https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคปัญญาอ่อน : (สาเหตุ) MUSLIMTHAIPOST

 

โรคปัญญาอ่อน : (สาเหตุ)


843 ผู้ชม


การที่คนปัญญาอ่อนมีการกระทำ หรือความประพฤติผิดปกตินั้น เป็นเพราะสมองของเขาถูกทำลายหรือเสียหายฯ   
ปัญญาอ่อน (mental retardation) หมายถึง การมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ ผู้ที่มีความผิดปกติชนิดนี้จะมีพัฒนาการล่าช้าตั้งแต่วัยเด็ก ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา อาจเกิดจากสาเหตุภายนอก เช่น ติดเชื้อในครรภ์มารดา การเสียหายของเนื้อสมอง และโรคพีเคยู ซึ่งเป็นโรคเกิดจากพันธุกรรม หรืออาจไม่พบสาเหตุใดๆ เลยก็ได้ การวินิจฉัยไม่ควรเคร่งครัดในเรื่องตัวเลขของระดับเชาวน์ปัญญามากเกินไป

ระดับเชาวน์ปัญญาแบ่งออก ดังนี้

  • ปัญญาอ่อนระดับน้อย (moron) ไอคิว (I.Q.) 50-70
  • ปัญญาอ่อนปานกลาง (imbecile) ไอคิว(I.Q.) 35-49
  • ปัญญาอ่อนมาก (fevere) ไอคิว (I.Q.) 20-34
  • ปัญญาอ่อนรุนแรง (idiocy) ไอคิว (I.Q.) ต่ำกว่า 0-20

การที่คนปัญญาอ่อนมีการกระทำ หรือความประพฤติผิดปกตินั้น เป็นเพราะสมองของเขาถูกทำลายหรือเสียหาย จนทำให้ระดับสติปัญญาด้อยกว่าปกติมีผลทำให้มีพฤติกรรมและการปรับตัวผิดปกติไม่เหมาะสมกับวัย จึงมองดูผิดปกติไป

สาเหตุ

  1. เกิดจากโรคทางสมอง หรือโรคทางกายที่มีผลกระทบต่อระบบประสาท เช่น แม่ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ แม่ติดสารเสพติด ได้รับยาหรือสารพิษระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดผิดปกติ โรคขาดสารไอโอดีน ขาดเหล็ก หรือทารกที่ได้รับสารตะกั่ว สารปรอทตั้งแต่เด็ก
  2. สาเหตุของโรคปัญญาอ่อนในเด็กนั้นมีมากมาย เช่น โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง ความผิดปกติในโครโมโซมของเด็กเอง การเจ็บป่วยของแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ การเจ็บป่วยของเด็กระหว่างอยู่ในครรภ์ การคลอดที่ผิดปกติ การเจ็บป่วยของเด็กหลังคลอด เป็นต้น
  3. สาเหตุเหล่านี้บางอย่างป้องกันแก้ไขได้ แต่บางอย่างก็ป้องกันไม่ได้

โรคปัญญาอ่อน : (สาเหตุ)

สาเหตุจากพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม

ปัญญาอ่อนเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุของเด็ก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จนกระทั่งสมองได้พัฒนาเต็มที่ คือ อายุประมาณ 18 ปี อาจจะเกิดในช่วงขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด รวมไปถึงปัญญาทางกรรมพันธุ์ และที่ไม่ทราบสาเหตุ แม้ว่าจะได้พยายามตรวจอย่างละเอียดแล้วก็ตาม

ปัญญาอ่อนเนื่องจากพันธุกรรม

ปัญญาอ่อนแบบนี้ บางคนคิดว่าเป็นเวรกรรมแต่ชาติก่อน หรืออิทธิพลของผีเจ้าที่ หรือถูกเทวดาลงโทษ แท้จริงแล้วมีสาเหตุมาจากมารดาตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมากเกินไป เช่น ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 40 ปี ขึ้นไป การแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในเพศหญิงที่มีอายุมากมักทำให้เกิดมิวเทชัน จึงทำให้เซลล์ไข่มีโครโมโซมมาก หรือน้อยกว่าปกติ เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิจึงทำให้เซลล์ร่างกายมีจำนวนโครโมโซมมาก หรือน้อยกว่าปกติ โครโมโซมเป็นแหล่งที่อยู่ของสารพันธุกรรม หรือยีน ดังนั้นการมีโครโมโซมที่ผิดปกติจึงทำให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมที่ผิดปกติ เช่น เกิดภาวะปัญญาอ่อน และลักษณะอื่นๆ ร่วมด้วย

กลุ่มอาการดาวน์

กลุ่มอาการดาวน์ (Down's syndrome) มีสาเหตุจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม ทำให้มีสภาพของนิวเคลียส หรือคารีโอไทป์ เป็นแบบ 47, XX สำหรับเพศหญิง หรือ 47, XY สำหรับเพศชาย ซึ่งสังเกตได้จากการนำภาพถ่ายของโครโมโซมมาจัดเรียงเป็นกลุ่มตามลำดับความยาว และตำแหน่งของเซนโทรเมียร์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มี I.Q. ประมาณ 20-50 นอกจากมีภาวะปัญญาอ่อนแล้วผู้ป่วยยังมีลักษณะลำตัวนิ่ม มีหน้าตาแปลกจากลูกคนอื่นๆ กล่าวคือ มีศีรษะเล็กกลม ท้ายทอยแบน ลิ้นใหญ่จุกปาก ริมฝีปากบนโค้งขึ้น ใบหูต่ำกว่าปกติ หางตาชี้ขึ้น เป็นเด็กที่นอนหลับเก่ง ไม่ค่อยร้องกวน เจริญเติบโตช้า เช่น ผู้ป่วยหญิงคนหนึ่งคว่ำได้เมื่ออายุ 8 เดือน คลานได้เมื่ออายุ 11 เดือน เดินได้เมื่ออายุ 23 เดือน พูดได้คำแรกได้เมื่ออายุ 27 เดือน มีประจำเดือนเมื่ออายุ 16 ปี

กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด

กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward's syndrome) มีสาเหตุจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม นอกจากมีภาวะปัญญาอ่อนแล้ว เด็กยังมีความพิการรุนแรง เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ หัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคปัญญาอ่อน : (สาเหตุ)

กลุ่มอาการพาทาว

กลุ่มอาการพาทาว (Patau syndrome) มีสาเหตุจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 โครโมโซม เด็กจะมีภาวะปัญญาอ่อนและความพิการที่รุนแรงขึ้น เช่น อวัยวะภายในพิการ มักเสียชีวิตตั้งแต่แรกเกิด และมักมีอายุสั้นมาก สถิติการเกิดเด็กปัญญาอ่อนทุกประเภททั่วประเทศประมาณ 450,000 คน มารดาที่มีอายุ 30 ปี มักให้กำเนิดเด็กปัญญาอ่อน ประมาณ 1 คน ในการคลอด 1,000 ครั้ง และมารดาที่อายุ 44-45 ปี ให้กำเนิดเด็กปัญญาอ่อนประมาณ 25 คน ในการคลอด 1,000 ครั้ง ภาวะปัญญาอ่อนที่เนื่องจากพันธุกรรม นอกจากจะมีความผิดปกติของโครโมโซมร่างกายหรือออโทโซม แล้วยังมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครโมโซมเพศอีกด้วย

กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์

กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter's syndrome) มีสาเหตุจากการที่โครโมโซม X เกินมา 1 หรือ 2 โครโมโซม ผู้ป่วยเป็นเพศชาย จึงมีคารีโอไทป์เป็น 47, XXY หรือ 48, XXXY ลักษณะอาการนอกจากอาจจะมีภาวะปัญญาอ่อนแล้วยังมีรูปร่างอ้อนแอ่นตัวสูงชะลูด มีหน้าอกโต เป็นหมัน ถ้ามีจำนวนโครโมโซม X มาก ก็จะมีความรุนแรงของปัญญาอ่อนเพิ่มขึ้น

กลุ่มอาการเทอร์เนอร์

กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner's syndrome) มีสาเหตุจากการที่โครโมโซม X ขาดหายไป 1 โครโมโซมในเพศหญิง จึงมีคารีโอไทป์เป็น 45, XO นอกจากอาจจะมีภาวะปัญญาอ่อนแล้วยังมีลักษณะตัวเตี้ย ที่บริเวณคอมีพังผืดกางเป็นปีก และไม่มีประจำเดือนจึงเป็นหมัน

โรคปัญญาอ่อน : (สาเหตุ)

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม

ปัญญาอ่อนอาจเกิดจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น จากสมอง ได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ หรือจากการใช้เครื่องมือช่วยในการทำคลอด การใช้สารเคมีในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด บางรายเกิดจากกัมมันตภาพรังสี โดยเฉพาะในรายที่รับการบำบัดทางรังสีวิทยา เป็นต้น

ปัญญาอ่อนที่เนื่องมาจากเชื้อโรคและอุบัติเหตุ

  1. ปัญญาอ่อนที่เนื่องมาจากการติดเชื้อ สตรีที่เริ่มตั้งครรภ์พึงตระหนักและระมัดระวังตนเอง หลีกเลี่ยงการร่วมเพศกับสามีที่ กำลังป่วยเป็นโรคซิฟิลิส ถ้าบังเอิญติดเชื้อต้องรีบรักษาให้หาย อย่าเข้าใกล้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัดเยอรมันเพราะอาจติดโรคนี้ได้ซึ่งจะมีผลต่อพัฒนาการของสมองของทารกในครรภ์
  2. ส่วนการดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นทารกนั้นแพทย์และพยาบาลควรระมัดระวังการ ช็อคซึ่งอาจทำให้สมองขาดออกซิเจน และอุบัติเหตุที่มีผลต่อเซลล์สมองที่เนื่องมาจากการกระทบกระเทือนจากเครื่องมือทางการแพทย์

ปัญญาอ่อนที่เนื่องมาจากการขาดธาตุอาหาร

  1. ธาตุไอโอดีน เป็นธาตุอาหารสำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการของสมอง แหล่งที่มีธาตุนี้ได้แก่ อาหารทะเล เกลือสมุทร และอาหารเสริมไอโอดีน ไอโอดีนเป็นองค์ประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน ผลิตจากต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่มีตำแหน่งอยู่ที่บริเวณคอหอย ฮอร์โมนไทร อกซินมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกายควบคุมการเจริญและพัฒนาการของร่างกายรวมทั้งพัฒนาการของสมอง
  2. ถ้าขาดฮอร์โมนนี้ในวัยเด็กจะมีผลทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ แขนขาสั้นไม่สมส่วน ผมบางผิวหนัง หยาบ การเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กปกติ และมีภาวะปัญญาอ่อน กลุ่มอาการแบบนี้ เรียกว่า ครีทินิซึม (cretinism) ในผู้ใหญ่การขาดฮอร์โมน ไทรอกซิน จะทำให้มีความจำเสื่อม เหนื่อยง่าย หัวใจโต กล้ามเนื้ออ่อนแรง ติดเชื้อได้ง่าย กลุ่มอาการนี้เรียกว่า มิกซีดีมา (myxedema) นอกจากนี้ผู้ที่ขาดธาตุไอโอดีนเป็นประจำจะมีผลทำให้เป็นโรคคอพอก ซึ่งมีอาการคล้ายกลุ่มมิกซีดี มาแต่มีอาการคอหอยโตร่วมด้วย
  3. การป้องกัน ควรบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและบริโภคอาหารทะเล เกลือสมุทร หรืออาหารเสริมไอโอดีน เช่น น้ำปลาเสริมไอโอดีน ไข่ไอโอดีน เป็นต้น สำหรับ ผู้ป่วยคอพอกระยะแรก ถ้าได้รับอาหารที่มีปริมาณธาตุไอโอดีนเพียงพอจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้อาการผิดปกติต่างๆ หายไปได้

โรคปัญญาอ่อน : (สาเหตุ)

ปัจจัยทางจิตและสังคม

ปัญญาอ่อนอาจเกิดจากปัจจัยทางจิตและสังคม ได้แก่ ความผิดปกติในปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เลี้ยงดูกับเด็ก ความผิดปกติทางจิตของผู้เลี้ยงดูเด็ก หรือของเด็กเอง

การป้องกัน

  1. วิธีการป้องกันที่ดีสำหรับพ่อแม่คือ การเตรียมตัวพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนแต่งงาน การตรวจสอบหาความเสี่ยงของพ่อและแม่ต่อโรคต่างๆ การฝากครรภ์ และการดูแลการตั้งครรภ์อย่างดี การหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงต่างๆ และการดูแลเด็กหลังคลอดให้เด็กแข็งแรงปราศจากโรคภัยต่างๆ
  2. เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว การเฝ้าสังเกตพัฒนาการทุกด้านภายในขวบปีแรก มีความสำคัญมาก ถ้าพบว่าพัฒนาการช้า ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางช่วยเหลืออย่างรวดเร็วต่อไป

ภาวะปัญญาอ่อนที่ป้องกันได้

ภาวะปัญญาอ่อนที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่มิใช่กรรมพันธุ์ สามารถป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ สาเหตุเหล่านั้น ได้แก่

  1. การติดเชื้อ เชื้อบางชนิด เช่น ซิฟิลิส หัดเยอรมัน ถ้ามารดาติดเชื้อนี้ในระยะสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ควรรีบไปรับการรักษาจากแพทย์
  2. สารเสพติดในฝิ่น กัญชา ยานอนหลับ เหล้า บุหรี่ และยาบางชนิด อาจทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายจนพิการหรือปัญญาอ่อนได้ สตรีมีครรภ์จึงไม่ควรสูบหรือเสพยาเสพติด และไม่ควรซื้อยาบางชนิดกินเอง
  3. อันตรายจากรังสี เช่น การฉายรังสีบริเวณมดลูกขณะตั้งครรภ์ควรกระทำเมื่อแพทย์เห็นว่าจำเป็นจริงๆ เท่านั้น เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสมองของทารกได้
  4. อุบัติเหตุ เช่น หกล้ม ถูกกระแทกถูกชน เป็นต้น สตรีมีครรภ์ควรระมัดระวังมิให้เกิดเหตุเหล่านี้กับตนเอง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าเกิดขึ้นก็ควรรีบรักษาให้ทันท่วงที
  5. ขาดธาตุหรือสารอาหารที่สำคัญ เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินบี 6 และกรดนิโคทินิก เป็นต้นสตรีมีครรภ์ควรได้รับอย่างครบถ้วน ถ้าตรวจพบว่าขาดสารอาหารก่อนทารกอายุ 3 เดือน ก็สามารถป้องกันและรักษาได้ นอกจากนี้ผู้เป็นมารดาควรมีความรู้ในเรื่องภาวะโภชนาการ การเลี้ยงดู โดยการให้อาหารที่มีคุณค่าแก่เด็ก โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีน เพราะเด็กที่ขาดอาหารโปรตีนมักมีเชาวน์ปัญญาต่ำ

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1791

อัพเดทล่าสุด