https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคเริมติดต่ออย่างไร โรคเริมที่ตา ยยากินแก้โรคเริม MUSLIMTHAIPOST

 

โรคเริมติดต่ออย่างไร โรคเริมที่ตา ยยากินแก้โรคเริม


685 ผู้ชม


โรคเริมติดต่ออย่างไร โรคเริมที่ตา ยยากินแก้โรคเริม

การใช้ยาในโรคเริม


โรคเริม
โรคเริม (herpes simplex หรือ cold sore) เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในเมืองไทย และมีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งชื่อ เฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ (herpes simplex virus, ชื่อย่อ HSV) ซึ่งจะเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยการสัมผัสกับน้ำเหลืองของผู้ป่วยผ่านทางเยื่อบุหรือผิวหนังถลอกเป็นแผลเปิดของผู้รับเชื้อ เช่น การจูบ ร่วมเพศ หรือการใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย หลอดดูดกาแฟ ช้อนส้อม แก้วน้ำ เป็นต้น

ชนิดของโรคเริม
ในทางการแพทย์สามารถแยกเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเริมนี้เป็น ๒ ชนิด คือ

๑. เฮอร์ปีส์ ชนิดที่ ๑ (herpes simplex virus type I ชื่อย่อ HSV-I) ซึ่งมักเป็นบ่อยบริเวณริมฝีปาก หรือในช่องปากเป็นส่วนใหญ่

๒. เฮอร์ปีส์ ชนิดที่ ๒ (herpes simplex virus type II ชื่อย่อ HSV-II) ซึ่งมักทำให้เกิดโรคเริมที่บริเวณอวัยวะเพศของทั้งเพศชายและเพศหญิง

เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างทั้ง ๒ ชนิด พบว่า โรคเริมที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดที่ ๑ จะมีอาการแสดงออกที่รุนแรงน้อยกว่าโรคเริมที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดที่ ๒ รวมถึงในเรื่องการกลับมาเป็นใหม่ของโรคเริมที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดที่ ๑ จะมีระยะเวลาในการกลับมามีอาการอีกได้นานกว่า หรือมีความถี่ในการเป็นน้อยกว่า โดยเฉลี่ยปีละ ๑-๒ ครั้ง หรือทุก ๖-๑๒ เดือน ในขณะที่โรคเริมที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดที่ ๒ มักมีการกลับมาเป็นได้บ่อยกว่า โดยเฉลี่ยปีละ ๓-๔ ครั้ง และในบางรายอาจกลับมามีอาการทุกเดือนก็เป็นได้

อาการของโรคเริม
หลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ ๑ สัปดาห์ จะเริ่มต้นแสดงอาการ คันๆ เจ็บๆ หรือปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง แล้วต่อมาจะเริ่มมีอาการอักเสบของผิวหนัง เกิดอาการบวม แดง ร้อน และเริ่มพองเป็นตุ่ม น้ำใส เรียงตัวเกาะกันเป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ ๒-๑๐ เม็ด ลักษณะคล้ายไข่ปลาหรือพวงองุ่น ต่อมาตุ่มน้ำใสเหล่านี้ ก็จะพองโตและแตกออกกลายเป็นแผลเปิดชนิดแผลตื้นๆ หลายแผลติดๆ กัน คล้ายแผลร้อนในภายในช่องปาก และมักจะหายได้เอง ภายใน ๑-๓ สัปดาห์ ในกรณีที่มีอาการของโรคเริมครั้งแรก ในบางคนอาจมีอาการอ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว ไข้ต่ำๆ คล้ายกับอาการของไข้หวัดร่วมด้วย

การกลับมาเป็นใหม่ของโรคเริม
เชื้อโรคชนิดนี้เมื่อออกมาแสดงอาการและแผลหายดีแล้ว เชื้อไวรัสจะไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท ซึ่งยาไม่สามารถแทรกซึมเข้าไปทำลายได้ เป็นระยะพักหรือ หลบซ่อนตัวของเชื้อไวรัสโดยที่ไม่แสดงอาการออกมา รอเวลาจนกว่าสภาวะความแข็งแรงของร่างกายลดต่ำลง เช่น ตอนอ่อนเพลีย ภูมิต้านทานของร่างกาย ลดต่ำลง สตรีที่กำลังมีประจำเดือน ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในภาวะที่ทำงานหนัก พักผ่อนน้อยเกินไป อารมณ์เครียด คิดมาก กำลังเจ็บป่วย อากาศร้อนและแสงแดดจัด เมื่อใดก็ตามที่สภาวะของร่างกายอ่อนแอ โรคนี้ก็จะกลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่ ณ ตำแหน่งที่เดิมหรือใกล้เคียง ดังนั้น จึงควรป้องกันไม่ให้โรคเริมกลับมาอีก ด้วยการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

ระดับความรุนแรงของโรคเริม
ในการเป็นโรคเริมครั้งแรกมักจะมีอาการที่รุนแรงกว่าเมื่อกลับมาเป็นใหม่ และในผู้ที่เป็นเริมที่ริมฝีปาก หรือเกิดจากเชื้อเฮอร์ปีส์ชนิดที่ ๑ มักมีระดับความรุนแรงของโรคน้อยกว่าผู้ที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศ หรือโรคเริมที่เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ชนิดที่ ๒

การรักษาโรคเริม
เนื่องจากโรคเริมเกิดจากเชื้อไวรัสและหายได้เอง จึงแนะนำให้รักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เมื่อมีอาการปวด หรือมีไข้ และอาจจะประคบเย็นให้กับแผล เช่น การทำ wet dressing (การนำผ้าก๊อซมาชุบน้ำเกลือหมาดๆ วางลงด้านบนของแผล) เพื่อให้ความเย็น รู้สึกสบายแก่แผล และช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และในกรณีที่แผลแตกเป็นแผลอาจมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียเป็นหนอง อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย การใช้ยาต้านไวรัส ซึ่งในปัจจุบันมี ๓ ชนิด คือ  อะไซโคลเวียร์ (acyclovir), แฟมไซโคลเวียร์ (famciclovir), และวาลาไซโคลเวียร์ (valaciclovir) ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ ในการใช้ยากลุ่มนี้ ควรใช้ให้เร็วที่สุด ก่อนที่ไวรัสจะหยุดการเพิ่มจำนวน จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด ในทางปฏิบัติเมื่อตุ่มน้ำใสแตกออกเป็นแผลแล้วจะไม่แนะนำให้ใช้ยาต้านเชื้อไวรัส เพราะเป็นระยะที่ไวรัสหยุดการเพิ่มจำนวนแล้ว ในรายที่เป็นครั้งแรก ควรใช้ยาเม็ด เช่น อะไซโคลเวียร์ ขนาด ๒๐๐ มก./เม็ด วันละ ๕ ครั้ง (ทุก ๔ ชั่วโมง) เป็นระยะเวลาติดต่อกัน ๕ วัน เหมือนดังคำถามข้างต้นที่ได้รับมาทั้งสิ้น ๒๐ เม็ด ในรายที่กลับมาเป็นใหม่ (recurrent attack) อาจรักษาตามอาการ หรือใช้ยาทาอะไซโคลเวียร์ ซึ่งควรใช้ทันทีที่เริ่มมีอาการ อาจช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และควรใช้ยาทาชนิดนี้ วันละ ๕ ครั้ง ทุก ๓-๔ ชั่วโมง ในรายที่มีการกลับมาเป็นโรคเริมได้บ่อยๆ เช่น เป็นโรคเริมทุกเดือน ในกรณีนี้อาจใช้ยาในขนาดป้องกัน การเกิดโรคเริม ด้วยการกินยาเม็ดอะไซโคลเวียร์ ขนาด ๒๐๐ มก./เม็ด วันละ ๒ ครั้ง ติดต่อกันทุกวัน จะช่วยลดการกลับมาเป็นใหม่ได้ดี

ข้อปฏิบัติของผู้ป่วยโรคเริม

๑.งดการสัมผัส หรือมีเพศสัมพันธ์กับรอยแผลของโรคเริม จนกระทั่งแผลหายดีแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบริเวณที่เป็นแผล เพราะอาจจะแพร่ไปสู่คนใกล้ชิด หรือบริเวณอื่นๆ ของร่างกายได้ ถ้าจำเป็นควรใช้เครื่องป้องกัน เช่น สวมถุงยางอนามัย เป็นต้น

๒. ควรเลือกใช้เครื่องแต่งกายที่ขนาดพอดีตัว ไม่คับเกินไป อาจเลือกชุดที่ทำด้วยฝ้าย

๓.สตรีที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจภายในเดือนละ ๑-๒ ครั้ง

๔.ควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นใหม่

นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยได้บันทึกและมีการสืบทอดถึงสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งชื่อ พญายอ หรือ เสลดพังพอน ซึ่งมีการพัฒนาในรูปแบบยาครีมสำหรับรักษาโรคเริม ซึ่งให้ผลในการรักษาได้ใกล้เคียงกับการใช้ยาทาอะไซโคลเวียร์ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคเริม

แต่อย่างไรก็ตาม การป้องกันดีกว่ารักษาจึงควรพยายามรักษาสุขลักษณะที่ดี หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเริมโดยตรง การล้างมือบ่อยๆ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของเชื้อที่ได้ผลดี และในกรณีที่เป็นโรคนี้ก็ควรรักษาร่างกายให้แข็งแรงเพื่อไม่ให้กลับมามีอาการอีก แต่ถ้ามีอาการขึ้นมาก็ควรรักษาสุขลักษณะที่ดี เพื่อให้แผลหายไวและลดการแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น

สุดท้ายนี้คงได้คำตอบแล้วว่า ยาที่ได้ใช้รักษาโรคเริมโดยตรง แต่เมื่อหายดีแล้ว อาจกลับมาเป็นใหม่ได้ หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวข้องกับเรื่องยาและสุขภาพ ท่านสามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรชุมชน (ที่ประจำอยู่ที่ร้านยา) ที่พร้อมให้คำปรึกษาในเรื่องสุขภาพแก่ท่านทุกเมื่อ

แหล่งที่มา :  doctor.or.th

อัพเดทล่าสุด