https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น pdf MUSLIMTHAIPOST

 

โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น pdf


951 ผู้ชม


โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น pdf

 

โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น

โครงสร้างภายในของปลายยอดพืช 
บริเวณปลายยอดพืชสามารถแบ่งออกเป็นบริเวณ(region/zone) ได้ทั้งหมด 3 บริเวณด้วยกันคือ
1.บริเวณเซลล์แบ่งตัว(region of cell division)
2.บริเวณเซลล์ยืดตัว(region of cell elongation)
3.บริเวณเซลล์เจริญเต็มที่ (region of maturation)

1.โครงสร้างภายในของลำต้นที่ตัดตามขวาง 
เมื่อนำปลายยอดของพืชมาตัดตามขวางบริเวณเซลล์เจริญเต็มที่จะพบว่าโครงสร้าง ภายในประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดต่างๆตามแต่ชนิดของพืชโดยแบ่งได้ดังนี้
1.1โครงสร้างภายในของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ 
1.epidermis 
เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อภายในของลำต้น ส่วนใหญ่เซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียว พืชบางชนิด epidermis มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นส่วนของ trichome / hair และ guard cell ในต้นพืชที่อายุมากส่วนใหญ่แล้วส่วนของ epidermis จะหลุดหายไปเพราะถูกแทนที่ด้วยส่วนของคอร์ก
2.cortex (คอร์เทกซ์)
คอร์เทกซ์เป็นชั้นของลำต้นที่มีอาณาเขตตั้งแต่ใต้ epidermis เข้ามาจนถึงเนื้อเยื่อเอนโดเดอมิส(endodermis) ดังนั้นในชั้นคอร์เทกซ์จึงประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดต่างๆได้แก่ 
1.parenchyma เป็นเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ที่พบภายในลำต้น 
2.chlorenchyma ทำหน้าที่ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง 
3.aerenchyma ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสะสมอากาศ โดยเฉพาะพืชน้ำ 
4.collenchyma เพิ่มความแข็งแรงให้แก่ลำต้น 
5.sclerenchyma(fiber)ให้ความแข็งแรงแก่ลำต้น 
3.stele (สตีล)
สตีลเป็นชั้นที่ถัดเข้ามาจากชั้นคอร์เทกซ์ โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ใต้ endodermis เข้ามาจนถึงใจกลางของลำต้น แต่เนื่องจากในลำต้นเนื้อเยื่อ endodermis ส่วนใหญ่เห็นได้ไม่ชัดเจนหรือหนังสือบางเล่มก็กล่าวว่าในลำต้นจะไม่มีเนื้อ เยื่อ endodermis ทำให้ชั้นสตีลในลำต้นแบ่งแยกออกจากชั้นคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจนเหมือนในส่วน ของรากพืช

ภายในชั้นสตีลจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่สำคัญคือ
1.vascular bundle 
หมายถึงกลุ่มของเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียง ภายในเนื้อเยื่อ vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงคู่ประกอบด้วย กลุ่มเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร(phloem)เรียงตัวอยู่ทางด้านนอกและกลุ่มเนื้อ เยื่อลำเลียงน้ำ(xylem)เรียงตัวอยู่ทางด้านในหรือด้านที่ติดกับ pith ระหว่าง xylem กับ phloem จะมีเนื้อเยื่อเจริญที่เรียกว่า vascular cambium คั่นกลางอยู่ทำหน้าที่แบ่งเซลล์เพื่อให้กำเนิด xylem และ phloem
2.pith 
เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนกลางของลำต้น ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อประเภท parenchyma จึงทำหน้าที่ในการสะสมสารต่างๆ ลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่บางชนิดเนื้อเยื่อในส่วนนี้อาจสลายไปกลายเป็น ช่องกลวงกลางลำต้น เรียกช่องนี้ว่า pith cavity 
1.2โครงสร้างภายในของลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 
1. epidermis 
เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อภาย 
ในของลำต้น ส่วนใหญ่เซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียวและมีอยู่ตลอดไป ยกเว้นใน ต้นพืชตระกูลปาล์มจะมีเฉพาะในปีแรกเท่านั้นเพราะต่อมาจะมีเนื้อเยื่อคอร์ก (cork) มาแทน
2. cortex
มีเนื้อเยื่อบางๆ1-2 ชั้น ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อชนิด parenchyma และส่วนใหญ่ไม่พบ endodermis ทำให้อาณาเขตแบ่งได้ไม่ชัดเจน
3. stele 
3.1 vascular bundle 
กลุ่มของเนื้อเยื่อลำเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนของ xylem, phloem จะเรียงตัวกันมองคล้ายๆใบหน้าคน มีส่วนของ vessel อยู่บริเวณคล้ายดวงตา ส่วน phloem อยู่บริเวณคล้ายหน้าผาก xylem และ phloem จะถูกล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อ parenchyma หรืออาจเป็น sclerenchyma และเรียกเซลล์ที่มาล้อมรอบนี้ว่า bundle sheath
vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่ไม่พบเนื้อเยื่อเจริญ vascular cambium ยกเว้นหมากผู้หมากเมีย และพืชตระกูลปาล์ม
3.2 pith
เป็น เนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนกลางของลำต้น ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อประเภท parenchyma พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น ข้าวโพด ในเนื้อเยื่อของ pith นี้จะพบ vascular bundle กระจายอยู่เต็ม นอกจากนี้พืชบางชนิดเนื้อเยื่อในส่วนนี้อาจสลายไปกลายเป็นช่องกลวงกลางลำ ต้น เรียกว่า pith cavity เช่นต้นไผ่ ต้นข้าวเป็นต้น

โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น pdf

ลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่

โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น pdf

ลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

หน้าที่ของลำต้น
1. เป็นแกนสำหรับพยุง (support) กิ่ง ก้าน ใบและดอกให้ได้รับแสงมากที่สุด
2. เป็นตัวกลางในการลำเลียง (transport) น้ำ แร่ธาตุ และอาหารส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆของพืชนอกจากนี้ ลำต้นยังทำหน้าที่ต่างๆเพิ่มอีก ได้แก่ สะสมอาหาร แพร่พันธุ์ สังเคราะห์ด้วยแสง และยังอาจเปลี่ยนรูปร่างไปทำหน้าที่อื่น เช่น เปลี่ยนเป็นมือเกาะ (tendri) หรือเปลี่ยนเป็นหนาม (spine)

ชนิดของลำต้น
1.ลำต้นเหนือดิน
ลำต้นเหนือดิน เป็นต้นที่ปรากฏอยู่เหนือพื้นดินทั่วๆไปของต้นไม้ต่างๆ ยังเปลี่ยนแปลงรูปร่างและหน้าที่ได้ต่างกันดังนี้
1. ลำต้นเลื้อยขนานไปกับผิวดินหรือผิวน้ำ (prostrate หรือ creeping stem) ส่วนใหญ่พืชพวกนี้มีลำต้นอ่อน ตั้งตรงไม่ได้ จึงต้องเลื้อยขนานไปกับผิวดิน
2. ลำต้นเลื้อยขึ้นสูง (climbing stem หรือ climber) พืชพวกนี้มีลำต้นอ่อน แต่ไต่ขึ้นสูงโดยขึ้นไปตามหลักหรือต้นไม้ที่อยู่กติดกัน วิธีการไต่ขึ้นสูงนั้นมีอยู่หลายวิธี คือ
- 2.1 ใช้ลำต้นพันหลักเป็นเกลียวขึ้นไป (twining stemหรือ twinter) การพันอาจเวียนซ้ายหรือเวียนขวา
- 2.2 ลำต้นเปลี่ยนเป็นมือเกาะ (stem yendri หรือ tendrilcimber) มือจะบิดเกาะเป็นเกลียวคล้ายสปริงเพื่อให้มีการยืดหยุ่น เมื่อลมพันผ่านมือจะยืดหดได้
- 2.3 ใช้รากพัน (root climber) เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นสูงโดยงอกรากออกมาบริเวณข้อยึดกับหลักหรือต้นไม้อื่น รากพืชเหล่านี้หากยึดกับต้นไม้จะไม่แทงรากเข้าไปในลำต้นของพืชที่เกาะ ไม่เหมือนพวกกาฝาก
- 2.4ลำต้นเปลี่ยนเป็นหนาม(stem spine)บางทีเรียกลำต้นชนิดนี้ว่าสแครมเบลอร์(scrambler)เพื่อใช้ในการไต่ ขึ้นที่สูงและยังทำหน้าที่ป้องกันอันตรายอีกด้วย หนามเหล่านี้จะแตกออกมาจากบริเวณซอกใบ หนามบางชนิดเปลี่ยนแปลงมาจากใบ หนามบางชนิดไม่ใช่ทั้งลำต้น บและกิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปแต่เปลี้ยนจากผิวนอกของลำต้นงอกออกมาเป็นหนามเช่น หนามกุหลาบ
3. ลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบ(cladophyll)ลำต้นที่เปลี่ยนไปอาจแผ่ แบนคล้ายใบหรือเป็นเส้นเล็กยาวและยังมีสีเขียว ที่มีสีเขียวต่อกันเป็นท่อนๆนั้นเป็นส่วนของลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนใบที่แท้จริงเป็นแผ่นเล็กๆติดอยู่รอบๆข้อ เรียกว่าใบเกล็ด
นอกจากนั้นยังมีลำต้นอวบน้ำเป็นลำต้นของพืชที่อยู่ในที่แห้งแล้งกันการน้ำ จึงมีการสพสมน้ำไว้ในลำต้น

2.สำต้นใต้ดิน
จำแนกจากรูปร่างลักษณะดังนี้
1.แง่งหรือเหง้า(rhizome)สำต้นใต้ดินจะอยู่ขนานกับผิวดิน เห็นข้อปล้องได้ชัดเจน ตามข้อมีใบสีน้ำตาลที่ไม่มีคลอโรฟีลล์ มีลักษณะเป็นเกล็ดเรียกว่าใบเกล็ด หุ้มตาเอาไว้มีรากงอกออกจากเหง้า ตาอาจแตกแขนงเป็นใบอยู่เหนือดิน หรือเป็นลำต้นอยู่ใต้ดินก็ได้

2.ทูเบอร์(tuber)เป็นลำต้นใต้ดินที่งอกออกมาจากปลายไรโซม มีปล้องเพียง3-4ปล้องตามข้อไมมีใบเกล็ดและรากสะสมอาหารเอาไว้มากในลำต้นส่วน ใต้ดิน จึงดูอ้วนใหญ่ แต่บริเวณที่เป็นตาจะบุ๋มลงไป
3.หัวกลีบ(bulb)เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรง อาจมีส่วนพันดินบ้าง ลำต้นมีขนาดเล็กมีปล้องที่สั้นมาก บริเวณปล้องมีใบเกล็ดที่ซ้อนกันหลายชั้นจนเห็นเป็นหัว อาหารสะสมอยู่ในใบเก็ด ในลำต้นไม่มีอาหารสะสม บริเวณส่วนล่างของลำต้นมีรากเส้นเล็กๆ แตกออกมาหลายเส้น
4.คอร์ม(corm)เป็นลักษณะของลำต้นที่ตั้งตรง เก็บอาหารไว้ในลำต้นจึงมีลักษณะอวบใหญ่ ทางด้านล่างมีรากเส้นเล็กๆหลายๆเส้น ที่ข้อมีใบเกล็ดบางๆหุ้ม ตาแตกออกมาจากข้อมีใบชูขึ้นสูงหรืออาจเป็นลำต้นใต้ดินต่อไป


 

 
แหล่งที่มา : lks.ac.th

อัพเดทล่าสุด