https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เชื้ออีโคไล โอ 104 สายพันธุ์ใหม่ MUSLIMTHAIPOST

 

เชื้ออีโคไล โอ 104 สายพันธุ์ใหม่


577 ผู้ชม


เชื้อ "อีโคไลโอ" ที่แพร่ระบาดอยู่ในยุโรปโดยเฉพาะในเยอรมนี เป็นเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน   

1.บทนำ
             เชื้ออีโคไล โอ 104 สายพันธุ์ใหม่ ระบาดในยุโรป มีผู้ล้มป่วยกว่า 1,600 คน ใน 10 ประเทศในยุโรป
 และเสียชีวิตอย่างน้อย 18 คน โดยมีผู้ป่วยราว 500 คน ที่เริ่มมีอาการไตมีปัญหา
             สำนักข่าวเอพี เอเอฟพี และรอยเตอร์รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเชื้อ "อีโคไลโอ" ที่แพร่ระบาดอยู่ในยุโรปโดยเฉพาะในเยอรมนี  เป็นเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน และมีการตั้งข้อสงสัยว่าเชื้อมาจากมะเขือเทศ แตงกวา และผักกะหล่ำเชื้ออีโคไล โอ 104 สายพันธุ์ใหม่

อ่านเพิ่มเติมได้จากที่มา : https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1307103862&grpid=00&catid=&subcatid=
2. ประเด็นจากข่าว
       Escherichia coli คืออะไร
3. เนื้อหาสาระใน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สาระที่  ๑ สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
4. เนื้อเรื่อง
        
            Escherichia coli ("เอสเชอริเชีย โคไล" หรือ "เอเชอรีเกีย โคไล" หรือเรียกโดยย่อว่า E. coli (อี. โคไล)
 เป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ แต่อาการมักไม่รุนแรงเพราะทั้งเด็ก และผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานอยู่บ้างแล้ว เนื่องจาก ได้รับเชื้อนี้เข้าไปทีละน้อยอยู่เรื่อยๆ เชื้อนี้มักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ หรือ มือของผู้ประกอบอาหาร ปกติเชื้อเหล่านี้อาจพบในอุจจาระได้อยู่แล้วแม้จะไม่มีอาการอะไรการติดเชื้อในทางเดินอาหาร
              คุณสมบัติที่ทำให้เกิดโรคE. coli ในทางเดินอาหารอาจแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ตามคุณสมบัติทางวิทยาภูมิคุ้มกันและคุณสมบัติในการทำให้เกิดโรค
 การแบ่งชนิดตามคุณสมบัติที่ทำให้เกิดโรคอาจแบ่งได้ดังนี้

Enterotoxigenic E. coli (ETEC) ที่สร้างสารซึ่งเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้ท้องเสีย
Enteropthogenic E. coli (EPEC)
Enteroinvasive E. coli (EIEC) ซึ่งรุกรานเซลล์เยื่อบุลำไส้ คล้ายโรคบิดจากเชื้อชิเกลลา ทำให้มีไข้สูง ท้องเสียรุนแรง
Enterohemorrhagic E. coli (EHEC) ทำให้มีถ่ายเป็นเลือด เชือในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือเชื้อชนิด O157:H7 
นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิด Hemolytic-uremic syndrome และไตวายเฉียบพลันได้
Enteroaggregative E. coli (EAEC)
                     เชื้ออีโคไล โอ 104 สายพันธุ์ใหม่เชื้ออีโคไล โอ 104 สายพันธุ์ใหม่

เชื้ออีโคไล

ที่มา: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/bc/E_coli_at_10000x%2C_original.jpg
                 

วิธีการป้องกันเชื้ออีโคไล 

                   เชื้ออีโคไล มักปนเปื้อนในอาหาร ผักผลไม้ วีธีป้องกัน เช่น การปลอกเปลือกผลไม้ก่อนรับประทาน  การแช่ผักและผลไม้ในน้ำที่ใส่สารสำหรับล้างผักที่ปลอดภัย เช่น ด่างทับทิม ผงฟู น้ำส้มสายชู เกลือ โดยควรแช่ประมาณ 10-15 นาที หลังจากนั้นนำมาล้างน้ำสะอาดต่ออีก 2-3 นาที 
                   สำหรับร้านอาหารที่เป็นห่วงเรื่องความสะอาด เพราะมีการรับประทานผักสดอยู่เป็นประจำ 
ซึ่งอาจปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล สารเคมี ยาฆ่าแมลง พยาธิ เช่น ร้านขายอาหารเวียดนาม ร้านขายส้มตำ 
ควรจะล้างผักให้สะอาดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค นอกจากนี้คนที่ปรุงอาหารก็ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งด้วยเช่นกัน

ที่มา: นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย 
https://webboard.pooyingnaka.com/show.php?Category=story&No=34973


5.  ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน  
       นักเรียนคิดว่าสารปนเปื้อนในอาหารนอกจาก เชื้ออีโคไล มีอะไรบ้าง
       นักเรียนมีวิธีป้องสารปนเปือนในอาหารได้อย่างไร


6.   กิจกรรมเสนอแนะ

      นักเรียนสืบค้น และวิธีตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารจากโรงอาหารในโรงเรีย โดยใช้ชุดตรวจสอบ เช่น ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง 
ชุดทดสอบความสะอาดของภาชนะสัมผัสอาหารและมือ (สามารถสั่งซื้อชุดทดสอบอาหารได้จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)
7.  บูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น
  
    ภาษาอังกฤษ  
    สุขศึกษา
8.  อ้างอิง
https://webboard.pooyingnaka.com/show.php?Category=story&No=34973
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/
https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1307103862&grpid=00&catid=&subcatid=

https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1307103862&grpid=00&catid=&subcatid= 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4049

อัพเดทล่าสุด