https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ ข่าวโรคธาลัสซีเมีย วิธีการรักษาโรคธาลัสซีเมีย MUSLIMTHAIPOST

 

โรคธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ ข่าวโรคธาลัสซีเมีย วิธีการรักษาโรคธาลัสซีเมีย


784 ผู้ชม


โรคธาลัสซีเมียในหญิงตั้งครรภ์ ข่าวโรคธาลัสซีเมีย วิธีการรักษาโรคธาลัสซีเมีย

 

 

 

การตั้งครรภ์ VS. เลือดจาง...อันตรายแค่ไหน ? (2)


รศ.พ.อ.นพ.วิเชียร มงคลศรีตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา 

          “ธาลัสซีเมียกับการตั้งครรภ์”

            “คุณตั้งครรภ์ครับ หมอขอแสดงความยินดีด้วย แต่คุณรับประทานยาบำรุงเลือดไม่ได้นะครับ เป็นข้อห้ามอย่างเด็ดขาด........” 
คำถามที่เกิดขึ้นในหัวใจของคนที่กำลังจะเป็นแม่คน คือ ทำไมชั้นกินยาบำรุงเลือดเหมือนคนอื่นไม่ได้? แล้วชั้นจะทำอย่างไร? แล้วลูกชั้นจะปกติหรือหากไม่ได้ยา? อยากรู้แล้วใช่ไหมล่ะ ว่าเพราะอะไร?
            ฉบับที่แล้วเราพูดคุยกันถึงเรื่องโรคโลหิตจางกับการตั้งครรภ์ วันนี้เราจะเจาะลึกกันเฉพาะเลยครับถึงเรื่องโลหิตจางที่เกิดจากโรคธาลัสซีเมียกับการตั้งครรภ์ (ซึ่งเราไม่เหมือนประเทศอื่น คือ คนท้องแล้วเป็นโรคซีด สาเหตุอันดับหนึ่งเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก แต่บ้านเราอันดับหนึ่งกลับเกิดจากโรคธาลัสซีเมีย) คุณผู้อ่านควรรู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว และอาจผิดพลาดในการปฏิบัติตนระหว่างตั้งครรภ์ได้ครับไม่รู้มาก่อน
            ก่อนอื่นต้องทบทวนก่อนครับว่า ธาลัสซีเมีย(Thalassemia) เป็นโรคโลหิตจางจากกรรมพันธุ์ ดังนั้นไม่มีโอกาสหายขาดจากโรคนี้ได้ (ยกเว้นทำการรักษาโดยการปลูกถ่ายไขกระดูก) โรคนี้เกิดจากการมีเม็ดเลือดแดงที่รูปร่างหน้าตาผิดปกติ ทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย สารที่อยู่ในเลือด คือ เฮโมโกลบิน ก็ละลายออกมาในน้ำเลือด ธาตุเหล็กก็เป็นส่วนหนึ่งของเฮโมโกลบินก็ออกมาด้วยเช่นกัน และที่เป็นปัญหามากก็คือ ธาตุเหล็กที่ลอยไปลอยมามันไม่สามารถโดนกำจัดออกไปจากร่างกายเราได้ จึงไปสะสมตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ม้าม หัวใจ ตับอ่อน ผิวหนัง และต่อมไร้ท่อในร่างกาย ซึ่งจะไปมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้บางคนอาจมีการพัฒนาการของอวัยวะต่างๆ ช้า เช่น ไม่มีลักษณะที่จะบ่งบอกความเป็นเพศ เนื่องจากขาดฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไร้ท่อที่จะไปทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนเพศ ทำให้การพัฒนาทางเพศลดลง หรือไม่มีการพัฒนาเลย บางคนจึงอาจจะไม่มีประจำเดือนตั้งแต่แรกเลย หรือบางคนอาจจะไม่มีประจำเดือนในภายหลังก็ได้
            ฟังดูแล้วน่ากลัวไหมครับ? ยังไม่หมดครับ เนื่องจากคนเป็นธาลัสซีเมียมีโอกาสที่จะมีปริมาณธาตุเหล็กสูงเกินกว่าร่างกายต้องการ และอาจไปทำให้เกิดโทษกับร่างกายเราได้ และหากคนกลุ่มนี้ตั้งครรภ์จะทำอย่างไรหากแพทย์บอกให้กินยาบำรุงเลือด ขอบอกไว้ก่อนเลยครับว่า หากตรวจแล้วมีภาวะเหล็กเกิน (โดยทั่วไปตรวจได้จากระดับของเฟอริติน) กินยาบำรุงอื่นๆ ได้นะครับ แต่ห้ามกินยาบำรุงเลือดที่เป็น “ธาตุเหล็ก” เพราะในกระแสเลือดเรามีเยอะอยู่แล้ว หากมีมากเกินไปจะเกิดอันตรายกับร่างกายดังที่กล่าวมาแล้ว และคนที่เป็นธาลัสซีเมียที่รับประทานหรือฉีดยาขับเหล็ก ต้องหยุดให้ยานะครับ เนื่องจากอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ได้ (คนที่เป็นธาลัสซีเมียไม่ว่าจะเป็นโรคหรือพาหะ อาจจะมีหรือไม่มีภาวะเหล็กเกินก็ได้ ต้องทำการตรวจเลือดพิเศษถึงจะทราบ)
             คนที่เป็นธาลัสซีเมียหากเป็นคู่สามี-ภรรยา ที่มีความเสี่ยงต่อการที่ลูกจะเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดที่รุนแรง ควรต้องได้รับการตรวจดูตั้งแต่ทารกในครรภ์ยังไม่คลอด ซึ่งทำได้หลายวิธี และมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน หากต้องการตรวจเนิ่นๆ ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ ต้องใช้วิธีการดูดเอารกมาตรวจ ภายใต้การนำด้วยอัลตราซาวด์ แต่วิธีนี้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงในการเกิดปัญหากับทารกในครรภ์ หรืออีกวิธีคือการตรวจโดยใช้กล้องส่อง (fetoscope) เข้าไปแล้วเจาะเอาเลือดจากหลอดเลือดของรก (placental vein aspiration) นอกจากนั้นหากอายุครรภ์มากขึ้นมีน้ำคร่ำมากขึ้น ก็จะใช้วิธีดูดเอาน้ำคร่ำมาตรวจได้ ว่าเด็กจะเป็นโรคนี้หรือไม่ หรือเป็นชนิดที่รุนแรงหรือไม่ ทำให้สามารถวางแผนขั้นตอนที่เหมาะสมในการให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปอย่างเหมาะสมที่สุด
มีรายงานคนไข้ต่างประเทศที่เป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 50 คน พบว่า 7 คนไม่มีประจำเดือนตั้งแต่แรก อีก 9 คนเคยมีประจำเดือนแล้วหยุดไปเฉยๆ และอีก 34 คนสามารถมีประจำเดือนได้ตามปกติ ดังนั้นคุรอาจสงสัยว่าการไม่มีประจำเดือนทำให้ไม่มีบุตร? อาจไม่จริงเสมอไปในปัจจุบันครับ เพราะคนไข้ทั้ง 16 คนที่ไม่มีประจำเดือน สามารถตั้งครรภ์ได้ 17 ครรภ์ โดย 10 ครรภ์เกิดจากการปฏิสนธิตามปกติ และอีก 7             คนใช้กรรมวิธีทางการแพทย์สมัยใหม่ช่วย ทั้งผสมเทียมและเด็กหลอดแก้ว ในขณะที่คนที่มีประจำเดือนปกติ 34 คน มีการตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 73 ครรภ์ เกิดจากการปฏิสนธิตามปกติ 66 ครรภ์ เกิดจากการแพทย์สมัยใหม่ช่วย 7 ครรภ์
            รายงานนี้มีการตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 90 ครรภ์ 69 ครรภ์ เด็กคลอดปกติ 12 ครรภ์คลอดได้ตามปกติ 7 ครรภ์เกิดการแท้งขึ้นมาก่อน และอีก 2 คนเสียชีวิตเมื่อแรกคลอด อย่างไรก็ตามไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง พบเพียงแค่ครรภ์เป็นพิษเล็กน้อยเพียง 2 ครรภ์เท่านั้น และพบว่าระหว่างตั้งครรภ์ต้องมีการให้เลือดบ่อยมากขึ้นกว่าเก่า
            รายงานคนท้องที่เป็นธาลัสซีเมียในคนไทยก็มีนะครับ รายงานนี้ทำในภาคเหนือ โดยมีการตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 80 ครรภ์ พบว่าเป็นชนิดของธาลัสซีเมียที่หลากหลาย (65% Hemoglobin H disease, 28.8% beta-thalassemia hemoglobin E, 2% AE Bart’s disease, 2% EF Bart’s disease, 1% homozygous beta) พบว่าสามารถมีอายุครรภ์ได้เฉลี่ย 37.4 สัปดาห์ (อยู่ระหว่าง 27-42 สัปดาห์) โดยพบว่าคลอดปกติ 67.5% และต้องผ่าตัดคลอด (ซีซ่า) 32.5% โดยพบว่าเด็กเจริญเติบโตน้อยกว่าอายุครรภ์ 27.3% เด็กคลอดก่อนกำหนด 20.8% เด็กมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม 44.1% และพบว่าแพทย์พยายามที่จะให้มีระดับเลือดเฮโมโกลบินสูงกว่า 7 กรัมต่อเดซิลิตร ก็ไม่ทำให้ปัญหาที่เกิดในการตั้งครรภ์ลดลง
            รู้ความเสี่ยง และข้อควรระวังในการตั้งครรภ์แล้วนะครับ หากคุณเป็นธาลัสซีเมีย ควรต้องปรึกษาแพทย์ที่เกี่ยวข้องให้ดีก่อนตัดสินใจมีบุตร ทั้งด้านความเสี่ยงของทารกในการเกิดโรคนี้ ความเสี่ยงของทารกในขบวนการตั้งครรภ์ ความเสี่ยงของแม่ในขบวนการตั้งครรภ์ อีกทั้งการต้องหลีกเลี่ยงธาตุเหล็กหากคุณมีภาวะเหล็กเกินอยู่แล้ว ต่างๆ เหล่านี้เป็นอะไรที่ป้องกันได้ หากได้รับการตรวจแนะนำอย่างเหมาะสมครับ...ขอให้เป็นครรภ์คุณภาพ

แหล่งที่มา : woman.teenee.com , นิตยสาร healthtoday

อัพเดทล่าสุด