https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
“ใครหูตึง...ยกมือขึ้น... อ้าวไม่มีใครยกเลยแสดงว่าหูไม่ตึงหรือว่าไม่ได้ยิน” MUSLIMTHAIPOST

 

“ใครหูตึง...ยกมือขึ้น... อ้าวไม่มีใครยกเลยแสดงว่าหูไม่ตึงหรือว่าไม่ได้ยิน”


662 ผู้ชม


สาเหตุของโรคหูตึง   

“ใครหูตึง...ยกมือขึ้น... อ้าวไม่มีใครยกเลยแสดงว่าหูไม่ตึงหรือว่าไม่ได้ยิน”“ใครหูตึง...ยกมือขึ้น... อ้าวไม่มีใครยกเลยแสดงว่าหูไม่ตึงหรือว่าไม่ได้ยิน”

ประเด็นข่าว  สาเหตุของโรคหูตึงโดยไม่รู้ตัว 
เนื้อหา  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ประถมศึกษาปีที่  6 ระดับช่วงชั้นที่ 2
เนื้อเรื่อง นักวิทยาศาสตร์วัดความเข้มของเสียงเป็นเดซิเบล (decibel) คนปกติสามารถได้ยินเสียงที่ระดับความเข้ม 25 เดซิเบล คำพูดกระซิบเบาๆ ทำให้เกิดเสียงที่มีความเข้มประมาณ 35 เดซิเบล บุคคลใดที่มีความยากลำบากในการได้ยินเสียงที่มีความเข้มระดับนี้ เราถือว่าเขาผู้นั้นเป็นผู้มีความบกพร่องในการได้ยิน ตามปกติธรรมดาคนเราเวลามีอายุมากขึ้น มักจะมีปัญหาสุขภาพด้านหูกับแทบทุกคน สถิติที่ได้จากการสำรวจชี้บอกว่าในคนวัย 60 ปี จากคน 100 คน จะมีคนหูตึงประมาณ 25 คน เขาเหล่านี้ประสบความยุ่งยากในการสังสรรค์และสื่อสารกับสังคมรอบข้างและหากอาการหูตึงของเขารุนแรง ผลกระทบทางจิตใจที่ติดตามมาก็จะรุนแรงตามไปด้วย เพราะเขาจะรู้สึกโดดเดี่ยว อ้างว้าง จากการที่ไม่ได้รับสัญญาณเสียงใดๆ เลย จนในที่สุดเขาจะแยกตัวตัดขาดจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง
                 หูเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่นักวิทยาศาสตร์ยังมีความเข้าใจน้อย ความรู้พื้นฐานในการได้ยินของคนมีว่า เวลาคลื่นเสียงผ่านเข้าไปในหู แก้วหูจะสั่น จังหวะการสั่นขึ้นลงของแก้วหูจะถูกลำเลียงส่งต่อไปยังหูส่วนใน ภายในบริเวณหูส่วนในมีเซลล์ที่มีขนเป็นกระจุก เรียงรายอยู่ราว 30,000 เซลล์ เราเรียกเซลล์เหล่านี้ว่า เซลล์ขน (hair cell) เซลล์ขนทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งต่อไปยังสมอง จากนั้นสมองก็จะทำหน้าที่แปลความหมายสัญญาณที่ได้รับ ออกมาว่าเป็นเสียงพูดหรือเสียงดนตรี เป็นต้น
สาเหตุ 
           ที่หูคนสูญเสียความสามารถในการได้ยินนั้น มี 2 ประการคือ
(1) การสูญเสียเนื่องจากมีสิ่งกีดขวาง เช่น ขี้หู หรือน้ำในช่องหู แพทย์สามารถแก้ไขอาการบกพร่องอันเกิดจากสาเหตุอันเกิดจากสาเหตุนี้ได้โดยการผ่าตัดหรือไม่ก็ใช้เครื่องช่วยฟัง 
(2) การสูญเสียเนื่องจากประสาทหูเสื่อมในกรณีหลังนี้เครื่องเสียงสามารถเดินทางเข้าไปหูส่วนในได้ แต่เซลล์ขนในหูส่วนในตายหรือหมดสมรรถภาพไปแล้ว ดังนั้นสัญญาณต่างๆ จึงไม่สามารถเดินทางไปถึงสมองได้ อาการหูตึงในผู้สูงอายุ 80% มักจะเกิดจากสาเหตุนี้
ทุกวันนี้ตำราแพทย์ได้กล่าวว่า เมื่อใดก็ตามที่เซลล์ขนในหูของคนตายไป คนๆ นั้นจะหมดหวังที่จะได้ยินเสียงอีก เพราะเซลล์ขนนั้นเวลาตายไป ร่างกายไม่สามารถสร้างเซลล์ขนขึ้นมาใหม่อีกได้ 
แต่ขณะนี้มีรายงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า เซลล์ขนในหูของสัตว์เลือดอุ่น เช่น ไก่ และนก เวลาที่ตายไปแล้ว ร่างกายของสัตว์เหล่านี้สามารถสร้างเซลล์ขนขึ้นใหม่ได้อีก J. Cornin แห่งมหาวิทยาลัย Virginia เชื่อว่า การค้นพบดังกล่าว เป็นการค้นพบที่สำคัญมาก เพราะหากเรารู้วิธีการที่สัตว์ใช้ในการสร้างเซลล์ ขน คนหูตึงทั้งหลายก็มีโอกาสจะได้ยินเสียงอีก เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 Cornin ได้พบว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น หูตะเภา ก็มีความสามารถในการสร้างเซลล์ขนได้อีกเช่นกันคำถามที่เร่งด่วนและตรงประเด็น ก็คือ การค้นพบความสามารถในการสร้างเซลล์ขนของสัตว์นั้นเกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้างเซลล์ขนในหูของคนอย่างไร เพราะหูคนนั้นยุ่งยากและซับซ้อนยิ่งกว่าหูสัตว์หลายแสนเท่า
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า หมอจะมีวิธีรักษาคนหูตึง เพราะประสาทหูเสื่อม ให้หายเป็นปกติได้ในอีก 5-10 ปีข้างหน้าครับ 
ประเด็นอภิปราย
1. การฟังเสียงระดับใดจึงจะเหมาะในการฟัง
2. สาเหตุใดบ้างที่มีผลต่อความสามารถในการได้ยินเสียง
3. ควรหลีกเลี่ยงเสียงที่ทำให้เกิดสาเหตุของหูตึงได้อย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ควรนำความรู้เรื่องหูมาอภิปรายถึงผลดี ผลเสียของการได้ยินเสียงที่เบามากๆ
2. ควรสรุปความรู้ในรูปของMind Mapping
แหล่งให้ความรู้ที่มีประโยชน์

https://www.thaigoodview.com/node/48360

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3931

อัพเดทล่าสุด