https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ดอกไม้กับแมลง MUSLIMTHAIPOST

 

ดอกไม้กับแมลง


1,936 ผู้ชม


ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน   

ดอกไม้กับแมลง

              ระบบนิเวศ (ecosystem) หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง ความสัมพันธ์มี 2 ลักษณะ คือ    ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตและระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง โดยมีการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารในบริเวณนั้นๆ สู่สิ่งแวดล้อม

  ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ

 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน 

          เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
          ๑. ภาวะการเป็นผู้อาศัย เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต  ๒   ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันฝ่ายผู้อาศัยเป็นผู้ได้รับประโยชน์   ผู้ให้อาศัยเป็นผู้เสียประโยชน์ เช่น ต้นกาฝาก ซึ่งเกิดบนต้นไม้ใหญ่ มีรากพิเศษที่เจาะลงไปยังท่อน้ำและท่ออาหารของต้นไม้เพื่อดูดน้ำและธาตุอาหารหรือสัตว์ประเภทหมัด  เรือด เห็บ ปลิง ทากเหา ไร เป็นต้น


          ๒. การล่าเหยื่อ เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่ชีวิตหนึ่งต้องตกเป็นอาหารของอีกชีวิตหนึ่ง   เช่น  กวางเป็นอาหารของสัตว์  ปลาเป็นอาหารของมนุษย์ ซึ่งสิ่งมีชีวิตล่าชีวิตอื่นเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้ล่า และชีวิตทีต้องตกเป็นอาหารนั้น เรียกว่า เหยื่อ


          ๓. การได้ประโยชน์ร่วมกัน  เป็นการอยู่ร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิต ๒ ชนิด   ที่ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์กันและกัน  แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลา  นั่นคือบางครั้งอาจอยู่ด้วยกัน  บางครั้งก็อาจแยกใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังได้ เช่น นกเอี้ยงกับควาย การที่นกเอี้ยงเกาะอยู่บนหลังควายนั้นมันจะจิกกินเห็บให้กับควาย    ขณะเดียวกันก็จะส่งเสียงเตือนภัยให้กับควายเมื่อมีศัตรูมาทำอันตรายควาย  หรือแมลงที่ดูดกินน้ำหวานจากดอกไม้  มันก็จะช่วยผสมเกสรให้กับดอกไม้ไปด้วยพร้อมกัน


          ๔. ภาวะแห่งการเกื้อกูล เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ๒ ชนิด ที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์   ส่วนอีกฝ่ายไม่เสียประโยชน์   แต่ก็ไม่ได้ประโยชน์ อย่างเช่น   กล้วยไม้ป่า  ที่เกาะอยู่ตามเปลือกของต้นไม้ใหญ่ในป่า  อาศัยความชื้นและธาตุอาหารจากเปลือกไม้    แต่ก็ไม่ได้ชอนไชรากเข้าไปทำอันตรายกับลำต้นของต้นไม้  ต้นไม้จึงไม่เสียผลประโยชน์  แต่ก็ไม่ได้ประโยชน์จากการเกาะของกล้วยไม้นั้น


          ๕. ภาวะที่ต้องพึ่งพากันและกัน  เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต  ๒ ชนิด ที่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าแยกจากกัน เช่น ไลเคนซึ่งประกอบด้วยราและสาหร่าย  สาหร่ายนั้นสามารถสร้างอาหารได้เอง แต่ต้องอาศัยความชื้นจากราและราก็ได้อาหารจากสาหร่าย เช่นปลวกกินไม้เป็นอาหาร แต่ในลำไส้ของปลวกไม่มีน้ำย่อยสำหรับย่อยเซลลูโลส  ต้องอาศัยโปรโตซัว ซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้ของปลวกเองเป็นตัวช่วยย่อยเซลลูโลส   และโปรโตซัวเองก็ได้อาหารจากการย่อยนี้ด้วย


       ที่มา  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 17

ขอบคุณ https://www.bloggang.com/ ญามี่
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4442

อัพเดทล่าสุด