เด็กเป็นโรคแอลดี อาการโรคแอลดีของเด็ก ลูกวรรณษา ทองวิเศษลูกป่วยเป็นโรคแอลดี 6 MUSLIMTHAIPOST

 

เด็กเป็นโรคแอลดี อาการโรคแอลดีของเด็ก ลูกวรรณษา ทองวิเศษลูกป่วยเป็นโรคแอลดี 6


944 ผู้ชม


เด็กเป็นโรคแอลดี อาการโรคแอลดีของเด็ก ลูกวรรณษา ทองวิเศษลูกป่วยเป็นโรคแอลดี 6

 

 

โครงการ การช่วยเหลือเด็กที่เป็นสมาธิสั้น และแอลดี

จากข้อมูลสถิติปัจจุบันนี้มีเด็กเป็นสมาธิสั้นร้อยละ 5% และเด็กผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเด็กผู้หญิงถึงร้อยละ 4 โดยเฉลี่ยแล้วในห้องเรียนหนึ่งจะพบเด็กสมาธิสั้นประมาณ 2-3 คน

สมาธิสั้นคือ อะไร ?

โรคสมาธิสั้นนั้นเกิดจากการทำงานที่ไม่ปกติของระบบประสาทชีววิทยาภายในร่างกาย อันได้แก่ สมองส่วนหน้า (Frontal Lobe of Cerebral Hemisphere) ทำงานน้อยกว่าปกติ ซึ่งสมองส่วนนี้เป็นสมองส่วนที่ควบคุมความคิด การเกิดสมาธิ การจัดระเบียบและการทำกิจกรรมแบบมีจุดมุ่งหมาย ส่วนความผิดปกติอีกประการหนึ่งก็คือ การเกิดปัญหาของการหลั่งสารเคมีในสมองที่เรียกว่า Dopamine และ Nor epinephrine ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยกระตุ้นทำให้มีการเคลื่อนไหว ไม่สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ เนื่องจากการขาดหรือมีสารเคมีดังกล่าวในปริมาณที่ไม่สมดุล และจะส่งผลให้แสดงพฤติกรรมผิดปกติจนไม่สามารถหยุดการกระทำได้ นอกจากนี้ การเป็นโรคภูมิแพ้ การที่สมองของเด็กได้รับความกระทบกระเทือนระหว่างการคลอด หรือได้รับการติดเชื้อหลังคลอด และการที่เด็กได้รับสารเคมี ที่เป็นอันตรายต่างๆ เช่น สารตะกั่วล้วนอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคสมาธิสั้นได้

 รู้ได้อย่างไร...ว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น

การที่จะสรุปว่าเด็กคนใดเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่นั้น ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ กุมารแพทย์ และจิตแพทย์ เป็นผู้วินิจฉัย) ซึ่งลักษณะเฉพาะของสมาธิสั้น มีอยู่ 3 อย่างคือ

• อาการขาดสมาธิ (Inattention) จำแนกได้ 9 อาการ

• ซุกซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) จำแนกได้ 6 อาการ

• อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness) จำแนกได้ 3 อาการ

ซึ่งอาการดังกล่าวต้องแสดงออกก่อนอายุ 7 ปี

อาการขาดสมาธิ (Inattention) ประกอบด้วย

1. มีความเลินเล่อในการทำกิจกรรมหรือการทำงานอื่นๆ และมักจะละเลยในรายละเอียด

2. ไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น

3. ดูเหมือนไม่เชื่อฟังและไม่สนใจเมื่อมีคนพูดด้วย

4. ทำกิจกรรมไม่เสร็จ ทำตามคำสั่งไม่จบ

5. มีความลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรมที่ทำ

6. หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้สมาธิ

7. ทำของหายบ่อยๆ

8. วอกแวกง่าย

9. ขี้ลืมเป็นประจำ

 อาการซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) ประกอบด้วย

1. นั่งไม่นิ่งขยับไปมา บิดตัวไปมา

2. ลุกจากที่นั่งในห้องเรียนหรือในที่อื่นที่ต้องนั่ง

3. วิ่งปีนป่านในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม ( มีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย)

4. ไม่สมารถเล่นเงียบๆ คนเดียวได้

5. เคลื่อนไหวตลอดเวลา

6. พูดมากเกินไป

อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsiveness) ประกอบด้วย

1. ไม่อดทนรอคอย

2. พูดโพล่งออกมาในขณะที่ยังถามไม่จบ

3. พูดแทรกขัดจังหวะการสนทนาหรือการเล่น

แหล่งที่มา : sg.ac.th

อัพเดทล่าสุด