https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ไวรัสบุกรุก...สิ่งมีชีวิตที่ซุกซ่อนในตัวคุณ MUSLIMTHAIPOST

 

ไวรัสบุกรุก...สิ่งมีชีวิตที่ซุกซ่อนในตัวคุณ


970 ผู้ชม


มีการค้นพบไวรัสที่ทำอันตรายให้กับมนุษย์อยู่ตลอดเวลา ล่าสุดจากนิตยสารแลนเซต ประเทศอังกฤษ รายงานผลการศึกษาใหม่ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระในสก็อตแลนด์ซึ่ง เป็นการศึกษาระดับโลกครั้งแรก ค้นพบว่าไวรัสที่มีชื่อว่าอาร์เอสวี (RSV : respiratory syncytial vir   

         ไวรัสบุกรุก...สิ่งที่ชีวิตที่ซุกซ่อนในตัวคุณ

ไวรัสบุกรุก...สิ่งมีชีวิตที่ซุกซ่อนในตัวคุณ

ที่มาของภาพ : https://viromag.wordpress.com/2009/02/06/avian-influenza-some-facts/

 

        กระทรวงสาธารณสุข เตือนอันตราย ไวรัส “อาร์เอสวี” คร่าชีวิตเด็กทั่วโลกปีละ 2 แสนราย ร้อยละ 99 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ในไทยพบเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ กว่า 1 หมื่นคน ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้แล้วนางพรรณสิริ กุลนารถศิริ รมช.สาธารณสุข เปิดเผยกรณีที่นิตยสารแลนเซต ประเทศอังกฤษ รายงานผลการศึกษาใหม่ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระในสก็อตแลนด์ซึ่ง เป็นการศึกษาระดับโลกครั้งแรก ค้นพบว่าไวรัสที่มีชื่อว่าอาร์เอสวี (RSV : respiratory syncytial virus) เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการติดเชื้อในปอดของเด็ก ทำให้เกิดโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ คร่าชีวิตเด็กทั่วโลกถึงปีละ200,000 ราย 
          โดยมาตรการสำคัญในการป้องกันคือการล้างมือให้เด็กเล็กบ่อยๆ และพี่เลี้ยงเด็กก็ต้องล้างมือบ่อยๆเช่นกัน เมื่อมีเด็กป่วย หากเป็นไปได้ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน แต่หากไม่สามารถรับกลับบ้านได้ ให้แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วย ออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
 

                                                                ไวรัสบุกรุก...สิ่งมีชีวิตที่ซุกซ่อนในตัวคุณไวรัสบุกรุก...สิ่งมีชีวิตที่ซุกซ่อนในตัวคุณ

                                                                                 ภาพที่ 1                                  ภาพที่ 2

ที่มาของรูป :ภาพที่ 1 https://www.empowher.com/media/reference/respiratory-syncytial-virus

                     ภาพที่ 2 https://frealfitness.files.wordpress.com/2010/01/sick-kid.jpg


          หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต เรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6


          ไวรัส(virus) เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง  จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พริออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology) (https://th.wikipedia.org)
         

        ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย(Human Immunue System) สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์เรียกว่่า แอนติเจน (antigen) ซึ่งเป็นสารหรือสิ่งมีชีวิตที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะส่งผลทำให้เกิดการตอบสนองของร่างกายหรือก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ได้ ดังนั้นร่างกายมนุษย์จึงจำเป็นต้องมีกลไกตอบสนองในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ เพื่อให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายสามารถดำเนินไปได้อย่างปกติ โดยเราเรียกระบบภายในร่างกายที่มีหน้าที่ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมและความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายว่า ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) 
สามารถจำแนกลักษณะการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ตามความจำเพาะเจาะจงในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะเจาะจง และระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะเจาะจง ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
         1.  ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะเจาะจง (nondpecific defense mechanism)  
         ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะเจาะจง เป็นกลไกการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายแบบไม่จำเพาะเจาะจง มีความสามารถในการป้องกันหรือทำลายเชื้อจุลินทรีย์หรือสิ่งแปลกปลอมไม่สูงนัก เช่น ผิวหนัง(skin) เยื่อเมือก(mucos) ที่บุตามผิวของอวัยวะต่างๆ ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำตา เป็นต้น
        2.  ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะเจาะจง (specific defense mechanism) 
        ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะเจาะจง หรือการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน (immune response) เป็นกลไกการกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือแอนติเจนต่าง ๆ ในร่างกาย ที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด ซึ่งได้แก่ จุลินทรีย์ สารพิษ และโมเลกุลของสารต่าง ๆ ภายนอกร่างกาย รวมถึงเซลล์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติในร่างกาย เช่น  อิมมิวโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เซลล์ลิมโฟไซต์ที่มีการตอบสนองต่อสารจำเพาะ (specificcally sensitized lymphocyte; SSL) หรือ ลิมโฟไซต์ชนิดที่ (T lymphocyte) ซึ่งมีการพัฒนาผ่านทางต่อมไทมัส จนได้เป็นเซลล์ที่สมบูรณ์ 3 ชนิด คือ เซลล์ที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม เซลล์ทีผู้ช่วย และเซลล์ทีกดระงับ ซึ่งเซลล์ทีต่าง ๆ เหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิลและม้าม(https://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2879)

ไวรัสบุกรุก...สิ่งมีชีวิตที่ซุกซ่อนในตัวคุณ

ที่มาของภาพ :https://www.reishiscience.com/Benefits_1.html

ประเด็นคำถามสู่การอภิปราย
 1. ไวรัสจัดเป็นสิ่งมีชีวิต โดยใช้คุณสมบัติข้อใด 
 2. ไวรัสเข้าสู่ร่่างกายได้อย่างไร
 3. ไวรัสมีผลต่อระบบใดในร่างกาย
 4.  เมื่อไวรัสเข้าสู้่ร่างกาย กลไกการของร่างกายมีการตอบสนองต่อไวรัสอย่างไร
 

กิจกรรมเสนอแนะ
 1. ดูวีดีทัศน์เรื่องไรวัส เพื่อศึกษาความมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้  
 2. ศึกษาไวรัสชนิดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิต
 

แหล่งอ้างอิง
 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 28 เมษายน 2553 
 https://th.wikipedia.org
 https://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2879 อ้างอิงจาก ดร.ฤทธิ์ วัฒนชัยยิ่งเจริญ . ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต . พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์
 .

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2222

อัพเดทล่าสุด