มนุษย์สมัยหินใหม่ใช้อะไรตกแต่งภาชนะดินเผา ภาชนะดินเผาร่วมสมัย การวิเคราะห์ภาชนะดินเผา MUSLIMTHAIPOST

 

มนุษย์สมัยหินใหม่ใช้อะไรตกแต่งภาชนะดินเผา ภาชนะดินเผาร่วมสมัย การวิเคราะห์ภาชนะดินเผา


493 ผู้ชม


มนุษย์สมัยหินใหม่ใช้อะไรตกแต่งภาชนะดินเผา ภาชนะดินเผาร่วมสมัย การวิเคราะห์ภาชนะดินเผา
วิทยานิพนธ์เรื่อง : การวิเคราะห์ภาชนะดินเผาจากแหล่งโบราณคดีปราสาท
พนมวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 
โดย นางสาวดวงกมล อัศวมาศ 
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2542 
ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชรี สาริกบุตร


บทคัดย่อ
การศึกษาภาชนะดินเผาจากขุดค้นแหล่งโบราณคดีปราสาทพนมวันในครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบส่วนผสม เทคนิคการผลิต และการตกแต่งภาชนะดินเผา รูปแบบเด่นของวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ 2 ระยะที่แหล่งโบราณคดีปราสาทพนมวัน วัฒนธรรมสมัย สมัยที่ 1 ของปราสาทพนมวันนั้นกำหนดอายุอย่างกว้างๆ ได้ ประมาณ ก่อน 370 ปีก่อนคริสตกาล-คริสตศักราชที่ 230 ส่วนในสมัยที่ 2 ซึ่งกำหนดอายุด้วยวิธีใช้ AMS (Accerelator Mass Spectrometry) ได้ระหว่าง 370 ปีก่อนคริสตกาล -คริสตศักราชที่ 230 นอกจากนี้ยังใช้หลักฐานโบราณวัตถุประเภทอื่นๆ เป็นหลักฐานประกอบการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของแหล่งโบราณคดีปราสาทพนมวัน และการศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมที่ปราสาทพนมวันกับแหล่งโบราณคดีใกล้เคียงอื่นๆ 
ผลการศึกษาสรุปได้ว่าภาชนะดินเผาที่พบในหลุมฝังศพ จำนวน 20 ใบ ภาชนะดินเผาเหล่านี้มีลักษณะรูปทรงเหมือนภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป คือ ภาชนะใส่อาหาร ภาชนะจัดเตรียมอาหาร และภาชนะหุงต้ม น่าจะเป็นภาชนะที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมการฝังศพโดยเฉพาะ ส่วนในเรื่องการศึกษาวัตถุดิบ ส่วนผสม การตกแต่ง และ อุณหภูมิการเผา ศึกษาโดยวิธีศิลาวรรณา และ วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วย ICP-Atomic Emission Spectrometry เพื่อเปรียบเทียบภาชนะทั้ง 2 แบบ พบว่าดินที่นำมาทำภาชนะดินเผาทั้ง 2 สมัย น่าจะเป็นดินจากคนละบริเวณ แต่ก็เป็นดินที่เกิดบริเวณที่ราบลุ่มเช่นเดียวกัน ส่วนผสมที่ใช้พบว่า มีความแตกต่างกัน โดย ภาชนะดินเผาในสมัยที่ 1 ซึ่งเป็นสมัยแรกของแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ มีกร๊อกเป็นส่วนผสมในเนื้อดิน ส่วนภาชนะดินเผาในสมัยที่ 2 มีการเติมอินทรีย์วัตถุ คือ แกลบข้าวลงไปในเนื้อภาชนะดินเผา เทคนิคการขึ้นรูปภาชนะ 2 สมัยนี้ก็ต่างกัน โดยพบว่าสมัยที่ 1 นิยมการขึ้นรูปด้วยมือ แต่ในสมัยที่ 2 พบการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน เพิ่มขึ้นอีกวิธีหนึ่ง การตกแต่งภาชนะของ 2 สมัย มีการตกแต่งต่างกันโดย สมัยที่ 1 ส่วนใหญ่ภาชนะจะมีผิวเรียบ มีการตกแต่งด้วยลายเชือกทาบในแนวดิ่งและแนวเฉียง ลายขูดขีดและลายจักสาน ส่วนภาชนะดินเผาในสมัยที่ 2 ตกแต่งด้วย การรมควัน ร่วมกับ การขัดมันที่ผิวภาชนะ หรือ มีการรมควันเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามวิธีการเผาภาชนะของทั้ง 2 สมัยคล้ายกัน คือ เป็นการเผาแบบกลางแจ้ง มีอุณหภูมิต่ำ 
จากผลการศึกษาภาชนะดินเผาครั้งนี้ บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่แหล่งโบราณคดีปราสาทพนมวันดังเห็นได้จากความแตกต่างของรูปแบบภาชนะที่พบใน 2 สมัยแหล่งโบราณคดีนี้ นอกจากนี้เมื่อนำภาชนะดินเผาของปราสาทพนมวันไปเปรียบเทียบกับแหล่งโบราณคดีที่อยู่ใกล้เคียงกันนั้น พบว่าลักษณะของภาชนะดินเผาทั้งรูปแบบ และส่วนผสมมีความคล้ายคลึงกัน จัดอยู่ในช่วงอายุสมัยที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งแสดงถึงการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มชุมชนใกล้เคียง ในเขตบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนด้วยกัน


แหล่งที่มา : vcharkarn.com


อัพเดทล่าสุด