https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สาเหตุ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสุโขท้ย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเด็ก MUSLIMTHAIPOST

 

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สาเหตุ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสุโขท้ย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเด็ก


498 ผู้ชม


โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สาเหตุ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสุโขท้ย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเด็ก

 

 

 

 

อันตราย กล้ามเนื้ออ่อนแรง

ระบบหายใจอาจล้มเหลวได้

          หนังตาตก พูดไม่ชัดกลืนลำบาก สำลักบ่อย ๆไม่มีแรงเอื้อมหยิบของนั่งยอง ๆ ไม่ได้

          ระวัง อาการเหล่านี้ส่อแววของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นพัก ๆ ถ้าหากปล่อยเป็นมากโดยไม่รักษาอาจทำให้ระบบการหายใจล้มเหลวได้

          น.พ.นริศ สมิตาสิน อายุรแพทย์ระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานีให้ข้อมูลว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นพัก ๆ (Myasthenia Gravis) หรือทางการแพทย์เรียกว่า MG โดยเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีผลต่อกล้ามเนื้อ เกิดภาวะความผิดปกติของต่อมธัยมัสและยังสัมพันธ์กับโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ผิดปกติ

          โรคนี้จะส่งผลให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงในหลาย ๆ บริเวณ และจะเป็นมากขึ้นถ้ามีการออกแรงใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นซ้ำ ๆ โดยจะมีอาการอ่อนแรงช่วงเวลาสายหรือช่วงบ่ายของวัน หลังจากได้พัก อาการอ่อนแรงก็จะกลับมาเป็นปกติ

          น.พ.นริศกล่าวว่า อุบัติการณ์ของการเกิดโรคอยู่ที่ประมาณ 1.7 ถึง10.4 คนต่อประชากรล้านคนในประเทศแถบตะวันตก ซึ่งในบางประเทศที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาที่ถูกต้องอาจพบว่ามีการรายงานการเกิดโรค MG สูงกว่านี้

          และผู้ป่วยที่เป็นโรค MG มักเป็นเพศหญิง โดยส่วนมากอาการของโรคจะพบช่วงแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 40 ปี แต่ถ้าในช่วงที่อายุมากกว่า 50 ปี อุบัติการณ์ของการเกิดโรคกลับพบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิงถึง 3 เท่า

          สำหรับอาการของโรคMG จะพบว่าผู้ป่วยเริ่มด้วยอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาการอ่อนแรงนั้นจะเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ ถ้าผู้ป่วยมีการออกแรงมาก พบว่ากล้ามเนื้อก็จะยิ่งอ่อนแรงมากขึ้น แต่ถ้าผู้ป่วยได้พัก พบว่ากล้ามเนื้อที่อ่อนแรงจะค่อย ๆ ดีขึ้น ซึ่งอาการที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ หนังตาตก อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ทำให้มีลักษณะคล้ายคนง่วงนอนเห็นภาพซ้อนจากกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรง พูดไม่ชัดหรือพูดแล้วเหมือนเสียงขึ้นจมูก กลืนอาหารลำบาก หรือเคี้ยวลำบากในบางครั้งมีอาการสำลักอาหารบ่อยๆ

          หากเป็นมากขึ้น กล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและต้นขาเริ่มมีอาการอ่อนแรง ซึ่งอาการนำที่พบได้บ่อย ๆ เช่น ไม่สามารถหวีผมได้ หรือเอื้อมมือไปหยิบของที่ชั้นวางของสูง ๆ ขึ้นบันไดลำบาก ไม่สามารถนั่งยอง ๆ ได้ และในบางครั้งจะต้องโหนตัวเวลาลุกจากเก้าอี้นั่ง

          และหากเป็นมากขึ้นโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะลุกลามไปยังกล้ามเนื้อกระบังลม ซึ่ง ควบคุมการหายใจ ทำให้มีภาวะการ หายใจล้มเหลว หรือในบางครั้งมีอาการสำลักอาหารเข้าหลอดลมจากภาวะกล้ามเนื้อที่ช่วยในการกลืนอ่อนแรง  ส่งผลให้ระบบหายใจล้มเหลวได้

          ลักษณะของโรคจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะ ค่อยเป็นค่อยไปโดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี  แต่บางครั้งอาการของ โรคจะเป็นมากขึ้นจากบางภาวะ เช่น ภาวะการติดเชื้อโดย เฉพาะการติดเชื้อระบบทาง เดินหายใจ การได้ รับยาบางชนิดซึ่งมี ผลต่อการทำงานของตัวรับสารสื่อ ประสาทของกล้ามเนื้อ ภาวะเครียด และพักผ่อนน้อย

          นี่เป็นอีกโรคหนึ่งของคนทำงานที่ควรระมัดระวังเช่นกัน

แหล่งที่มา : thaihealth.or.th

อัพเดทล่าสุด