https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สมุนไพรรักษาโรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อนกลับ อาการ บรรยายเรื่อง - โรคกรดไหลย้อน MUSLIMTHAIPOST

 

สมุนไพรรักษาโรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อนกลับ อาการ บรรยายเรื่อง - โรคกรดไหลย้อน


633 ผู้ชม


สมุนไพรรักษาโรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อนกลับ อาการ บรรยายเรื่อง - โรคกรดไหลย้อน

 

 

โรคกรดไหลย้อนและการรักษาด้วยตนเอง

สาเหตุ  ของโรคเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ หลอดอาหารส่วนปลายมีการคลายตัวอย่างผิดปกติ หรือความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าในคนปกติ หรือเกิดจากความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร รวมถึงพันธุกรรม

           ส่วนเหตุสำคัญที่ทำให้คนเราเป็นโรคนี้คือ พฤติกรรมการบริโภคที่หันไปใช้ชีวิตแบบชาว ตะวันตก ตื่นเช้ามาก็เร่งรีบไปทำงาน ไม่ค่อยกินข้าว กินแต่กาแฟ แถมยังชอบกินอาหารเย็นหนักๆ แล้วก็นอน อาหารจึงยังตกค้างอยู่ในกระเพาะ ร่างกายก็ต้องหลั่งกรดออกมาย่อยอาหารที่ยังตกค้างอยู่ ประกอบกับท่านอนไม่ถูกต้อง หัวเสมอหรือต่ำกว่าลำตัว ทำให้กรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาที่ลำคอ เกิดอาการแสบระคายเคืองขึ้นมาบนคอและถ้าปล่อยให้หลอดอาหารส่วนปลายระคายเคืองไปนานๆ อาจทำให้หลอดอาหารเป็นมะเร็งได้

การปรับเปลี่ยนอาหาร  นั้นเน้น 2 เรื่องใหญ่ คือ หนึ่ง หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดผ่อนคลายไม่กระชับ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต เปปเปอร์มินต์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำมัน ของทอดและอาหารที่มีไขมันสูงทั้งหลาย นมเต็มส่วน อาหารที่ผสมครีม อาหารขยะ เป็นต้น สำหรับผู้ที่น้ำหนักเกิน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุมน้ำหนัก และ สอง หลีกเลี่ยงอาหารที่ไปเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ชา กาแฟ กระเทียม หัวหอม พริกและอาหารเผ็ดร้อน หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ พาสต้า ก๋วยเตี๋ยว แป้งข้าวโพด ลูกพรุน ส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำอัดลม น้ำตาล อาหารขยะ และอาหารที่ผ่านการแปรรูป เป็นต้น

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต   ก็เพื่อจัดการให้มีกรดไหลย้อนขึ้นหลอดอาหารน้อยที่สุด คั่งอยู่ในหลอดอาหารเป็นเวลาสั้นที่สุด อันดับหนึ่งคือ วิถีการกิน อย่ากินอิ่มเกิน กินน้อยแต่หลายมื้อได้ อย่ากินอย่างเร่งรีบ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด อย่าดื่มน้ำมากพร้อมอาหาร กินอาหารแล้วห้ามออกกำลังกายหรือนอนทันที ควรทิ้งช่วงประมาณ 2-3 ชั่วโมง เมื่อรู้สึกว่ากรดไหลย้อน ให้ดื่มน้ำ กลืนน้ำลาย หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อช่วยสลายกรด อันดับสอง คือ กำหนดท่าทางของร่างกายให้เหมาะสม ได้แก่ อย่าก้ม (โดยเฉพาะช่วงหลังอาหาร) อย่าใส่เข็มขัดหรือเสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป พยายามนอนตะแคงขวาเพื่อจะได้ไม่กดทับท้องจนกรดไหลย้อน สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหากรดไหลย้อนระหว่างนอน ควรยกหัวเตียงให้ลาดสูงขึ้นประมาณ 6-8 นิ้ว เพื่อป้องกันไม่ให้กรดคั่งในหลอดอาหาร และที่สำคัญต้องจัดการกับความเครียด ผ่อนคลายให้มากขึ้น เพราะความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีกรดมาก

แหล่งที่มา : gotoknow.org

อัพเดทล่าสุด