https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคเบาหวานเกิดจาก โรคเบาหวาน วีดีโอ วิธีดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน MUSLIMTHAIPOST

 

โรคเบาหวานเกิดจาก โรคเบาหวาน วีดีโอ วิธีดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน


767 ผู้ชม


โรคเบาหวานเกิดจาก โรคเบาหวาน วีดีโอ วิธีดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

การดูแลรักษาโรคเบาหวานสำหรับทุกคน

FFA Issue 28 Diabetes Care for Everyone

 
 

องค์กรโรคเบาหวานสากล  (IDF) ได้รณรงค์ ‘การดูแลรักษาโรคเบาหวานสำหรับทุกคน’ สำหรับปี 2549 นี้ เหตุผลหนึ่งสำหรับการรณรงค์ คือ มีผู้ป่วยหลายรายประสบกับภาวะโรคแทรกซ้อนสาเหตุจากโรคเบาหวานชนิดรุนแรงประเภทที่ 2 อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้เนื่องจากขาดการดูแลรักษา ซึ่งไม่เพียงแต่ขาดการดูแลรักษาในผู้ที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคเท่านั้น แต่ขาดการดูแลรักษาในผู้คนหลายคนที่ไม่ได้ปรึกษาแพทย์ด้วยเช่นกัน   

มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้ไม่มีการดูแลรักษาเบาหวานประเภทที่ 2 สำหรับหลายๆ คนและผู้ที่มีความทนกลูโคสบกพร่อง (impaired glucose tolerance) ซึ่งเป็นอาการที่ไม่สามารถตรวจหาได้เนื่องจากไม่ปรากฏอาการภายนอก การขาดการดูแลรักษาเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานประเภทที่ 2  

หนึ่งในขั้นตอนแรกที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอันดับแรกเพื่อระบุที่มาของปัญหา คือการเพิ่มความตระหนักให้กับสาธารณชนว่าวิธีการ ระยะเวลา และสาเหตุของการเข้ารับการบริการด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและรักษาประเภทประเภทที่ 2 นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ความเข้าใจของสาธารณชนที่ดีขึ้น สามารถช่วยให้บรรลุเป้าหมายการปรับปรุงการดูแลรักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ให้ดีขึ้นด้วยวิธีการหลายๆ วิธี ตัวอย่างเช่น ความเข้าใจของสาธารณชนสามารถเพิ่มอัตราการตรวจหาและการวินิจฉัยในเบื้องต้น เพิ่มความสามารถและแรงจูงใจให้กับผู้ป่วยแต่ละรายในการเข้าถึงการดูแลรักษาทางการแพทย์และคำแนะนำที่เหมาะสม ตลอดจนการนำคำแนะนำจากแพทย์มาปฏิบัติและผลจากการปฏิบัติที่มีต่อภาวะโภชนาการและวิถีการดำรงชีวิต เพื่อป้องกันและการจัดการโรคเบาหวานประเภทที่ 2

เพื่อสนับสนุนการรณรงค์โดย IDF ดังนั้น AFIC กำลังเปิดตัวแหล่งข้อมูลใหม่สองแหล่ง ที่จัดทำไว้เพื่อเพิ่มความเข้าใจของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และสิ่งที่พวกเขาควรปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนที่สัมพันธ์กับเบาหวานประเภทที่ 2 บทความนี้อ้างอิงมาจากหนึ่งในแหล่งข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่ แผ่นพับที่ได้ทบทวนและปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ‘สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับเบาหวานประเภทที่ 2’ โปรดอ่านเพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อสำนักงาน AFIC ได้ที่ www.afic.org เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

เบาหวานประเภท 2 คืออะไร?

โรคเบาหวานคือสภาพการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงในร่างกายและมีการเปลี่ยนแปลงของไขมันในเลือดที่ไม่ต้องการ เบาหวานประเภทที่ 2 เป็นประเภทของเบาหวานที่พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณ 85 ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ปกติเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ แม้ว่าจะเกิดขึ้นในเด็กและวัยรุ่นไม่มากนักก็ตาม ผู้มีน้ำหนักตัวมากเกินก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน  

มีปริมาณผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 มากเท่าไร?

ประเทศอินเดียมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมากที่สุดในโลก (35.5 ล้านคน) ตามด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่ในลำดับที่สองด้วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน 23.8 ล้านคน โดยในปี 2546 ประชากรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 39.3 ล้านคน คาดว่าป่วยด้วยโรคเบาหวาน ซึ่งเทียบเท่ากับ 5.6 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด  

อาการของเบาหวานประเภทที่ 2 เป็นอย่างไร?

เบาหวานประเภทที่ 2 พัฒนาขึ้นอย่างช้าๆ บางครั้งไม่ปรากฏอาการภายนอก ผู้ป่วย 1 ใน 3 รายที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานได้พัฒนาโรคแทรกซ้อนขึ้นแล้ว ในกรณีเช่นนี้ ผลที่เกิดขึ้นอาจไม่สามารถรักษาให้หายกลับเป็นปกติได้  

อาการทางภายนอกที่พบบ่อยที่สุดของเบาหวานประเภทที่ 2 ได้แก่ การกระหายน้ำอย่างรุนแรง ปัสสาวะบ่อย หิว สูญเสียน้ำหนักโดยไม่ทราบสาเหตุ ไร้เรี่ยวแรง ตาพร่ามัว  แผลหายช้า ปวดเสียวหรือสูญเสียความรู้สึกบริเวณมือหรือเท้า เกิดการติดเชื้อซ้ำที่ผิวหนัง เหงือก ช่องคลอด หรือระบบทางปัสสาวะ  

เราจะป้องกันหรือลดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานประเภทที่ 2 ได้อย่างไร?

เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อน สิ่งสำคัญได้แก่การตรวจหาเบาหวานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินหรือโรคอ้วน และมีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจเพื่อหาเบาหวานอย่างง่ายๆ โดยแพทย์ ปีละหนึ่งครั้ง  

สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 เป้าหมายสำคัญประการแรก คือ การควบคุมกลูโคส ไขมัน และความดันเลือดในกระแสเลือดให้ปกติดีอยู่เสมอ เพื่อให้การควบคุมกลูโคสในกระแสเลือดประสบผลสำเร็จ การทำสมาธิและการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น วิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ การวางแผนโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพและการออกกำลังกาย การหมั่นพบแพทย์อยู่เป็นประจำ ก็ช่วยในการตรวจหาโรคแทรกซ้อนที่อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ทันท่วงทีอีกด้วยเช่นกัน

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ?

  • มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 พันธุกรรมมีบทบาทสำคัญต่อเบาหวานประเภทที่ 2 หากสมาชิกในครอบครัวหนึ่งคนหรือมากกว่าเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
  • ผู้มีน้ำหนักตัวมากเกินและผู้เป็นโรคอ้วน: ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 มากกว่า 8 ใน 10 ราย เป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินหรือโรคอ้วนอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • ผู้ไม่ออกกำลังกาย: เบาหวานประเภทที่ 2 โดยปกติเกิดขึ้นกับผู้เฉื่อยชามากกว่า การออกกำลังกายสามารถลดโอกาสการเกิดเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ครึ่งหนึ่ง 
  • ผู้สูงอายุ: ผู้ป่วยจำนวน 1 ใน  5 ราย ที่มีอายุเกิน 65 ปี เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 

เราจะป้องกันหรือชะลออาการของโรคเบาหวานได้อย่างไร?

  • สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน ควรลดไขมันของร่างกายลง 7 – 10 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน ลดโอกาสเกิดเบาหวานประเภทที่ 2 ครึ่งหนึ่ง

  • ไขมันที่สะสมรอบๆ บริเวณท้อง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกัน ไขมันบริเวณช่องท้องสามารถวัดได้ด้วยการวัดเส้นรอบเอว กระทำได้โดยใช้สายวัดวัดที่บริเวณกึ่งกลางระหว่างกระดูกซี่โครงส่วนล่างและและส่วนบนของกระดูกรอบเอว เส้นรอบเอวที่น้อยกว่า 90 เซ็นตริเมตร สำหรับผู้ชายและน้อยกว่า 80 เซ็นตริเมตรสำหรับผู้หญิง บ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่ต่ำ สำหรับผู้ที่มีไขมันช่องท้องมากกว่า ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับเส้นรอบวงที่เพิ่มขึ้น

  • การใช้กล้ามเนื้ออยู่เสมอ เพิ่มความสามารถของกล้ามเนื้อในการดูดซึมและนำอินซูลินมาใช้ ทั้งสองกรณีจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นหรือเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 จึงแนะนำให้ทำการออกกำลังกายเต้นแอโรบิก ออกกำลังกายแบบใช้กล้ามเนื้อ และการออกกำลังแบบยืดหยุ่นผสมผสานกัน

ข้อแนะนำการออกกำลังกาย

  1. การออกกำลังกายแบบแอโรบิค: แนะนำให้ทำอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ นานครั้งละ 30 นาทีโดยประมาณต่อวัน หากคุณต้องการลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพิ่มเติมก็จะเป็นประโยชน์ ปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนเพิ่มระดับการออกกำลังกาย

  2.  การออกกำลังกายแบบใช้กล้ามเนื้อ: การสะสมมวลกระดูก เป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ในการเผาผลาญแคลอรี่และเสริมความสามารถของร่างกายในการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด การยกน้ำหนักเป็นตัวอย่างหนึ่งของการออกกำลังแบบใช้กล้ามเนื้อ

  3.  การออกกำลังกายแบบยืดหยุ่น เช่น การยืดคลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้ข้อต่อมีความยืดหยุ่นและลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บในระหว่างการออกกำลังกาย   

ข้อแนะนำการเพิ่มการออกกำลังกาย:

  • จอดรถที่ลานจอดรถไกลสุด  
  • ตกแต่งสวนที่บ้าน
  • มีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับเด็กหรือลูกหลาน
  • เดินขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟท์หรือบันไดเลื่อน
  • ล้างรถ
  • หยุดลงที่สถานีรถ ให้ห่างสองสามช่วงจากป้ายปกติ และเดิน

ข้อแนะนำการเลือกรับประทานอาหาร

กลยุทธ์เชิงโภชนาการที่สำคัญที่สุดสองประการเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้แก่ การเลือกแหล่งอาหารที่มีเส้นใยสูง มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตและไขมันต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันชนิดอิ่มตัว

เลือกธัญพืชที่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่มีเส้นใยสูง และจำกัดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตบริสุทธิ์สูง โดยธัญพืชที่มีคาร์โบไฮเดรตเส้นใยสูง จะเกิดการดูดซึมอย่างช้าๆ ซึ่งจำกัดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด และลดความต้องการของอินซูลิน ทางเลือกที่ดี ได้แก่ ข้าวแดง ข้าวไม่ขัดสี ข้าวโอ๊ต ขนมปังจากธัญพืช บะหมี่ปรุงกึ่งสุก เวอร์มิเซลลีจากถั่ว ถั่วหรือถั่วมีเปลือก เช่น ถั่วบัลเกอร์ (bulgur) เป็นต้น 

ใช้ไขมันไม่อิ่มตัวแทนที่จะใช้ไขมันอิ่มตัวและไขมันชนิดทรานส์ ไขมันไม่อิ่มตัว เป็นต้นว่า น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่ว น้ำมันดอกทานตะวัน หรือน้ำมันข้าวโพด ช่วยป้องกันโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันปาล์มและน้ำมันเมล็ดปาล์มซึ่งมีระดับไขมันอิ่มตัวสูงกว่า และ และเนยเทียมชนิดแข็งหรือกึ่งเหลว เช่นเดียวกับน้ำมันหมู ซึ่งมีทั้งไขมันอิ่มตัว และไขมันชนิดทรานส์ ซึ่งอาจเร่งการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และโรคแทรกซ้อน   

ข้อมูลทางการแพทย์ด้านเบาหวานจากมูลนิธิเบาหวานสากล (The Diabetes Atlas of the World Diabetes Foundation) ประเมินว่า ทั่วโลกมีประชากรวัยผู้ใหญ่เป็นโรคเบาหวานมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ และอีก 8 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้ที่มีความทนกลูโคสบกพร่อง ซึ่งเป็นสภาพที่นำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนหลายอาการจากเบาหวาน และในหลายๆ รายที่ไม่เข้ารับการตรวจจากแพทย์ ก็จะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2  

อ่านเพิ่มเติม

  1. Diet, Nutrition and the Prevention of Chronic Diseases:Report of a Joint WHO/ FAO Expert Consultation, 2003

  2. World Diabetes Foundation: Diabetes Atlas 2nd Ed. 2003

  3. International Diabetes Foundation www.idf.org  
     


แหล่งที่มา : afic.org

อัพเดทล่าสุด