https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พี่นิ๊งเครียดจัด "กิฟท์"ไม่ติดลูก MUSLIMTHAIPOST

 

พี่นิ๊งเครียดจัด "กิฟท์"ไม่ติดลูก


964 ผู้ชม


ปัจจุบันความเครียด ความเร่งรีบในการทำงาน ผู้หญิงแต่งงานเมื่อมีอายุสูง ส่งผลให้ไม่สามารถมีลูกได้ตามธรรมชาติ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยได้อย่างไร   

เหตุเครียดจัด หวิดครัวแตก

        แต่งงานกันมาหลายปี ยังไร้แวว “ขนมจีน” ผสม “น้ำยา” จนออกมาเป็น “เจ้าตัวเล็ก” เมื่อวิธีธรรมชาติไม่ได้ผล “นิ้ง-กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา” ควงสามีนักบิน “ใหญ่-พิตตินันท์ อินทร  ศักด์” ไปทำ “กิฟต์” แต่ก็ไร้วี่แวว เหตุเพราะเครียดหนัก หวิดครัวแตก จนทำ ให้คุณสามีเก็บความรู้สึกอัดอั้นในหัวใจ มาสารภาพกลางรายการ “ศึกน้ำผึ้งพระจันทร์” ทางช่อง 5 ว่าถึงเราจะมีลูกหรือไม่มีลูกเราก็ยังเดินจูงมือกันอยู่อย่างเนี้ย 2 คน ชนิดที่ทำให้ นิ้ง อึ้งน้ำตาไหลพรากทีเดียว


เดลินิวส์ออนไลน์ วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม 2553 เวลา 0:00 น

    
         การทำกิฟต์
การนำเซลล์สืบพันธุ์ไปใส่ไว้ที่ท่อนำไข่ หรือที่รู้จักแพร่หลายโดยทั่วไปว่า กิฟต์ (GIFT) หมายถึง การนำเอาไข่และตัวอสุจิไปใส่ไว้ที่ท่อนำไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิหรือรวมตัวกันตามธรรมชาติ เป็นวิธีการรักษาคู่สมรสที่มีบุตรยากวิธีหนึ่ง การรักษาคู่สมรสที่มีบุตรยากด้วยกิฟต์นั้นจะกระทำ ต่อเมื่อได้ทำการตรวจหาสาเหตุของการมีบุตรยากและทำการรักษาด้วยวิธีธรรมดาแล้วไม่ได้ผล เพราะการรักษาวิธีนี้ค่อนข้างสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเวลาต่างๆ สำหรับการรักษามาก นอกจากนั้น ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการรักษาได้อีกด้วยแม้ว่าจะเป็นส่วนน้อยก็ตาม

       หลักการทำกิฟต์ 
หลักของการรักษาวิธีนี้ คือนำไข่และอสุจิมารวมกัน และฉีดเข้าท่อนำไข่โดยผ่านทางปลายของท่อให้มีการปฏิสนธิ การแบ่งตัวของตัวอ่อนและการฝังตัวเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งต่างจากการทำเด็กหลอดแก้ว หรือการปฏิสนธินอกร่างกายและการย้ายฝากตัวอ่อน ซึ่งมีการผสมระหว่างไข่และอสุจิ ตลอดจนการแบ่งตัวของตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ แล้วจึงนำตัวอ่อนไปใส่ไว้ในโพรงมดลูก

      

                       ภาพประกอบการทำกิฟท์

(ที่มา : https://www.bbsbattle.com/contest/?cat=3)

        ขั้นตอนใหญ่ๆ ของการทำกิฟท์ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 
     1. การนำไข่ออกมาจากรังไข่ 
     2. การเตรียมอสุจิ 
     3. การนำไข่และอสุจิมาใส่ไว้ที่ท่อนำไข่ 
https://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/53/2/heredity/topic08_1.html


      ประเด็นพูดคุย
1. ทำไมต้องทำกิิฟท์นะ
2. นอกจากการทำ กิฟท์แล้วมีวิธีการอื่นๆหรือไม่
3. ขั้นตอนของการทำกิฟท์มีวิธีการอย่่างไร


       นอกจากนี้ยังมีวิธีต่างๆดังนี้
        การฉีดเชื้อผสมเทียมในโพรงมดลูก (IUI) คือ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรง โดยใช้ท่อพลาสติกเล็กๆ สอดผ่านปากมดลูกแล้วฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในช่วงที่มีหรือใกล้กับเวลาที่มีไข่ตก  วิธีนี้มักทำกับคู่ที่ฝ่ายชายมีเชื้ออสุจิผิดปกติ  คือ จำนวนน้อยเกินไปหรือเชื้ออสุจิแข็งแรงน้อยเกินไป  หรือมีปัญหามีปฏิกิริยากับปากมดลูกได้ง่าย  เข้าไปในโพรงมดลูกไม่ได้ 

พี่นิ๊งเครียดจัด "กิฟท์"ไม่ติดลูก


 

        การทำอิ๊กซี่ ( IntraCytoplasmic Sperm Injection หรือ ICSI)เป็นวิธีการคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรง สมบูรณ์เพียงตัวเดียวเพื่อฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง  จะใช้ในกรณีที่เด็กหลอดแก้วธรรมดาไม่ประสบความสำเร็จ วิธีการนี้จะมีความสำเร็จในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณร้อยละ 25-30
แพทย์จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่ฝ่ายชาย มีเชื้ออสุจิผิดปกติอย่างมากฝ่ายหญิง ที่มีรังไข่ผิดปกติ ไม่มีการตกไข่  และไข่กับอสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกันเองได้
https://www.vibhavadi.com/fertility/knowledge_detail.php?topic=&id=121


       พี่นิ๊งเครียดจัด "กิฟท์"ไม่ติดลูก

       การทำเด็กหลอดแก้ว ( InVitro Fertilization and Embryo Transfer หรือ IVF& ET)
เป็นการปฏิสนธินอกร่างกาย หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "เด็กหลอดแก้ว" เป็นการนำไข่และเชื้อ อสุจิมาผสมรวมกันในหลอดแก้วทดลองให้มีการรวมตัวกัน (การปฏิสนธิ) ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจำลอง สภาพแวดล้อม และอุณหภูมิ ที่คล้ายร่างกายมนุษย์ ภายหลังจากการเกิดการปฏิสนธิแล้ว ไข่ที่ถูกผสม จะเจริญเติบโตและแบ่งตัวเป็นตัวอ่อน เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตได้  3-5 วัน จากนั้นจะทำการย้าย  ตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกของผู้หญิง

       

พี่นิ๊งเครียดจัด "กิฟท์"ไม่ติดลูก

(ที่มา : https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/27/contents/genetics-1557.html)

        การทำซิฟท์ ( Zygote IntraFollopain Transfer หรือ ZIFT)  เป็นวิธีการเก็บเซลล์สืบพันธุ์ทั้งไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกายก่อน  แล้วจึงนำตัวอ่อนในระยะ Zygote ใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ ความสำเร็จในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณร้อยละ  20-30 แพทย์จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่ฝ่ายชาย  มีเชื้ออสุจิน้อยกว่าปกติฝ่ายหญิง ที่ท่อนำไข่ไม่ตัน แต่ทำงานไม่ปกติ มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และมีพังผืดมาก  รวมถึงในคู่สมรสที่ไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยากด้วย   หมายเหตุ การทำซิฟท์ (ZIFT) ต้องทำการผ่าตัดส่องกล้องตรงช่องท้องเพื่อนำไข่และอสุจิ หรือตัวอ่อนใส่เข้าไปในท่อนำไข่
 https://www.vibhavadi.com/fertility/knowledge_detail.php?topic=6&id=19

 

 

พี่นิ๊งเครียดจัด "กิฟท์"ไม่ติดลูก

https://www.promma.ac.th/special_science/supplementary/hormone(9)/chapter5/benefits.htm

        สาระการเรียนรู้  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต   สิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต และกระบวนการดำรงชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และเทคโนโลยีชีวภาพ
 

       กิจกรรมเพิ่มเติืม
1. ศึกษาวิีดีทัศน์เพิ่มเติม
2. เปรียบเทียบกระบวนการของวิธีการต่างๆ ความยากง่ายของแต่ละวิธี

 

      ความรู้ บูรณาการ
ความรู้ในเรื่องนี้สามารถนำไปบูรณาการกับวิชาสุขศึกษา ในเรื่องการวางแผนครอบครัวได้ค่ะ

       อ้างอิง
เดลินิวส์ออนไลน์ วันจันทร์ ที่ 24 พฤษภาคม 2553 เวลา 0:00 น
https://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/53/2/heredity/topic08_1.html
https://www.vibhavadi.com/fertility/knowledge_detail.php?topic=&id=121
https://www.vibhavadi.com/fertility/knowledge_detail.php?topic=6&id=19
รูปไอคอนจาก https://www.precadet26.org/msgboard/MsgView.php?page=116&msgid=1065799&nr=1

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2583

อัพเดทล่าสุด