https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน MUSLIMTHAIPOST

 

พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน


912 ผู้ชม


นักศึกษาสาววัย 21 ปี จากเมืองออสติน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ป่วยเป็นโรคปริศนาร่างกาย ซูบผอม มีเพียงหนังหุ้มกระดูกตั้งแต่เกิด สูงเพียง 5 ฟุต 2 นิ้ว และหนักเพียง 25 กิโลกรัม   

                                  พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน   " มารู้จักคนผอมที่กินยังไงก็ไม่อ้วนกันนะคะ "    พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน        
                                            
         ลิซซี เวลาซเกซ นักศึกษาสาววัย 21 ปี จากเมืองออสติน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ป่วยเป็นโรคปริศนา ร่างกาย  
ซูบผอม มีเพียงหนังหุ้มกระดูกตั้งแต่เกิด ลิซซี คลอดก่อนกำหนด 4 สัปดาห์ ด้วยน้ำหนักตัวเพียง 1.2 กิโลกรัม  ปัจจุบัน
เธอ สูง 5 ฟุต 2 นิ้ว และหนักเพียง 25 กิโลกรัมเท่านั้น  ลิซซี่ ต้องทานอาหารทุก ๆ 15 นาที หรือราว 60 มื้อต่อวัน  เพื่อให้
สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แม้เธอจะทานอาหารเข้าไปราว 5,000-8,000 แคลอรี/วัน แต่น้ำหนักตัวของเธอก็ไม่เคยขึ้นเกิน
ไปกว่า 25.45 กิโลกรัม  แพทย์เชื่อว่าเป็นเพราะภาวะผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์ กระทั่งแรกเกิด ทำให้สูญเสียไขมันตามใบหน้า 
ร่างกาย และเนื้อเยื่อเสื่อมสภาพ และดูแก่ก่อนวัยอันควร แต่ยังโชคดีที่กระดูกและฟันแข็งแรงดี                       
( ที่มา ไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/content/oversea/92733) 
     พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วนพบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน
                                         ภาพ ลิซซี เวลาซเกซ  (ที่มา https://www.thairath.co.th/content/oversea/92733)
       จากกรณีของ ลิซซี เวลาซเกซ จะทำให้เห็นความสำคัญของไขมันที่มีต่อร่างกายมนุษย์นะคะ เพราะไขมันจัดเป็น
สารอาหารและแหล่งพลังงานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ถ้าขาดไขมันร่างกายก็จะซูบผอม และเกิดโรคภัยอื่น ๆ 
ตามมา เป็นผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตด้วยค่ะ 
                                                                           
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่  3  สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1   เข้าใจสมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยว
                              ระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ 
                              นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2   เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   การเกิดสารละลาย   
                              การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ 
                              และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

เรื่อง   ไขมัน (Lipid) หรือลิปิด  (สารอาหาร)

           พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน ไขมัน (Lipid) หรือลิปิด   เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในฐานะที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญ
เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน โดยไขมันสามารถให้พลังงานได้มากถึง 9 แคลอรี่ต่อกรัมซึ่งมากกว่า
คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน (ซึ่งให้พลังงาน 4 แคลอรี่ต่อกรัม)
          
 ไขมันในอาหาร
           ไขมันในอาหารคือการที่สารอาหารชนิดนี้เป็นแหล่งของกรดไขมันจำเป็น เช่น  linoeic acid และ 
linolenic acid ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต การรักษาสมดุลของผิวหนัง ควบคุมการเผาผลาญคอเลสเทอรอล 
และยังเป็นสารตั้งต้นในการผลิต  postagladin  ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกาย
         พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วนพบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน
                                                                        ภาพอาหารที่มีไขมันเป็นองค์ประกอบ
           หน้าที่ของไขมัน
          ไขมันมีหน้าที่ในการลำเลียงและการดูดซึมของวิตามินชนิดที่ละลายในไขมันได้แก่ A, D, E และ K 
รวมทั้ง carotenoids ด้วย ในบางกรณีไขมันจากอาหารยังเป็นวิตามินเองด้วย เช่น น้ำมันถั่วเหลืองเป็นแหล่ง
สำคัญของ วิตามิน E  ร่างกายมนุษย์สะสมไขมันไว้ภายในเซลล์ไขมัน (adipose cell) แต่ก็สามารถพบไขมัน
บางส่วนในเลือดและเซลล์อื่น ๆ ได้ด้วย การสะสมไขมันในร่างกายมิใช่เพื่อสร้างความอบอุ่นให้ร่างกายเท่านั้น 
แต่ยังช่วยรองรับและป้องกันอวัยวะภายในต่าง ๆ อีกด้วย
          ไขมันมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อ, และรสชาติของอาหารอีกด้วย และ
เนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต. ไขมันเป็นเป็นสิ่งที่ทำให้
เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าในประมาณที่เพียงพอแล้ว
          ไขมันประกอบขึ้นด้วยธาตุสามชนิดเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ คาร์บอน, ไฮโดรเจน, และออกซิเจน 
ไขมันจะมีสัดส่วนของคาร์บอนและไฮโดรเจนมาก และมีออกซิเจนน้อย ซึ่งทำให้ไขมันมีพลังงานต่อมวลมากถึง
 9  แคลอรีต่อกรัม ในขณะที่คาร์โบไฮเดรตให้พลังงานเพียง 4 แคลอรีต่อกรัม 
           โครงสร้างทางเคมีของไขมัน
          ไขมันประกอบไปด้วยธาตุหลัก 3 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน เช่นเดียวกับ
คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน  ไขมันมีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนและไฮโดรเจนแต่มีออกซิเจนน้อย 
ดังนั้นไขมันจึงให้พลังงานมากถึง 9 แคลอรี่ต่อกรัม
          ไขมันจะประกอบขึ้นด้วยกรดไขมัน (Fatty acids) ชนิดต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและมีผลต่อร่างกาย
แตกต่างกันไป ไขมันยังสามารถแบ่งตามการมีพันธะคู่ของคาร์บอนอะตอมภายในกรดไขมันได้แก่
          กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acids) ซึ่งไม่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน 
          กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acids) ซึ่งมีพันธะคู่ พบได้ในไขมันพืช 
          พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วนพบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน
                                                                                 ภาพไขมันและน้ำมัน
          พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน ข้อมูลทางเคมีของไขมัน     
           
           ไขมัน (Lipid) หรือลิปิด  คือสารชีวโมเลกุลที่ไม่ละลายในน้ำ (water-insoluble) มีหลายชนิด หรือ 
สารประกอบไม่มีขั้ว (nonpolar) ละลายน้ำน้อยตลอดจนละลายน้ำมาก พวกที่ละลายน้ำได้มากจะเป็นสารประกอบ
จำพวก มีขั้ว (polar) ลิปิดบางตัวมีโมเลกุลเป็นเส้นตรง อะลิฟาติก (aliphatic) บางตัวมีวงแหวนเรียก อะโรมาติก (aromatic)
บางตัวยืดหยุ่นบางตัวเปราะบาง ลิพิดมี โมเลกุล ส่วนใหญ่เป็นโพลาร์ และมีบางส่วนที่เป็น นอนโพลาร์ ผลคือลิพิดตัวนี้
สามารถละลายได้ทั้งในตัวทำละลายที่เป็น โพลาร์ เช่นน้ำ และนอนโพลาร์ เช่นน้ำมัน โมเลกุลเหล่านี้ เราเรียกว่า แอมฟิฟิลิก
(amphiphilic) คือใน โมเลกุล เดียวกันมีทั้งส่วนที่ชอบน้ำ ไฮโดรฟิลิก (hydrophilic) และส่วนที่กลัวน้ำ ไฮโดรโฟบิก 
(hydrophobic) ตัวอย่างเช่น คอเลสเตอรอลส่วนที่เป็นโพลาร์ คือ -OH (ไฮดรอกซิล หรือ แอลกอฮอล)
                                พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน
                                                             
ภาพโครงสร้างกรดไขมัน

         
  กรดไขมัน 
           กรดไขมันเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของไขมันทุกชนิด มีคาร์บอนตั้งแต่ 4 – 36 ตัว 
ไม่แตกกิ่ง พันธะระหว่างคาร์บอนอาจเป็นพันธะเดี่ยวทั้งหมด ซึ่งเรียกว่ากรดไขมันอิ่มตัว หรือมีพันธะคู่ปนอยู่กับพันธะเดี่ยว
 ซึ่งเรียกว่ากรดไขมันไม่อิ่มตัว จำนวนของคาร์บอนในกรดไขมันส่วนใหญ่มักเป็นเลขคู่ จุดหลอมเหลวของกรดไขมันขึ้นกับ
 จำนวนคาร์บอนและจำนวนพันธะคู่ เช่นที่อุณหภูมิห้อง กรดไขมันอิ่มตัวที่มีคาร์บอน 12 – 24 ตัวอยู่ในสภาพเป็นไข 
 ในขณะที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีคาร์บอนเท่ากันยังเป็นน้ำมันอยู่ เป็นต้น
         ไตรกลีเซอไรด์  
         ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันสามโมเลกุลรวมตัวกับกลีเซอรอล หนึ่งโมเลกุล 
เป็นโมเลกุลที่ไม่ละลายน้ำ เป็นพลังงานสะสมในสัตว์ และใช้สะสมใต้ผิวหนังเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกาย
          
ฟอสโฟลิปิด
          ฟอสโฟลิปิดหรือ กลีเซอโรฟอสโฟลิพิด เป็นไขมันที่เป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มต่างๆในสิ่งมีชีวิต โครงสร้าง
คล้ายไตรกลีเซอไรด์ แต่มีกรดไขมันเพียงสองโมเลกุล โดยอีกตำแหน่งหนึ่งจะมีหมู่ฟอสเฟตมาเกาะและจะมีสารอื่นมาเกาะ
ที่หมู่ฟอสเฟตอีกต่อหนึ่งซึ่งเป็นการกำหนดชนิดของฟอสโฟลิปิด เช่น โคลีน (choline) หรือ เซอรีน (serine) ถูกสร้างบน
แกนกลางที่เป็น กลีเซอรอล (glycerol) ซึ่งเชื่อมต่อกับหางสองเส้นที่เป็นอนุพันธ์ของกรดไขมันโดยรูปแบบการเชื่อมต่อ
ที่เป็นเอสเตอร์ (ester) และหนึ่งหัวที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อเป็นฟอสเฟตเอสเตอร์
          กรดไขมันเป็นสายโซ่ไฮโดรคาร์บอนที่ไม่มีสาขาและเชื่อมต่อกันด้วย 
               พันธะเดี่ยว (single bonds) ตามลำพัง เช่น กรดไขมันอิ่มตัว 
ทั้งพันธะเดี่ยว (single bonds) และ พันธะคู่ (double bond) เช่น กรดไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนหัวของฟอสโฟลิพิด 
ที่พบใน เมมเบรน ทางชีวภาพ (biological membrane) คือ 
               ฟอสฟาติดิลคอลีน (phosphatidylcholine-lecithin) 
               ฟอสฟาติดิลเอตทาโนลามีน (phosphatidylethanolamine) 
               ฟอสฟาติดิลเซอรีน (phosphatidylserine) 
               ฟอสฟาติดิลอินโนซิทอล (phosphatidylinositol) 
              
          สฟิงโกลิปิด (sphingolipids) เป็นการรวมตัวของสฟิงโกซายน์ (sphingosine) กับกรดไขมันและหมู่ฟอสเฟต 
เป็นไขมันที่เป็นองค์ประกอบในเยื่อหุ้ม และมีบทบาทในการจดจำระหว่างเซลล์ 
          สเตอรอล (sterols) เป็นไขมันที่พบในเยื่อหุ้มของเซลล์ยูคาริโอต สเตอรอลชนดหนึ่งคือคอเลสเตอรอล พบมาก
ในเซลล์สัตว์ 
         ไขมันที่เป็นตัวส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ เช่น ฟอสฟาทิดิลอิโนซิทอล (phosphatidylinositol) เป็นตัวส่งสัญญาณ
เกี่ยวกับการรวมตัวของเยื่อหุ้มระหว่างเกิดการหลั่งสารออกนอกเซลล์ หรืออีโคซานอย (eicosanoi) เป็นตัวส่งสัญญาณ
ระหว่างเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียงกัน 
         ไขมันที่เป็นฮอร์โมน ได้แก่ฮอร์โมนกลุ่มสเตอรอยด์ 
         ไขมันที่เป็นวิตามิน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค   
                                              พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน
                                         ภาพโครงสร้างของสเตรอยด์(คอเลสเทอรอล (cholesterol))
         พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน 
ข้อมูลเพิ่มเติม
           
           คนผอม 
           คนผอม คือ  คนที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ ความผอมส่งผลต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกับความอ้วน 
แต่คนผอมไม่จำเป็นต้องป่วยหรือมีความผิดปกติไปทุกคน คนผอมจำนวนหนึ่งอาจได้รับอาหารเพียงพอ 
มีร่างกายแข็งแรง ไม่แสดงความผิดปกติใด ๆ สามารถออกกำลังและทำงานได้ตามปกติ คนเหล่านี้
อาจมีรูปร่างผอมจากพันธุกรรมหรือทำงานมาก และในขณะเดียวกันความผอมก็มีผลกระทบกระเทือน
ต่อสุขภาพทางร่างกายและจิตใจได้ไม่น้อย
         สาเหตุของความผอม
         ความผอมอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ ดังต่อไปนี้
        1. การได้รับอาหารไม่เพียงพอ การขาดอาหารส่วนใหญ่เป็นผลมาจากปัญหาทางสุขภาพ
และปัญหาทางเศรษฐกิจ คนที่มีสุขภาพไม่ดีมักจะกินอาหารไม่ได้หรือคนที่มีฐานะยากจนจำเป็น
ต้องมีการประหยัด ไม่มีกำลังทรัพย์จะซื้ออาหารที่มีคุณภาพมาบริโภคได้เพียงพอ การขาดความรู้
เกี่ยวกับอาหารเป็นเหตุให้เลือกกินอาหารได้อย่างไม่ถูกต้อง กินอาหารไม่ครบส่วน หรือบางคนมีปัญหา
ทางจิตใจและอารมณ์ เช่น มีความเคร่งเครียด กังวล ตื่นเต้น กลุ้มใจ ก็จะทำให้เบื่ออาหารได้
        2. ร่างกายใช้พลังงานมาก มักเกิดจากการหักโหมทำงาน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความจำเป็น
บางอย่างจนมีเวลาพักผ่อนน้อย และกินอาหารไม่เพียงพอ
        3. เกิดจากโรคต่าง ๆ  ที่ทำให้คนผอมกว่าปกติได้ เช่น โรคที่เกี่ยวกับ
กระเพาะอาหาร โรคพยาธิ โรคอุจจาระร่วง โรคลำไส้ ทำให้การย่อยอาหารและการดูดซึมอาหาร
ที่ย่อยแล้วทำได้ไม่ดี
        4. พันธุกรรม บางคนมีรูปร่างผอมตามธรรมชาติ แต่ร่างกายแข็งแรง ดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ 
ลักษณะรูปร่างเช่นนี้จะถ่ายทอด สู่ลูกหลานโดยทางพันธุกรรมเช่นเดียวกับลักษณะทางกายอื่น ๆ
        ผลของความผอมต่อสุขภาพ
        โดยส่วนใหญ่ความผอมมักจะมีผลเสียต่อร่างกายน้อยกว่าความอ้วน แต่คนที่ผอมมากเกินไป
หรือผอมจากโรคและความผิดปกติทั้งร่างกายและจิตใจ อาจได้รับผลเสียหายหลายประการ ดังต่อไปนี้
        1.เสียรูปทรงและบุคลิก คนที่ผอมมาก ๆ จะมีรูปร่างไม่น่าดู บุคลิกไม่งามสง่า ไม่น่าเชื่อถือ
        2.ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องใช้กำลังกาย คนผอมจะทำงาน
ได้น้อยกว่าและเหนื่อยง่ายกว่าคนอื่น ๆ
        3. เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ คนที่ผอมเนื่องจากขาดอาหารหรือความผิดปกติของร่างกาย
มักจะมีภูมิต้านทานโรคน้อย
        4. เสียสุขภาพจิต สำหรับคนผอมที่ไม่พึงพอใจในรูปร่างของตน จะรู้สึกเป็นปมด้อย 
คนที่ผอมมากอาจหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม
        
การเพิ่มน้ำหนักตัว
        คนที่ผอมและมีปัญหาทางบุคลิกหรือสุขภาพควรหาทางแก้ไขเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียต่าง ๆ 
สำหรับคนผอมโดยทั่ว ๆ ไป มีวิธีปฏิบัติที่จะเพิ่มน้ำหนักตัวได้ดังนี้
        1. พยายามกินอาหารให้ครบทุกมื้อ อาจเพิ่มอาหารว่างหรือเครื่องดื่มระหว่างมื้อ
        2. จัดเวลากินอาหารให้เพียงพอไม่เร่งรีบ เวลากินอาหารควรให้เป็นเวลาที่จะพักผ่อน
ร่างกายและสมอง ไม่ควรนำเรื่องเคร่งเครียดมาคิดหรือพูดคุยขณะกินอาหาร
        3. ควรเพิ่มอาหารพวกไขมัน และโปรตีนเท่าที่จะรับได้ ลดอาหารพวกผักและผลไม้ซึ่งมี
แคลอรีต่ำ แต่ก็ควรให้ได้สารอาหารครบถ้วน
        4. พักผ่อนให้เพียงพอ
        5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น วิ่ง หรือเล่นกีฬาต่าง ๆ จะช่วยให้กินอาหารได้มากขึ้น
        พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน 
      ภาพจากนิทานเรื่อง
หมีกับคนเดินทาง (อ้วนผอม)
       (ที่มา  
https://thaifairytale.blogspot.com/2010_02_01_archive.html
 )

พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน   จะเห็นได้ว่าผอมมากก็ไม่ดีต่อสุขภาพนะคะ การมีร่างกายแข็งแรงและสมส่วน พอดี ๆ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ  พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน
      เบียดเบียน คือลาภอันประเสริฐแล้วค่ะ  จากเรื่องของ " ลิซซี เวลาซเกซ "ยังมีคนกล่าวหาว่า เธอเป็นโรค 
      "อโนเร็กเซีย" หรือ "โรคของคนอยากผอม" ซึ่งทำให้เธอรู้สึกหงุดหงิดใจมาก เพราะคนผอมมักอยากอ้วน 
            คนอ้วนมักอยากผอม  ดังนั้นเราทุกคนคงได้ข้อคิดแล้วว่าการมีร่างกายปกตินี้โชคดีที่สุดแล้วค่ะ  
                  
คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1. โครงสร้างของไขมันประกอบด้วยธาตุใดบ้าง
        2. ไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร
        3. ไขมันให้พลังงานเท่าใด
        4.  กรดไขมัน คืออะไร
        5.  ถ้าร่างกายขาดไขมันจะมีผลอย่างไร
        
กิจกรรมเสนอแนะ

       1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องไขมันเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต 
       2. ให้นักเรียนค้นคว้าและนำเสนอแนวทางในการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
       3. สำรวจปริมาณไขมันในอาหารประเภทต่าง ๆ ที่บริโภคในชีวิตประจำวัน

การบูรณาการ

        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย     นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับความสำคัญของไขมันต่อสุขภาพ
        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  นักเรียนนับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของไขมันและ
                                                         ทำสถิติผลิตภัณฑ์ใดมีส่วนประกอบของไขมันพบมากที่สุด                                                   
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาสภาพภูมิอากาศแบบใด เหมาะต่อการสะสมของไขมัน
        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  นักเรียนลองประดิษฐ์ตุ๊กตาคนผอม คนอ้วน
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา   นักเรียนเล่นกีฬาให้ร่างกายแข็งแรง
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ           นักเรียนวาดภาพโครงสร้างกรดไขมัน
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษของสารประกอบไขมัน
        พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วนพบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน

ขอขอบคุณ พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน พบ " คนประหลาด" กินอาหาร 60 มื้อต่อวันแต่ไม่อ้วน                             
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ  ดังนี้
     
      1. 
https://www.thairath.co.th/content/oversea/92733
      2. https://th.wikipedia.org/wiki/ไขมัน (สารอาหาร)
      3. https://th.wikipedia.org/wiki/ไขมัน
      4. https://www.pongrang.com/web/data/lern/dnfe5.nfe.go.th/ilp/42012/42012-02.htm
      5. https://learners.in.th/file/com6517/Slide1.JPG
      6. https://blog.swap-bot.com/wp-content/uploads/2007/04/icecream.jpg
      7. https://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science/pansre002/section3_p04.html
      8. https://www.rakball.net/Rakballhealth/pics/20080902875_02.jpg
      9. https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/25/web/image/51097.jpg
    
10.https://widget.sanook.com/static_content/full/graphic/2c62ba119304be32682b879dcc852afd_1204652241.gif
      11.https://i242.photobucket.com/albums/ff298/akapong999/glitter/love/01-10-2008_04.gif

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2836

อัพเดทล่าสุด