https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ต้มยำกุ้งของไทย โด่งดังไกลไปถึงอวกาศ MUSLIMTHAIPOST

 

ต้มยำกุ้งของไทย โด่งดังไกลไปถึงอวกาศ


830 ผู้ชม


ดร. โคอิจิ วาตะ นักบินอวกาศญี่ปุ่น ส่งคลิปการปรุงและรับประทานต้มยำกุ้งในอวกาศมาให้คนไทยชม   

ต้มยำกุ้งของไทย โด่งดังไกลไปถึงอวกาศ

(ดร. วาตะ กับต้มยำกุ้ง ที่นำไปรับประทานในอวกาศ)

                 องค์การอวกาศญี่ปุ่น หรือแจกซา (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA)ได้นำคลิปที่บันทึกจากสถานีอวกาศนานาชาติ  ซึ่งคลิปดังกล่าวเป็นการบันทึกภาพ ดร.โคอิจิ วากาตะ (Dr.Koichi Wakata) พร้อมด้วยพระพิฆเนศพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเขาได้นำติดตัวขึ้นไประหว่างปฏิบัติกิจอยู่ในส่วนห้องปฏิบัติการอวกาศคิโบ (Kibo) บนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS)
ซึ่งก่อนที่ ดร.วากาตะจะเดินทางขึ้นไปประจำบนสถานีอวกาศฯ นั้น ในปี 2548 เขาได้มาเยือนประเทศไทย และมีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพฯ ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ จากนั้นเขาได้กราบทูลขอพระราชทานสิ่งของติดตัวขึ้นไปบนสถานีอวกาศ ซึ่งสมเด็จพระเทพฯ ได้พระราชทานพระพิฆเนศไม้แก่นักบินอวกาศญี่ปุ่นนอกจากพระพิฆเนศที่ ดร.วากาตะนำติดตัวขึ้นไปบนสถานีอวกาศแล้ว เขายังนำต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นอาหารไทยที่รู้จักกันดีขึ้นไปบนสถานีอวกาศด้วย
นักบินอวกาศผู้นี้มีภารกิจบนสถานีอวกาศ 3 เดือน และจะเดินทางกลับโลกในวันที่ 29 มิ.ย.52 
(ที่มา : https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000070436)วันที่ 22 มิถุนายน 2552
นอกจากต้มยำกุ้งแล้วคุณทราบหรือไม่อาหารที่เหล่านักบินอวกาศรับประทานในอวกาศมีอะไรบ้าง ???

             แต่ก่อนอาหารที่จัดเตรียมไว้สำหรับการบริโภคบนยานอวกาศเป็นจำพวกอาหารแคปชูล  หรืออาหารหลอดที่มีลักษณะคล้ายยาสีฟัน ซึ่งนักบินคงจะบ่นเบื่อค่าที่ไม่มีสุนทรีย์ในการรับประทานเอาเสียเลย แต่ปัจจุบันนักบินอวกาศมีความสุขกับการบริโภคมากขึ้น เนื่องจากอาหารที่จัดเตรียมขึ้นไปบนยานอวกาศนั้น มีรูปลักษณ์และรสชาติไม่ต่างไปจากอาหารที่รับประทานกันบนพื้นโลกเลย
             อาหารที่นำขึ้นไปบนยานอวกาศจะถูกจัดไว้ครบตามจำนวนวันที่ต้องท่องไปในอวกาศ หลักสำคัญในการจัดอาหารสำหรับนักบินอวกาศ คือ ต้องเป็นอาหารที่เรียบง่าย กินได้โดยสะดวกรวดเร็ว  มีน้ำหนักน้อย  กินเนื้อที่น้อย  และจะต้องมีอายุยาวนาน  อาหารแต่ละอย่างจะปรุงสำเร็จแล้วแช่แข็ง  ถ้าเป็นอาหารสดจำพวกกล้วย หรือสับปะรดก็จะหั่นให้พอดีคำ อาหารเหล่านี้จะเก็บไว้ในตู้อาหาร  มีป้ายติดบอกวันและมื้อที่รับประทาน  เช่น  “วันที่  ๒  มื้อที่ ๓”  เมื่อถึงเวลาอาหาร นักบินอวกาศเพียงแต่นำอาหารออกมาอุ่นก็รับประทานได้เลย  ยกตัวอย่างรายการอาหารสักมื้อ  เช่น  อาหารมื้อเย็นมื้อหนึ่งประกอบด้วย  เนื้ออบ  ซุปเห็ด  ผักหลาย  ๆ  อย่างสตรอเบอรี่  ขนมพุดดิงรสวานิลา  น้ำผลไม้พร้อมหลอดดูด  เวลาจะรับประทานอาหาร นักบินต้องวางถาดบนแถบแม่เหล็กบนโต๊ะ เพื่อให้รับประทานได้สะดวกโดยที่ถาดจะไม่ลอยคว้างกลางอากาศ นักบินอวกาศมีข้อจำกัดในการรับประทานเนื่องจากในอวกาศมีสภาพไร้น้ำหนัก  จึงต้องเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ มั่นคงและใจเย็น ไม่เช่นนั้นอาหารทุกอย่างก็จะลอยหมด
            
การเดินทางไปอวกาศครั้งหนึ่งๆ มักไปเป็นเวลาหลายวัน ดังนั้นเรื่องหนึ่งที่สำคัญสำหรับการเดินทางคือเรื่อง การกิน เพราะมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น น้ำหนัก การเก็บรักษาแรงโน้มถ่วง และความสะดวกในการรับประทาน 
หลังจากที่นักบินอวกาศรุ่นแรกๆ บ่น ถึงอาหาร เช่น "นักบินรุ่นยานเมอร์คิวรี่" ที่ต้องกินอาหารเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็กๆ ที่แห้งและแห้ง ดูดน้ำกึ่งเหลวในหลอดอะลูมิเนียม มีความเห็นพ้องว่า อาหารไม่อร่อยเลยและไม่ชอบดูดน้ำจากหลอดอะลูมิเนียม องค์การนาซ่าจำเป็นปรับปรุงอาหารให้กินง่ายขึ้น ถูกปากมากขึ้นและมีอาหารให้เลือกหลากหลาย              
           
นักบินอวกาศรุ่นถัดมา คือ "รุ่นยานเจมินี่" จึงมีอาหารเพิ่มขึ้นหลายอย่าง เช่น กุ้งค็อกเทล ไก่ ผัก บัตเตอร์สกอตพุดดิ้ง แอปเปิ้ลซอส อาหารรุ่นนี้ยังเป็น ชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กและเคลือบด้วยเจลาตินเพื่อป้องกันการแตกป่น และจัดอยู่ในแพ็กเกจที่ดีขึ้น ทำให้คุณภาพอาหารดีขึ้นไปด้วย 
             
นักบินอวกาศรุ่น "ยานอพอลโล" เป็นรุ่นแรกที่มีน้ำร้อนให้ มีการนำเทคโนโลยีสกัดน้ำออกจากอาหาร ทำให้รสชาติอาหารดีขึ้น และยังมีเมนู "สพูนโบล" เป็นรุ่นแรก คือเมื่อเปิดถ้วยพลาสติกออกมาจะมีอาหารและใช้ช้อนตักกิน         
            
นักบินอวกาศรุ่น "สกายแล็ป" มีพื้นที่สำหรับกินอาหารและมีโต๊ะไว้ให้นั่งกิน มีช้อน ส้อม มีด ตู้เย็น และมีอาหารให้เลือก 72 ชนิด 
            
ส่วนนักบินรุ่น"กระสวยอวกาศ" มีอาหารพื้นฐานให้เลือก โดยหลังจากกินมาแล้ว 7 วัน อาหารถึงจะซ้ำ และยังเลือกรายการอาหารที่ชอบได้ด้วย แต่ต้องผ่านความเห็นชอบจากนักโภชนาการเสียก่อน เพื่อจะควบคุมอาหารให้เพียงพอต่อความจำเป็นของร่างกายได้ 

10 อันดับอาหารและเครื่องดื่มโปรดที่ได้รับการโหวตจากเหล่านักบินให้เป็น "อาหารอวกาศ" มีดังนี้

อันดับที่ 10. คอกเทลกุ้ง  เป็นอาหารว่าง ถูกปากนักบินอวกาศเกือบทุกคน

ต้มยำกุ้งของไทย โด่งดังไกลไปถึงอวกาศ

อันดับที่  9.  เมล็ดมะเขือเทศและเมล็ดเบซิล  เป็นเมล็ดพืชที่ยานอวกาศขนไปมากที่สุด นางบาบร่า มอร์แกน นักบินอวกาศของแคนาดาที่ขึ้นไปกับยาน STS-118 หวังว่าเมื่อลงกลับพื้นโลกแล้ว จะให้เด็กๆ นำมาทดลองปลูก เพื่อเทียบเคียงดูว่า เมล็ดพืชที่ขึ้นไปบนอวกาศกับเมล็ดพืชที่อยู่บนโลก อย่างไหนเมื่อปลูกแล้วจะมีความเอร็ดอร่อย มากกว่ากัน 

ต้มยำกุ้งของไทย โด่งดังไกลไปถึงอวกาศ


อันดับที่ 8.  แอนไทแมตเทอร์ เป็นเครื่องดื่มให้พลังงานประเภทเดียวกับกระทิงแดง ผสมด้วยไวตามินและเกลือแร่ ผลิตโดยบริษัทไมโครกราวิตี้เอนเตอร์ไพรซ์ 
ต้มยำกุ้งของไทย โด่งดังไกลไปถึงอวกาศ

อันดับที่ 7.  สเปซ แรม ซุป หรือ สเปซ ราเม็ง ซุป   คือ บะหมี่ถ้วย นักบินอวกาศที่นำมากินคนแรกแน่นอนว่าต้องเป็นสัญชาติญี่ปุ่น คือ นายโซอิจิ โนกูจิที่เดินทางมากับยาน STS-114 เมื่อ 2 ปีทีแล้ว ราเม็งของยี่ห้อนิชชินดัดแปลงให้เป็นก้อนกลม ส่วนน้ำซุปนั้นให้แช่อยู่ในน้ำร้อนขนาด 70 องศาเซลเซียส เพราะบนอวกาศไม่มีน้ำเดือดให้ โดยมีให้ เลือก 4 รส คือ รสซอสถั่วเหลือง รสเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น หรือ มิโสะ รสกะหรี่และรสหมู
ต้มยำกุ้งของไทย โด่งดังไกลไปถึงอวกาศ 

อันดับที่ 6.  แคนาสแน็ก คือคุกกี้ของแคนาดา เป็นคุกกี้โอ๊ตมีขนาดพอคำและเอามาประกบกัน ตรงกลางจะเป็นครีมเมเปิ้ล ครีมราสเบอร์รี่ ครีมบลูเบอร์รี่ ครีมน้ำผึ้ง ครั้งแรกที่นำ ขึ้นมาบนอวกาศคือ เมื่อนายเดฟ วิลเลียมส์ นักบินอวกาศชาวแคนาดาขึ้นมากับยาน STS-118 การที่ทำให้คุกกี้อยู่ในขนาดพอดีคำนั้นก็เพื่อจะได้ ให้เข้าปากง่ายๆ ไม่มีเศษคุกกี้หล่นลงมา "แคนาสแน็ก" บรรจุอยู่ในซองสุญญากาศ และบนคุกกี้มีสัญลักษณ์ใบเมเปิ้ลอยู่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของแคนาดา 
ต้มยำกุ้งของไทย โด่งดังไกลไปถึงอวกาศ
อันดับที่ 5.  สไปซี่กรีนบีน" หรือ "ถั่วเขียวรสเผ็ด เมนูเด็ดของเชฟ "เอมเมอริล ลากาส" หนึ่งในเชฟหลายคนที่ได้รับเชิญจากองค์การนาซ่าให้มาทดลองกับลิ้นนักบินอวกาศ 
ต้มยำกุ้งของไทย โด่งดังไกลไปถึงอวกาศ
อันดับที่ 4.  โค้กและเป๊ปซี่  1985 นาซ่าให้ทั้งโค้กและเป๊ปซี่ขึ้นไปบนอวกาศ โดยนาซ่าให้เอาขึ้นไปทั้งกระป๋องแต่ประดิษฐ์ฝาเปิดให้ เพื่อนักบินอวกาศจะได้รับรสชาติเต็มๆ ของเครื่องดื่มรสที่ว่า แต่การทดลองนี้ประสบความล้มเหลวเพราะแรงโน้มถ่วงที่เท่ากับศูนย์รวมทั้งไม่มีตู้เย็น ต่อมานาซ่าจึงให้ทดลองขึ้นไปอวกาศอีกครั้ง โดยให้มีอยู่ในรูปถ้วยอัดด้วยความดันและมีที่เปิดถ้วย นักบินอวกาศจึงดื่มได้ตามใจปรารถนา 
ต้มยำกุ้งของไทย โด่งดังไกลไปถึงอวกาศ

อันดับที่ 3.  น้ำส้ม  มาในรูปผงน้ำส้ม ยี่ห้อดังที่นาซ่าใช้คือ "แท็ง" 
ต้มยำกุ้งของไทย โด่งดังไกลไปถึงอวกาศ
อันดับที่ 2.  ไอศกรีม  ไอศกรีมแท่งนี้แห้งเหมือนกับชอล์กและไม่เย็น แต่เมื่อเอาเข้าปากไปแล้ว มันละลายและมีรสชาติเหมือนกับกินไอศกรีมจริงๆ การนำไอศกรีมขึ้นไป บนอวกาศนั้น ต้องสกัดน้ำออกให้หมดและไม่จำเป็นต้องแช่ในตู้เย็นเพื่อให้มันแข็ง 
ต้มยำกุ้งของไทย โด่งดังไกลไปถึงอวกาศ

อันดับที่ 1.  ช็อกโกแลตเอ็มแอนด์เอ็ม เจ้าของสโลแกน "ละลายในปาก แต่ไม่ละลายในมือ" ที่จริงแล้ว องค์การนาซ่าไม่ได้ระบุว่าเป็นช็อกโกแลตยี่ห้อนี้ เพราะเกรงว่าจะเป็นการโฆษณา จึงระบุแต่เพียงว่าเป็นช็อกโกแลตเคลือบเท่านั้น แต่เมื่อปี 1996 แชนนอน ลูซิด นักบินอวกาศหญิงเป็นผู้เปิดเผยยี่ห้อ โดยกล่าวว่า "บนสถานีอวกาศเมียร์ น่าจะมีช็อกโกแลตเอ็มแอนด์เอ็มมากกว่านี้" 
ต้มยำกุ้งของไทย โด่งดังไกลไปถึงอวกาศ

 ประเด็นอภิปราย

       1.  นักเรียนรู้สึกอย่างไรที่ "ต้มยำกุ้ง" อาหารของไทย  ฃถูกนำไปรับประทานบนอวกาศ
       2. 
 นักเรียนคิดว่านอกจากต้มยำกุ้ง อาหารหรือเครื่องดื่มชนิดใดของประเทศไทยที่เหมาะสมในการนำไปรับประทานบนอวกาศเพราะเหตุใด
       3. นักเรียนคิดว่าอาหารที่เหมาะจะนำไปรับประทานบนอวกาศควรมีลักษณะอย่างไร
กิจกรรมเสริม เพิ่มความรู้
     
       1.  ทำโครงงาน "อาหารอวกาศ"
       2.  เขียนแผนภาพความคิด "วิวัฒนาการของอาหารอวกาศ"
บทความนี้เหมาะสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 - 2  และผู้สนใจทั่วไป
อ้างอิง

1.   https://www.soccersuck.com/soccer/viewtopic.php?t=112184
2.  https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000070436


ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=880

อัพเดทล่าสุด