https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาการของโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจาง การรักษา เป็นพาหนะโรคโลหิตจาง MUSLIMTHAIPOST

 

อาการของโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจาง การรักษา เป็นพาหนะโรคโลหิตจาง


692 ผู้ชม


อาการของโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจาง การรักษา เป็นพาหนะโรคโลหิตจาง

 


 
ผู้ที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย สามารถเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ได้รับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้หรือไม่
 

 

  • ผู้ที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย สามารถเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ได้รับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้หรือไม่
  • อาการของผู้ที่เป็นพาหะและการปฏิบัติตัวและระวังรักษาสุขภาพเป็นอย่างไร
  • ผู้ที่เป็นพาหะจะมีอาการเหนี่อยง่าย และมีผลทำให้เกิดอาการเป็นลมง่ายด้วยหรือไม่
  • การรักษาสามารถทำให้หายขาดได้หรือไม่ และจะมีผลอย่างไรในระยะยาวต่อร่างกาย เช่นมีสาเหตุทำให้เป็นโรคอื่น เป็นต้น

คำตอบ :

     โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการได้รับยีนธาลัสซีเมียมาจากพ่อและแม่ ผู้ที่มียีนธาลัสซีเมียมีทั้งผู้ที่เป็นโรคและผู้ที่ไม่เป็นโรคหรือเรียกอีกอย่างว่าพาหะของโรค 
ผู้ที่เป็นโรค เกิดจากการได้รับถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติมาจากพ่อและแม่พร้อมกันทั้งสองฝ่ายทำให้ไม่มียีนที่ปกติเหลืออยู่เลย ผู้ที่เป็นโรคมีอาการรุนแรงแตกต่างกัน ตั้งแต่โลหิตจางเล็กน้อย โลหิตจางมากเรื้อรัง ไปจนถึงอาการรุนแรงเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดไม่นาน 
ผู้ที่เป็นพาหะของโรค เกิดจากการได้รับถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติจากพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว ผู้ที่เป็นพาหะจึงมียีนหนึ่งผิดปกติและอีกยีนหนึ่งเป็นยีนปกติ โดยยีนปกติที่มีอยู่สามารถทำหน้าที่ทดแทนยีนที่ผิดปกติได้ ผู้ที่เป็นพาหะจึงมีสุขภาพแข็งแรง อาจมีอาการเลือดจางเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการใดๆเลย แต่ยังคงสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติไปสู่ลูกหลานต่อไปได้ 
      ดังนั้นผู้ที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย จึงเกิดจากการได้รับยีนธาลัสซีเมียมาจากพ่อหรือแม่เท่านั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เองค่ะ แต่สิ่งที่สำคัญ คือ การถ่ายทอดยีนธาลัสซีเมียไปสู่ลูก ทั้งนี้เพราะพาหะมีสุขภาพร่างกายเหมือนคนปกติทั่วไป ทำให้ไม่ทราบว่าตนเองเป็นพาหะมียีนที่ผิดปกติแฝงอยู่ หากไม่ได้รับข้อมูลของธาลัสซีเมียที่เพียงพอ ก็จะไม่ตระหนักถึงความสำคัญของโรคและไม่ได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติ และหากโชคไม่ดีมีคู่สมรสที่มียีนที่ผิดปกติเช่นเดียวกัน สามี-ภรรยาคู่นี้ก็จะสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติร่วมกันไปสู่ลูก ทำให้ลูกเป็นผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียได้ ทั้งๆที่พ่อและแม่ต่างก็มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเช่นเดียวกับคนปกติทั่วๆไป

อาการของโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจาง การรักษา เป็นพาหนะโรคโลหิตจาง
อาการของโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจาง การรักษา เป็นพาหนะโรคโลหิตจาง พ่อและแม่เป็นพาหะชนิดเดียวกัน อาการของโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจาง การรักษา เป็นพาหนะโรคโลหิตจาง

 

 

      ปัจจุบันพบว่าในแต่ละปีมีทารกแรกเกิดเป็นโรคธาลัสซีเมียมากถึง 12,125 ราย หรือประมาณ 12 คน ต่อเด็กเกิดใหม่ทุกๆ 1,000 คน ธาลัสซีเมียจึงเป็นโรคเลือดจางทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อย และอยากจะขอความร่วมมือจากคนไทยทุกคนในการช่วยกันป้องกันโรคนี้ โดยการบอกคนรอบข้างของคุณโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ผู้ที่กำลังจะแต่งงาน หรือแต่งงานแล้วกำลังวางแผนจะมีบุตร หรือแม้แต่ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ให้ไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการป้องกันโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ท่านไปเจาะเลือดตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมีย ท่านจะได้ทราบว่ามียีนของธาลัสซีเมียแฝงอยู่ในร่างกายหรือไม่ และหากท่านและคู่สมรสมียีนของธาลัสซีเมียด้วยกันทั้งคู่ท่านก็จะได้รับคำแนะนำทางพันธุกรรมที่เหมาะสมต่อไป
      ส่วนการรักษาเราจะให้การรักษาเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น ผู้เป็นพาหะไม่มีอาการรุนแรงใดๆ ไม่ต้องรักษาค่ะ ในปัจจุบันการรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบประคับประคอง แพทย์จะให้เลือดเมื่อผู้ป่วยซีดมาก ในรายที่มีอาการรุนแรงการให้เลือดอย่างสม่ำเสมอจนหายซีดร่วมกับการให้ยาขับเหล็กจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ในปัจจุบันแพทย์สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายขาดได้โดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่ได้จากไขกระดูก หรือเลือดสายสะดือของพี่น้องพ่อแม่เดียวกันที่มี HLA ตรงกัน การรักษาโดยวิธีนี้สามารถทำได้ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยหลายแห่ง แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง


ผู้ตอบ
 :

สิริภากร แสงกิจพร
ฝ่ายโลหิตวิทยา
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข


แหล่งที่มา : dmsc.moph.go.th

อัพเดทล่าสุด