสุขภาพทั้งกายและจิตแข็งแรงสมบูรณ์ 


แหล่งที่มา : asthma.or.th

อัพเดทล่าสุด