https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
คำว่าประเพณี วัฒนธรรม เหมือนกันไหม MUSLIMTHAIPOST

 

คำว่าประเพณี วัฒนธรรม เหมือนกันไหม


502 ผู้ชม


ประเพณี เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา และเราช่วยกันรักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ   

        

คำว่าประเพณี วัฒนธรรม เหมือนกันไหม
ภาพจาก :   https://www.taklong.com/isan/s-zi.php?No=207490

1.   บทนำ   งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย
      ที่ จ.อุบลราชธานี ยังคงได้รับความสนใจอย่างเนืองแน่นจากนักท่องเที่ยว
      ที่มา :  https://www.thairath.co.th/gallery/view/region/3712
                    ฉบับวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2554

2.    จากประเด็นข่าว ทำให้คิดไปถึงงานหลายๆงานที่เรียกว่า ประเพณีบ้าง
        วัฒนธรรมบ้าง  หลายคนอาจอยากทราบที่มา ของคำทั้งสอง ว่าเหมือน
        หรือแตกต่างกันอย่างไร

3.   เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
       ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
       มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษา
 การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญา  ทางภาษา
 และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

4.   เนื้อเรื่อง   งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย
      ที่ จ.อุบลราชธานี ยังคงได้รับความสนใจอย่างเนืองแน่นจากนักท่องเที่ยว 
              จากประเด็นข่าวทำให้เราชาวไทยมีความปลื้มปิติ ยินดีกับประเพณีอัน
งดงามและลือเลื่อง ถือเป็นเอกลักษณืที่สมควร รักษาไว้เป็นอย่างยิ่ง
               คำว่าประเพณีหลายคนอาจจะสงสัยว่า  กิจกรรมที่ปฏิบัติสืบต่อๆ กันมา
นั้นกลายมาเป็นประเพณีได้อย่างไร และถีอเป็นคำสำคัญที่เราชาวไทยควรรู้
ความหมาย และที่มา เพื่อความเข้าใจ และปฏิบัติสืบสานต่อกันไปตราบนานเท่านาน
              ความหมายของประเพณีพระยาอนุมานราชธน ได้ให้ความหมายของคำว่า
ประเพณีไว้ว่าประเพณี คือ ความประพฤติที่ชนหมู่หนึ่งอยู่ในที่แห่งหนึ่งถือเป็น
แบบแผนกันมาอย่างเดียวกันและสืบต่อกันมานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออก
นอกแบบก็ผิดประเพณี หรือผิดจารีตประเพณี 
             คำว่าประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนด
ความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ 
ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียมมีความหมายว่า
ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้ว ก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คน
ส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะ
ให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
          โดยสรุปแล้ว ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมใน
สถานการณ์ต่างๆที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้นๆ
ฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคมลักษณะประเพณีในสังคมระดับประเทศชาติ มีทั้ง
ประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกันและมีผิดแผกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะ
ท้องถิ่น แต่โดยมากย่อมมีจุดประสงค์  และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
 มีเฉพาะส่วนปลีกย่อยที่เสริมเติมแต่งหรือ ตัดทอนไปในแต่ละท้องถิ่น สำหรับ
ประเพณีไทยมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในคติ พระพุทธศาสนาและพราหมณ์
มาแต่โบราณ
          ความเป็นมาของประเพณีมีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ 
เอกลักษณ์ ค่านิยม โดยความเชื่อของคนในสังคมต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือ
มนุษย์นั้นๆ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
ต่างๆ ฉะนั้นเมื่อเวลา เกิดภัยพิบัติขึ้น มนุษย์จึงต้องอ้อนวอนร้องขอในสิ่งที่ตน
คิดว่าจะช่วยได้พอภัยนั้นผ่านพ้น ไปแล้ว มนุษย์ก็แสดงความรู้คุณต่อสิ่งนั้นๆ
ด้วยการทำพิธีบูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง  ตามความเชื่อ ความรู้ของตน
เมื่อความประพฤตินั้นคนส่วนรวมสังคมยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียม  หรือเป็น
ระเบียบแบบแผน และทำจนเป็นพิมพ์เดียวกัน สืบต่อๆกันจนกลายเป็นประเพณี
ของสังคมนั้นๆ
           ประเพณีและวัฒนธรรม เมื่อว่าโดยเนื้อความก็เป็นสิ่งอย่างเดียวกัน คือ
เป็นสิ่งที่ไม่ใช่มีอยู่ในธรรมชาติโดยตรง แต่เป็นสิ่งที่สังคมหรือคนในส่วนรวมร่วม
กันสร้างให้มีขึ้น แล้วถ่ายทอดให้แก่กันได้ด้วยลักษณะและวิธีการต่างๆว่าโดยเนื้อหา
ของประเพณีและวัฒนธรรมที่อยู่ในจิตใจของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องความคิดเห็น
ความรู้สึก ความเชื่อ ซึ่งสะสมและสืบต่อร่วมกันมานานในส่วนรวม จนเกิดความ
เคยชิน  เรียกว่า นิสัยสังคมหรือประเพณี

       ประเภทของประเพณีประเภทของประเพณีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.     จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หมายถึง สิ่งซึ่งสังคมใดสังคมหนึ่งยึดสือ
และปฏิบัติ สืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เป็นเรื่องของความผิดถูก มีเรื่อง
ของศีลธรรมเข้ามา ร่วมด้วย ดังนั้นสมาชิกในสังคมต้องทำ ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่า
เป็นผิดเป็นชั่ว จะต้องถูกตำหนิ หรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น 
เช่น ลูกหลานต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า  ถ้าใครไม่เลี้ยงดูถือว่าเป็นคน
เนรคุณหรือลูกอกตัญญู จารีตประเพณีของแต่ละสังคมนั้นย่อมไม่เหมือนกัน 
เพราะมีค่านิยมที่ยึดถือต่างกัน การนำเอาจารีตประเพณีของตน
ไปเปรียบเทียบกับของคนอื่นแล้วตัดสินว่าดีหรือเลวกว่าของตนย่อมเป็น
สิ่งที่ไม่ถูกต้อง  เพราะสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเชื่อของแต่ละ
สังคมย่อมแตกต่างกันไป

2.     ขนบประเพณี หรือสถาบัน หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนด
ไว้แล้วปฏิบัติ สืบต่อกันมา ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทางตรง ได้แก่ 
ประเพณีที่มีการกำหนดเป็น ระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติอย่างชัดแจ้งว่า
บุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร เช่น สถาบันโรงเรียน  มีโรงเรียน มีผู้สอน มีผู้เรียน
มีระเบียบการรับสมัคร การเข้าเรียน การสอบไล่ เป็นต้น  ทางอ้อม ได้แก่ 
ประเพณีที่รู้กันโดยทั่วๆไป โดยไม่ได้วางระเบียบไว้แน่นอน แต่ปฏิบัติ
ไปตามคำบอกเล่า หรือตัวอย่างจากที่ผู้ใหญ่หรือบุคคลในสังคมปฏิบัติ เช่น 
ประเพณีเกี่ยวกับ การเกิด การตาย การแต่งงาน ซึ่งเป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
หรือประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล   ตรุษ สารท การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

3.     ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญที่
ทุกคนควรทำ  ไม่มีระเบียบแบบแผนเหมือนขนบประเพณี หรือมีความผิด
ถูกเหมือนจารีตประเพณี  เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนปฏิบัติกันทั่วไป
จนเกิดความเคยชิน และไม่รู้สึกเป็น ภาระหน้าที่ เพราะเป็นสิ่งที่มีมานานและ
ใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนมากเป็นมารยาท ในด้านต่างๆ เช่น การแต่งกาย 
การพูด การรับประทานอาหาร การเป็นแขกไปเยี่ยมผู้อื่น ฯลฯ  ธรรมเนียม
ประเพณีเป็นเรื่องที่ทุกคนควรทำแม้มีผู้ฝ่าฝืนหรือทำผิดก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่อง
สำคัญแต่อาจถูกตำหนิว่าเป็นคนไม่ได้รับการศึกษา ไม่มีมารยาท ไม่รู้จักกาลเทศะ

5.     ประเด็นคำถาม
        แบ่งกลุ่มนักเรียนและให้ปฏิบัติกิจกรรมดังนี้
        กลุ่มที่ 1   ให้ระดมความคิดเขียนความหมายของคำว่าประเพณีพร้อมรายงาน
                           แบ่งปันความรู้  เพื่อตั้งคำถาม ตอบคำถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
        กลุ่มที่ 2   ให้ระดมความคิดเขียนความหมายของคำว่าวัฒนธรรมพร้อมรายงาน
                          แบ่งปันความรู้ เพื่อตั้งคำถาม ตอบคำถามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
        กลุ่มที่ 3   ให้ระดมความคิดเขียนสรุปคำว่าประเพณีและวัฒนธรรม ว่ามีความ
                           เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร   อธิบาย เพื่อถาม ตอบคำถามเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
        (  กิจกรรมกลุ่ม อยู่ในดุลพินิจของครูผู้สอน เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ค่ะ )

6.     กิจกรรมเสนอแนะ    
        ให้นักเรียนนำความคิดเห็นที่แต่ละกลุ่มระดมความคิดไปแสดงที่ป้ายนิเทศน์ เพื่อ
         แบ่งปันความรู้แก่นักเรียนชั้นอื่นๆ

7.     การบูรณาการ 
                    บูรณาการกับสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา   
                    เรื่องการอธิบายแสดงความคิดเห็น และฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม   การแบ่งปันความรู้
                    การฝึกระดมความคิด  ฝึกการยอมรับการเปรียบเทียบทางเหตุและผล


8.     แหล่งอ้างอิง :https://www.thairath.co.th/gallery/view/region/3712
                   : https://th.wikipedia.org/wiki
                   : https://billboss.jalbum.net/cartoon/
                   : https://www.taklong.com/isan/s-zi.php?No=207490

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4171

อัพเดทล่าสุด