https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วิธีป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง การดูแลผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ยาสมุนไพรรักษาโรคถุงลมโป่งพอง MUSLIMTHAIPOST

 

วิธีป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง การดูแลผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ยาสมุนไพรรักษาโรคถุงลมโป่งพอง


4,263 ผู้ชม


วิธีป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง การดูแลผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ยาสมุนไพรรักษาโรคถุงลมโป่งพอง

 
โภชนาการสำหรับโรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง

   โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่เกิดจากทางเดินระบบหายใจอุดกั้นร่วมกับอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เมื่อเริ่มเป็นโรคนี้อาการของโรคจะยังไม่ปรากฏ ผู้ป่วยมักไม่รู้สึกถึงความผิดปกติ เพราะการดำเนินของโรคจะเป็นไปอย่างช้าๆ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการไอในตอนเช้า หายใจขัด และตื้น จนกระทั่งอาการเรื้อรังและรุนแรงขึ้นจนต้องพบแพทย์  
วิธีป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง การดูแลผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ยาสมุนไพรรักษาโรคถุงลมโป่งพอง   สาเหตุสำคัญของโรคนี้คือการสูบบุหรี่ สาเหตุอื่นของโรคได้แก่ การหายใจเอามลพิษเช่นควันบุหรี่ เขม่ารถจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ร่างกายเสมอ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปอดและการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
   เมื่อผู้ป่วยมีโรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง ปัญหาโภชนาการจะตามมา เพราะผู้ป่วยจะต้องใช้ความพยายามในการเคี้ยว และกลืนอาหารในขณะที่มีปัญหาหายใจขัด ประกอบกับผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาอาจทำให้ผู้ป่วยเบื่ออาหาร ในที่สุดน้ำหนักตัวลดลง ร่างกายขาดสารอาหารอย่างรุนแรง ภูมิต้านทานลดลง ติดเชื้อง่าย และต้องพึ่งเครื่องช่วยหายใจในที่สุด
 
หลักในการให้โภชนบำบัดของผู้ป่วยถุงลมโป่งพองเรื้อรัง 
      อาหารผู้ป่วยโรคนี้ควรเป็นอาหารที่มีพลังงานและสารอาหารสูง เช่น ซุปตุ๋นใส่เนื้อสัตว์ ใส่ผักชนิดต่างๆ หรือครีมซุป อาจเติมนมผงเพื่อเพิ่มคุณค่าสารอาหาร เครื่องดื่มประเภทมิ้ลค์เชค (milk shake) อาจดัดแปลงให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้นโดยการเติมไข่ลวกสุกและผลไม้ลงไป

  • อาหารควรมีลักษณะที่ไม่ต้องเคี้ยวมากและกลืนง่าย ผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องใช้พลังงานมากจากการเคี้ยว จะได้ไม่เหนื่อยกับการกิน  
  • อาหารประเภทโปรตีนควรเลือกปลา ไข่ นม เต้าหู้ เนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ควรต้มให้เปื่อย บด หรือสับละเอียด เพื่อลดการเคี้ยว  
  • ผลไม้ควรเลือกชนิดที่เคี้ยวง่าย ได้แก่ มะละกอสุก มะม่วงสุก ส้มที่แกะเยื่อหุ้มออก แตงโม 
  • อาหารผักควรหั่นเป็นชิ้นเล็กและต้มหรือผัดให้นิ่ม 
  • ผู้ป่วยโรคนี้รับประทานไขมันเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย แต่ควรเป็นไขมันจากพืชมากกว่าไขมันสัตว์ ยกเว้นไขมันจากปลา  ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ 
  • จัดอาหารในปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยขึ้นตลอดวัน เช่น วันละ 6 มื้อเล็ก  จะช่วยลดปริมาณการใช้ก๊าซออกซิเจนที่ร่างกายต้องการในการเคี้ยวและย่อยในแต่ละมื้อ  
  • ผู้ป่วยควรเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม อาหารหมักดอง และอาหารกระป๋อง เพื่อป้องกัน หรือลดอาการบวม
  • กรณีที่ผู้ป่วยไม่มีอาการบวม ควรดื่มน้ำประมาณวันละ 6-8 แก้ว เพื่อลดเสมหะ จะทำให้หายใจสะดวกขึ้นและลดการติดเชื้อ   
  • กระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารในช่วงที่มีอาการทุเลาลงโดยเฉพาะในช่วงเช้า  รับประทานคำเล็กๆ เคี้ยวช้าๆ และเคี้ยวให้ละเอียดโดยไม่อ้าปาก  หยุดพักระหว่างคำ  และหายใจลึกๆ 
  • เมื่อเกิดอาการท้องอืด ควรจะจำกัดอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซ เช่น  แอ๊ปเปิ้ล กะหล่ำปลี บร็อคเคอลี ดอกกะหล่ำ ถั่ว แตง ผักดอง เป็นต้น  
  • กรณีท้องผูกจัดให้ผู้ป่วยได้รับของเหลวในรูปน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้มคั้น น้ำลูกพรุน และเพิ่มเส้นใยอาหารในรูปผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เพื่อช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของระบบย่อยอาหาร  
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการกลืน หรือผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้เพียงพอ ควรได้รับการเสริมอาหารทางการแพทย์เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักตัว หรืออย่างน้อยป้องกันไม่ให้น้ำหนักลด

สารอาหารที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ

วิธีป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง การดูแลผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ยาสมุนไพรรักษาโรคถุงลมโป่งพอง   วิตามินเอจำเป็นต่อการรักษาเซลล์เยื่อบุต่างๆ รวมทั้งเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ การขาดวิตามินเอจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ อาหารที่ให้วิตามินเอสูงคืออาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ผัก ผลไม้ที่มีสีเขียวจัด สีส้ม หรือสีเหลืองจัด ได้แก่ ตำลึง คะน้า ผักบุ้ง บร็อคเคอลี แครอท ฟักทอง มะละกอสุก มะม่วงสุก แคนตาลูปสุกจัด เป็นต้น
   วิตามินซีจำเป็นต่อการสร้างเนื้อเยื่อและการรักษาแผล การขาดวิตามินซีจะทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อง่ายขึ้น เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น อาหารที่มีวิตามินซีสูงได้แก่ส้มชนิดต่างๆ ฝรั่ง มะละกอสุก น้ำส้มคั้น มะม่วง แคนตาลูป สะตรอว์เบอร์รี่ พริกหวาน มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ผักโขม บร็อคเคอลี เป็นต้น
   แมกนีเซียม  เป็นเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการรักษาสมดุลของแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของปอด และการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ ดังนั้นการขาดแมกนีเซียมจะทำให้กล้ามเนื้อระบบหายใจอ่อนแอลง แมกนีเซียมมีมากในธัญพืชไม่ขัดสี ผักใบเขียว และถั่วต่างๆ  
   น้ำมันปลา (กรดโอเมก้า 3) มีคุณสมบัติในการป้องกันการบวม  ซึ่งเกี่ยวข้องกับการป้องกันปอด อาจลดความเสี่ยงต่อโรคถุงลมโป่งพองในผู้ที่สูบบุหรี่ และอาจให้ประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยประเภทนี้ น้ำมันปลามีมากในปลาทะเลชนิดต่างๆ

แหล่งที่มา : vcharkarn.com , นิตยสาร Health & Cuisine

อัพเดทล่าสุด