https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคกรดไหลย้อน อาการโรคกรดไหลย้อน การรักษา โรคกรดไหลย้อนเกิดจากอะไร MUSLIMTHAIPOST

 

โรคกรดไหลย้อน อาการโรคกรดไหลย้อน การรักษา โรคกรดไหลย้อนเกิดจากอะไร


1,131 ผู้ชม


โรคกรดไหลย้อน อาการโรคกรดไหลย้อน การรักษา โรคกรดไหลย้อนเกิดจากอะไร

 

 

โรคกรดไหลย้อน คืออะไร อาการเป็นอย่างไร รักษาอย่างไร

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease)
หลายท่านคงมัวแต่ว้าวุ้นอยู่แต่กับการทำงาน หรือการเรียนมากจนเกินไป จนไม่มีเวลามาดูแลเรื่องอาหารการกินสักเท่าไหร่ ทำให้การรับประทานอาหารที่ไม่เคยที่จะตรงเวลาเลย ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณอก และรู้สึกเปรี้ยวขมในปาก หากใครเคยมีอาการดังกล่าวนี้แสดงว่าคุณอาจกำลังเป็น “โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease)” ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารกลับไปที่หลอดอาหาร หลายท่านอาจจะไม่คุ้นหูนักสำหรับชื่อโรคนี้ถึงแม้จะมีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรค วันนี้เราจึงจะมาแนะนำคุณให้รู้จักกับโรคกรดไหลย้อนให้มากขึ้น พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติตัว แนวทางการรักษา และเทคนิคต่าง ๆ ที่จะช่วยให้คุณมีอาการดีขึ้นได้ อาการของโรคกรดไหลย้อน อาการสำคัญที่พบบ่อยในโรคกรดไหลย้อนได้แก่
• รู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่  กลางหน้าอก ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหาร
•  รู้สึกเปรี้ยว หรือขมในปาก และคอ
• มีอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง

อาการอื่นๆ ที่คุณอาจคาดไม่ถึง
• อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ
• เสียงแหบเรื้อรัง เสียงเปลี่ยน
• ไอเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
• กลืนติดขัดเหมือนมีก้อนจุกในคอ
• โรคหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตามปกติ
ยิ่งไปกว่านั้นโรคกรดไหลย้อนยังอาจทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ เป็นแผลรุนแรงจนตีบ หรือเกิดเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้

เส้นทางสู่กระเพาะอาหาร
ระบบทางเดินอาหารส่วนต้นมีจุดเริ่มต้นจากปาก เมื่อเราตักอาหารใส่ปาก เคี้ยวและกลืน อาหารจะผ่านหลอดอาหารลงมาสู่ส่วนปลายของหลอดอาหารที่มีลักษณะเป็นหูรูด ที่เรียกว่า “หูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (Lower esophageal sphincter)” ผ่านลงสู่กระเพาะอาหารซึ่งมีน้ำย่อยที่เป็นกรดย่อยอาหารให้เล็กลง และส่งผ่านไปยังลำไส้เล็กเพื่อย่อยต่อไป

หูรูดหลอดอาหารที่แข็งแรง
หูรูดหลอดอาหารที่แข็งแรงเป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับ ในภาวะปกติหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างนี้จะเปิดเฉพาะเมื่อมีการกลืนอาหาร เพื่อให้อาหารผ่านอย่างสะดวก และบีบรัดตัวปิดทันทีเพื่อไม่ให้อาหารที่กลืนลงไปแล้ว และกรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปอีก

จะเกิดอะไรขึ้นหากหูรูดหลอดอาหารอ่อนแอ
หูรูดหลอดอาหารอาจเกิดการหย่อนตัวหรือเปิดบ่อยกว่าปกติได้จากสาเหตุต่างๆ ได้แก่ การรับประทานอาหารรสจัด  แรงกดต่อกระเพาะอาหารที่มากเกินไป การสูบบุหรี่ ซึ่งส่งผลให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปทำอันตรายต่อเยื่อบุหลอดอาหารที่มีความอ่อนบาง และไม่มีกลไกป้องกันกรดเหมือนกับเยื่อบุกระเพาะอาหาร

การปรับการดำเนินชีวิตเพื่อบรรเทาอาการ
อาการของโรคกรดไหลย้อนสามารถบรรเทาให้เบาบางลงได้ด้วย การปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันเพียงบางอย่าง เช่น อาหารที่คุณรับประทาน หรือแม้แต่ขนาดของเสื้อผ้าที่คุณสวมใส่

การรับประทานอาหาร
- คุณอาจไม่ทราบมาก่อนว่าเครื่องดื่มถ้วยโปรดของคุณ เช่น กาแฟ อาจเป็นตัวการของโรคกรดไหลย้อน ดังนั้น อาหารที่คุณพึงหลีกเลี่ยง ได้แก่
• ชา  กาแฟ และน้ำอัดลมทุกชนิด
• อาหารทอด  อาหารไขมันสูง
• อาหารรสจัด รสเผ็ด
• ผลไม้รสเปรี้ยว ส้ม มะนาว มะเขือเทศ
• หอมหัวใหญ่ สะระแหน่ เปปเปอร์มิ้นต์
• ช็อกโกแลต

- รับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ
การรับประทานอาหารอิ่มเกินไปจะทำให้หูรูดหลอดอาหารเปิดออกง่ายขึ้น ดังนั้นควรรับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง หรืออาจจะแบ่งการรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ

- ไม่ควรเข้านอน หรือเอนกายหลังรับประทานอาหาร
หลังรับประทานอาหารไม่ควรเข้านอน หรือเอนกายทันที ควรรออย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพื่อให้อาหารเคลื่อนตัวออกจากกระเพาะอาหารเสียก่อน

- งดบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เนื่องจากนิโคตินในบุหรี่จะเพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร และทำให้หูรูดกระเพาะอาหารอ่อนแอ ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้หูรูดเปิดออกได้เช่นกัน  ลองหลีกเลี่ยงหรือเลิกสิ่งเหล่านี้แล้วคุณจะสังเกตถึงอาการที่ดีขึ้นได้

การปรับการดำเนินชีวิตเพื่อบรรเทาอาการ

- ยกศีรษะและลำตัวให้สูง กรดไหลย้อนมักเกิดขณะคุณนอนราบ ดังนั้นการนอนโดยเสริมด้านหัวเตียงให้ยกสูงขึ้น จะช่วยป้องกันการไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารได้ ไม่ควรใช้วิธีการหนุนหมอนหลาย ๆ ใบ

- ลดแรงกดต่อกระเพาะอาหาร จากเสื้อผ้า และเข็มขัดที่รัดแน่นบริเวณผนังหน้าท้อง  การก้มตัวไปด้านหน้า  น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน  ล้วนเป็นสาเหตุที่เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร และทำให้กรดไหลย้อนกลับ คุณจึงควรหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าหรือเข็มขัดที่รัดแน่น การก้มตัว และถ้าคุณมีปัญหาน้ำหนักเกินควรลดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

- ผ่อนคลายความเครียด ซึ่งความเครียดจะเป็นสาเหตุให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น ดังนั้นจึงควรหาเวลาพักผ่อน และออกกำลังกายให้สมดุลกับตารางชีวิตของคุณ

- การตั้งครรภ์ ผู้หญิงตั้งครรภ์มักเป็นโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลงรวมทั้งมดลูกที่ขยายตัวเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร ซึ่งหากคุณมีอาการขณะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์

วิธีการรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยาเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาโรคกรดไหลย้อนในผู้ป่วยส่วนใหญ่อย่างได้ผล การรักษาด้วยยามีเป้าหมายต่างกันไปตามชนิดของยาและอาการของคุณ ยาที่ใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน สามารถแบ่งตามกลุ่มการออกฤทธิ์ได้ดังนี้
• ยาลดกรด (Antacid)  ลดความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ใช้ในผู้ที่มีอาการเล็กน้อย หรือเป็นเพียงครั้งคราว เช่น Aluminium  hydroxide , magnesium hydroxide เป็นต้น
• ยากลุ่มกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร (Prokinetics) เพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหารทำให้อาหารเคลื่อนออกจากกระเพาะอาหารเร็วขึ้น เช่น Metoclopamide , Domperidone เป็นต้น
• ยากลุ่ม H2 Receptor Antagonists  ออกฤทธิ์ยับยั้งฮีสตามีน(Histamine)ไม่ให้จับตัวกับตัวรับในกระเพาะอาหารทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดลดลง เช่นCimetidine,Famotidine,Ranitidine เป็นต้น
• ยากลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม(Proton Pump Inhibitors:PPI) ยับยั้งโปรตอนปั๊มที่อยู่ในกระเพาะอาหารซึ่งเป็นกลไกขั้นสุดท้ายในการหลั่งกรด จึงสามารถลดการหลั่งกรดได้สมบูรณ์ เช่น Omperazole,Esomeprazole,Pantoprazole เป็นต้น

ในปัจจุบันยากลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม เป็นยาที่ให้ผลการรักษาได้ดีที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดการหลั่งกรด และได้ผลเร็วกว่ากลุ่มอื่น ๆ คุณอาจต้องรับประทานยานี้ติดต่อกันนาน 6-8 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น ขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์ และเมื่อคุณสามารถปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตได้ แพทย์อาจปรับลดขนาดยาลงทีละน้อย

เมื่อไหร่จึงต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
ในรายที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนรุนแรงจนใช้ยาเต็มที่แล้วไม่ได้ผล หรือมีข้อห้ามในการกินยา รวมทั้งไม่ต้องการรับประทานยาตลอดเวลา หรือเป็นซ้ำบ่อยหลังหยุดยา ซึ่งมีเพียงร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนที่แพทย์อาจพิจารณาใช้การผ่าตัดเป็นทางเลือกในการรักษา

รับประทานยาอย่างไรให้ได้ผลดี
การรับประทานยาอย่างถูกต้อง และครบถ้วนตามคำแนะนำของแพทย์มีความสำคัญอย่างมากต่อการรักษาโรคกรดไหลย้อนให้หาย เมี่อคุณเริ่มรับประทานยาไปได้ระยะหนึ่ง อาการต่าง ๆ จะดีขึ้น แต่อย่าหยุดยาเองต้องรับประทานจนครบตามแพทย์สั่ง เพราะอาการอาจกลับมาเป็นซ้ำอีกได้หลังจากคุณหยุดยาเอง ก่อนรับประทานยาอื่น ๆ โดยเฉพาะยารักษาอาการอักเสบ ปวดข้อ และแอสไพริน คุณต้องตรวจสอบกับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ เนื่องจากยาเหล่านี้มักระคายเคืองเยื่อบุทางเดินอาหาร และทำให้อาการแย่ลง

เมื่อไรต้องรีบพบแพทย์
ถึงแม้ว่าโรคกรดไหลย้อนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการรุนแรง แต่ไม่ควรละเลยโดยไม่รักษาเพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้ ทั้งนี้หากพบแพทย์เพื่อรักษาแล้ว คุณยังมีอาการหล่านี้เกิดขึ้น ต้องปรึกษาแพทย์ทันที
• อาเจียนบ่อย หรือมีเลือดปน
• กลืนติด หรือกลืนลำบาก
• อุจจาระมีสีดำเข้ม หรือมีเลือดปน
• อ่อนเพลีย ซีด
• น้ำหนักลดอย่างต่อเนื่องโดยไม่สาเหตุ
• กินยาครบตามแพทย์สั่งแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

คำถามที่พบบ่อย

Q: ถ้าเป็นโรคกรดไหลย้อนควรนอนตะแคงซ้ายจริงหรือไม่?
A: การนอนตะแคงขวาอาจทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนกำเริบขึ้นได้บ่อยกว่าการนอนตะแคงซ้าย เนื่องจากในท่านอนตะแคงขวา กระเพาะอาหารจะอยู่เหนือหลอดอาหารทำให้มีแรงกดต่อหูรูดหลอดอาหารให้เปิดออกง่ายขึ้น จนเกิดการไหลย้อนกลับของกรด จึงเป็นที่มาของคำแนะนำให้ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนนอนตะแคงซ้ายนั่นเอง

Q: โรคกรดไหลย้อนสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?
A: โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็น ๆ หาย ๆ เนื่องจากหูรูดหลอดอาหารยังคงทำงานไม่ดี ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการนาน ๆ ครั้ง แต่บางรายก็เป็นบ่อยมากอย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเกือบทุกรายจะมีอาการดีขึ้นได้จากการปฏิบัติตัวดังที่แนะนำไปแล้วนั้น และการมาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง


แหล่งที่มา : kwamru.com

อัพเดทล่าสุด