https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
รหัสพันธุกรรม (Genetic Code ) MUSLIMTHAIPOST

 

รหัสพันธุกรรม (Genetic Code )


807 ผู้ชม


ในการค้นพบครั้งสำคัญนี้ พวกเขายังพบว่า เมื่อเบสสามตัวเรียงกันเป็นลำดับเฉพาะ หรือเรียกว่า สามเบส สามเบสนี้จะเรียงรหัสเพื่อสร้างกรดอะมิโนเฉพาะอย่าง รหัสของสามเบสก็คือ แบบแปลนในการสร้างโปรตีน ซึ่งต่อมาเรียกสามเบสนี้ว่า โคดอน (codon)   

ในปี ค.ศ.1961 นักชีววิทยาด้านโมเลกุล มาร์แชล นิเรนเบิร์ก (Marshall W. Nirenberg) และเพื่อนร่วมวิจัย ไฮน์ริช (Heinrich J. Matthaei) ร่วมกันทำการทดลอง เพื่อดูว่า พวกเขาจะสามารถสังเคราะห์โปรตีนในห้องทดลองได้หรือไม่

เขารู้ว่ามีกรดอะมิโน 20 ชนิด เกี่ยวข้องกับการผลิตโปรตีน ในการทดลอง Nirenberg และ Matthaei ได้ศึกษาอาร์เอนเอ และพบว่า อาร์เอนเอมีเบส 4 ชนิด เช่นเดียวกับดีเอนเอ

ในการค้นพบครั้งสำคัญนี้ พวกเขายังพบว่า เมื่อเบสสามตัวเรียงกันเป็นลำดับเฉพาะ หรือเรียกว่า สามเบส สามเบสนี้จะเรียงรหัสเพื่อสร้างกรดอะมิโนเฉพาะอย่าง รหัสของสามเบสก็คือ แบบแปลนในการสร้างโปรตีน ซึ่งต่อมาเรียกสามเบสนี้ว่า โคดอน(codon)

ปัจจุบัน Marshall Nirenberg เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านการวิจัยอยู่ที่สถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health)

ตอนนี้อาจสรุปได้ว่า อาร์เอนเอ คือ ตัวที่จำลองมาจากดีเอนเอ โดยดีเอนเอถูกจำลองออกมาเป็นอาร์เอนเอที่มีข้อมูล ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนแล้วก็โปรตีน ดังนั้น สิ่งที่เราได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ก็คือ ลำดับของตัวอักษรในดีเอนเอ ซึ่งกำหนดวิธีที่เราสังเคราะห์ และสร้างโปรตีนชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อชีวิต

การค้นพบของ Nirenberg และ Matthaei คือ การกะเทาะรหัสพันธุกรรมเป็นครั้งแรก เพื่อสำรวจคำปริศนาที่เข้ารหัสอยู่ในแต่ละโมเลกุลของดีเอนเอ ที่ทำให้มันสามารถสั่งการเพื่อสังเคราะห์โปรตีนได้

และ 5 ปีต่อมา Nirenberg ประสบความสำเร็จในการถอดรหัสสามเบส โดยเขาถอดรหัสได้ถึง 64 ชุด ซึ่งประกอบกันเป็นคำศัพท์ทั้งหมดของดีเอนเอ ทำให้รหัสทางพันธุกรรมถูกไขออกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

ในปี ค.ศ.1968 การค้นพบนี้ ก็ทำให้ Marshall Nirenberg ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์และการแพทย์

การค้นพบครั้งนี้ เหมือนเป็นการเปิดออกสู่โลกกว้างใบใหม่ เพราะเราสามารถถอดรหัสทางพันธุกรรมได้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีรหัสเดียวกัน มีรหัสเดียวที่ใช้กับทุกๆ ชีวิตบนโลกนี้ มันเป็นสิ่งเดียวกัน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกนี้มีความสัมพันธ์กัน เราทั้งหมดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน ....

รหัสพันธุกรรม (Genetic Code )

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1366

อัพเดทล่าสุด