https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แก๊สที่โรงน้ำแข็งรั่ว MUSLIMTHAIPOST

 

แก๊สที่โรงน้ำแข็งรั่ว


628 ผู้ชม


ในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับความเย็นจะมีการใช้แก๊สแอมโมเนีย   

แก๊สโรงน้ำแข็งรั่วเจ็บครึ่งร้อย เมื่อเวลา 20.30 น. วันที่ 11 ก.ย. ร.ต.ท.อธิพงษ์ ไชยวัน ร้อยเวรสภ.เมืองหนองคาย รับแจ้งเกิดสารเคมีรั่วไหลภายในโรงน้ำแข็งเอเชีย บ้านหนองขาม หมู่ 10 ต.หนองกอมเกาะ มีคนงานและชาวบ้านสูดดมสารเคมีหลายราย จึงประสานหน่วยกู้ภัยมูลนิธิสว่างคงคาธรรมสถาน นำส่งโรงพยาบาลหนองคายและโรงพยาบาลหนองคายวัฒนา กว่า 50 ราย ในจำนวนนี้มีชาวต่างชาติ เด็กเล็ก และคนชรารวมอยู่ด้วย โดยส่วนใหญ่มีอาการแสบตา แสบจมูก แน่นหน้าอก บางรายมีโรคประจำตัวหอบหืดอยู่แล้ว ทำให้อาการกำเริบ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้เร่งปฐมพยาบาลและให้ออกซิเจน

ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสดออ

         จากประเด็นข่าวดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจว่าชนิดของแก๊สที่ใช้ในโรงน้ำแข็ง และอันตรายต่อสุขภาพของผู้ที่ได้รับแก๊ส

       เนื้อหาสาระสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
ช่วงชั้นที่ 4 สาระที่  3 : สารและสมบัติของสาร   ว 2.1 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการ
เปลี่ยนสถานะของสาร  การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

         ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ แก๊สแอมโมเนีย
“แอมโมเนีย” มีสถานะเป็นก๊าซ ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนรุนแรงมาก เราอาจจะเคยได้กลิ่นนี้ก็ได้ ที่เราเรียกว่า “เยี่ยวอูฐ” สำหรับดมเวลาเป็นลม แต่ถ้าเป็นก๊าซแอมโมเนียล้วนจะฉุนจนสำลัก บางทีก็ใช้ในลักษณะของสารละลาย เพราะสามารถละลายน้ำได้ดีมาก สารทำความสะอาดในบ้านเรือนอาจเป็นพวกแอมโมเนียผสมแอลกอฮอล เช่น น้ำยาล้างกระจก สำหรับก๊าซจะเป็นสารนำความเย็นบรรจุในแผงท่อโลหะของตู้เย็น หรือเครื่องทำความเย็นของโรงงาน 
อันตรายจากแอมโมเนีย
• ไอระเหยของแอมโมเนีย ทำให้เกิดการระคายเคืองและเกิดแผลไหม้ ต่อระบบทางเดินหายใจทำให้มีเสมหะ เกิดอาการหายใจสั้นๆ เจ็บหน้าอก ชัก หมดสติ และอาจทำให้เสียชีวิต หากหายใจเอาสารนี้เข้าไป หากสัมผัสแอมโมเนียจะทำให้ผิวหนังและตาไหม้ และสูญเสียการมองเห็น และถ้าสัมผัสกับแอมโมเนียในสภาพของเหลวจะทำให้เกิดแผลไหม้ เนื่องจากความเย็นจัด (Cold Burn)
• เนื่องจากแอมโมเนียเป็นก๊าซพิษ เมื่อเกิดการรั่วไหลจึงอาจทำให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงเสียชีวิตได้ อีกประการหนึ่ง เนื่องจากสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุแอมโมเนียรั่วไหล พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุการระบายไอของอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย มีโอกาสเกิดสูงกว่าการระเบิดของภาชนะบรรจุแอมโมเนียเป็นอันมาก ดังนั้นภาชนะหรือท่อบรรจุ(Ammonia Cylinders) จึงไม่นิยมติดตั้งกลอุปกรณ์นิรภัย (Safety Devices) ทั้งนี้เพื่อมิให้มีการระบายก๊าซออกจากภาชนะบรรจุได้โดยง่ายเมื่อมีอุณหภูมิสูง ดังนั้นภาชนะบรรจุแอมโมเนียจึงอาจจะระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อนจากเพลิงไหม้เป็นเวลานาน

        คำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
1. ในโรงน้ำแข็งน่าจะใช้แก๊สใดในกระบวนการผลิตน้ำแข็ง
2.  แก๊สดังกล่าวมีอันตรายต่อสุขภาพของคนอย่างไร

        กิจกรรมเสนอแนะมีรายละเอียดดังนี้
ให้นักเรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง "แก๊สแอมโมเนีย"  มีรายละเอียดดังนี้
1. ให้นักเรียนศึกษาข้อมูลพื้นฐานของ แก๊สแอมโมเนีย
2. ครูต้้งคำถามในชั้นเรียนเพื่อให้นักเรียนสามารถสรุปความเกี่ยวข้องของแก๊สแอมโมเนียกับการผลิตน้ำแข็ง
3. ให้นักเรียนสรุปอันตรายต่อสุขภาพหากได้รับแก๊สแอมโมเนียปริมาณมาก

        การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
- สุขศึกษาและพลศึกษา  การดูแลความปลอดภัยของชีวิตในโรงงานอุตสาหกรรม

 
        อ้างอิง/แหล่งที่มา
แก๊สแอมโมเนีย

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3160

อัพเดทล่าสุด