https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ภารกิจ...พิชิตอวกาศ MUSLIMTHAIPOST

 

ภารกิจ...พิชิตอวกาศ


799 ผู้ชม


โซยุชทะยานฟ้านำนักบินอวกาศขึ้นไปประจำอีก 3 คน จาก 3 ชาติ เบลเยียม แคนาดา และรัสเซีย ไปพบกับลูกเรือที่ประจำอยู่ก่อนแล้วจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่นและรัสเซีย   

ยานโซยุซ (Soyuz) ของรัสเซียทะยานฟ้าจากฐานปล่อยจรวดไบโคนัวร์ในคาซัคสถาน เมื่อเวลา 17.34 น. ตามเวลาประเทศไทย มุ่งหน้าสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) เพื่อนำนักบินอวกาศ 3 คน คือ แฟรงก์ เดอ ไวนน์ (Frank De Winne) จากเบลเยียม โรเบิร์ต เธิร์สก (Robert Thirsk) จากแคนาดา และ โรมัน โรมาเนนโก (Roman Romanenko) จากรัสเซีย ขึ้นไปประจำบนสถานีอวกาศ โดยยานจะเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศในวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2552 เมื่อเชื่อมต่อสำเร็จ ไอเอสเอสจะกลายเป็นสถานีอวกาศทีมีลูกเรือหลากหลายชาติ เบ็ดเสร็จจะมีลูกประจำสถานีอวกาศทั้งหมด คนโดยลูกเรือที่ประจำอยู่ก่อนแล้วจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่นและรัสเซีย 
(ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ วันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2552  https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000059598)

         หลาย ๆ คนคงจะเคยนึกฝันอยากเป็นนักบินอวกาศหรือมนุษย์อวกาศ เพราะช่างดูเท่ห์ซะเหลือเกิน นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสออกไปท่องอวกาศซึ่งมนุษย์น้อยคนนักจะได้ไป(ยกเว้นมหาเศรษฐี) แต่จะมีใครรู้บ้างไหมว่าชีวิตของมนุษย์อวกาศนั้นก็ลำบากเหมือนกัน        
         
มนุษย์อวกาศดำรงชีวิตอยู่ในอวกาศในขณะที่พวกเขาลอยไปลอยมาได้อย่างไรกัน เรามาลองดูชีวิตของมนุษย์อวกาศในขณะทำงานและอยู่อาศัยในกระสวยอวกาศหรือสถานีอวกาศกันเถอะ

1. ชุดอวกาศ

      ภารกิจ...พิชิตอวกาศภารกิจ...พิชิตอวกาศ
อ้างอิงภาพ https://www.bangkokbiznews.com/2006/03/14/s009_75174.php?news_id=75174
อ้างอิงภาพ https://learn.chanpradit.ac.th/nuch/nudee/H10.html        
            โลกถูกปกคลุมด้วยอากาศที่มีลักษณะเป็นชั้น ๆ เรียก
ว่า ชั้นบรรยากาศ เหนือขึ้นไปจาก
ชั้นบรรยากาศจะไม่มีอากาศ เรียกว่า อวกาศ การเดินทางไปยังอวกาศนั้นต้องพบอุปสรรคหลายอย่าง เช่นสภาพไร้น้ำหนัก สภาพความดันของอากาศที่ต่ำมากอุณหภูมิที่สูงและต่ำมาก มนุษย์อวกาศจึงต้องสวมชุดอวกาศที่ป้องกันรังสี สามารถปรับอุณหภูมิได้ ทนทานต่อการฉีกขาดและ ช่วยให้อยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก สภาพไม่มีแก๊สออกซิเจนและช่วยระบายแก๊สคาร์บอนไดออกไซค์ได้
 
         
ขั้นตอนต่างๆของการสวมชุดอวกาศหรือชุดมนุษย์อวกาศ ชุดอวกาศนั้นได้มีขึ้นมาครั้งแรกในโครงการเมอคิวรี่(Mercury) โดยองค์การนาซ่า ซึ่งเริ่มก่อตั้งในปี ค.ศ.1958 ช่วงแรกๆ ชุดอวกาศจะค่อนข้างเทอะทะ ต่อมาก็ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆมาจนถึงยุคปัจจุบัน

ภารกิจ...พิชิตอวกาศ ภารกิจ...พิชิตอวกาศ
               
ชุดอวกาศในอดีต                                                   
ชุดอวกาศยุคไฮเทค

2. อาหาร

      ในยุคต้นของทศวรรษ 1960 อาหารที่กินในอวกาศนั้นจะมีขนาดเป็นคำๆ หรือไม่ก็จะถูกห่ออยู่ในหลอดอะลูมิเนียม อาหารที่จะเตรียมนำขึ้นไปในอวกาศนั้นจะต้องมีน้ำหนักไม่มากเกินไปหรือจะต้องไม่กินพื้นที่มากนัก จากทศวรรษที่ 1970 ในยุคของอะพอลโลนั้น จำนวนของอาหารที่กินในอวกาศมีเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันนี้มีทั้งสิ้น 150 ชนิด ซึ่งแต่ละมื้อของมนุษย์อวกาศนั้นคล้ายคลึงกับอาหารแต่ละมื้อที่พวกเรารับประทานบนโลกนั่นเอง
           อาหารสำหรับมนุษย์อวกาศนั้นจะถูกบรรจุไว้ในภาชนะพลาสติก
 ซึ่งอาหารที่กินในอวกาศบางชนิดนั้น จะคืนสู่สภาพเดิมได้ด้วยการเติมน้ำเย็นหรือน้ำร้อน ในขณะที่มีอีกหลายชนิดที่ทำให้ร้อนได้ในเตาอบ อาหารอย่างเช่นผลไม้ ขนมปัง และถั่ว สามารถกินในแบบที่มันเป็นได้ โดยไม่ต้องปรุง เมื่อดื่มของเหลวมนุษย์อวกาศจะใช้หลอดเพื่อดูดของเหลวออกจากภาชนะบรรจุ จะช่วยป้องกันไม่ให้ของเหลวหก ซึ่งอาจจะสร้างอันตรายแก่เครื่องจักรอุปกรณ์ 

อาหารที่รับประทานในยานขนส่งอวกาศส่วนใหญ่เป็นอาหารที่กำจัดน้ำออก หรือทำให้ไม่มีความชื้นและง่ายต่อการเก็บรักษา ถ้าเป็นเครื่องดื่มจะทำให้เป็นผงบรรจุในภาชนะที่ทำด้วยกระดาษหุ้มด้วยแผ่นตะกั่วบาง ๆ เป็นชั้น ๆ ผนึกอย่างมิดชิดเมื่อต้องการดื่มก็จะเติมน้ำและใช้หลอดดูด ส่วนอาหารหลักจะเป็นอาหารสำเร็จรูปเฉพาะอย่างซึ่งบรรจุในภาชนะที่ง่ายต่อการเก็บรักษาและหยิบจับในสภาวะไร้น้ำหนัก บริเวณส่วนบนของภาชนะจะมีส่วนที่ทำเครื่องหมายไว้ให้ใช้มีดหรือกรรไกรตัดได้ อาหารเหล่านี้สามารถเติมน้ำหรือทำให้อุ่นได้ การรับประทานอาหารอาจใช้ช้อนหรือส้อมตักอาหารจากภาชนะบรรจุนั้นได้โดยตรง ที่สถานีอวกาศนานาชาตินั้น มีอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศอยู่ประมาณ 300 ชนิด

 ภารกิจ...พิชิตอวกาศ ภารกิจ...พิชิตอวกาศ ภารกิจ...พิชิตอวกาศ
     
มิโซซุปและข้าวญี่ปุ่น                      ลูกอมก็ลอยได้ในอวกาศ                      อาหารอวกาศและภาชนะ

3. การนอน
            ในภาวะที่ผลของความถ่วงมีค่าเท่ากับศูนย์ (ไร้ซึ่งแรงโน้มถ่วงของโลก) นั้น จะไม่มีคำว่า ขึ้น” หรือ ลง” มนุษย์อวกาศสามารถที่จะนอนหลับที่ไหนก็ได้ในทิศทางไหนก็ได้ แต่ว่ามันก็ไม่ดีนักหากว่าจะลอยไปลอยมาในขณะหลับ ดังนั้นมนุษย์อวกาศจะใช้ช่องที่นอนขนาดเล็กและถุงนอน โดยใช้สายรัดร่างกายอย่างหลวมๆ ไว้กับช่องนอนนั้น 
เพื่อไม่ให้ร่างกายของเขาลอยไปลอยมาในขณะที่เขาหลับในกระสวยอวกาศ
            สำหรับมนุษย์อวกาศที่ไม่สามารถนอนหลับได้ท่ามกลางเสียงอึกทึกหนวกหูนั้น
 พวกเขาจะใช้ที่ปิดตาและที่ปิดหูเพื่อไม่ให้ตัวเองได้ยินเสียงของเครื่องปรับอากาศหรือ เสียงอึกทึกต่างๆ วัฏจักรของการนอนของมนุษย์อวกาศเมื่ออยู่ในกระสวยอวกาศนั้นมนุษย์อวกาศจะนอนประมาณ 8 ชั่วโมง อย่างไรก็ดี โดยมากแล้วพวกเขาจะนอนกันประมาณแค่ 6 ชั่วโมง เนื่องจากส่วนมากพวกเขาจะทำงานมากกว่า หรือไม่ก็จะใช้เวลาเพื่อการชมวิวนอกหน้าต่างของกระสวยอวกาศมากกว่า

 ภารกิจ...พิชิตอวกาศ ภารกิจ...พิชิตอวกาศ
                         การนอนโดยใช้ถุงนอนยึดติดกับผนังกระสวยหรือยานอวกาศ
4. การอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย             

            เนื่องจากน้ำไม่สามารถที่จะลอยอยู่ได้ในสภาพแวดล้อม ที่ไร้ซึ่งแรงโน้มถ่วงของโลกได้ มนุษย์อวกาศจึงไม่สามารถล้างมือด้วยก๊อกน้ำเหมือนที่ทำบนโลกได้ ดังนั้น ในกระสวยอวกาศจึงไม่มีอ่างล้างหรือฝักบัวเลย
เมื่อมนุษย์อวกาศต้องการทำความสะอาดมือและหน้า พวกเขาจะเช็ดด้วยแอลกอฮอล์
 หรือไม่ก็เช็ดด้วยผ้าขนหนูเปียกที่ชุบสบู่เหลว เมื่อมนุษย์อวกาศต้องการสระผม พวกเขาก็ใช้ยาสระผมแบบไม่ต้องใช้น้ำ ซึ่งไม่ต้องใช้น้ำในการชำระล้างยาสระผมออกจากผม ยาสระผมแบบนี้จะไม่มีฟองซึ่งหากมีฟอง ฟองเหล่านี้จะทำให้เปื้อนได้ หลังจากล้างแล้วพวกเขาจะใช้ผ้าขนหนูแห้งเช็ดออกเท่านั้นก็ถือว่าการทำความสะอาดเสร็จสิ้น เมื่อต้องการทำความสะอาดร่างกายพวกเขาก็เพียงแต่เช็ดตัวเองด้วยผ้าขนหนูชุบสบู่เหลวให้ชุ่มเท่านั้นเอง อย่างไรก็ดี

ภารกิจ...พิชิตอวกาศ  ภารกิจ...พิชิตอวกาศ
      การแปรงฟัน                           การสระผม

 5.  การออกกำลังกาย  

       เวลาอยู่บนโลกนั้นแม้ว่าขณะหลับมนุษย์ยังต้องเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลกด้วยกล้ามเนื้อและกระดูกอยู่ตลอดเวลา ในกระสวยอวกาศนั้นร่างกายของมนุษย์อวกาศไม่จำเป็นต้องออกแรงทำงานเช่นนี้เพราะว่าภายในนั้นไม่มีแรงโน้มถ่วงซึ่งทำให้ร่างกายของมนุษย์อวกาศเกิดผลในทางตรงกันข้ามนั่นคือกล้ามเนื้อและกระดูกจะอ่อนแอลง ดังนั้น เพื่อที่จะให้รักษาร่างกาย มนุษย์อวกาศจำเป็นต้องออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสม พวกเขาจะออกกำลังกายประมาณ 2 ชั่วโมงทุกวันด้วยเครื่องออกกำลังกาย อาทิ เครื่องออกกำลังกายขาที่ใช้เท้าเหยียบ (Treadmill) และเครื่องเออร์โกมิตเตอร์ (Ergo meters) ซึ่งเครื่องออกกำลังกายขาที่ใช้เท้าเหยียบแบบนี้ช่วยให้มนุษย์อวกาศสามารถออกกำลังกายด้วยการวิ่งได้ ซึ่งระหว่างออกกำลังกายด้วยการวิ่งนั้นร่างกายของพวกเขาจะต้องรัดติดเอาไว้กับเครื่องออกกำลังกาย ส่วนเครื่อง Ergo meter นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าตาเหมือนกับรถจักรยานที่ไม่มีล้อ ปริมาณการออกกำลังกายจะสามารถปรับได้โดยการเปลี่ยนความกดดันที่เท้าเหยียบ

ภารกิจ...พิชิตอวกาศ  ภารกิจ...พิชิตอวกาศ  การออกกำลังกายในยานอวกาศ

6. ห้องน้ำในอวกาศ

          ภายในกระสวยอวกาศจะไม่มีอ่างน้ำหรือฝักบัว แต่ในกระสวยอวกาศมีห้องน้ำ
 ห้องน้ำในกระสวยอวกาศมีขนาดใหญ่หนึ่งคูณหนึ่งตารางเมตร ทั้งผู้ชายและผู้หญิงใช้ห้องน้ำห้องเดียวกัน หน้าตาของห้องน้ำจะเหมือนห้องน้ำแบบตะวันตกที่เขาใช้กันบนโลกอย่างไรก็ดีก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้างเล็กน้อย นั่นคือ มนุษย์อวกาศจะต้องรัดตัวเองติดกับโถตลอดเวลาที่ทำธุระ เพื่อที่เขาจะไม่ลอยออกไปจากโถ เมื่อเสร็จธุระเขาจะใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดของเสียทิ้งไป 
ของเสียทั้งหมดจะถูกทำให้แห้งและอยู่ในสภาพที่ไร้อากาศ 
           ห้องน้ำในกระสวยอวกาศนั้นไม่มีประตูนะ มีแต่เพียงมู่ลี่ หรือม่านกั้นเท่านั้น
 ดังนั้นคุณอาจจะจินตนาการได้ถึงว่าเสียงอะไรก็แล้วแต่ที่เกิดขึ้นในห้องส้วมนั้น จะสามารถได้ยินไปถึงข้างนอกห้องน้ำ อย่างไรก็ตามในกระสวยอวกาศมันก็ค่อนข้างจะอึกทึกหนวกหูอยู่แล้ว เสียงต่างๆ จากพัดลมของเครื่องปรับอากาศ เสียงมอเตอร์ และเสียงอึกทึกอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่ส่งเสียงดังทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อมนุษย์อวกาศเข้าห้องน้ำเพื่อทำธุระ ก็ยากที่ภายนอกจะได้ยินเสียง เพื่อที่จะนั่งโถที่มีขนาดเพียง 10 เซนติเมตรอย่างถูกวิธีเพราะร่างกายของพวกเขาจะลอยไปในอากาศได้ มนุษย์อวกาศจะใช้เครื่องมือที่ติดกล้องซึ่งได้รับการฝึกฝนการใช้งานมาก่อนภายในกระสวยอวกาศหรือสถานนีอวกาศนั้นความกดอากาศได้ถูกเก็บไว้ ณ ระดับบรรยากาศเดียวกับบรรยากาศบนโลกเรา อุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์จะถูกควบคุม ดังนั้นมนุษย์อวกาศสามารถอาศัยอยู่ได้อย่างสะดวกสบาย

ภารกิจ...พิชิตอวกาศ  ภารกิจ...พิชิตอวกาศ
ห้องน้ำในยานหรือสถานีอวกาศ

7. เสื้อผ้า

            มนุษย์อวกาศสวมเสื้อผ้าปกติแบบเดียวกับที่คนเราให้เวลาอยู่บนโลก เพราะฉะนั้นหากไม่นับชุดฝูงบินสีส้มที่มนุษย์อวกาศสวมใส่ในช่วงปล่อยและช่วงกลับเข้ามาแล้วนั้น มนุษย์อวกาศไม่มีความจำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าชุดพิเศษ มนุษย์อวกาศแต่งตัวเหมือนอย่างที่พวกเราแต่งกันบนโลกนี่แหละ ภายในกระสวยอวกาศนั้นมนุษย์อวกาศไม่สามารถที่จะซักเสื้อผ้าของพวกเขาเองได้ดังนั้นมนุษย์อวกาศก็สามารถที่จะนำเอาชุดชั้นในขึ้นไปด้วยหลายๆ ชุดเพื่อที่จะได้มีเปลี่ยนทุกวัน นอกจากนี้พวกเขายังสามารถที่จะนำเสื้อและกางเกงที่เป็นผ้าฝ้ายขึ้นไปด้วยได้ เมื่อมนุษย์อวกาศเดินทางออกนอกตัวกระสวยอวกาศเพื่อที่จะทำงานในอวกาศนั้นพวกเขาจะสวมใส่ชุดอวกาศ ซึ่งชุดอวกาศเหล่านี้มีสมรรถนะ สูงสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันมนุษย์อวกาศจากสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเกินไปสำหรับมนุษย์ที่จะดำรงอยู่ได้ อาทิ การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในอวกาศและภาวะที่เป็นสุญญากาศของอวกาศ

8. เวลาว่าง        

            มนุษย์อวกาศสามารถจะนำสิ่งของส่วนตัวขึ้นไปบนอวกาศได้เล็กน้อย พวกเขาสามารถใช้เวลาว่างในแบบเดียวกับที่พวกเขาใช้เวลาว่างตอนที่เขาอยู่บนโลก นั่นคือ อ่านหนังสือที่ชอบ หรือไม่ก็ฟังเพลงโปรด นอกจากนี้ พวกเขายังสามารถมองวิวที่สวยงามจากหน้าต่างของกระสวยอวกาศ มองดูโลกเราหรือไม่ก็มองดวงดาวต่างๆ มนุษย์อวกาศจึงใช้เวลาว่างของพวกเขาดื่มด่ำกับวิวสวยๆ และถ่ายรูปเก็บเอาไว้นั่นเอง ในสถานีอวกาศนานาชาติ พวกเขาสามารถดูภาพยนตร์จากแผ่นดีวีดีได้ และพวกเขายังสามารถคุยกับครอบครัวได้สัปดาห์ละครั้ง

9. การทำความสะอาด

          เนื่องจากการดำรงชีวิตของเราจะมีการผลิตสิ่งสกปรกออกมาตลอดเวลาทุกครั้งหลังมื้ออาหารรวมถึงขยะที่ต้องจัดการในระหว่างปฏิบัติหน้าที่มนุษย์อวกาศจะทำความสะอาดพื้นที่ที่กินอาหาร เปลี่ยนแผ่นกรองอากาศในเครื่องฟอกอากาศ เก็บขยะทำความสะอาดพื้นและผนังของกระสวยอวกาศ พวกเขาจะใช้ผงซักฟอกเหลว ถุงมือพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง เครื่องทำความสะอาดเสื้อผ้าแบบเอนกประสงค์ และที่ดูดฝุ่นเพื่อทำความสะอาด เพื่อที่จะทำความสะอาด พวกเขาจะฉีดสเปรย์ผงซักฟอกเหลว ป้ายลงบนเสื้อผ้า และใช้เครื่องดูดฝุ่น ขณะใช้น้ำยาทำความสะอาดนั้น พวกเขาจะใส่ถุงมือพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง พวกเขาเก็บขยะและถุงมือที่ใช้แล้วกลับมาทิ้งบนโลก

  10. การเจ็บป่วย

           ในกระสวยอวกาศหรือสถานีอวกาศนั้น มนุษย์อวกาศจะมี บทบาทหน้าที่ของตัวเอง แต่ละคนจะได้รับการฝึกฝนมาอย่างเข้มข้น เพื่อปฏิบัติภารกิจและงานเฉพาะด้าน ซึ่งสำหรับกรณีฉุกเฉินของการเจ็บป่วยนั้น พวกเขาจะมี เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ประจำกระสวยอวกาศ ซึ่งจะรับผิดชอบดูแลอาการเจ็บป่วยของมนุษย์อวกาศ
           เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ได้รับการฝึกฝนไม่เพียงแต่เรื่องการปฐมพยาบาลเท่านั้น
 แต่ยังฝึกการให้บริการทางการแพทย์อื่นๆ อาทิ การเย็บบาดแผล และการฉีดยา มนุษย์อวกาศทุกคนจะได้รับการฝึกการช่วยชีวิตในกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่หัวใจไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างกะทันหัน ซึ่งมักจะเกิดเนื่องจากเส้นเลือดอุดตันหรือความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เครื่องมือทางการแพทย์หลายชิ้นและยาจะมีพร้อมไว้ในชุดยาประจำกระสวยอวกาศ ชุดยานี้จะใช้ในกรณีที่มีการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บเล็กน้อยระหว่างการเดินทาง  นอกจากนี้ชุดยานี้ยังใช้เพื่อดูแลรักษาอาการผู้ป่วยระกว่างเดินทางกลับสู่โลกด้วย

ประเด็นศึกษา
        1.  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ
        2.  การเดินทางสู่อวกาศ
        3.  ภารกิจของนักบินอวกาศ
        4.  การใช้ชีวิตในอวกาศ

อ้างอิง
        
1.  https://www.tmc.nstda.or.th/jaxathailand/life/index.html
        2.  https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000059598
        3.  https://www.bangkokbiznews.com/2006/03/14/s009_75174.php?news_id=75174
 

 โซยุชทะยานฟ้านำนักบินอวกาศขึ้นไปประจำอีก 3 คน จาก 3 ชาติ เบลเยียม แคนาดา และรัสเซีย ไปพบกับลูกเรือที่ประจำอยู่ก่อนแล้วจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่นและรัสเซีย   

ยานโซยุซ (Soyuz) ของรัสเซียทะยานฟ้าจากฐานปล่อยจรวดไบโคนัวร์ในคาซัคสถาน เมื่อเวลา 17.34 น. ตามเวลาประเทศไทย มุ่งหน้าสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) เพื่อนำนักบินอวกาศ 3 คน คือ แฟรงก์ เดอ ไวนน์ (Frank De Winne) จากเบลเยียม โรเบิร์ต เธิร์สก (Robert Thirsk) จากแคนาดา และ โรมัน โรมาเนนโก (Roman Romanenko) จากรัสเซีย ขึ้นไปประจำบนสถานีอวกาศ โดยยานจะเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศในวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2552 เมื่อเชื่อมต่อสำเร็จ ไอเอสเอสจะกลายเป็นสถานีอวกาศทีมีลูกเรือหลากหลายชาติ เบ็ดเสร็จจะมีลูกประจำสถานีอวกาศทั้งหมด คนโดยลูกเรือที่ประจำอยู่ก่อนแล้วจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่นและรัสเซีย 
(ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ วันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2552  https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000059598)

         หลาย ๆ คนคงจะเคยนึกฝันอยากเป็นนักบินอวกาศหรือมนุษย์อวกาศ เพราะช่างดูเท่ห์ซะเหลือเกิน นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสออกไปท่องอวกาศซึ่งมนุษย์น้อยคนนักจะได้ไป(ยกเว้นมหาเศรษฐี) แต่จะมีใครรู้บ้างไหมว่าชีวิตของมนุษย์อวกาศนั้นก็ลำบากเหมือนกัน        
         
มนุษย์อวกาศดำรงชีวิตอยู่ในอวกาศในขณะที่พวกเขาลอยไปลอยมาได้อย่างไรกัน เรามาลองดูชีวิตของมนุษย์อวกาศในขณะทำงานและอยู่อาศัยในกระสวยอวกาศหรือสถานีอวกาศกันเถอะ

1. ชุดอวกาศ

      
อ้างอิงภาพ https://www.bangkokbiznews.com/2006/03/14/s009_75174.php?news_id=75174
อ้างอิงภาพ https://learn.chanpradit.ac.th/nuch/nudee/H10.html        
            โลกถูกปกคลุมด้วยอากาศที่มีลักษณะเป็นชั้น ๆ เรียก
ว่า ชั้นบรรยากาศ เหนือขึ้นไปจาก
ชั้นบรรยากาศจะไม่มีอากาศ เรียกว่า อวกาศ การเดินทางไปยังอวกาศนั้นต้องพบอุปสรรคหลายอย่าง เช่นสภาพไร้น้ำหนัก สภาพความดันของอากาศที่ต่ำมากอุณหภูมิที่สูงและต่ำมาก มนุษย์อวกาศจึงต้องสวมชุดอวกาศที่ป้องกันรังสี สามารถปรับอุณหภูมิได้ ทนทานต่อการฉีกขาดและ ช่วยให้อยู่ในสภาพไร้น้ำหนัก สภาพไม่มีแก๊สออกซิเจนและช่วยระบายแก๊สคาร์บอนไดออกไซค์ได้
 
         
ขั้นตอนต่างๆของการสวมชุดอวกาศหรือชุดมนุษย์อวกาศ ชุดอวกาศนั้นได้มีขึ้นมาครั้งแรกในโครงการเมอคิวรี่(Mercury) โดยองค์การนาซ่า ซึ่งเริ่มก่อตั้งในปี ค.ศ.1958 ช่วงแรกๆ ชุดอวกาศจะค่อนข้างเทอะทะ ต่อมาก็ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆมาจนถึงยุคปัจจุบัน

 
               
ชุดอวกาศในอดีต                                                   
ชุดอวกาศยุคไฮเทค

2. อาหาร

      ในยุคต้นของทศวรรษ 1960 อาหารที่กินในอวกาศนั้นจะมีขนาดเป็นคำๆ หรือไม่ก็จะถูกห่ออยู่ในหลอดอะลูมิเนียม อาหารที่จะเตรียมนำขึ้นไปในอวกาศนั้นจะต้องมีน้ำหนักไม่มากเกินไปหรือจะต้องไม่กินพื้นที่มากนัก จากทศวรรษที่ 1970 ในยุคของอะพอลโลนั้น จำนวนของอาหารที่กินในอวกาศมีเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันนี้มีทั้งสิ้น 150 ชนิด ซึ่งแต่ละมื้อของมนุษย์อวกาศนั้นคล้ายคลึงกับอาหารแต่ละมื้อที่พวกเรารับประทานบนโลกนั่นเอง
           อาหารสำหรับมนุษย์อวกาศนั้นจะถูกบรรจุไว้ในภาชนะพลาสติก
 ซึ่งอาหารที่กินในอวกาศบางชนิดนั้น จะคืนสู่สภาพเดิมได้ด้วยการเติมน้ำเย็นหรือน้ำร้อน ในขณะที่มีอีกหลายชนิดที่ทำให้ร้อนได้ในเตาอบ อาหารอย่างเช่นผลไม้ ขนมปัง และถั่ว สามารถกินในแบบที่มันเป็นได้ โดยไม่ต้องปรุง เมื่อดื่มของเหลวมนุษย์อวกาศจะใช้หลอดเพื่อดูดของเหลวออกจากภาชนะบรรจุ จะช่วยป้องกันไม่ให้ของเหลวหก ซึ่งอาจจะสร้างอันตรายแก่เครื่องจักรอุปกรณ์ 

อาหารที่รับประทานในยานขนส่งอวกาศส่วนใหญ่เป็นอาหารที่กำจัดน้ำออก หรือทำให้ไม่มีความชื้นและง่ายต่อการเก็บรักษา ถ้าเป็นเครื่องดื่มจะทำให้เป็นผงบรรจุในภาชนะที่ทำด้วยกระดาษหุ้มด้วยแผ่นตะกั่วบาง ๆ เป็นชั้น ๆ ผนึกอย่างมิดชิดเมื่อต้องการดื่มก็จะเติมน้ำและใช้หลอดดูด ส่วนอาหารหลักจะเป็นอาหารสำเร็จรูปเฉพาะอย่างซึ่งบรรจุในภาชนะที่ง่ายต่อการเก็บรักษาและหยิบจับในสภาวะไร้น้ำหนัก บริเวณส่วนบนของภาชนะจะมีส่วนที่ทำเครื่องหมายไว้ให้ใช้มีดหรือกรรไกรตัดได้ อาหารเหล่านี้สามารถเติมน้ำหรือทำให้อุ่นได้ การรับประทานอาหารอาจใช้ช้อนหรือส้อมตักอาหารจากภาชนะบรรจุนั้นได้โดยตรง ที่สถานีอวกาศนานาชาตินั้น มีอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศอยู่ประมาณ 300 ชนิด

   
     
มิโซซุปและข้าวญี่ปุ่น                      ลูกอมก็ลอยได้ในอวกาศ                      อาหารอวกาศและภาชนะ

3. การนอน
            ในภาวะที่ผลของความถ่วงมีค่าเท่ากับศูนย์ (ไร้ซึ่งแรงโน้มถ่วงของโลก) นั้น จะไม่มีคำว่า ขึ้น” หรือ ลง” มนุษย์อวกาศสามารถที่จะนอนหลับที่ไหนก็ได้ในทิศทางไหนก็ได้ แต่ว่ามันก็ไม่ดีนักหากว่าจะลอยไปลอยมาในขณะหลับ ดังนั้นมนุษย์อวกาศจะใช้ช่องที่นอนขนาดเล็กและถุงนอน โดยใช้สายรัดร่างกายอย่างหลวมๆ ไว้กับช่องนอนนั้น 
เพื่อไม่ให้ร่างกายของเขาลอยไปลอยมาในขณะที่เขาหลับในกระสวยอวกาศ
            สำหรับมนุษย์อวกาศที่ไม่สามารถนอนหลับได้ท่ามกลางเสียงอึกทึกหนวกหูนั้น
 พวกเขาจะใช้ที่ปิดตาและที่ปิดหูเพื่อไม่ให้ตัวเองได้ยินเสียงของเครื่องปรับอากาศหรือ เสียงอึกทึกต่างๆ วัฏจักรของการนอนของมนุษย์อวกาศเมื่ออยู่ในกระสวยอวกาศนั้นมนุษย์อวกาศจะนอนประมาณ 8 ชั่วโมง อย่างไรก็ดี โดยมากแล้วพวกเขาจะนอนกันประมาณแค่ 6 ชั่วโมง เนื่องจากส่วนมากพวกเขาจะทำงานมากกว่า หรือไม่ก็จะใช้เวลาเพื่อการชมวิวนอกหน้าต่างของกระสวยอวกาศมากกว่า

  
                         การนอนโดยใช้ถุงนอนยึดติดกับผนังกระสวยหรือยานอวกาศ
4. การอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย             

            เนื่องจากน้ำไม่สามารถที่จะลอยอยู่ได้ในสภาพแวดล้อม ที่ไร้ซึ่งแรงโน้มถ่วงของโลกได้ มนุษย์อวกาศจึงไม่สามารถล้างมือด้วยก๊อกน้ำเหมือนที่ทำบนโลกได้ ดังนั้น ในกระสวยอวกาศจึงไม่มีอ่างล้างหรือฝักบัวเลย
เมื่อมนุษย์อวกาศต้องการทำความสะอาดมือและหน้า พวกเขาจะเช็ดด้วยแอลกอฮอล์
 หรือไม่ก็เช็ดด้วยผ้าขนหนูเปียกที่ชุบสบู่เหลว เมื่อมนุษย์อวกาศต้องการสระผม พวกเขาก็ใช้ยาสระผมแบบไม่ต้องใช้น้ำ ซึ่งไม่ต้องใช้น้ำในการชำระล้างยาสระผมออกจากผม ยาสระผมแบบนี้จะไม่มีฟองซึ่งหากมีฟอง ฟองเหล่านี้จะทำให้เปื้อนได้ หลังจากล้างแล้วพวกเขาจะใช้ผ้าขนหนูแห้งเช็ดออกเท่านั้นก็ถือว่าการทำความสะอาดเสร็จสิ้น เมื่อต้องการทำความสะอาดร่างกายพวกเขาก็เพียงแต่เช็ดตัวเองด้วยผ้าขนหนูชุบสบู่เหลวให้ชุ่มเท่านั้นเอง อย่างไรก็ดี

  
      การแปรงฟัน                           การสระผม

 5.  การออกกำลังกาย  

       เวลาอยู่บนโลกนั้นแม้ว่าขณะหลับมนุษย์ยังต้องเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลกด้วยกล้ามเนื้อและกระดูกอยู่ตลอดเวลา ในกระสวยอวกาศนั้นร่างกายของมนุษย์อวกาศไม่จำเป็นต้องออกแรงทำงานเช่นนี้เพราะว่าภายในนั้นไม่มีแรงโน้มถ่วงซึ่งทำให้ร่างกายของมนุษย์อวกาศเกิดผลในทางตรงกันข้ามนั่นคือกล้ามเนื้อและกระดูกจะอ่อนแอลง ดังนั้น เพื่อที่จะให้รักษาร่างกาย มนุษย์อวกาศจำเป็นต้องออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสม พวกเขาจะออกกำลังกายประมาณ 2 ชั่วโมงทุกวันด้วยเครื่องออกกำลังกาย อาทิ เครื่องออกกำลังกายขาที่ใช้เท้าเหยียบ (Treadmill) และเครื่องเออร์โกมิตเตอร์ (Ergo meters) ซึ่งเครื่องออกกำลังกายขาที่ใช้เท้าเหยียบแบบนี้ช่วยให้มนุษย์อวกาศสามารถออกกำลังกายด้วยการวิ่งได้ ซึ่งระหว่างออกกำลังกายด้วยการวิ่งนั้นร่างกายของพวกเขาจะต้องรัดติดเอาไว้กับเครื่องออกกำลังกาย ส่วนเครื่อง Ergo meter นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าตาเหมือนกับรถจักรยานที่ไม่มีล้อ ปริมาณการออกกำลังกายจะสามารถปรับได้โดยการเปลี่ยนความกดดันที่เท้าเหยียบ

    การออกกำลังกายในยานอวกาศ

6. ห้องน้ำในอวกาศ

          ภายในกระสวยอวกาศจะไม่มีอ่างน้ำหรือฝักบัว แต่ในกระสวยอวกาศมีห้องน้ำ
 ห้องน้ำในกระสวยอวกาศมีขนาดใหญ่หนึ่งคูณหนึ่งตารางเมตร ทั้งผู้ชายและผู้หญิงใช้ห้องน้ำห้องเดียวกัน หน้าตาของห้องน้ำจะเหมือนห้องน้ำแบบตะวันตกที่เขาใช้กันบนโลกอย่างไรก็ดีก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้างเล็กน้อย นั่นคือ มนุษย์อวกาศจะต้องรัดตัวเองติดกับโถตลอดเวลาที่ทำธุระ เพื่อที่เขาจะไม่ลอยออกไปจากโถ เมื่อเสร็จธุระเขาจะใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดของเสียทิ้งไป 
ของเสียทั้งหมดจะถูกทำให้แห้งและอยู่ในสภาพที่ไร้อากาศ 
           ห้องน้ำในกระสวยอวกาศนั้นไม่มีประตูนะ มีแต่เพียงมู่ลี่ หรือม่านกั้นเท่านั้น
 ดังนั้นคุณอาจจะจินตนาการได้ถึงว่าเสียงอะไรก็แล้วแต่ที่เกิดขึ้นในห้องส้วมนั้น จะสามารถได้ยินไปถึงข้างนอกห้องน้ำ อย่างไรก็ตามในกระสวยอวกาศมันก็ค่อนข้างจะอึกทึกหนวกหูอยู่แล้ว เสียงต่างๆ จากพัดลมของเครื่องปรับอากาศ เสียงมอเตอร์ และเสียงอึกทึกอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่ส่งเสียงดังทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อมนุษย์อวกาศเข้าห้องน้ำเพื่อทำธุระ ก็ยากที่ภายนอกจะได้ยินเสียง เพื่อที่จะนั่งโถที่มีขนาดเพียง 10 เซนติเมตรอย่างถูกวิธีเพราะร่างกายของพวกเขาจะลอยไปในอากาศได้ มนุษย์อวกาศจะใช้เครื่องมือที่ติดกล้องซึ่งได้รับการฝึกฝนการใช้งานมาก่อนภายในกระสวยอวกาศหรือสถานนีอวกาศนั้นความกดอากาศได้ถูกเก็บไว้ ณ ระดับบรรยากาศเดียวกับบรรยากาศบนโลกเรา อุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์จะถูกควบคุม ดังนั้นมนุษย์อวกาศสามารถอาศัยอยู่ได้อย่างสะดวกสบาย

  
ห้องน้ำในยานหรือสถานีอวกาศ

7. เสื้อผ้า

            มนุษย์อวกาศสวมเสื้อผ้าปกติแบบเดียวกับที่คนเราให้เวลาอยู่บนโลก เพราะฉะนั้นหากไม่นับชุดฝูงบินสีส้มที่มนุษย์อวกาศสวมใส่ในช่วงปล่อยและช่วงกลับเข้ามาแล้วนั้น มนุษย์อวกาศไม่มีความจำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าชุดพิเศษ มนุษย์อวกาศแต่งตัวเหมือนอย่างที่พวกเราแต่งกันบนโลกนี่แหละ ภายในกระสวยอวกาศนั้นมนุษย์อวกาศไม่สามารถที่จะซักเสื้อผ้าของพวกเขาเองได้ดังนั้นมนุษย์อวกาศก็สามารถที่จะนำเอาชุดชั้นในขึ้นไปด้วยหลายๆ ชุดเพื่อที่จะได้มีเปลี่ยนทุกวัน นอกจากนี้พวกเขายังสามารถที่จะนำเสื้อและกางเกงที่เป็นผ้าฝ้ายขึ้นไปด้วยได้ เมื่อมนุษย์อวกาศเดินทางออกนอกตัวกระสวยอวกาศเพื่อที่จะทำงานในอวกาศนั้นพวกเขาจะสวมใส่ชุดอวกาศ ซึ่งชุดอวกาศเหล่านี้มีสมรรถนะ สูงสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันมนุษย์อวกาศจากสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเกินไปสำหรับมนุษย์ที่จะดำรงอยู่ได้ อาทิ การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในอวกาศและภาวะที่เป็นสุญญากาศของอวกาศ

8. เวลาว่าง        

            มนุษย์อวกาศสามารถจะนำสิ่งของส่วนตัวขึ้นไปบนอวกาศได้เล็กน้อย พวกเขาสามารถใช้เวลาว่างในแบบเดียวกับที่พวกเขาใช้เวลาว่างตอนที่เขาอยู่บนโลก นั่นคือ อ่านหนังสือที่ชอบ หรือไม่ก็ฟังเพลงโปรด นอกจากนี้ พวกเขายังสามารถมองวิวที่สวยงามจากหน้าต่างของกระสวยอวกาศ มองดูโลกเราหรือไม่ก็มองดวงดาวต่างๆ มนุษย์อวกาศจึงใช้เวลาว่างของพวกเขาดื่มด่ำกับวิวสวยๆ และถ่ายรูปเก็บเอาไว้นั่นเอง ในสถานีอวกาศนานาชาติ พวกเขาสามารถดูภาพยนตร์จากแผ่นดีวีดีได้ และพวกเขายังสามารถคุยกับครอบครัวได้สัปดาห์ละครั้ง

9. การทำความสะอาด

          เนื่องจากการดำรงชีวิตของเราจะมีการผลิตสิ่งสกปรกออกมาตลอดเวลาทุกครั้งหลังมื้ออาหารรวมถึงขยะที่ต้องจัดการในระหว่างปฏิบัติหน้าที่มนุษย์อวกาศจะทำความสะอาดพื้นที่ที่กินอาหาร เปลี่ยนแผ่นกรองอากาศในเครื่องฟอกอากาศ เก็บขยะทำความสะอาดพื้นและผนังของกระสวยอวกาศ พวกเขาจะใช้ผงซักฟอกเหลว ถุงมือพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง เครื่องทำความสะอาดเสื้อผ้าแบบเอนกประสงค์ และที่ดูดฝุ่นเพื่อทำความสะอาด เพื่อที่จะทำความสะอาด พวกเขาจะฉีดสเปรย์ผงซักฟอกเหลว ป้ายลงบนเสื้อผ้า และใช้เครื่องดูดฝุ่น ขณะใช้น้ำยาทำความสะอาดนั้น พวกเขาจะใส่ถุงมือพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง พวกเขาเก็บขยะและถุงมือที่ใช้แล้วกลับมาทิ้งบนโลก

  10. การเจ็บป่วย

           ในกระสวยอวกาศหรือสถานีอวกาศนั้น มนุษย์อวกาศจะมี บทบาทหน้าที่ของตัวเอง แต่ละคนจะได้รับการฝึกฝนมาอย่างเข้มข้น เพื่อปฏิบัติภารกิจและงานเฉพาะด้าน ซึ่งสำหรับกรณีฉุกเฉินของการเจ็บป่วยนั้น พวกเขาจะมี เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ประจำกระสวยอวกาศ ซึ่งจะรับผิดชอบดูแลอาการเจ็บป่วยของมนุษย์อวกาศ
           เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ได้รับการฝึกฝนไม่เพียงแต่เรื่องการปฐมพยาบาลเท่านั้น
 แต่ยังฝึกการให้บริการทางการแพทย์อื่นๆ อาทิ การเย็บบาดแผล และการฉีดยา มนุษย์อวกาศทุกคนจะได้รับการฝึกการช่วยชีวิตในกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่หัวใจไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างกะทันหัน ซึ่งมักจะเกิดเนื่องจากเส้นเลือดอุดตันหรือความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เครื่องมือทางการแพทย์หลายชิ้นและยาจะมีพร้อมไว้ในชุดยาประจำกระสวยอวกาศ ชุดยานี้จะใช้ในกรณีที่มีการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บเล็กน้อยระหว่างการเดินทาง  นอกจากนี้ชุดยานี้ยังใช้เพื่อดูแลรักษาอาการผู้ป่วยระกว่างเดินทางกลับสู่โลกด้วย

ประเด็นศึกษา
        1.  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ
        2.  การเดินทางสู่อวกาศ
        3.  ภารกิจของนักบินอวกาศ
        4.  การใช้ชีวิตในอวกาศ

อ้างอิง
        
1.  https://www.tmc.nstda.or.th/jaxathailand/life/index.html
        2.  https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000059598
        3.  https://www.bangkokbiznews.com/2006/03/14/s009_75174.php?news_id=75174
 

อัพเดทล่าสุด