https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เมนูอาหารบํารุงสมอง อาหารบํารุงสมองทารก อาหารบํารุงสมองซีกซ้าย MUSLIMTHAIPOST

 

เมนูอาหารบํารุงสมอง อาหารบํารุงสมองทารก อาหารบํารุงสมองซีกซ้าย


1,563 ผู้ชม


เมนูอาหารบํารุงสมอง อาหารบํารุงสมองทารก อาหารบํารุงสมองซีกซ้าย

 

อาหารบำรุงสมองให้ฉลาดทันใจภายใน 7 วัน
 
 

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก เมื่อพิเคราะห์เรื่องอาหารกับความต้องการของเราอย่างละเอียดถี่ถ้วน พบว่าการพิถีพิถันเลือกกิน เพื่อให้ร่างกายได้ประโยชน์สูงสุดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
การจะมีกำลังสมองดี คิดวิเคราะห์คล่องแคล่ว เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ก่อความรู้สึกสดชื่นและ
เบิกบาน ท่ามกลางชีวิตเร่งรีบและความกดดันในการทำงาน...อาหารสำคัญอย่างยิ่งค่ะ

สมองปลอดโปร่งด้วยอาหารเช้า
ด้วยความเร่งรีบของวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ ทำให้ใครหลายคนละเลยการรับประทานอาหารเช้าไป หรือ
รับประทานน้อย ทั้งๆ ที่อาหารมื้อเช้าเป็นมื้อสำคัญที่สุดของวัน 
อาหารเช้าเป็นการเปิดรับพลังงานให้ร่างกาย เพราะร่างกายไม่ได้ทานอาหารมาตลอดทั้งคืน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 - 8 ชั่วโมง เมื่อตื่นนอนก็ต้องมีกิจกรรมตลอดทั้งวัน ร่างกายจึงต้องการใช้พลังงานจากอาหารเช้า
เพื่อแปรเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลกลูโคส เพื่อไปเลี้ยงสมองอย่างเพียงพอ
ดังนั้น การได้รับอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในมื้อเช้า ย่อมทำให้มีพลังในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ สมองแจ่มใส อารมณ์ไม่หงุดหงิด สมาธิดี

เพิ่มพลังชีวิตด้วยอาหารกลางวัน
"กลางวันนี้กินอะไรกันดี" คำถามยอดฮิตที่บางครั้งหาคำตอบยากเหลือเกิน มาฟังเทคนิคการเลือกอาหารกลางวันที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์กันดีกว่า
หนังสือ The Nature Doctor: A Manual of Traditional and Complementary Medicine แนะนำว่า รับประทานสลัดหรือเมนูผัก เพื่อเติมแร่ธาตุ วิตามินให้กับร่างกาย
รับประทานอาหารที่มีถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ เพื่อรับโปรตีนบริสุทธิ์จากพืชทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์
รับประทานข้าวกล้องหรืออาหารที่มีส่วนประกอบของธัญพืชซึ่งไม่ได้ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ เพื่อเพิ่มโปรตีน แร่ธาตุ และวิตามิน ทำให้สมองปิ๊ง พร้อมสู้งานต่อตลอดบ่าย
 
สบายท้อง พร้อมพักผ่อนด้วยอาหารเย็น
อาหารเย็นเป็นมื้อที่คุณควรบริโภคให้น้อยที่สุด แต่ในปริมาณน้อยนั้นก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพด้วย 
หนังสือ The Nature Doctor: A Manual of Traditional and Complementary Medicine แนะนำว่า เลือกเมนูอาหารเบาๆ จะสบายท้อง นอนหลับสบาย
รับประทานอาหารธรรมชาติ ปราศจากการแปรรูป แม้จะบริโภคไม่มาก แต่ร่างกายก็จะได้รับสารอาหารเต็มที่ แถมยังทำให้ไม่หิวในช่วงกลางคืน สมองปลอดโปร่ง พร้อมรับเช้าวันใหม่
 
สมดุลอาหาร & พลังงาน
วิถีชีวิตและกิจกรรมที่แตกต่างกันไปของแต่ละคน เป็นปัจจัยในการเลือกรับประทานอาหารบำรุงสมอง
ด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าต้องทำงานที่ใช้ความคิดหรือกิจกรรมที่ไม่อยู่นิ่งตลอดเวลา อาหารที่รับประทานแต่ละมื้อก็ต้องให้พลังงานเพียงพอ นอกจากนั้น ต้องเลือกรับประทานให้สมดุลกับพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน ไม่มากไม่น้อยเกินไป ยกตัวอย่าง ถ้าช่วงเช้าต้องประชุม แน่นอนว่าต้องใช้ความคิดมาก อาหารเช้าที่รับประทานก็ต้องเป็นอาหารที่ช่วยบำรุงสมอง ทำให้สมองปรอดโปร่ง ไม่ใช่แค่ดื่มกาแฟเพียงแก้วเดียว เป็นต้น

เมื่อวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่เป็นแบบนี้ ในหนึ่งสัปดาห์เราจะเลือกกินอย่างไรดี เพื่อสุขภาพสมอง

เมนูอาหารบํารุงสมอง อาหารบํารุงสมองทารก อาหารบํารุงสมองซีกซ้าย
วันจันทร์
เช้า 
แซนด์วิชแซลมอน โยเกิร์ตผลไม้สด
กลางวัน ข้าวกล้อง ต้มยำรวมมิตรทะเล ผัดเต้าหู้กับผักหลากสี ผลไม้รวมลอยแก้ว หรือข้าวผัดพริกแกง 
ปลาช่อนทอด

เย็น 
  สลัดอะโวคาโด ซุปสาหร่าย

วันอังคาร (วันประชุม)
เช้า
 ข้าวต้มข้าวอาร์ซี ปลาช่อนแดดเดียวทอด ผัดถั่วงอก แครอท ยำถั่วลิสงคั่ว
กลางวัน ก๋วยเตี๋ยวเห็ดเส้นข้าวกล้อง ผลไม้สดหลากสี หรือข้าวผัดกระเทียมปลากรอบ ซุปมิโซะ
เย็น   ข้าวกล้องเล็กน้อย ยำปลาทูน่าผักสด น้ำเอนไซม์แครอท


เมนูอาหารบํารุงสมอง อาหารบํารุงสมองทารก อาหารบํารุงสมองซีกซ้าย
วันพุธ (พบลูกค้านอกสถานที่)
เช้า
 มูสลีโยเกิร์ต ลูกพรุนหรือผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ หรือโจ๊กข้าวกล้องเห็ดหอม
กลางวัน ข้าวกล้อง ปลาเก๋าเจี๋ยนบรอกโคลี ซุปเยื่อไผ่เก๋ากี้
เย็น   ข้าวกล้องเล็กน้อย ปลาทูย่างน้ำตก มะละกอและแอ๊ปเปิ้ล น้ำเอนไซม์สับปะรด

เมนูอาหารบํารุงสมอง อาหารบํารุงสมองทารก อาหารบํารุงสมองซีกซ้าย

วันพฤหัสบดี
เช้า 
ขนมปังกระเทียมโฮลวีต ซุปมะกะโรนีผักรวม
กลางวัน ผัดสปาเกตตีโฮลวีตพริกแห้งปลาสลิด ขนมข้าวอาร์ซีเปียก
เย็น   ยำส้มโอ ผักสด หรือสุกี้ผักรวม เต้าทึงร้อน

เมนูอาหารบํารุงสมอง อาหารบํารุงสมองทารก อาหารบํารุงสมองซีกซ้าย

วันศุกร์ (วันนอนดึก)
เช้า  แซนด์วิชปูอัด น้ำส้มคั้น
กลางวัน ข้าวกล้อง เห็ดหอมสดผัดกุ้ง แกงจืดเต้าหู้หรือสเต๊กปลาอินทรีทอด
เย็น  ข้าวกล้องเล็กน้อย น้ำพริกปลาทูผักลวก แกงจืดสาหร่าย

วันเสาร์ (วันทำงานบ้าน - ทำกับข้าวกินเอง)
เช้า
  ข้าวต้มทะเลใส่เห็ด
กลางวัน ข้าวกล้อง ปลากะพงต้มส้มสับปะรด ยำมะระทรงเครื่อง กล้วยหักมุกปิ้งบวชชี น้ำเต้าหู้
เย็น  กระเพาะปลาน้ำแดงเนื้อปู

วันอาทิตย์ (วันออกกำลังกาย)
เช้า
 ข้าวต้มอาร์ซี เห็ดแดดเดียว ผัดถั่วขาว ยำกุ้งแห้ง
กลางวัน ข้าวกล้อง แกงเขียวหวาน เต้าหู้ทอด เม็ดบัวผัดสามรส หรือข้าวกล้องห่อ สาหร่ายไส้ปลาดิบ ซุปมิโซะ ผัดยากิโซบะเส้นบุก

เย็น  บาร์บีคิวปลากะพง ผักย่างรวมมิตร แอ๊ปเปิ้ล 

 

แหล่งที่มา : horapa.com

อัพเดทล่าสุด