https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เปลี่ยนสีผิว บวม กินยาแก้ไข้หวัดใหญ่ MUSLIMTHAIPOST

 

เปลี่ยนสีผิว บวม กินยาแก้ไข้หวัดใหญ่


846 ผู้ชม


คลินิคหมอทหารชุ่ย จ่ายยาให้ผู้ป่วยผิด เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนตามตัว ร่างกายบวมเต่ง ผิวหนังมีลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ไหม้ ดำ และลอกคราบ ทรมานมาก ก่อนกินยามีอาการเป็นโรคงูสวัด และไข้หวัด   


กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์  รายวิชา ชีววิทยา  ช่วงชั้นที่ 4
                     

                                                                               ความหมายของการแพ้ยา


การแพ้ยา หมายถึง อาการที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เช่น รับประทานยาแล้วมีอาการ ใจเต้น ใจสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ก็เรียกกันว่า แพ้ยา โดยทั่วไปแพทย์ให้ยาก็เพื่อมุ่งหวังที่จะ รักษาโรค แต่บางทีมีอาการแทรกซ้อนเป็นผลเสียจากการใช้ยา ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า อาการ ข้างเคียง จากยา

การแพ้ยา เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย จากสถิติพบว่า 10-20% ของผู้ป่วยนอก จะมีอาการข้าง- เคียงจากยา ผู้ป่วยในโรงพยาบาลก็มีอาการข้างเคียงจากยา 20% เช่นเดียวกัน บางคนอาจมีอาการ รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ประมาณ 1% เพราะฉะนั้น เรื่องการแพ้ยาจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก 
เปลี่ยนสีผิว บวม กินยาแก้ไข้หวัดใหญ่

ภาพhttps://www.namjai.com/new/pix_news/1233282722.jpg

ประเภทของการแพ้ยา


การแพ้ยา สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ชนิด คือ 
1. เกิดขึ้นจากฤทธิ์ของยาโดยตรง เช่น การให้ยาลดความดันโลหิตสูง เพื่อลดความดัน โลหิต แต่ถ้าให้มากเกินไป บางครั้งความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้คนไข้มีอาการใจเต้น หน้ามืด เป็นลมได้ หรือการรับประทานยาเบาหวาน อาจทำให้น้ำตาลลดลงเร็ว ก็ทำให้มีอาการ ใจเต้น ใจสั่นได้เช่นกัน ในกรณีที่เป็นมาก บางครั้งอาจจะหมดสติ จากน้ำตาลในเลือดต่ำมาก 
ยาบางชนิดมีฤทธิ์ต่อร่างกาย ทำให้มีอาการคอแห้ง เช่น ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด บ่อยครั้ง ที่ผู้ป่วยบางท่านรับประทานยามากเกินไป แพทย์สั่งให้รับประทานวันละ 2 เวลา กลับรับประทาน ถึงวันละ 4 เวลา ก็อาจจะเกิดอาการข้างเคียงจากยาได้ หรือเกิดจากภาวะที่มีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น โรคตับ โรคไต ที่ทำให้ยาสะสมมากขึ้นในร่างกายได้ ก็อาจจะเกิดอาการข้างเคียงจากยาได้ 
บางคนเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ เช่น โรค G-6-P-D deficiency พบบ่อย ผู้ป่วยขาดเอ็นไซม์ ตัวหนึ่งซึ่งป้องกันผนังของเม็ดเลือดแดง ถ้ารับประทานยาพวกซัลฟา จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตก มีอาการโลหิตจาง 
ยาที่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้บ่อย ได้แก่ ยาลดความดันโลหิตสูง ยาเบาหวาน ยารักษา ไขข้อทั้งหลาย อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร อาการง่วงซึมก็พบบ่อยจากยาหลายประเภท เช่น ยาแก้แพ้ ยาคลายเครียด

2. เกิดจากการแพ้ยาโดยตรง การแพ้ยาเกิดขึ้นเนื่องจากยา ไปกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายให้เปลี่ยนแปลงไป อาจจะแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ได้หลายแบบ คือ 
 การแพ้ยาที่ถึงขั้น shock ช็อค เกิดขึ้นจากยาไปกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายชนิด หนึ่งที่เรียกว่า lge ทำให้หลั่งสารบางชนิดที่เป็นอันตราย เช่น การใช้ยาเพนนิซิลิน โดยเฉพาะ ฉีด ภายในครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง คนไข้ที่มีอาการแพ้ยา จะมีความดันตก ลมพิษขึ้น หน้าตาบวม ถ้าบวมที่หลอดลมอาจจะหายใจไม่ออก 
 ยาเข้าไปกระตุ้นภูมิต้านทานเปลี่ยนแปลง และอาจจะมาทำลายเซลล์ของร่างกายตัวเอง เช่น ยาลดความดันที่ไม่ใช่โดป้า อาจมีการทำลายเม็ดเลือดแดง ทำให้มีอาการโลหิตจางที่มีเม็ดเลือด แดงแตก หรือ ยาซัลฟา บางครั้งจะทำลายเม็ดโลหิตขาว ทำให้เกิดเม็ดโลหิตขาวต่ำ ภูมิต้านทาน บกพร่อง อาจจะมีอาการติดเชื้อขึ้นอีกได้ 
 ยาเข้าไปทำปฏิกริยากับภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้ตกตะกอนตามที่ต่างๆ ถ้าตก ตะกอนในเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดอักเสบ มีอาการเป็นจ้ำตามตัว ถ้าตกตะกอนที่ไตจะทำให้ไต อักเสบ 
 ยาไปกระตุ้นเซลล์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ลิมโฟไซท์ (Lymphocyte) มีการหลั่งสารบาง ชนิดออกมา ทำให้มีอาการแพ้ในลักษณะของผื่นแพ้

กล่าวโดยสรุป

อาการข้างเคียงของยามีอยู่สองชนิด ชนิดหนึ่งเกิดจากฤทธิ์ของยาโดยตรง พบบ่อย อาการอาจจะไม่รุนแรงนัก และมักจะป้องกันได้ กลุ่มที่สอง คือ การแพ้ยาจริงๆ พบน้อย กว่าเพียง 5% อาการอาจจะรุนแรงมากจนถึงแก่ชีวิตได้ กลุ่มนี้แพทย์ไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้า เพราะฉะนั้นอาการแพ้ยาในกลุ่มนี้จึงอาจจะเกิดขึ้นกับใครก็ได้

                  ตอบคำถามต่อไปนี้


1. สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการแพ้ยาในผู้ป่วยรายนี้ คืออะไร
2. โรคที่เป็นสาเหตุหลักที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยคือ โรคใด
3. ภูมิคุ้มกันในร่างกายในคนปกติได้มาจากแหล่งใด
4. วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้ยาสามารถปฏิบัติ ได้อย่างไร
5. อาการเบื้องต้นที่สงสัยว่าจะเกิดการแพ้ยา คือ


กิจกรรมเสนอแนะ

1. สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม  ถึงสาเหตุ อาการของผู้ป่วยที่เกิดการแพ้โดยทั่วไป
2. ค้นคว้าข้อมูลในอินเตอร์เน็ต  ถึงยาชนิดต่างๆที่ทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ

1. บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์  รายวิชาเคมี   วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม   ฟิสิกส์
2. บูรณาการข้ามกลุ่มสาระอื่นๆ เช่น สุขศึกษาและพละศึกษา  สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม การงานอาชีพและเทคโนโลยี่ ภาษาอังกฤษ  ภาษาไทย 

 

แหล่งอ้างอิง
วันที่ 05 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6732 ข่าวสดรายวัน

ประสบศรี อึ้งถาวร. "แพ้ยา." ชีวิตและสุขภาพ. ปีที่11. ฉบับที่69.

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=210

อัพเดทล่าสุด