ล่อ..ลุย ลำเลียงของค้นหาทหารกล้าแห่งแบล๊กฮอว์ก MUSLIMTHAIPOST

 

ล่อ..ลุย ลำเลียงของค้นหาทหารกล้าแห่งแบล๊กฮอว์ก


986 ผู้ชม


ล่อ ถูกใช้ในภาระกิจค้นหาผู้ประสบอุบัติเหตุแบล๊กฮอว์ก ล่อคือสัตว์ประเภทไหนและคุณสมบัติใดของล่อจึงทำให้ถูกมอบหมายภารกิจนี้   

        ข่าวทหารกล้า 9 นาย บนเครื่องบินแบล๊กฮอว์ก ที่ออกปฏิบัติการเพื่อรับศพเพื่อนทหารที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ฮ.ฮิวอี้ประสบอุบัติเหตุ ด้วยอุดมการณ์ไม่ทิ้งเพื่อนทหารไว้ข้างหลังแม้จะเหลือเพียงศพ แต่กลับต้องเกิดประสบอุบัติและไม่ทราบชะตากรรมสร้างสะเทือนใจให้คนไทยอีกครั้งหนึ่ง ทำให้คนไทยต้องภาวนาให้ทุกท่านปลอดภัย       
          การเดินทางเพื่อค้นหาทหารใช่สัตว์ชนิดหนึ่งนั้นคือ ล่อ หลายคนสงสัยว่าล่อมีลักษณะอย่างไรและเหตุใดจึงได้รับภาระกิจสำคัญนี้
       วันนี้ครูจะพามารู้จักล้อกันค่ะ

 

(ภาพไอคอนจาก :  https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdOVEl5TURjMU5BPT0=&sectionid=TURNd01RPT0
&day=TWpBeE1TMHdOeTB5TWc9PQ)

 

        

1. คำถามเร้าใจ สู่การอภิปราย

1. ล่อมีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกับสัตว์ชนิดใด

                                         รูปที่ 1 ล่อ

        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน   ล่อ น. สัตว์พันทางที่เกิดจากการผสมระหว่างลากับม้า ใช้เป็นสัตว์ต่าง.
         ล่อ (Mule) เกิดจากลาเพศผู้และม้าเพศเมีย ม้าและลาเป็นสัตว์คนละสปีชี่ส์(Species) และมีจำนวนโครโมโซมความแตกต่างกัน ลูกที่เกิดในรุ่นที่ 1 (F1)  จะมีความแตกต่างกับลูกที่เกิดจากลาตัวเมียกับม้าตัวผู้1ที่เรียกว่าฬอ ล่อจะง่ายกว่าที่จะได้รับม้าฬ่อ(Hinny) ทั้งล่อตัวผู้และตัวเมียต่างก็เป็นหมัน

       

ล่อ..ลุย ลำเลียงของค้นหาทหารกล้าแห่งแบล๊กฮอว์ก

รูปที่ 2 ความแตกต่างระหว่างล่อกับฬอ

การจัดจำแนกทางวิทยาศาสตร์ของล่อ

Kingdom:Animalia

      Phylum : Chordata

           Class : Mammalia

                 Order : Perissodactyla

                        Family : Equidae

                             Genus : Equus

                                   Species : Equus asinus x Equus caballus

(https://en.wikipedia.org/wiki/Mule : กมลรัตน์ ฉิมพาลี ผู้แปล)

              ถึงแม้ว่าล่อกับฬอจะมีสายเลือดมาจากม้าและลาคนละครึ่ง แต่ก็มีความแตกต่างกันคือล่อได้ลักษณะที่ดีจากม้าและลา มีความแข็งแรง ทรหด อดทน ซึ่งเรียกว่ามี Hibrid vigor ส่วนฬอนั้นไม่มีคุณลักษณะนี้ ฉะนั้นล่อของกองพันสัตว์ต่างจึงได้จากการผสมของพ่อลากับแม่ม้าเท่านั้น
              ล่อมีลักษณะของลำตัว(Body) ได้มาจากม้า แต่ได้ลักษณะส่วนหัว หู ขา (Extremities) มาจากลา ล่อจะมีลักษณะหูยาว มีแผงคอ (Mane) สั้นและบางกว่าม้า   มีตะโหนก (Withers ) ต่ำและหลังตรง    ทำให้บรรทุกน้ำหนักได้ดี  ล่อมีส่วนหัวเล็กกว่าม้าเล็กน้อย ส่วนสะโพกและไหล่ก็เล็กกว่าม้า มีอกแคบและตื้นกว่า มีขาตรงเหมือนลา  มีกีบเล็ก  แข็งและตั้งตรง ทำให้เดินในพื้นที่ที่แข็ง  ขรุขระ และปีนภูเขา ได้ดีกว่าม้า  ล่อได้รับความเฉลียวฉลาด (Intelligent ) และความแข็งแกร่ง(Strength ) มาจากลาได้รับความว่องไวปราดเปรียวมาจากม้า

ขีดความสามารถของล่อ (Advantages of Mule )
        เนื่องจากล่อ  ได้รับคุณลักษณะที่ดีมาจากม้าและลา    ทำให้ล่อมีขีดความสามารถดังนี้
         1.มีความแข็งแรง ทรหด อดทน สามารถตรากตรำในพื้นที่ที่ทุรกันดาร ภูมิอากาศแปรปรวนได้ดี
         2.มีอายุยืนยาว และอายุในการทำงานนานกว่า แต่ถึงวัยเป็นหนุ่มสาว (Maturing) ช้ากว่าม้า
         3.สามารถกินอาหารที่มีคุณค่าต่ำได้และกินปริมาณน้อยกว่าม้า
         4.มีความเฉลียวฉลาดมากกว่าม้า   ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นว่าล่อนั้นดื้อ เชื่องช้าแต่แท้จริงแล้วล่อนั้นมีความเฉลียวฉลาด   สามารถจดจำอันตรายที่เคยเกิดขึ้นได้     ดังนั้นจะพบว่าล่อมักจะไม่ค่อยประสพอุบัติเหตุบ่อยเท่าม้า   ไม่ว่าจะเป็น   การถูกลวดหนามเกี่ยว  หกล้ม  ขาแพลง  หรือขาหัก    แต่ถ้าล่อกลัวหรือสงสัยในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ  จะดื้อมาก  บังคับยาก เนื่องจากมีสัญชาติญาณการระแวงภัยสูงกว่าม้า   ล่อมีความสามารถในการเรียนรู้ได้เร็ว  ยากในการบังคับ แต่ก็ง่ายต่อการฝึกให้ทำงานไม่ตื่นตกใจง่ายเหมือนกับในม้า ล่อมักไม่มีปัญหาในเรื่องอาการเสียด(Colic)หรือขากระเพลก(Lameness)บ่อยเท่าม้า แต่ในการให้วัคซีนป้องกันโรคและการให้ยาถ่ายพยาธิต้องให้เช่นเดียวกับม้า
         ล่อยังมีขีดความสามารถในการต่อสู้กับศัตรูที่จะมาทำร้าย โดยการเตะ ล่อจะเตะได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำสูง แต่ถ้าล่อเตะผิดแสดงว่ามันตั้งใจที่เตะไม่ให้โดนหรือแสดงแค่ขู่เท่านั้น
                                               
                                                     รูปที่ 3 ขีดความสามารถของล่อ
ความสมบูรณ์พันธุ์ของล่อ (Fertility in Mule)

         ล่อนั้นส่วนใหญ่จะเป็นหมัน ล่อตัวผู้เป็นหมันแทบจะทั้งหมด   ส่วนล่อตัวเมียนั้นบางครั้งอาจจะมีลูกได้  หากได้รับการผสมจากพ่อม้าหรือพ่อลา   จากสถิติพบว่ามีแม่ล่อ 60 ตัวให้ลูก   บางครั้งให้ลูกแฝด   ก็เคยปรากฏ
              สำหรับล่อตัวผู้ที่ใช้งานราชการของกองพันสัตว์ต่างนั้นทุกตัวจะเป็นล่อตอน โดยการผ่าตัดเอาอัณฑะออกทั้งสองข้าง เพื่อลดความก้าวร้าว  (Aggressive)  ทำให้ง่ายต่อการบังคับใช้งาน
          การที่ล่อส่วนใหญ่เป็นหมันเพราะมีข้อเสียทางด้านพันธุกรรมเช่น
          1.   ระบบสืบพันธุ์ของล่อเพศเมียมีช่องคลอดเล็กมาก, Sertoli cellsและSpermatogoniaของล่อเพศผู้จะถูกทำลายไป
          2.  ปกติม้าจะมี โครโมโซม 64คู่ ส่วนลามี 62 คู่เมื่อผสมได้เป็นล่อแล้วจะมีโครโมโซม 63 คู่ 
ดังนั้นโครโมโซมของล่อจึงเป็นคี่ไม่สามารถแยกตัวได้เมื่อผสมพันธุ์
          3.  Follicle  ของล่อเพศเมีย เป็นเพียงถุงลมเล็กๆ ไม่ใช่ Ovum
          4.  Sperm  ของล่อ มีหางสั้นมาก ยาวเพียง 2 เท่าของตัว เทียบกับม้าซึ่งมีหางยาว 8-10เท่า จึงเคลื่อนไหวได้ช้ามาก(https://www.acspclub.com/index.php?topic=143.0)

 

ล่อ กับตำนานทางศาสนา

              เจ้าล่อเป็นสัตว์พาหนะยอดนิยมของเหล่ากษัตริย์ในการเดินทางไกล พวกโจรสลัดในท้องทะเลทรายก็มักใช้ล่อขี่ไปทำธุระอยู่เนืองๆ เพราะมันสามารถแบกสัมภาระที่หนักอึ้งได้อย่างทรหดอดทน ชาวอาหรับจึงกล่าวขานกันว่า เจ้าล่อคือพาหนะของผู้พิพากษา (กอฎี), ผู้นำผู้ทรงธรรมปราชญ์และบัณฑิต ตลอดจนผู้ดีแปดสาแหรก และชายฉกรรจ์ เจ้าล่อเป็นพาหนะที่เหมาะทั้งชายและหญิงในการใช้บริการ

                    มีเรื่องราวอ้างถึงท่านอะลี อิบนุ อบีตอลิบ (ร.ฎ) ว่า แต่เดิมล่อนั้นสามารถมีลูกหลานสืบสายพันธุ์ได้ แต่ว่าล่อเป็นสัตว์ที่ขนฟืนมาเพื่อใช้ก่อกองไฟเผาท่านศาสดาอิบรอฮีม (อะลัยฮิซซลาม) รวดเร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่น ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อะลัยฮิซซลาม) จึงขอดุอาอฺสาปแช่งมัน ล่อจึงขาดสายพันธุ์นับแต่บัดนั้นมา เรื่องนี้ท่านอิบนุ อะซากิร บันทึกไว้ใน ตารีคดิมัชก์

                    ในคัมภีร์ อัลกุรอาน กล่าวถึงล่อไว้เพียงหนึ่งแห่งเท่านั้น คือในพระบัญญัติที่ 8 บทอันนะฮฺลุ้ โดยใช้คำพหูพจน์ว่า อัลบิฆอลุ้ (اَلْبِغَالُ ) มีความหมายว่าและ (พระองค์ได้ทรงสร้าง) ม้า ล่อ และลาเพื่อสูเจ้าทั้งหลายจะได้ขี่มัน (เป็นสัตว์พาหนะ) และเครื่องประดับ” แสดงว่า ล่อ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์พาหนะที่มนุษย์มีไว้ใช้สอยและประดับบารมีของตนเหมือนกับม้าและลา


(อ้างอิง 
: https://www.alisuasaming.com/Word/hml_word/Book/amimalinquran04.html)

2. สรุปสาระสำคัญ
       ล่อเกิดจากฝีมือของมนุษย์ในการผสมข้ามสายพันธ์ระหว่างม้าและลา
3. สาระการเรียนรู้/มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

มาตรฐาน ว 1.2

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

 
เรื่อง
พันธุกรรม
ว 1.2 ม.4-6/1 อธิบายกระบวนการถ่ายทอดสารพันธุกรรม การแปรผันทางพันธุกรรม มิวเทชัน และการเกิดความหลากหลาย


4. กิจกรรมเสนอแนะ
       ศึกษากระบวนการผสมพันธ์ของลากับม้าผ่านสื่อการเรียนรู้ต่างๆ     
       
5. ความรู้ สู่บูรณาการ
    บูรณาการหน่วยความรู้พันธุกรรมกับการคัดเลือกทางธรรมชาติ

 6. แหล่งอ้างอิง

 https://www.khaosod.co.th/view_news.php? 
newsid=TUROd01ERXdOVEl5TURjMU5BPT0=&sectionid=TURNd01RPT0

 &day=TWpBeE1TMHdOeTB5TWc9PQ)

https://en.wikipedia.org/wiki/Mule
https://www.alisuasaming.com/Word/hml_word/Book/amimalinquran04.html)

<3 สุดท้ายนี้ขอให้กำลังใจแด่ครอบครัวทหารทุกท่าน และขอบคุณทหารทุกท่านที่เสียสละเพื่อแผ่นดินไทยมาโดยตลอด ขอให้คุณพระคุ้มครองให้ทุกท่านปลอดภัยค่ะ <3

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4198

อัพเดทล่าสุด