https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แกนโลกเอียงมากขึ้น 10 เซนติเมตร จริงหรือ MUSLIMTHAIPOST

 

แกนโลกเอียงมากขึ้น 10 เซนติเมตร จริงหรือ


2,000 ผู้ชม


แกนโลกเอียงมากขึ้น 10 เซนติเมตร จริงหรือไม่และส่งผลอย่างไร   

        ปัจจุบันมีข่าว ประกาศจากองค์การ NASA วันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) วันนั้นแกนโลกของเราจะพลิกกลับขั้ว
คือ ขั้วโลกเหนือจะมาอยู่ที่ขั้วโลกใต้ และ แกนโลกเอียงเพิ่มขึ้น จึงทำให้โลกร้อนเพิ่มขึ้นและโลกหนาวเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายเร็วขึ้น ผลคือชายฝั่งทะเลทั่วโลกจมน้ำเพิ่มขึ้นทุกปี ฝนตกมากนานผิดปกติในแต่ละพื้นที่ ผลคือดินบนภูเขาพังทะลายทับหมู่บ้าน และน้ำท่วมนานนับเดือน เพราะน้ำทะเลเอ่อสูงดันน้ำแม่น้ำ

         เนื้อหาสาระใน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

          ปกติแล้วแกนโลกเอียงอยู่ที่ 23.5 องศาขณะที่โลกของเราหมุนรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ ซึ่งฤดูกาล (อังกฤษ: Season) เป็นช่วงเวลาในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
 เกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น
            ความเอียงของแกน (อังกฤษ: axial tilt) คือองศาการเอียงของแกนหมุนของดาวเคราะห์เทียบกับระนาบการโคจรของมัน บางครั้งก็เรียกว่า axial inclination หรือ obliquity
 สามารถระบุได้เป็นหน่วยองศาระหว่างแกนของดาวเคราะห์กับเส้นตรงที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางของดาวเคราะห์และตั้งฉากกับระนาบโคจร
เพิ่มเติมได้ที่https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5
แกนโลกเอียงมากขึ้น 10 เซนติเมตร จริงหรือ

             

          เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริคเตอร์ ที่ประเทศญี่ปุ่นส่งผลให้เกิดสึนามิ คลื่นยักษ์พัดถล่ม มีประชากรเสียชีวิตกว่าหมื่นคน น้ำก้อนใหญ่หอบอาคารบ้านเรือน รถ เรือ และสิ่งมีชีวิตไหลไปตามระลอกคลื่น 
กวาดทุกสิ่งขึ้นฝั่งก่อนจะกลืนทุกอย่างกลับลงทะเล มหันตภัยครั้งนี้ส่งผลให้ทั่วโลกตกตะลึงกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัวที่เกิดขึ้นบนโลกเดียวกันแผ่นดินไหวครั้งนี้ดังกระฉ่อนโลก ตามด้วยข่าวเขย่าขวัญอีกว่า แกนโลกเอียงเพิ่มขึ้น 10 เซนติเมตร ส่งผลให้เกาะญี่ปุ่นเขยื้อนไปทางทิศตะวันออกอีก 8 ฟุต ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงไป ขั้วโลกเหนือจะมีกลางวัน 24 ชั่วโมง     ขั้วโลกใต้จะมืด 24 ชั่วโมง ยิ่งไปกว่านั้นเปลวแดดจะแผดเผาน้ำแข็งขั้วโลกเหนือให้ละลายไปอย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นอย่างนี้เชื่อกันว่าน้ำจะท่วมโลก 
       ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยอธิบายวิเคราะห์เจาะลึกลงไปถึงแกนโลก เริ่มจากคำถามที่ว่า 
แกนโลกเอียงมากขึ้น 10 เซนติเมตร จริงหรือไม่และส่งผลอย่างไร  ดร.อานนท์อธิบายว่า แกนโลกแกว่งตามฤดูกาลอยู่แล้ว สมมุติซีกโลกเหนืออยู่ในฤดูร้อน แกนโลกจะเอียงเพื่อหันซีกโลกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์  ส่วนในฤดูหนาวแกนโลกจะหันเอาซีกโลกเหนือออก จึงทำให้ฤดูในโลกสลับกัน เมื่อซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อน ซีกโลกใต้จึงเป็นฤดูหนาว   แกนโลกเอียง 10 เซนติเมตร ไม่สามารถทำให้มนุษย์รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงด้วยตาเปล่า เพราะโลกมีเส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 7 พันกิโลเมตร มีเส้นรอบวงประมาณ 3 หมื่นกิโลเมตร ฉะนั้นเปลือกโลกขยับไป 10 เซนติเมตร เมื่อเทียบกับ 3 หมื่นกว่ากิโลเมตร มันน้อยมาก ชาวบ้านไม่อาจรับรู้ได้นอกจากใช้เครื่องมือตรวจวัด 
          ดังนั้ไม่ต้องตื่นตระหนกกับเรื่องไกลตัว ให้หันกลับมาสนใจภัยใกล้ตัวอันเกิดจากน้ำมือมนุษย์ เช่น มลพิษ ดินถล่ม ฝนตก น้ำท่วม จากการพัฒนาพื้นที่โดยไม่ได้คำนึงลักษณะภูมิประเทศ ธรณีสัณฐาน ภูมิอากาศ มัวแต่ไปโทษปัจจัยภายนอก เรื่องโลกร้อน แกนโลกเอียง แต่ไม่เคยดูปัจจัยภายในตัวเอง
ที่มา https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1302841715&grpid=no&catid=02
 

 ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน   
     จงอภิปราย  แกนโลกเอียง มีส่วนทำให้เกิดภัยพิบัติต่างๆเช่น น้ำท่วม ดินถล่ม แผ่นดินไหว วาตภัย ฯ หรือไม่อย่างไร


  กิจกรรมเสนอแนะ
     สืบค้นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโคจรของโลก


บูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น
    ภาษาอังกฤษ  ฝึกอ่านคำศัพท์
    เทคโนโลยี      การสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
    
ข้อมูลอ้างอิง
 วิกิพีเดีย
 https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1302841715&grpid=no&catid=02
  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A4%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5
  https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/61/AxialTiltObliquity.png

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4677

อัพเดทล่าสุด