https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แผ่นดินไหวปรากฏการณ์เขย่าโลก(earthquake) MUSLIMTHAIPOST

 

แผ่นดินไหวปรากฏการณ์เขย่าโลก(earthquake)


949 ผู้ชม


การเกิดแผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือบางครั้งอาจเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง   

         สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ(ยูเอสจีเอส) รายงานว่าเกิดเหตุแผ่นดินไหวปานกลางทางตอน ใต้
ของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย วัดความรุนแรงได้ที่ระดับ 5.4 ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้ดินราว 35.5 กิโลเมตร ห่างจากเมืองเบงกูลูบนเกาะสุมาตรา ไปทางใต้ราว 126 กิโลเมตร และ อยู่ห่างจากเมืองลูบูคลิงเกาไปทางใต้ราว 204 กิโลเมตรแต่ไม่พบความเสียหายแม้จะมีแรงสั่นสะเทือนที่เมืองเปราบูมูลิห์ ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากกว่า 300 กิโลเมตรก็ตาม  (ที่มา สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ(ยูเอสจีเอส) และไทยรัฐออนไลน์  https://www.usgs.gov/pubprod/  ,  https://www.thairath.co.th/content/oversea/169081)

                                    แผ่นดินไหวปรากฏการณ์เขย่าโลก(earthquake)
                                                        ที่มา https://www.chaoprayanews.com/tag
         การเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือบางครั้งอาจ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะกระทบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหว การเกิดแผ่นดินไหวเกิดจากสาเหตุใด มีการวัดระดับความ รุนแรงอย่างไรนั้นมาดูกันค่ะ

                           


                                         "แผ่นดินไหว-สึนามิ"ถล่มญี่ปุ่น 11/3/2011 ที่มา youtube.com

เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่  6   กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

มาตรฐาน ว  6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์    
                             
เรื่อง  แผ่นดินไหว  (earthquake)
 
           แผ่นดินไหว (earthquake) เป็นปรากฏการณ์การสั่น สะเทือน หรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต 
                     แผ่นดินไหวปรากฏการณ์เขย่าโลก(earthquake)
                              ที่มา  https://www.lampangzero.com/show.php?Category=19&No=4621

       สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว
       แผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหิน ขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน  และแบ่งได้ 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ
      1.แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ  เป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
      2.แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์  เช่น การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่  การทำเหมืองในระดับลึก  การสูบน้ำใต้ดิน  การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน
               แผ่นดินไหวปรากฏการณ์เขย่าโลก(earthquake)
                   ที่มา https://www.showded.com/myprofile/mainblog.php? user=balagink_paiir&jnId=43304

       จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว
       จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ใน ชั้นแมนเทิล

       การเกิดแผ่นดินไหวในหนึ่งวัน
       นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการ สั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก ส่วนใหญ่การเกิดแผ่นดินไหว เกิดจากธรรมชาติแต่แผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเอง จากธรรมชาติ 
       
       จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" (epicenter) 
       ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า "จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" (epicenter) 
       
       เครื่องมือในการบันทึกการสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหว
       การสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนี้จะถูกบันทึกด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ไซสโมกราฟ โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและ คลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา จะเรียกว่า "วิทยาแผ่นดินไหว" (Seismology)

       แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว 
       แหล่งกำเนิดจะอยู่ที่บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก โดย 80 เปอร์เซ็นของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น จะเกิดรอบ ๆ มหาสมุทรแปซิฟิก หรือที่ รู้จักกันในชื่อ "วงแหวนแห่งไฟ" (Ring of Fire)
      ในเขตอื่น ๆ  ที่พบมักจะเกิดในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านแถบประเทศแถบยุโรปตอนใต้ เช่น อิตาลี กรีซ จนถึงแถบอนาโตเลีย ซึ่งคือประเทศตุรกี ผ่านบริเวณตะวันออกกลาง 
จนถึงเทือกเขาหิมาลัย บริเวณประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน จีน และพม่า 
       แต่อย่างไรก็ตาม เคยเกิดแผ่นดินไหวในประเทศอังกฤษ ซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่ในแนวรอยเลื่อนขนาดใหญ่ แต่เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ๆ เท่า นั้น
       
        แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ ในประเทศไทย 
        เกิดจากแนวรอยเลื่อนต่าง ๆ ในประเทศไทย  และแนวรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน พม่า จีนตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตย   แนวรอยเลื่อนภายในประเทศซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันตก และแนวรอยเลื่อนบางแห่งเท่านั้นมีความสัมพันธ์กับเกิดแผ่นดินไหว เช่น รอย เลื่อนแพร่ รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และ รอยเลื่อนระนอง เป็นต้น
                                       แผ่นดินไหวปรากฏการณ์เขย่าโลก(earthquake)
                                                        การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
        ที่มา https://www.most.go.th/tsunami/index.php/earthquake/34-basic-earthquakes/22-earthquake.html
 
        มาตราริกเตอร์วัดความแรงของแผ่นดินไหว

     ริกเตอร์     ความ รุนแรง                              ลักษณะที่ปรากฏ 
      1 - 2.9        เล็กน้อย     ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงการมาของคลื่น มีอาการวิงเวียนเพียงเล็กน้อยในบางคน 
      3 - 3.9        เล็กน้อย     ผู้ คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนมีอะไรมาเขย่าอาคารให้สั่นสะเทือน 
      4 - 4.9       ปานกลาง    ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และ นอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน
                                             วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว 
      5 - 5.9         รุนแรง       เครื่องเรือน และวัตถุมีการ เคลื่อนที่ 
      6 - 6.9        รุนแรงมาก          อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย 
      7.0 ขึ้นไป   รุนแรงมากมาก  เกิดการสั่นสะเทือนอย่างมากมาย ส่งผลทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
                                                      เสีย หายอย่างรุนแรง แผ่นดินแยก วัตถุบนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น 
     
      มาตราเมร์กัลลีวัดความแรงของแผ่นดินไหว

   เมร์กัลลี    ลักษณะที่ปรากฏ 
     I.          อ่อนมาก ผู้คนไม่รู้สึก ต้องทำการตรวจวัดด้วยเครื่อง มือเฉพาะทางเท่านั้น 
     II.         คนที่อยู่ในตึกสูง ๆ เริ่มรู้สึกเพียงเล็กน้อย 
     III.        คนในบ้านเริ่มรู้สึก แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก 
     IV.       ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างมาทำให้บ้านสั่นเบา ๆ 
     V.        คนส่วนใหญ่รู้สึก ของเบาในบ้านเริ่มแกว่งไกว 
     VI.       คนส่วนใหญ่รู้สึก ของหนักในบ้านเริ่มแกว่งไหว 
    VII.       คนตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มมีรอยร้าว 
    VIII.      อาคารธรรมดาเสียหายอย่างมาก 
    IX.        สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดีตามหลักวิศวกรรม เสียหายมาก 
    X.         อาคารพัง รางรถไฟงอเสียหาย 
    XI.        อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน พื้นดินอ่อน 
    XII.       ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน

    การสังเกตการเกิดแผ่นดินไหว
    ลักษณะทางกายภาพของเปลือกโลก 
      1.แรงเครียดในเปลือกโลกเพิ่มขึ้น โดยใต้ผิวโลกจะมีความร้อนสูงกว่าบนผิวโลก จึงทำให้เปลือกโลกเกิดการขยายตัว หดตัวไม่สม่ำ เสมอ โดยที่เปลือกโลกส่วนล่างจะมีการขยายตัวมากกว่า
      2.การเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก และแรงโน้มถ่วงของโลก
      3.การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก
      4.น้ำใต้ดินมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวและการขยายตัวของเปลือกโลกใต้ชั้นหินรองรับน้ำ
      5.ปริมาณแก๊สเรดอนเพิ่มขึ้น
    การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ 
      1.สัตว์เลี้ยง สัตว์บ้านทั่วไปตื่นตกใจ เช่น สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี
      2.แมลงสาบจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน
      3.หนู งู วิ่งออกมาจากที่อาศัย ถึงแม้ในบางครั้งจะเป็นช่วงฤดูจำศีลของพวกมัน
      4.ปลากระโดดขึ้นมาจากผิวน้ำ
บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว ถ้าบริเวณใดเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง โอกาสเกิดแผ่นดินไหวก็มีตามมาอีก และถ้าสถานที่นั้นเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรง ก็มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวซ้ำขึ้นอีกเช่นกัน 
นอกจากนี้บริเวณที่มีภูเขาไฟระเบิดมักจะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นก่อนหรือหลังภูเขาไฟระเบิดได้

        ผลกระทบของการเกิดแผ่นดินไหว
        ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย ไฟไหม้ แก๊สรั่ว ท่อระบายน้ำและท่อ ประปาแตก คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางการคมนาคมเสียหายและถูกตัดขาด ถนนและทางรถไฟบิดเบี้ยวโค้งงอ เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงทางเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้อง การคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศหยุดชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก ซึ่งมีผลต่อการลงทุน การประกันภัย และ ในกรณีที่แผ่นดินไหวมีความรุนแรงมาก เมืองทั้งเมืองอาจถูกทำลายหมด และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
         ถ้าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้ทะเล แรงสั่นสะเทือนอาจจะทำให้เกิดเป็นคลื่นขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "สึนา มิ" (Tsunami) มีความเร็วคลื่น 600-800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลเปิด ส่วนใหญ่คลื่นจะมีความสูงไม่เกิน 1 เมตร และสังเกตได้ยาก แต่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเคลื่อนถึงใกล้ชายฝั่ง โดยอาจมีความสูงถึง 60 เมตร สามารถก่อให้เกิดน้ำท่วม สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับสิ่งก่อสร้างที่ติดอยู่ชายฝั่งทะเล

      ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
     1. ก่อนเกิดแผ่นดินไหวเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น ถ่านไฟฉาย ไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง น้ำดื่ม น้ำใช้ อาหารแห้ง ไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับหรือ กรณีฉุกเฉินอื่น ๆ
     2.จัดหาเครื่องรับวิทยุ ที่ใช้ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ สำหรับเปิดฟังข่าวสารคำเตือน คำแนะนำและสถานการณ์ต่าง ๆ
     3.เตรียมอุปกรณ์นิรภัย สำหรับการช่วยชีวิต
     4.เตรียมยารักษาโรค และเวชภัณฑ์ให้พร้อมที่จะใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
     5.จัดให้มีการศึกษาถึงการปฐมพยาบาล เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรืออันตรายให้พ้นขีดอันตรายก่อนที่จะถึงมือ แพทย์
     6.จำตำแหน่งของวาล์ว เปิด-ปิดน้ำ ตำแหน่งของสะพานไฟฟ้า เพื่อตัดตอนการส่งน้ำ และไฟฟ้า
     7.ยึดเครื่องเรือน เครื่องใช้ไม้สอย ภายในบ้าน ที่ทำงาน และในสถานศึกษาให้ความมั่นคงแน่นหนา ไม่โยกเยกโคลงแคลงไปทำความเสียหายแก่ ชีวิตและทรัพย์สิน
     8.ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ ไว้ในที่สูง เพราะอาจร่วงหล่นมาทำความเสียหายหรือเป็นอันตรายได้
     9.เตรียมการอพยพเคลื่อนย้าย หากถึงเวลาที่จะต้องอพยพ
   10.วางแผนป้องกันภัยสำหรับครอบครัว ที่ทำงาน และสถานที่ศึกษา มีการชี้แจงบทบาทที่สมาชิกแต่ละบุคคลจะต้องปฏิบัติ มีการฝึกซ้อมแผนที่จัดทำไว้ เพื่อเพิ่มลักษณะ และความคล่องตัวในการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
   11.ขณะเกิดแผ่นดินไหวตั้งสติ อยู่ในที่ที่แข็งแรงปลอดภัย ห่างจากประตู หน้าต่าง สายไฟฟ้า เป็นต้น
   12.ปฏิบัติตามคำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครัด ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป
   13.ไม่ควรทำให้เกิดประกายไฟ เพราะหากมีการรั่วซึมของแก๊สหรือวัตถุไวไฟ อาจเกิดภัยพิบัติจากไฟไหม้ ไฟลวก ซ้ำซ้อนกับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นอีก
   14.เปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำแนะนำคำเตือนต่าง ๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง
   15.ไม่ควรใช้ลิฟต์ เพราะหากไฟฟ้าดับอาจมีอันตรายจากการติดอยู่ภายใต้ลิฟต์
   16.มุดเข้าไปนอนใต้เตียงหรือตั่ง อย่าอยู่ใต้คานหรือที่ที่มีน้ำหนักมาก
   17.อยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งปรักหักพังร่วงหล่นลงมา
   18.อยู่ห่างจากสิ่งที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
   19.ให้รีบออกจากอาคารเมื่อมีการสั่งการจากผู้ที่ควบคุมแผนป้องกันภัย หรือผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้
    20.หากอยู่ในรถ ให้หยุดรถจนกว่าแผ่นดินจะหยุดไหวหรือสั่นสะเทือนหลังเกิดแผ่นดินไหว
    21.ตรวจเช็คการบาดเจ็บ และการทำการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาต่อไป
    22.ตรวจเช็คระบบน้ำ ไฟฟ้า หากมีการรั่วซึมหรือชำรุดเสียหาย ให้ปิดวาล์ว เพื่อป้องกันน้ำท่วมเอ่อ ยกสะพานไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด หรือไฟฟ้าช็อต
    23.ตรวจเช็คระบบแก๊ส โดยวิธีการดมกลิ่นเท่านั้น หากพบว่ามีการรั่วซึมของแก๊ส (มีกลิ่น) ให้เปิดประตูหน้าต่าง แล้วออกจากอาคาร แจ้งเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่าย พลเรือนผู้ที่รับผิดชอบได้ทราบในโอกาสต่อไป
    24.เปิดฟังข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำ จากทางราชการโดยตลอด
    25.ไม่ใช้โทรศัพท์โดยไม่จำเป็น
    26.อย่ากดน้ำล้างส้วม จนกว่าจะมีการตรวจเช็คระบบท่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะอาจเกิดการแตกหักของท่อในส้วม ทำให้น้ำท่วมเอ่อหรือส่งกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
    27.ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย และผู้ไม่มีหน้าที่หรือไม่เกี่ยวข้อง ไม่ควรเข้าไปในบริเวณนั้น ๆ หากไม่ได้รับการอนุ ญาต
    28.อย่าออกจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นใต้น้ำซัดฝั่งได้ แม้ว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม
      


               คลิปไฮไลท์ สึนามิ ถล่มญี่ปุ่น หลัง แผ่นดินไหว 8 9 ริกเตอร์ 11 มี ค 2011 ที่มา youtube.com
 
** พบคำตอบแล้วนะคะว่าสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวหลัก ๆ เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก และมีบางครั้งที่เกิดจากการ กระทำของมนุษย์ค่ะ **

คำถาม VIP ชวนคิด
        1. แผ่นดินไหวเกิดจากสาเหตุใด
        2. เครื่องมือการบันทึกการสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหว คืออะไร
        3. "วงแหวนแห่งไฟ" (Ring of Fire) คืออะไร
        4. ความแรงของแผ่นดินไหวระดับใดทำให้เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่ 
        5.  มาตราริกเตอร์ คืออะไร
        
กิจกรรมเสนอแนะ

       1. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต 
       2. ค้นคว้าและนำเสนอแนวทางในการป้องกัน และแนวปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

การบูรณาการ

        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย      นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยว กับการเกิดแผ่นดินไหว
        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ทำสถิติการเกิดแผ่นดินไหวที่พบในประเทศไทย และทั่ว โลก          
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาสภาพภูมิประเทศที่มักการเกิดแผ่นดินไหว
        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  นักเรียนประดิษฐ์แบบจำลองการเกิดแผ่นดินไหว
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา   นักเรียนเล่นกีฬาเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ            นักเรียนวาดภาพผลกระทบแผ่นดินไหว
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษของการเกิดแผ่นดินไหว

 ขอขอบคุณ                        
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ
  ดังนี้
     
      1. https://www.thairath.co.th/content/oversea/169081
      2. https://th.wikipedia.org/wiki/แผ่นดินไหว
      3. https://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/ 4/earthquake/index2.htm
      4. https://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=balagink_paiir&jnId=43304
      5. https://www.thaiseafrog.com/final/view.php?No=1004&Topic
      6. https://www.lampangzero.com/show.php?Category=19&No=4621
     
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3693

อัพเดทล่าสุด