ปัญหาหมอกควัน และไฟ่ป่า MUSLIMTHAIPOST

 

ปัญหาหมอกควัน และไฟ่ป่า


831 ผู้ชม


หมอกจางๆและควัน ถ้าเป็นชื่อเพลงเราคงนึกถึงเพลงเพราะๆ ชิวๆ ไม่ว่าจะเวอร์ชั่นพี่เบิร์ด เล็กสุรชัย เพราะๆทั้งนั้นแต่ถ้า หมอกและควัน มันหมายถึง Smog ล่ะก็คงไม่ดีแน่ๆ   

ปัญหาหมอกควัน และไฟ่ป่า

ภาพ : ผลจากชั้นอุณหภูมิผกผัน ทำให้ควันไม่สามารถลอยขึ้นสู่บรรยากาศชั้นบนได้
https://chubby.exteen.com/20080325/entry

รายงานพิเศษ ....ปัญหาหมอกควัน และไฟ่ป่า

ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออง ส่วนใหญ่พบว่าไม่ได้เกิดจากเหตุธรรมชาติ แต่เกิดจากการเผาป่า ทำลายป่ามากกว่า โดยต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลายจังหวัดในภาคเหนือเริ่มมีฝุ่นละอองเกินกว่ามาตรฐาน ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างไร ติดตามได้จากรายงานจากสถานการณ์ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นขณะนี้ สาเหตุส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากฝีมือมนุษย์ มากกว่าที่จะเกิดจากภัยทางธรรมชาติ ทั้งการเผาป่า ใบไม้และเศษหญ้าแห้ง เพื่อเตรียมพื้นที่ทำการเกษตรครั้งต่อไป ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกปี ถึงแม้รัฐบาลจะมีการประกาศขอความร่วมมือจากประชาชนและเกษตรกรให้งดการเผาหญ้าแล้วก็ตาม เนื่องจากก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองกระจายคละคลุ้งไปทั่วพื้นที่โดยรอบ โดย นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เปิดเผยว่า ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออง นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนแล้ว ยังส่งผลให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นแย่ลง รวมทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการขึ้น-ลงของเครื่องบินด้วย และจากสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันยังเป็นปัจจัยก่อให้เกิดไฟลุกลามได้ง่าย การเข้าไปดับไฟก็เป็นไปด้วยความยากลำบากนายสุพัฒน์ กล่าวอีกว่า ปัญหาดังกล่าวยังคงสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนอย่างหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลายจังหวัดในภาคเหนือ เริ่มมีฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน ซึ่งจากการตรวจวัด พบว่าในพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีระดับฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมคอนขึ้นไป ถึง 212 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากภายในประเทศเท่านั้น แต่เกิดจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีพื้นที่ชายแดนติดต่อกับไทยด้วย ซึ่งหลังจากที่ได้มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่าง 5 ประเทศในลุ่มน้ำโขงแล้ว ที่ประชุมได้กำชับให้แต่ละประเทศควบคุมเรื่องการแผ้วถางหญ้า การเผาป่า และเศษวัสดุจากการเกษตรให้น้อยลง ซึ่งประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนเครื่องตรวจวัดระดับฝุ่นละอองกับประเทศพม่าและลาว ซึ่งทุกประเทศได้ให้ความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาเป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวจะไม่สามารถหมดลงไปได้ หากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เพราะหากหยุดการเผาป่าหรือเศษวัสดุทางการเกษตร ก็จะถือเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองลงได้อย่างมาก

ข้อมูลข่าวและที่มา


ผู้สื่อข่าว : ขนิษฐา ลือสัตย์    Rewriter : ธนวัต วงศ์วิริยะวณิช 
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : https://thainews.prd.go.th

สาระความรู้

smog [N] หมอกควัน, See also: ควันควันพิษSyn. atmosphere pollutionfog
Smog คือ การเอา Smoke ที่แปลว่าควัน มารวมกับคำว่า Fog ที่แปลว่าหมอก มลพิษในอากาศส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นบรรยากาศที่ใกล้พื้นโลกมากที่สุด นั่นคือชั้นโทรโปสเฟียร์ ซึ่งกินพื้นที่จากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 16 กิโลเมตร ในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ จะทำให้อากาศเกิดการแบ่งชั้นตามอุณหภูมิโดยอากาศที่เย็นกว่าจะถูกกักไว้ชั้นล่าง โดยอยู่ใกล้กับผิวโลก ในขณะที่อากาศที่ร้อนกว่าอยู่ข้างบน ในสภาพดังกล่าวนั้นมลพิษจะถูกกักเก็บไว้ที่อากาศชั้นล่างและจะไม่มีการผสมกันของอากาศตามธรรมชาติ ถือเป็นกลุ่มหมอกควันที่เป็นมลภาวะทางอากาศอย่างหนึ่ง ซึ่งมลพิษถูกกักเก็บไว้ในอากาศเนื่องจากปรากฎการณ์เปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งมลพิษเหล่านี้เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ่านหิน น้ำมัน
              นอกจากนี้ยังเกิดได้จากการทำปฎิกิริยาของแสงกับออกไซด์ของไนโตรเจน และสารประกอบอินทรีย์ชนิดระเหยได้ ที่จริงแล้ว smog ประกอบด้วยโอโซน ซึ่งโอโซนในบรรยากาศชั้นล่าง (โทรโปสเฟียร์)ถือว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้เกิดความระคายเคืองที่ปอด ตลอดจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งพืชและสัตว์ ปริมาณโอโซน เป็นตัวบ่งชี้ถึงความรุนแรงของมลภาวะได้ เนื่องจากปริมาณโอโซนในชั้นโทรโปสเฟียร์ที่มีมากขึ้น หมายถึงปริมาณมลพิษอื่นๆในอากาศที่มากขึ้นด้วย เช่น ปริมาณของคาร์บอนมอนนอกไซด์ เมื่อความชื้นในอากาศรวมกับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือออกไซด์ของไนโตรเจนจะเกิดเป็นกลุ่มหมอกควันที่มีสภาพเป็นกรด ซึ่งเป็นอันตรายต่อปอด และยังสามารถกัดกร่อนโลหะตลอดจนหินอ่อนได้อีกด้วยในผู้ป่วยหอบหืดและโรคหัวใจจะมีอาการแย่ขึ้นเมื่อสูดเอากลุ่มควันพวกนี้เข้าไป จะทำให้ปวดศีรษะ มึนงง หายใจลำบากนอกจากอากาศเป็นพิษอย่างที่เราเข้าใจกันแล้ว ปัญหาใหญ่ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลกที่เราต้องรวมมือร่วมใจกันแก้ไขก็คือการที่ชั้นบรรยากาศถูกทำลาย จากที่กล่าวแล้วถึงในชั้นบรรยากาศที่ใกล้พื้นโลกมากที่สุด หรือโทรโปสเฟียร์แล้วถัดจากบรรยากาศชั้นนี้ขึ้นไป(จากความสูงเหนือระดับพื้นโลก 16-50 กิโลเมตร นั้นเป็นชั้นบรรยากาศ สเตรโตสเฟียร์ ซึ่งเป็นชั้นที่ประกอบด้วยโอโซนจำนวนมาก(โอโซนในชั้นนี้มีโมเลกุลเหมือนโอโซนในชั้นโทรโปสเฟียร์) แต่โอโซนที่ชั้นบรรยากาศนี้ เปรียบเสมือนด่านปราการที่ปกป้องโลกจากรังสี จากดวงอาทิตย์ รังสีนั้นสามารถทำลายรหัสพันธุกรรมหรือDNA ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งในปัจจุบันนี้ชั้นโอโซนดังกล่าวถูกทำลายไปจำนวนมากเนื่องจากสารเคมีบางอย่างเช่น สาร CFC ไนตรัสออกไซด์(พบในพวกปุ๋ย) เมทิล โบรไมด์ (พบในยาฆ่าแมลง) หรือสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน(เป็นสารหลักที่ทำลายโอโซน)ซึ่งเป็นก๊าซที่เกิดจากตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ กระป๋องสเปรย์ เป็นก๊าซที่ไม่สลายตัวไปง่ายๆ สามารถลอยขึ้นไปถึงชั้นสเตรโตสเฟียร์และที่นี้เมื่อสารรวมตัวกับรังสีสาร CFC จะแตกตัวได้เป็นคลอรีน เมื่อคลอรีนรวมตัวกับโอโซนในชั้นบรรยากาศ จะเกิดเป็นออกซิเจน ซึ่งไม่สามารถดูดซับรังสีUV-B  ได้อย่างโอโซน
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2062

อัพเดทล่าสุด