ผลิตภัณฑ์ใกล้ตัวที่มีไอโซโทปรังสีอย่างที่เราคาดไม่ถึง MUSLIMTHAIPOST

 

ผลิตภัณฑ์ใกล้ตัวที่มีไอโซโทปรังสีอย่างที่เราคาดไม่ถึง


1,855 ผู้ชม


เมื่อเอ่ยถึงรังสี คนส่วนใหญ่มักนึกถึงภาพความน่ากลัวของกัมมันตภาพรังสีที่แผ่ออกมาจากสารกัมมันตรังสีหรืออาวุธนิวเคลียร์เท่านั้น แต่ที่จริงแล้วในชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับวัตถุสิ่งของหลายชนิดที่มีสารไอโซโทปรังสีอยู่ตามธรรมชาติ   
ผลิตภัณฑ์ใกล้ตัวที่มีไอโซโทปรังสีอย่างที่เราคาดไม่ถึง
ผลิตภัณฑ์ใกล้ตัวที่มีไอโซโทปรังสีอย่างที่เราคาดไม่ถึงผลิตภัณฑ์ใกล้ตัวที่มีไอโซโทปรังสีอย่างที่เราคาดไม่ถึง
หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่ากล้วยนั้นมีรังสีอยู่โดยธรรมชาติ (Steve Hopson)

บทนำ  สารกัมมันตรังสี คือสารที่มีนิวเคลียสไม่เสถียรมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขณะทีนิวเคลียสมีการสลายตัวจะให้
รังสีออกมา มีรังสีที่ออกมาจากสารคือ  รังสี แกรมมา  เบตา และแอลฟา นักเรียนทราบไหมว่ารังสีใด มีอำนาจทะลุทะลวง
มากที่สุด ปานกลาง และน้อยที่สุด

  ผลิตภัณฑ์ใกล้ตัวที่มีไอโซโทปรังสีอย่างที่เราคาดไม่ถึง

ประเด็นเนื้อหาจากข่าว

      เมื่อเอ่ยถึงรังสี คนส่วนใหญ่มักนึกถึงภาพความน่ากลัวของกัมมันตภาพรังสีที่แผ่ออกมาจากสารกัมมันตรังสีหรืออาวุธนิวเคลียร์เท่านั้น แต่ที่จริงแล้วในชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับวัตถุสิ่งของหลายชนิดที่มีสารไอโซโทปรังสีอยู่ตามธรรมชาติอย่างที่หลายคนคาดไม่ถึง ทั้งอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ในบ้านเรือน ไปจนถึงวัสดุก่อสร้างและเครื่องมือชนิดต่างๆ

       อาหารทุกชนิดมีกัมมันตภาพรังสีอยู่เล็กน้อย โดยไอโซโทปรังสีที่มักพบในอาหาร ได้แก่ โปแตสเซียม-40 และเรเดียม- 226 ส่วนสินค้าอาหารส่งออกและนำเข้าที่มักตรวจพบว่ามีรังสีด้วย ได้แก่ กล้วย, บราซิลนัท และกาแฟ
       ในขณะเดียวกันวัสดุก่อสร้างหลายชนิดก็มีไอโซโทปรังสีอยู่ด้วย เช่น "หินอ่อน" มีโพแทสเซียม-40, เรเดียม-226 และทอเรียม-232 "ซีเมนต์" มีโพแทสเซียม-40, ทอเรียม-232 และยูเรเนียม-238 "คอนกรีต" มีโพแทสเซียม-40, เรเดียม-226, ทอเรียม-232 และยูเรเนียม-238 และ "ไม้" มีโพแทสเซียม-40
       ส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านที่มีไอโซโทปรังสี ได้แก่ "เกลือสินเธาว์" มีโพแทสเซียม-40, "ขนแกะ" มีโพแทสเซียม-40 และเรเดียม- 226, "เครื่องแก้วและเซรามิค" มียูเรเนียม-238, ปุ๋ย มีโพแทสเซียม-40, เรเดียม-226, ทอเรียม-232 และยูเรเนียม-238 "ทรายสำหรับแมว" มีเรเดียม-226 และทอเรียม-232], "สตาร์ตเตอร์หลอดฟลูออเรสเซนต์" มีเรเดียม-226 และ โคบอลต์-60 "ยางรถยนต์" มีเรเดียม-226 "เลนส์แว่นตาและเลนส์กล้องถ่ายรูป" มีทอเรียม- 232 นอกจากนี้ ยังมีชิ้นส่วนและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือ อุปกรณ์ และหินและแร่ธาตุอีกหลายชนิดที่ปล่อยรังสีออกมาตามธรรมชาติ
       ทั้งนี้ ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ได้ให้ข้อมูลแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า รังสีจากสิ่งใกล้ตัวเหล่านี้มีอยู่ในปริมาณต่ำ และเราทุกคนล้วนได้รับรังสีเป็นประจำอยู่แล้ว ทั้งในรูปของ อาหาร น้ำ และอากาศ โดยในอาหารส่วนใหญ่พบในผลไม้ที่มีการดูดซึมโพแทสเซียม-40 ในน้ำดื่มที่มีแร่ธาตุต่างๆ และในอากาศเราสูดดมก๊าซเรดอนที่มีรังสีเข้าไป
       99.99% ของสารรังสีเหล่านี้จะหมุนเวียนและขับถ่ายออกจากร่างกายอยู่เป็นปกติ และเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนจะได้รับสารรังสี แต่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้ออกตรวจปริมาณรังสีในสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ รวมถึงการตรวจวัดปริมาณรังสีให้บ้านที่ปูพื้นหินอ่อนหรือหินแกรนิต ซึ่งมีรังสีมากกว่าปกติ เนื่องจากมีทอเรียมและยูเรเนียม แต่ระดับรังสีอยู่ในระดับปกติและไม่เป็นอันตราย
       
       กิจกรรมเสนอแนะ   ให้นักเรียนสำรวจอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ในบ้านเรือน ไปจนถึงวัสดุก่อสร้างและเครื่องมือชนิดต่างๆ ว่ามีรังสีอะไรบ้าง และรังสีชนิดใดมีมากที่สุดในบ้านของนักเรียน

       ประเด็นคำถาม  1 . สารกัมมันตรังสีหมายถึงอะไร
                            2.  ในบ้านของนักเรียนมีรังสีอะไร และบอกว่าได้มาจากอะไรที่อยู่ในบ้าน
      

* ข้อมูลจากสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2797

อัพเดทล่าสุด