https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เตรีมสอบ O-net เรื่องการตอบสนองสิ่งเร้าของพืชและสัตว์ MUSLIMTHAIPOST

 

เตรีมสอบ O-net เรื่องการตอบสนองสิ่งเร้าของพืชและสัตว์


840 ผู้ชม


การตอบสนองต่อสิ่งเร้า หมายถึง การกระทำต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ได้ตัวอย่างสิ่งเร้า ได้แก่ การสัมผัส แสง เสียง อุณหภูมิ ความชื้น ฯลฯ   

ขั้นนำ :ข้อควรคิด :เนื่องจากวิชาชีววิทยาเป็นเรื่องที่เป็นนามธรรมมากดังนั้นในการการเรียนรู้นักเรียนต้องศึกษาพร้อมกับดูของจริงไปด้วยจึงจะจำได้ดีโดยไม่ต้องท่องจำ
ขั้นเรียนรู้  : การตอบสนองต่อสิ่งเร้า
 หมายถึง การกระทำต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิต ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ได้
ตัวอย่างสิ่งเร้า ได้แก่ การสัมผัส แสง เสียง อุณหภูมิ  ความชื้น ฯลฯทั้งพืชและสัตว์ มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า  การตอบสนองต่อสิ่งเร้าช่วยให้มีชีวิตอยู่รอดได้
 

การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช 

พืชที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแสง ได้แก่ การเปลี่ยนสีของดอกพุดตาน  
การบานรับแสงของดอกแพรเซี่ยงไฮ้ คุณนายตื่นสาย ใบจามจุรี(หรือต้นก้ามปู)
การหันเข้ารับแสงของ  ดอกทานตะวัน  การเจริญของลำต้นหรือกิ่งก้านขึ้นสู่อากาศเพื่อรับแสง  การเจริญของรากลงสู่พื้นดินเพื่อดูดน้ำและแร่ธาตุ

การหุบใบของต้นไมยราบเมื่อถูกสัมผัส


 

มีพืชอีกหลายชนิดที่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในลักษณะต่าง ๆ  เช่น ในกลุ่มพืชกินแมลง ได้แก่หม้อข้าวหม้อแกงลิง  หยาดน้ำค้าง กาบหอยแครง และสาหร่ายข้าวเหนียว ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากการสัมผัส โดยมีใบที่พัฒนาเป็นเครื่องมือจับแมลง ใบของหยาดน้ำค้างมีขนขึ้นเต็ม 
ตรงริมใบจะยาวมากเป็นพิเศษ ปลายขนมีของเหลวเหนียวๆ เกาะคล้ายหยาดน้ำค้าง เมื่อแมลงโดนสารเหลวนี้ มันจะติดอยู่ตรงนั้น 
แล้วขนตรงริมใบจะพับหุ้มตัวแมลง กดลงไปตรงกลางใบ และปล่อยน้ำย่อยโปรตีนออกมาย่อยสลายตัวแมลง
            
สำหรับในหม้อข้าวหม้อแกงลิง ก็มีวิธีคล้ายๆกัน โดยปลายใบจะยืดยาวเป็นหนวดออกไป และตรงปลายหนวดจะพัฒนาเป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นหม้อ ภายในมีน้ำหวานใช้ล่อแมลงให้ตกลงมา นอกจากนี้ยังมีฝาปิดเพื่อป้องกันไม่ให้แมลงบินหนีไป หลังจากที่แมลงตกลงไปแล้ว ก็จะไปกระตุ้นให้เกิดการการสร้างน้ำย่อยออกมาย่อยสลายตัวแมลง และดูดซึมแร่ธาตุไปใช้


     
 

 

 

 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์

ตัวอย่างสัตว์ที่ตอบสนองต่อการสัมผัส ได้แก่ แมว สุนัข กิ้งกือ  ตัวอ่อนของแมลงในระยะที่เห็นตัวหนอน  สัตว์ที่ตอบสนองต่อแสง เช่น ไส้เดือนดิน  แมลงสาบ  ค้างคาวจะหนีแสง หรือม่านตาของแมวจะหรี่ลงเมื่อมีแสงจ้า
 

  

นกถามนะจ๊ะ ! นักเรียนทราบไหมว่าการออกไข่ของนกเป็นการตอบสนองสิ่งเร้าหรือไม่?

ขั้นสรุป  คำถาม  มนุษย์จะนำความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
มนุษย์สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชและสัตว์ไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
 เช่น 
ในด้านการเพาะปลูก หรือการเลี้ยงสัตว์  โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

แหล่งข้อมูลและภาพ;https://www.il.mahidol.ac.th/e-media.com 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1949

อัพเดทล่าสุด