https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ข้อสอบเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก หน้าที่ของพืช ป.4 แผนการสอนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก MUSLIMTHAIPOST

 

ข้อสอบเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก หน้าที่ของพืช ป.4 แผนการสอนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก


2,058 ผู้ชม


ข้อสอบเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก หน้าที่ของพืช ป.4 แผนการสอนเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก

 

 

  แบบทดสอบเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก

  วิชาชีววิทยา ว30243    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

  1. ต้นข้าวเมื่อถูกน้ำท่วมจะพยายามชูลำต้นไว้เหนือน้ำ ความสูงของลำต้นที่เพิ่มขึ้นเกิด จากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อชนิดใด
    ก.โพรเมอริสเต็ม( Promeristem)
    ข.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง( Lateral meristem)
    ค.เนื้อเยื่อเจริญที่ปลายยอด( Apical meristem)
    ง.เนื้อเยื่อเจริญระหว่างข้อ( Intercalary meristem)
  2. เซลล์ที่ขูดออกหลังจากการควั่นลำต้นพืชและลอกเปลือกออกในตอนกิ่งไม้คือ
    ก.Xylem              ข.Cortex                  ค.Cambium              ง.Parenchyma
  3. พืชพวกใดมีการเจริญเติบโตขั้นที่ 2 ( Secondary growth )
    ก.ข้าว                 ข.อ้อย                      ค.มะเขือ                   ง.มะพร้าว
  4. เซลล์ในข้อใดสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้
    1.คอร์เทกซ์     2.เพอริไซเคิล    3.เอนโดเดอร์มิส
    ก.ข้อ 1, 2             ข.ข้อ 1, 3                  ค.ข้อ 2, 3                  ง.ข้อ 1, 2,3
  5. ข้อใดเจริญมาจากเซลล์เอพิเดอร์มิส ( Epidermis ) ของพืช
    1.ขนราก     2.เซลล์คุม     3.ขนปกคลุมลำต้น    4.มือเกาะ
    ก.ข้อ 1,2              ข.ข้อ 1,2,3                ค.ข้อ 1,2,4                ง.ข้อ 2,3,4
  6. บริเวณใดของปลายรากที่พบการแบ่งเซลล์แบบ ไมโทซิส ( Mitosis )
    ก.Root cap                                        ข.Zone of meristem

ค.Zone of elongation                          ง.Zone of root hair

7. จากแผนภาพภาคตัดขวางของรากพืช รากแขนงเกิดจากเนื้อเยื่อหมายเลขใด และเซลล์ที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อหมายเลข 5 เมื่อเจริญเต็มที่แล้วมีลักษณะอย่างไรตามลำดับ

ก.หมายเลข 4 มีผนังเซลล์หนา ไม่มีชีวิต
ข.หมายเลข 3 มีผนังเซลล์บาง รูปร่างค่อนข้างกลม
ค.หมายเลข 2 เป็นเซลล์รูปร่างยาว หัวท้ายแหลม มีนิวเคลียสใหญ่
ง.หมายเลข 4 เป็นเซลล์รูปร่างยาว ผนังเซลล์บาง ผนังเซลล์ด้านหัวท้ายมีลักษณะ เป็นแผ่นตะแกรง

8.ในรากพืชส่วนใดที่ทำหน้าที่ในการดูดน้ำและแร่ธาตุ
ก.รากขน
ข.ปลายสุดของรากขน
ค.ทุกส่วนของรากที่อยู่ใต้ผิวดิน
ง.ก และ ข เป็นคำตอบที่ถูกต้อง

9. จากแผนภาพข้างล่างนี้ ภาพ A และ B เป็นภาพของข้อใด

ก.A รากพืชใบเลี้ยงคู่ B รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ข.A รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว B รากพืชใบเลี้ยงคู่
ค.A ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ B ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ง.A ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว B ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่

10. เมื่อนำราก ลำต้นของทั้งพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยวมาตรวจดูโครงสร้างต่างๆด้วยกล้องจุลทรรศน์ ปรากฏว่า เห็นโครงสร้างของ เพอริไซเคิล( Pericycle) เรียงเป็นวงอย่างเด่นชัด แสดงว่าโครงสร้างนี้เป็นส่วนใดของพืช
ก.รากของพืชใบเลี้ยงคู่                        ข.ลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่
ค.รากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว                    ง.ลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

11. ข้อใดเป็นรากสะสมอาหาร ( Storage root )
ก.แง่งขิง แง่งข่า                               ข.แง่งขมิ้นขาว แห้ว
ค.หัวมันฝรั่ง หัวเผือก                         ง.มันสำปะหลัง มันเทศ

12. จากแผนภาพข้างล่าง A และ B เป็นภาพของอะไร

ก.A รากพืชใบเลี้ยงคู่ B รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ข.A รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว B รากพืชใบเลี้ยงคู่
ค.A ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ B ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ง.A ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว B ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่

13. จากแผนภาพข้างล่าง การที่จะดูว่าเป็นรากหรือลำต้นตัดตามขวางดูได้จากข้อใด

ก.ชั้นของคอร์เทกซ์ในรากแคบ คอร์เทกซ์ในลำต้นกว้าง
ข.ชั้นของคอร์เทกซ์ในรากกว้าง คอร์เทกซ์ในลำต้นแคบ
ค.ชั้นของมัดท่อน้ำท่ออาหารกระจัดกระจายในรากและเป็นระเบียบในลำต้น
ง.ชั้นของมัดท่อน้ำท่ออาหารกระจัดกระจายในลำต้นและเป็นระเบียบในราก

14. ถ้าตัดลำต้นไม้ยืนต้นตามขวางซึ่งมีอายุ 1 ปี พบว่ามีเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ เรียงลำดับจากชั้นในสุดออกมาด้านนอกดังนี้ตามข้อใด
ก.ไซเลม โฟลเอ็ม ไซเลม                                ข.โฟลเอ็ม แคมเบียม ไซเลม
ค.ไซเลม แคมเบียม โฟลเอ็ม                            ง.ไซเลม โฟลเอ็ม แคมเบียม

15. การที่ต้นมะม่วงและต้นหมากที่มีอายุเท่ากัน ปลูกอยู่บริเวณใกล้ ๆกัน ทำไมต้นมะม่วงจึงมีลำต้นใหญ่กว่าต้นหมากเพราะเหตุใด
ก.ต้นมะม่วงมีแคมเบียม ต้นหมากไม่มี
ข.จำนวนกลุ่มท่อลำเลียงของต้นมะม่วงมีมากกว่าต้นหมาก
ค.เซลล์ของต้นมะม่วงแบ่งตัวได้รวดเร็วกว่าเซลล์ของต้นหมาก
ง.ต้นมะม่วงมีการเรียงตัวของกลุ่มท่อลำเลียงเป็นระเบียบมากกว่าต้นหมาก

16. เมื่อดูชิ้นส่วนตัดตามขวางของพืชด้วยกล้องจุลทรรศน์และพบว่าใจกลางชิ้นส่วนนั้นเป็นเนื้อเยื่อไซเลม แสดงว่าชิ้นส่วนนั้นเป็นส่วนใดของพืช
ก.รากของพืชใบเลี้ยงคู่                                  ข.ลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่
ค.รากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว                              ง.ลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
17. ถ้าพบวงปีของลำต้นพืชมีเซลล์ไซเลมใหญ่ มีแถบกว้าง และสีจาง เป็นเพราะเหตุใด
ก.เนื้อเยื่อเจริญในฤดูน้ำน้อย                           ข.วาสคิวลาร์แคมเบียมมีขนาดใหญ่
ค.วาสคิวลาร์แคมเบียมมีผนังเซลล์หนา                ง.วาสคิวลาร์แคมเบียมเจริญในฤดูน้ำมาก

18. วงปี (annual ring) ของพืชเกิดขึ้นได้อย่างไร
ก. ทั้งในลำต้นและในรากพืชใบเลี้ยงคู่
ข. เฉพาะในลำต้นของใบพืชใบเลี้ยงคู่เท่านั้น
ค. ในลำต้น รากพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด และในลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด
ง. ในลำต้นของพืชจำพวกสน

19. ข้อใดเป็นลำต้นใต้ดิน ( Rhyzome)
ก.ขิง ข่า ขมิ้น                                           ข.เผือก มันฝรั่ง มันเทศ
ค.กระชาย ขมิ้นขาว แครอท                           ง.มันเทศ หัวผักกาดขาว แห้ว

20. ต้นมะม่วงมีอายุ 20 ปี นักเรียนคิดว่ามีส่วนประกอบของเนื้อเยื่อใดน้อยที่สุด
ก.เอพิเดอร์มิส              ข.ไซเลมระยะแรก         ค.ไซเลมระยะที่สอง        ง.วาสคิวลาร์แคมเบียม

21.ข้อใดอธิบายการที่พืชเจริญเติบโตได้อย่างไม่จำกัดได้ถูกต้อง
ก. มีเนื้อเยื่อเจริญอยู่ที่ส่วนปลาย
ข. มีระบบรากที่สามารถดูดน้ำและอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ค. สามารถแผ่กิ่งและใบเพื่อรับแสงได้โดยไม่จำกัดอายุขัย
ง. การทำงานของระบบลำเลียงไปอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา

22. โครงสร้างใดของพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่มีเยื่อแคมเบียม
ก. ใบและราก              ข. รากแขนงและกิ่งก้าน            ค. ใบและกิ่งก้าน                    ง. ใบและต้น

23. ในการตอนกิ่งไม้นั้นการควั่นเอาเปลือกรอบๆ ออกไปมีเนื้อเยื่ออะไรที่ชาวสวนตั้งใจเอาออกเพื่อช่วยให้รากสามารถงอกได้เร็วยิ่งขึ้น
ก. PHLOEM               ข. CORK และ กระพี้              ค. EPIDERMIS             ง. CAMBIUM

24. ข้อมูลจากวงปีของต้นไม้ในป่าดงดิบแล้งสามารถบอกให้ทราบเรื่องใด
ก. การเจริญของโฟลเอมในแต่ล่ะปี                              ข. การเจริญของไซเลมในแต่ละปี
ค. ปริมาณความมากน้อยของน้ำฝนในแต่ล่ะปี                  ง. คุณภาพของเนื้อไม้แต่ละปี

25. เนื้อไม้ที่จริงแล้วคือเนื้อเยื่อของอะไร
ก. PHLOME               ข. XYLEM                 ค. EPIDERMIS            ง. CAMBIUM

26. เนื้อเยื่อใดในลำต้นที่ถูกสร้างขึ้นมามากที่สุดในการเจริญขั้นที่สอง
ก. ไซเลมระยะที่ 1        ข. ไซเลมระยะที่ 2        ค. โฟลเอมระยะที่ 1       ง. โฟลเอมระยะที่ 2

27. ด้านบนของใบมะม่วงมีสีเข้มมากกว่าด้านล่างเป็นเพราะเหตุใด
ก. ได้รับแสงมากกว่า
ข. พาลิเสดเซลล์เรียงตัวกันแน่นกว่าสปันจีเซลล์
ค. พาลิเสดเซลล์มีคลอโรพลาสต์มากกว่าสปันจีเซลล์
ง. สปันจีเซลล์มีคลอโรพลาสต์มากกว่าพาลิเสดเซลล์

28. เนื้อเยื่อลำเลียงของใบอยู่ในเซลล์ชั้นใด
ก. พาลิเสดเซลล์           ข. อิพิเดอร์มิส              ค. สปันจีเซลล์                       ง. คลอเรนไคมาเซลล์

29. บริเวณใดของรากที่มีการดูดน้ำและเกลือแร่ได้ดีที่สุด
ก. บริเวณหมวกราก                                    ข. บริเวณโคนราก

ค. บริเวณขนราก                                       ง. บริเวณถัดจากหมวกราก

30. เซลชนิดใดในท่อลำเลียงที่ช่วยในการลำเลียงน้ำและอาหารออกไปทางด้านข้างของลำต้น
ก. เทรคีด                  ข. เวสเซล                  ค. ซีพทิวบ์เมมเบอร์                 ง. พาเรงคิมา

 


แหล่งที่มา : mfu.mengrai.ac.th

อัพเดทล่าสุด