https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ข่าวโรคหัวใจ อาหารป้องกันโรคหัวใจ โรคหัวใจโตคือ MUSLIMTHAIPOST

 

ข่าวโรคหัวใจ อาหารป้องกันโรคหัวใจ โรคหัวใจโตคือ


553 ผู้ชม


ข่าวโรคหัวใจ อาหารป้องกันโรคหัวใจ โรคหัวใจโตคือ

 

 

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease – CAD)

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ   (Coronary Artery Disease – CAD) เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น เพศชาย การสูบบุหรี่ ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการไม่ออกกำลังกายประจำ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการสำคัญ คือ อาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเหนื่อยง่ายโดยเฉพาะในเวลาออกกำลังกาย ซึ่งในบางรายอาจเป็นแบบฉับพลัน และรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือที่เรียกว่า Heart Attack ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง หาไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม

โรคนี้ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาอยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัดนำหลอดเลือดดำที่ขา หรือหลอดเลือดแดงที่ผนังหน้าอกมาตัดต่อกับหลอดเลือดที่อุดตันทำทางเดินของเลือดใหม่ หรือที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า การผ่าตัดบายพาส (Coronary Artery Bypass Graft) การรักษาด้วยยา และการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจรวมถึงการใส่ขดลวดในหลอดเลือดหัวใจ

วิธีการรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวดจะทำในห้องตรวจสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Laboratory) เป็นห้องที่มีเครื่องถ่ายภาพเอ็กซเรย์ และอุปกรณ์เครื่องมือเฝ้าติดตามการทำงานของหัวใจชนิดต่างๆ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ ด้วยบอลลูนหลังการฉีดสีถ่ายภาพเอ็กซเรย์หลอดเลือดหัวใจเพื่อให้สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography; CAG)

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจทำโดยการสอดสายตรวจขนาดเล็กผ่านเข้าทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือหรือขาหนีบจนกระทั่งปลายสายไปถึงหลอดเลือดหัวใจ แล้วทำการฉีดสารทึบรังสีจำนวนเล็กน้อยเข้าในหลอดเลือดหัวใจพร้อมกับใช้เอ็กซ์เรย์บันทึกภาพของหลอดเลือดหัวใจแต่ละเส้นไว้

ก่อนทำการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำให้งดน้ำและอาหารประมาณ 4-6 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ ในห้องตรวจสวนหัวใจพยาบาลจะทำความสะอาดบริเวณข้อมือและขาหนีบที่จะทำการสอดสายตรวจ แพทย์จะฉีดยาชาก่อนที่จะสอดท่อนำและสายตรวจเข้าไปจนถึงหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวตลอดเวลาแต่จะไม่รู้สึกเจ็บปวดในขณะทำการตรวจ ขณะแพทย์ฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจนั้นบางครั้งผู้ป่วยอาจจะรู้สึกร้อนวูบวาบหรือรู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะบ้างซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง เมื่อแพทย์เห็นหลอดเลือดทั้งหมดจากการฉีดสีแล้วแพทย์จะบอกผลการตรวจให้กับผู้ป่วยและญาติทราบ ผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบเล็กน้อยอาจเหมาะสมกับการรักษาด้วยการรับประทานยา ในขณะที่ผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรงหลายเส้นอาจเหมาะสมกับการผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งทั้งสองกรณีนี้แพทย์จะดึงสายตรวจออกจากตัวผู้ป่วยได้หลังจากเสร็จสิ้นการตรวจ ในผู้ป่วยที่รอยตีบของหลอดเลือดเหมาะสมกับการถ่างขยายด้วยบอลลูนหรือการใส่ขดลวดค้ำหลอดเลือดหัวใจแพทย์สามารถจะทำการรักษาต่อจากการฉีดสีได้ทันที

การรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวน (Percutaneous Coronary Intervention; PCI)

การรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวนมีขั้นตอนเบื้องต้นเหมือนกับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ เพียงแต่ใช้สายนำ (Guiding catheter) ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านในใหญ่กว่าสายตรวจที่ใช้ในการฉีดสี (Diagnostic catheter) เมื่อปลายสายนำอยู่ในหลอดเลือดหัวใจแล้ว แพทย์จะสอดเส้นลวดขนาดเล็กกว่าเส้นผมผ่านสายนำเข้าไปจนกระทั่งปลายเส้นลวดผ่านเลยจุดตีบแคบของหลอดเลือดหัวใจ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้เส้นลวดเป็นแกนช่วยนำสายชนิดพิเศษที่มีบอลลูนติดอยู่ตรงปลาย ใช้ภาพเอ็กซ์เรย์ที่เห็นบนจอช่วยในการวางตำแหน่งบอลลูนให้ตรงกับจุดที่มีการตีบแคบของหลอดเลือด แล้วใช้แรงดันทำให้บอลลูนกางออก แรงดันของบอลลูนจะผลักรอยตีบของหลอดเลือดหัวใจให้เปิดกว้างทำให้เลือดไหลผ่านได้สะดวกขึ้น เสร็จแล้วจึงดึงบอลลูนออกจากตัวผู้ป่วย บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้บอลลูนมากกว่าหนึ่งลูก

ในกรณีที่แพทย์เห็นว่าควรใส่ขดลวด เนื่องจากรอยตีบยังขยายได้ไม่กว้างพอ หรือเพื่อเป็นการลดโอกาสเกิดการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจก็จะนำสายสวนที่มีขดลวดอยู่ที่ปลายสายใส่เข้าไปยังบริเวณที่เคยคีบในลักษณะเดียวกันกับที่ใส่สายบอลลูน และขยายขดลวดให้ขดลวดกางออกไปสัมผัสและยึดติดกับผนังหลอดเลือด เมื่อได้ผลเป็นที่น่าพอใจสายสวนทั้งหมดจะถูกนำออกมานอกร่างกาย เหลือเพียงท่อเล็ก ๆ ที่เป็นทางเข้าของสายต่าง ๆ ซึ่งจะถูกดึงออกเมื่อยาป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวหมดฤทธิ์ลง หลังจากนั้นแพทย์หรือพยาบาลจะกดแผลอยู่ประมาณ 10-15 นาที และผู้ป่วยจะต้องนอนราบไม่งอขา (ในกรณีทำที่ต้นขา) เป็นเวลาอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แพทย์มักให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น

ข้อดีของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด มีข้อดีคือ ไม่ต้องทำการผ่าตัดและไม่ต้องดมยาสลบ ดังนั้นโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงต่ำกว่าการผ่าตัดบายพาส รวมทั้งผู้ป่วยยังออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น (1-2 วัน) และกลับไปสู่ชีวิตปกติได้เร็วกว่าโดยไม่ต้องมีระยะพักฟื้นที่นานเหมือนภายหลังการผ่าตัด นอกจากนั้นเป็นที่ทราบดีว่าโดยธรรมชาติของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้น ถึงแม้ผู้ป่วยจะดูแลตนเองอย่างดี หลอดเลือดอาจตีบแคบลงได้อีกในอนาคตทั้งตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งใหม่ ซึ่งสามารถขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวดได้หลายครั้ง และด้วยความปลอดภัยสูงเช่นการทำครั้งแรก

ข้อจำกัดของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด

ลักษณะการตีบบางอย่างไม่เอื้อต่อการทำบอลลูนอาจทำไม่สำเร็จ ไม่ปลอดภัย หรือได้ผลที่ไม่ดีนัก แต่ข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวดก็คือ การตีบซ้ำกลับมาตรวจบริเวณเดิมที่ทำบอลลูน และใส่ขดลวดไว้ (Restenosis) ภาวะนี้เกิดจากกระบวนการ "สมานแผล" ตามธรรมชาติของร่างกายที่หลอดเลือดสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาคลุมขดลวดที่ถูกใส่เข้าไป จนบางครั้งปริมาณเนื้อเยื่อใหม่มีมากจนเข้าไปสะสมอยู่ในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงอีกครั้ง

ผู้ป่วยประมาณ 30%-40% มีโอกาสที่จะเกิดรอยตีบซ้ำในตำแหน่งเดิมที่ได้รับการถ่างขยายด้วยบอลลูน ภายในเวลา 6 เดือน ในขณะที่การใช้ขดลวดค้ำหลอดเลือดหัวใจสามารถลดโอกาสที่จะเกิดการตีบซ้ำของตำแหน่งที่ได้รับการถ่างขยายลงได้เหลือประมาณ 10%-15% ภายในเวลา 6 เดือน

ความปลอดภัยของการฉีดสีและการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวน

จากประสบการณ์ของแพทย์และความทันสมัยของเครื่องมือที่ใช้ในปัจจุบันทำให้การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจรวมทั้งการรักษารอยตีบตันผ่านสายสวนมีความปลอดภัยสูงมาก ปริมาณรังสีเอ็กซ์ที่ผู้ป่วยได้รับขณะฉีดสีหรือถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจมีปริมาณน้อยเกินกว่าจะทำให้เกิดอันตรายต่อคนปกติ ยกเว้นต่อบุตรในครรภ์ซึ่งแพทย์จะหลีกเลี่ยงไม่นำสตรีที่กำลังตั้งครรภ์มารับการตรวจรักษาด้วยวิธีนี้อยู่แล้ว สารทึบรังสีที่ใช้ในการฉีดสีมีส่วนผสมของไอโอดีน ดังนั้นผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารทะเลหรือเคยแพ้สารทึบรังสีมาก่อนจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า นอกจากนั้นแพทย์จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ที่มีการทำงานของไตเสื่อมเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียของสารทึบรังสีต่อไต

ขณะทำการฉีดสีหรือถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจอยู่นั้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ได้คาดหมายเกิดขึ้นได้ เช่น มีการฉีกขาดของผนังด้านในของหลอดเลือดหรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดเฉียบพลัน แต่โอกาสที่จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายอันเป็นผลเนื่องจากการฉีดสีพบได้น้อยกว่า 5 ใน 10,000 ราย และน้อยกว่า 2 ใน 100 รายของการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ มีผู้ป่วยน้อยกว่า 5 ใน 1,000 รายเท่านั้นที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดหัวใจฉุกเฉินเนื่องจากการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจไม่สำเร็จ

การสอดสายสวนผ่านเข้าในหลอดเลือดแดงอาจทำให้มีลิ่มเลือดเล็กๆหรือฟองอากาศหลุดไปอุดหลอดเลือดสำคัญเช่นหลอดเลือดสมอง แต่ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่เกิน 1 ใน 1,000 ราย หลอดเลือดแดงที่แพทย์ใช้แทงเพื่อสอดสายสวนอาจเกิดการฉีกขาดหรือมีเลือดออกภายหลังจากการดึงสายสวนออกแล้ว อันตรายต่อหลอดเลือดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 0.5% - 3% โดยเฉพาะเมื่อทำการฉีดสีหรือถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านทางหลอดเลือดที่ขาหนีบ

นวัตกรรมในการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ

ขดลวดเคลือบยา (Drug Eluting Stent) เป็นนวัตกรรมของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด ขดลวดดัวกล่าวเคลือบด้วยยาที่สามารถลด หรือยับยั้งกระบวนการการแบ่งเซลล์ของผนังหลอดเลือดไม่ให้เกิดขึ้นมากเกินไปอันจะนำไปสู่การตีบซ้ำลงได้ เมื่อใส่ขดลวดเคลือบยานี้แทนขดลวดธรรมดาจะสามารถลดโอกาสเกิดการตีบซ้ำลงได้จากร้อยละ 10-15 ลงมาเหลือน้อยกว่าร้อยละ 5

นอกจากนี้   ยังมีเทคนิคพิเศษอื่นๆของการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตันผ่านสายสวนซึ่งเหมาะสมกับลักษณะการตีบตันหรือสภาพของหลอดเลือดหัวใจบางแบบ เช่น การใช้สายที่มีหัวกรอเพชรขนาดเล็กติดที่ปลาย (Rotablator) เพื่อใช้กรอรอยตีบที่ยาวหรือมีหินปูนจับ โดยขบวนการหมุนของหัวกรอจะเป็นในลักษณะเดียวกับเครื่องกรอฟัน ด้วยความเร็วประมาณ 160,000 -180,000 รอบต่อนาที

โรตาเบลเตอร์ (Rotablator) หรือหัวกรอเพชรนี้เป็นเทคนิคที่นำมาใช้ร่วมกับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวนสำหรับในกรณีที่หลอดเลือดมีการตีบตัน 100 % โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการจับตัวของหินปูน การนำเทคนิคนี้มาใช้สามารถช่วยทำให้อัตราความสำเร็จในการสอดสายสวนเพื่อการขยายหลอดเลือดสูงขึ้นถึงร้อยละ 90 จากเดิมที่จะไม่สามารถทำได้เมื่อแพทย์พบปัญหาการตีบตันแบบ 100%


แหล่งที่มา : newswit.com

อัพเดทล่าสุด