https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
มีเงิน 10 บาท ซื้อขนมไป 3 บาท ได้รับเงินทอนเท่าไร MUSLIMTHAIPOST

 

มีเงิน 10 บาท ซื้อขนมไป 3 บาท ได้รับเงินทอนเท่าไร


622 ผู้ชม


ใช้กระบวนการคิดกับโจทย์ปัญหาการเงิน ไประดมสมองกัน   

เรื่อง  มีเงิน 10 บาท ซื้อขนมไป 3 บาท ได้รับเงินทอนเท่าไร

บทนำ  ใช้กระบวนการคิดกับโจทย์ปัญหาการเงิน ไประดมสมองกัน

เนื้อหาสาระวิชา คณิตศาสตร์  เรื่องเงิน ( การทอน )  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

 เนื้อหา  มีเงิน 10 บาท ซื้อขนมไป 3 บาท ได้รับเงินทอนเท่าไร

แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่ม แล้วระดมความคิดจากโจทย์ปัญหาที่ครูตั้งให้ ว่าแต่ละกลุ่มจะได้คำตอบเท่าไร

คำตอบที่เด็กนักเรียนระดมความคิดได้

1. ไม่ได้รับเงินทอน เพราะ ให้เงินพอดีกับค่าขนม

2.ได้รับเงินทอน 2 บาท เพราะ ใช้เหรียญ  5  บาท ซื้อ

3. ได้รับเงินทอน 7 บาท เพราะ ให้เหรียญ 10 บาท ซื้อ

4. ได้รับเงินทอน 1 บาท เพราะ ให้เหรียญ 2 บาทไป 2 เหรียญ

คำถามพร้อมคำตอบแบบนี้ เราสามารถระดมความคิดได้อย่างหลากหลายแต่หากใช้วิจารณญาณในการตอบกับการเรียนคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้คำตอบเดียว ก็ต้องใช้วิธีเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์และแสดงวิธีทำและต้องตั้งคำถามใหม่ไม่คลุมเคลือ

เช่น มีธนบัตรฉบับละ 10 บาท ซื้อขนมไป 3 บาท ได้รับเงินทอนเท่าไร

ประโยคสัญลักษณ์ 10  - 3 = ?  ตอบ  7  บาท

วิธีทำ มีธนบัตรใบละ                          10 -                  บาท

         ซื้อขนม                                       3                    บาท

        ได้รับเงินทอน                              7                    บาท

         ตอบ                                            ๗                   บาท

กิจกรรมเสนอแนะ   การสอนคณิตศาสตร์ เราสามารถระดมความคิดของนักเรียนได้อย่างหลากหลายและสามารถนำไปเล่นบทบาทสมมุติ  เล่นบทแม่ค้าและคนซื้อได้เพื่อความสนุกสนาน และเล่นเกมรวมเงินจากเพลงรวมเงิน

รวมเงิน

รวมเงิน  รวมเงิน ให้ดี

รวมกันวันนี้อย่าให้มีผิดพลาด

ผู้หญิงให้เป็นเหรียญบาท (ซ้ำ )

ผู้ชายเก่งกาจเป็นห้าสิบสตางค์

บูรณาการกับสาระ

1. วิชาการงานอาชีพ เรื่อง การเลือกซื้อขนมที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

2. วิชาศิลป วาดรูป ขนมที่หนูชอบ

3.วิชาพละศึกษา  เล่นเกมรวมเงิน

แหล่งที่มาของข้อมูล

สุวารี โสมาบุตร สพท.ลบ. 2
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1369

อัพเดทล่าสุด