https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคสะเก็ดเงิน อาการ โรคสะเก็ดเงินสะเก็ดทอง โรคสะเก็ดเงินขั้นรุนแรง MUSLIMTHAIPOST

 

โรคสะเก็ดเงิน อาการ โรคสะเก็ดเงินสะเก็ดทอง โรคสะเก็ดเงินขั้นรุนแรง


736 ผู้ชม


โรคสะเก็ดเงิน อาการ โรคสะเก็ดเงินสะเก็ดทอง โรคสะเก็ดเงินขั้นรุนแรง

 
โรคสะเก็ดเงิน posoriasis 

Psoriasis

โรคสะเก็ดเงินหรือเรื้อนกวางเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันมีความบกพร่อง 

รูปแสดงผิวหนังที่หนาตัว Plaque

 ทำให้เซลล์ผิวหนังกำพร้าแบ่งตัวเร็ว ทำให้ผิวหนาตัวขึ้นและเป็นขุย  และเชื่อว่าพันธุกรรมก็มีส่วนทำให้เกิดโรคโดยจะต้องมีปัจจัยกระตุ้นซึ่งได้แก่ ความเครียด ผิวหนังที่มีแผล  รวมทั้งการติดเชื้อและจากยาบางชนิด มักเป็นมากในระยะวัยรุ่น และพบมากในวัยกลางคนไม่ติดต่อโดยการสัมผัส โรคมีหลายรูปแบบความรุนแรงก็มีหลายระดับ รูปแบบที่พบบ่อยคือ Plaque psoriasis ผู้ป่วยร้อยละ 80ที่เป็นเรื้อนกวางจะเป็นชนิดนี้ ตำแหน่งที่พบได้คือบริเวณผิวหนังทุกแห่ง เช่น เข่า ศอก หนังศีรษะ ลำตัว เล็บ

อาการ 

อาการมักจะค่อยๆเกิด และเป็นๆหายๆ ปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบได้แก่ การได้รับบาดเจ็บของผิวหนัง เช่นการเกา ผิวไหม้จากแดด การติดเชื้อไวรัส แพ้ยา 

  1. ผิวหนัง เริ่มเป็นผื่นเล็กๆสีแดง มีขอบชัดเจน รูปร่างอาจจะทรงกลมหรือรูปไข่ และมีขุยหรือสะเก็ดสีขาวเงิน ซึ่งค่อนข้างติดแน่น เมื่อแกะขุยจะมีเลือดออกเล็กๆ ผื่นอาจจะขยายวงกว้างออกไปรูปร่างของผื่นมีได้หลายรูปแบบ เช่น ผื่นลักษณะคล้ายก้นหอย Rupoid psoriasis  หรือคล้ายหยดน้ำ guttate psoriasis  
  2. เล็บ ลักษณะเล็บจะเป็นหลุมเรียก pitted nail หรือมีการหนาตัวอยู่ใต้เล็บ subungal keratosis ถ้าเป็นมากผุทั้งเล็บ
  3. ข้อ มีอาการปวดข้อภายหลังจากมีอาการทางผิวหนัง ข้อที่ปวดมักเป็นข้อเล็กๆเริ่มที่ปลายนิ้วมือ เท้า มักเป็นสองข้าง บางครั้งอาจเป็นข้อใหญ่


ชนิดและความรุนแรงของโรค

ชนิดของโรคสะเก็ดเงินเราสามารถแบ่งตามลักษณะผื่นได้ดังนี้ คลิกที่รูปจะมีรายละเอียด

Plaque

โรคสะเก็ดเงินชนิดนี้พบบ่อยที่สุด ลักษณะจะเป็นผิวหนังที่มีผื่นแดง นูนหนามีขอบชัดเจน บนผื่นจะมีสะเก็ดขาวเหมือนเงินอยู่บนผื่น สะเก็ดนี้เป็นเซลล์ผิวหนังซึ่งตายแล้ว ผิวหนังบริเวณผื่นมักจะแห้ง คัน และเกิดเป็นแผลได้ง่ายแพทย์เรียกชนิดนี้ว่า psoriasis vulgaris

1
Guttate

ลักษณะผื่นจะเหมือนรูปหยดน้ำเล็กๆเป็นหยดๆ สีแดง ผื่นนี้จะพบมากบริเวณลำตัวและแขนขา ผื่นจะไม่หนาเหมือนกับชนิด plaque มักจะพบในเด็กและวัยรุ่นโดยมีการติดเชื้อของผิวหนังเป็นตัวกระตุ้น

1
Inverse

สะเก็ดเงินชนิดนี้มักจะพบในคนอ้วน ที่มีเหงื่อออกมาก และมีการระคายเคือง เราอาจจะเรียกว่า Inverse psoriasis, หรือ flexural psoriasis มักพบบริเวณข้อพับ เช่นขาหนีบ รักแร้ เต้านม ก้น ลักษณะผื่นจะราบเรียบ มีการอักเสบแดง ผิวแห้ง ไม่มีขุยและหนาตัวเหมือนชนิด plaque

1
Erythrodermic

เป็นการอักเสบของสะเก็ดเงิน เป็นชนิดที่พบน้อยที่สุดมักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงินที่ผื่นสะเก็ดเงินหลุดง่ายผื่นชนิดนี้จะมีลักษณะแดง กระจายไปทั่วและมักจะมีอาการบวม ปวด และคันร่วมด้วย

1
Generalized Pustular

ผื่นสะเก็ดเงินจะแดงทั่วไป มีอาการบวมและปวด จะมีตุ่มหนองเกิดขึ้น ตุ่มหนองนี้มิใช่เกิดจากการติดเชื้อ เมื่อแผลแห้งแล้วก็กลับมาเป็นหนองได้อีกเรียกว่า Zumbusch pustular psoriasis

1
Localized Pustular

เป็นตุ่มหนองที่เกิดเฉพาะบริเวณมือและเท้าจะมีลักษณะเป็นตุ่มหนองขนาดครึ่งเซนติเมตรอยู่บนผื่นที่มือและเท้า

1

ความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน

1

การประเมินความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน จะมีประโยชน์ในการเลือกการรักษา การประเมินความรุนแรงจะอาศัยปริมาณพื้นที่ที่เป็นโรคโดยเทียบกับหนึ่งผ่ามือเท่ากับหนึ่งเปอร์เซ็นต์ นอกจากปริมาณพื้นที่แล้วยังดูตำแหน่งที่เป็นคือถ้าเป็นที่มือและเท้าจะจัดว่าโรคนั้นอยู่ในขั้นรุนแรง

โดยทั่วไปจะแบ่งความรุนแรงออกเป็น3 ระดับคือ ชนิดเป็นน้อย(mild Psoriasis) ชนิดปานกลาง(moderate Psoriasis) ชนิดเป็นหนัก (severe Psoriasis) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80เป็นชนิดน้อย

การแบ่งระดับความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน

Mild Psoriasis

พื้นที่เป็นน้อยกว่า2% โดยมากพบผื่นเป็นแห่งๆที่เข่า ข้อศอก หนังศีรษะ  การรักษาให้ความชุ่มชื้น  ยาทา แชมพู

1
Moderate Psoriasis

พื้นที่เป็นอยู่ระหว่าง 2-10%ผื่นโดยมากอยู่ที่แขน ขา ลำตัว หนังศีรษะ การรักษาจะให้ยาทา ให้phototherapy และยารับประทาน

1
Severe Psoriasis

พื้นที่ที่เป็นมากกว่า10% ผิวส่วนใหญ่จะแดง หรือเป็นตุ่มหนองทำให้มีการหลุดลอกของผิวหนัง ผู้ป่วยมักจะมีข้ออักเสบด้วย การรักษาจะให้ phototherapy, ยารับประทาน

1

ข้ออักเสบจากโรคสะเก็ดเงิน Psoriasis arthritis

ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจะมีข้ออักเสบได้ 10-30 % ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดข้อแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่บางรายอาการอาจจะเป็นแบบเฉียบพลันก็ได้ อาการที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้แก่

  • ปวดข้อ ข้อติด บวมและปวดรอบข้อ
  • การเคลื่อนไหวของข้อลดลง
  • ข้อจะติดตอนเช้า
  • มีการเปลี่ยนแปลงที่เล็บ
  • เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง

ข้ออักเสบที่พบบ่อยได้แก่ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อหลัง

ลักษณะของข้ออักเสบที่พบบ่อยมีด้วยกัน 5 ลักษณะดังนี้

  1. Symmetric Arthritis หมายถึงการอักเสบของข้อที่เป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง เป็นหลายข้อ อาการเหมือนกับโรค rheumatoid ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยข้ออักเสบจะเป็นมากขึ้นจนกระทั่งพิการ
  2. Asymmetric Arthritis ข้อที่อักเสบมักเป็น 1-3 ข้อเป็นด้านใดด้านหนึ่งมักเป็นข้อใหญ่เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า ข้อมือ บางรายอาจจะเป็นที่นิ้วมือ
  3. Distal Interphalangeal Predominant (DIP) เป็นข้อที่ติดกับเล็บมักจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เล็บร่วมด้วย
  4. Spondylitis มีการอักเสบของกระดูกสันหลังทำให้มีอาการข้อติดของคอ หลังและกระดูกสะโพก ทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวแล้วปวด
  5. Arthritis Mutilans มักเป็นข้อเล็กและมีการทำลายของข้อทำให้ข้อผิดรูป

การรักษาโรคสะเก็ดเงิน

เป้าหมายของการรักษาคือให้ได้ผลดีที่สุดและมีผลข้างเคียงน้อยที่สุดโดยการคุมอาการของโรคสะเก็ดเงินทั้งที่ผิวหนังและข้อ ท่านผู้อ่านต้องเลือกวิธีที่มีผลข้างเคียงน้อยเมื่อไม่ได้ผลจึงเปลี่ยนไปใช้การรักษาที่มีผลข้างเคียงมากขึ้น การรักษาจะแบ่งเป็นสามขั้นตอน โดยเริ่มจากขั้นที่1 เมื่อไม่ได้ผลจึงเปลี่ยนไปขั้น2 เมื่อไม่ได้ผลจึงเปลี่ยนไปเป็นขั้น3

ขั้นที่1การใช้ยาทาร่วมกับแสงอาทิตย์

ยาทา Steroid

ยาทา Steroid เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่เป็นน้อยจนถึงปานกลางยานี้มีหลายรูปแบบเช่นครีม ointments ,lotion ยาเม็ด ยานี้มีความแรงหลายขนาดเวลาเริ่มให้เริ่มยาที่มีความแรงน้อยค่อยเพิ่มความแรง ยากลุ่มนี้จะลดการอักเสบของผิวหนังไม่ควรใช้ยาแรงด้วยตัวเอง

Coal Tar

ยานี้นิยมใช้รักษาขุยของโรคสะเก็ดเงิน ยานี้ทำเป็นแชมพูรักษารังแคที่เกิดจากโรคสะเก็ดเงินการใช้ tar อาจจะใช้ทาหรือร่วมกับการได้รับรังสี UV แต่ต้องระวังเนื่องจาก tar จะทำให้ผิวหนังไวต่อรังสีเกิดผิวไหม้ นอกจาก tar ยังเปลื้อนเสื้อผ้าน้ำมันดินให้ผลการรักษาใกล้เคียงกับสเตียรอยด์แต่มีกลิ่นเหม็นและดูสกปรกเวลาใช้ จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน และเนื่องจากน้ำมันดินอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้จังไม่ควรใช้ทาบริเวณใบหน้า ข้อพับ และอวัยวะเพศ

Calcipotriene

Calcipotriene เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามิน ดีใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินชนิดน้อยจนถึงปานกลาง ยานี้มีจำหน่ายในรูปครีม lotion กลไกยังไม่ทราบยานี้เหมาะใช้ร่วมกับยาอื่นเช่น steroid และรังสี อุลตราไวโอเลตultraviolet light B (UVB) ไม่แนะนำให้ใช้ที่หน้าเนื่องจากจะเกิดระคายเคือง และไม่ควรใช้ยานี้เป็นปริมาณมากยานี้เป็นยาใหม่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันในประเทศตะวันตก เนื่องจากให้ผลการรักษาดี รวดเร็วพอๆ กับสเตียรอยด์ระดับกลางแต่ไม่มีผลเสียเหมือนสเตียรอยด์ และไม่มีสีหรือกลิ่นเหมือนน้ำมันดิน และแอนทราลิน อีกทั้งยังก่อให้เกิดอาการระคายเคืองน้อยกว่าแอนทราลิน แต่อย่างไรก็ตาม วิตามินดี 3 อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้บ้าง โดยเฉพาะเมื่อใช้ทาบริเวณใบหน้า ข้อพับ และอวัยวะเพศ จึงไม่ควรใช้ในบริเวณดังกล่าว นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดคือยายังมีราคาแพงมาก

Vitamin A

เป็นอนุพันธ์ของวิตามินเอทำเป็นยาทาในรูปเยลทาวันละครั้งใช้ได้ดีในโรคสะเก็ดเงินที่หนังศีรษะและเล็บ ยานี้จะใช้ร่วมกับยาทา steroid ยาอาจจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นแดงก่อนที่ผื่นจะหายไปโดยมากยามีความเข็มข้น 0.1%และ0.05%

Anthralin

เป็นยาที่ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินมานานใช้กับโรคที่เป็นน้อยหรือปานกลางโดยอาจจะใช้ร่วมกับรังสี UV ในรายที่เป็นรุนแรงผลข้างเคียงของยาน้อยมากข้อเสียของยาคือระคายเคืองต่อผิวหนังและเปื้อนเสื้อผ้าเป็นยาที่นิยมใช้มากที่สุดชนิดหนึ่งในหลายประเทศทางยุโรปและอเมริกา เนื่องจากยาใช้ได้ผลดีและโรคกลับเป็นซ้ำได้น้อยเมื่อหยุดการรักษา ยาดังกล่าวมีข้อจำกัดอยู่ที่วิธีการใช้ยุ่งยากและมีผลข้างเคียง คืออาการระคายเคือง และทำให้ผิวหนังบริเวณที่ทายามีสีคล้ำขึ้น จึงไม่ควรใช้ทาบริเวณใบหน้า ข้อพับ และอวัยวะเพศ

Salicylic Acid

เป็นยาที่ใช้ละลายขุยทำให้ผิวหนังนุ่ม ลอกขุยออกได้ง่ายหลังจากละลายขุย จึงใช้ยาอื่นซึ่งจะทำให้ยาเข้าเนื้อเยื่อได้ดีขึ้น ยานี้มีความเข้มข้น 1.8-3%

Sunlight

แสงแดดโดยเฉพารังสี UVB จะทำให้โรคสะเก็ดเงินดีขึ้นโดยการอาบแดดประจำร่วมกับน้ำเกลือเรียกclimatotherapy แต่ต้องระวังผิวหนังไหม้จากแดดส่วนที่ไม่เป็นโรคต้องทาครีมกันแสง

การรักษาอื่น

ต้องให้ผิวหนังบริเวณผื่นมีความชุ่มชื้นเพื่อลดอาการคันและลดการอักเสบของผิวหนัง ผิวหนังบริเวณที่เป็นโรคอาจจะแช่น้ำที่ผสม tar เพื่อให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวนุ่มขุยลอกออกง่าย

ขั้นที่ 2 การใช้แสงรักษา Phototherpy

Ultraviolet Light B

การรักษานี้ใช้กับโรคสะเก็ดเงินที่เป็นปานกลางจนเป็นมากโดยการใช้รังสี Ultraviolet Light B (UVB)การรักษาด้วยการฉายแสงอัลตร้าไวโอเล็ตบี ใช้ได้ผลดีกับโรคสะเก็ดเงินที่เป็นมากหรือปานกลาง คือได้ผลประมาณ 80% ขึ้นไป ผลข้างเคียงที่พบค่อนข้างน้อยได้แก่ อาการคันและอาการแดงหรือไม้ของผิวหนัง อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของการรักษาที่สำคัญคือการที่ผู้ป่วยต้องมารับการรักษาที่โรงพยาบาลประมาณ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 2-3 เดือนติดต่อกัน หลังจากนั้นให้ทำ1-2 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อให้โรคสงบ

PUVA

การรักษาวิธีนี้ใช้แสงรังสี ultraviolet light A หรือที่เรียกว่า PUVAร่วมกับการใช้ยา psoralen ซึ่งอาจจะกินหรือทาเพื่อช่วยให้ผิวหนังไวต่อแสง การรักษานี้จะทำให้ผิวหนังหายได้ร้อยละ 75 เนื่องมีผลข้างเคียงมากควรใช้ในรายที่เป็นรุนแรงปานกลางจนถึงรุนแรงมากและการรักษาอื่นไม่ได้ผล เนื่องจากการรักษานี้ทำให้ผิวหนังแก่เร็วและมีความเสี่ยงต่อมะเร็ง โดยทั่วไปผู้ป่วยจะได้รับการฉายแสงรักษาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ประมาณ 20-30 ครั้ง ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 1สัปดาห์ และอาจให้การรักษาต่ออีกประมาณ 2-3 เดือน จะทำให้โอกาสการเกิดซ้ำลดลง อาการข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ คลื่นไส้, คัน และอาการแดง หรือไหม้ของผิวหนัง ซึ่งมักจะไม่รุนแรงจนทำให้ต้องหยุดการรักษา ผลข้างเคียงระยะยาวที่สำคัญได้แก่ มะเร็งผิวหนัง ซึ่งพบได้น้อยในคนไทยเนื่องจากคนไทยมีผิวสีคล้ำ

ขั้นที่3 การให้ยารับประทาน

Methotrexate

ยานี้เป็นยาที่นิยมใช้ในโรคสะเก็ดเงินที่เป็นรุนแรงโดยเฉพาะชนิด erythrodermic และ pustularโดยรับประทานหรือการฉีดอาทิตย์ละครั้ง เนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียงคือคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารการได้ยาควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ ยานี้ไม่ควรให้ในคนเจริญพันธ์ เป็นยาที่ได้ผลดีและราคาไม่แพง แต่มีผลข้างเคียงสูง จึงมักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใช้หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่ปลอดภัยกว่า เช่น การฉายแสง เนื่องจาก เม็ทโทเทร็กเสดมีผลข้างเคียงหลายประการจึงจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังผลเสียที่อาจเกิดได้เป็นครั้งคราว โดยการตรวจเลือดก่อนการรักษา และหลังการรักษาทุกๆ 3-4 เดือน อาการข้างเคียงที่สำคัญได้แก่ ตับอับเสบและตับแข็ง

Oral Retinoids

ยานี้อยู่ในกลุ่มของวิตามิน เอ สามารถใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินที่เป็นรุนแรงโดยเฉพาะ pustular และ erythrodermic โดยต้องใช้ร่วมกับ UVB and PUVA. และยังช่วยลดปริมาณยาและแสงที่ใช้จึงทำให้ผลข้างเคียงจากการรักษาทั้งสองลดลง ผลข้างเคียงที่สำคัญได้แก่ ผิวแห้ง, ลอกเป็นขุย ซึ่งเป็นอาการที่พบได้เกือบทุกรายที่รับประทานยา นอกจากนั้นยายังอาจทำให้ไขมันในเลือดสูง และตับอักเสบ ซึ่งถ้าหยุดการรักษาในระยะต้นๆ ก็จะกลับเป็นปกริได้ จึงควรตรวจเลือดทุกๆ 1-2 เดือน ยาดังกล่าวห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์เพราะจะทำให้ทารกที่เกิดมาพิการได้ เนื่องจากยาอยู่ในเลือดได้นานถึง 2 ปี หลังหยุดยาจึงจำเป็นต้องห้ามตั้งครรภ์ในผู้ป่วยที่รับประทานยาดังกล่าวอย่างน้อย 2 ปี หลังหยุดยา ถ้าใช้ยาเป็นเวลานานมากกว่า 1 ปีขึ้นไป อาจทำให้เกดกระดูกงอกได้ จึงต้องระวังโดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กยานี้หากใช้ในคนท้องอาจจะทำให้เกิดพิการแต่กำเนิด และไม่ควรได้รับวิตามินเสริมโดยเฉพาะวิตามิน เอ

Cyclosporine

ยานี้กดภูมิคุ้มกัน ใช้ในโรคสะเก็ดเงินที่เป็นรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ยานี้อาจจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและเป็นพิษต่อไต ยาดังกล่าวใช้ได้ผลดีมากโดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง แต่เนื่องจากมีการเกิดซ้ำหลังหยุดยาได้สูง อีกทั้งมีผลข้างเคียงที่รุนแรงจึงจะใช้เมื่อการรักษาอื่นๆ ไม่ได้ผลแล้ว เช่น ยาทา, การฉายแสง และเอ็ดเทร็ดทีเนด ผลข้างเคียงที่สำคัญได้แก่ การเกิดความดันเลือดสูง ไตและตับอักเสบ ซึ่งถ้าหยุดยาในระยะต้นๆ อาจจะกลับเป็นปกติได้จึงจำเป็นต้องตรวจเลือดเป็นประจำทุกเดือน

วิธีเลือกใช้ยาตามตำแหน่งของโรค

ผื่นที่ศีรษะ

โดยทั่วไปแล้วการใช้ยาทาพวกสเรียรอยด์ ในรูปของยาน้ำมักจะได้ผลดี และผลข้างเคียงน้อย วิธีใช้ควรทาวันละ 2 ครั้งจะได้ผลดีกว่าทาครั้งเดียว ในกรณีที่ผื่นตอบรับได้ดีต่อการรักษา การใช้หมวกอาบน้ำคลุมหลังทายาสเตียรอยด์ จะทำให้ผลของการรักษาดีขึ้น แต่ไม่ควรใช้เป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงได้ การใช้แชมพกำจัดรังแคและน้ำมันดินอาจช่วยให้การเกิดเป็นซ้ำช้าลงได้


ผื่นที่หน้า 
เนื่องจากผิวที่ใบหน้าค่อนข้างบาง และเกิดอาการระคายเคืองได้ง่าย จึงควรงดการใช้ยาที่อาจทำให้เกิดอาการดังกล่าว เช่น แอนทราลิน และวิตามินดี 3 ยาที่นิยมใช้และได้ผลดีคือ สเตียรอยด์ชนิดอ่อนๆการใช้สเตียรอยด์ชนิดแรง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ง่าย จึงไม่ควรใช้เป็นเวลานาน

ผื่นที่เล็บ

โรคสะเก็ดเงินที่เลบเป็นตำแหน่งที่รักษายาก โดยทั่วไปตัวโรคมักไม่ทำให้เกิดอาการอย่างไร ปัญหาที่สำคัญน่าจะเป็นเรื่องความสวยงามมากกว่า จึงไม่จำเป็นต้องให้การรักษา แต่ถ้าต้องการจะรักษาอย่างจริงจัง การรักษาที่ดีที่สุดคือ การฉีดสเตียรอยด์ที่จมูกเล็บทุก 3-4 สัปดาห์ ประมาณ 4-6 ครั้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้


แหล่งที่มา : kkict.org

อัพเดทล่าสุด