โครงงานคณิตศาสตร์ อาชีพไร้หนี้ กินดี อยู่ดีด้วยบัญชีรับจ่าย (ตอนที่ 2) MUSLIMTHAIPOST

 

โครงงานคณิตศาสตร์ อาชีพไร้หนี้ กินดี อยู่ดีด้วยบัญชีรับจ่าย (ตอนที่ 2)


707 ผู้ชม


ด้วยบุญของคนไทยที่มีพ่อหลวงพระราชทานปรัชญาแก่ประชาชนให้ดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ยึดหลัก ความพอประมาณ ความมีเหตุผล หรือใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ครอบครัว องค์กรและชุมชน   

                 โครงงานคณิตศาสตร์  อาชีพไร้หนี้   กินดี  อยู่ดีด้วยบัญชีรับจ่าย
                                 ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

        ด้วยบุญของคนไทยที่มีพ่อหลวงพระราชทานปรัชญาแก่ประชาชนให้ดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    โดยให้ยึดหลัก  ความพอประมาณ ความมีเหตุผล หรือใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา   การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง  ครอบครัว  องค์กรและชุมชน  


                                                        บทที่  3
                                                วิธีดำเนินงาน

  กลุ่มข้าพเจ้าได้ดำเนินการดังนี้
1. คัดเลือกประธาน  กรรมการ และเลขานุการ  
2. ประชุมปรึกษา  วางแผน  แบ่งกันทำ  เพื่อไปศึกษาเกี่ยวกับการทำนา
-  เด็กหญิงธมลวรรณ  จันทร์สุนทร   ไปสัมภาษณ์บิดามารดาในการ
ประกอบอาชีพทำนาตามสมัยใหม่
          -  เด็กหญิงรวิภา  บุญเพ็ง  ไปสัมภาษณ์บิดามารดาในการประกอบอาชีพทำนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
      -  มีการเปรียบเทียบราคาสินค้าอย่างไร
     -  เทคนิควิธีการทำนาอย่างไรให้ลดต้นทุน  มีเทคนิควิธีการทำอย่างไรให้
มีเงินเหลือกินเหลือใช้
        3.  ศึกษาวิธีการทำนาลดต้นทุน  ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  การทำบัญชี
รายรับ - รายจ่าย  โดยการสัมภาษณ์และปฏิบัติจริง
         4.  นำคำสัมภาษณ์มาร่วมประชุมร่วมกันว่าของใครมีวิธีการอย่างไร  เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่     
ช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูล  
        5.  ศึกษาวิธีการทำนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยไม่มีหนี้สินด้วยบัญชีรับ - จ่าย
   สังเกตจากการทำนา  การจัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย  จากคุณพ่อคุณแม่
   สัมภาษณ์คุณพ่อคุณแม่
       6.  คณะร่วมกันรวบรวมข้อมูล  จากการสัมภาษณ์บิดามารดาของเด็กหญิงรวิภา  บุญเพ็ง   และเด็กหญิงธมลวรรณ  จันทร์สุนทร 
แต่ทางกลุ่มบิดามารดาของเด็กหญิงรวิภา  บุญเพ็ง เห็นว่าเป็นวิธีการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  
      7.  คณะครูแนะนำ  แก้ไข  ปรับปรุง และหาข้อมูลเพิ่มเติม
      8.  คณะผู้จัดทำร่วมกันสรุป  อภิปรายผล
      9.  นำผลงานครั้งนี้เสนอคุณครู  และเพื่อนร่วมชั้น

                                        บทที่  4
                           วิเคราะห์ข้อมูล    อภิปรายผล
 จากการสัมภาษณ์  นายวิเชียร เป็นบิดามารดาของเด็กหญิงรวิภา  บุญเพ็ง  ได้ให้สัมภาษณ์ดังนี้
 ที่บ้านมีอาชีพทำนา  เลี้ยงสัตว์และปลูกพืชไว้ประกอบอาหารเหลือกินก็จะขาย  
ที่บ้านมีที่นา  10  ไร่  
วิธีทำนา  
จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์   และยาฆ่าแมลงจากพืชธรรมชาติ ( สะเดา )   มีค่าใช้จ่าย
1. เป็นน้ำมันไร่ละ   34   บาท    10  ไร่   เป็นเงิน    34 × 10 ×4 =  1,360  บาท
2. ค่ารถเกี่ยวไร่ละ  550  บาท  10  ไร่ เป็นเงิน  550  ×  10  =  5,500  บาท
3.   ค่าข้าวปลูกถังละ   220  บาท   10  ไร่ ไร่ละ  3  ถัง  
 เป็นเงิน   220 × 10  × 3   = 6,600  บาท  
4.    ค่าสึกหรอรถไถ  เป็นเงิน  2,000       บาท
 5.  ค่าเบ็ดเตล็ด    2,000    บาท
รวมค่าใช้จ่าย        1360 + 5500 +  6600 + 2000 + 2000  = 17,400  บาท/ ครั้ง           
รายได้
จะได้ข้าวไร่ละ  100  ถัง / ไร่     10  ไร่ได้ข้าว        10  ×  100  =  1000  ถัง/ 10 เกวียน
ขายไปเกวียนประมาณ   14,000  บาท   คิดเป็นเงิน    14,000  ×  10  =  140,000  บาท
ใช้เวลาทำนาครั้งละ   120  วัน  /  1  ครั้ง   ( 4  เดือน  )
เหลือค่าใช้จ่าย      140000  -   17,400  =    122,600  บาท   
เก็บเข้าฝากธนาคาร  122,600  บาท
ทุกครั้งแม่จะทำบัญชีในการลงทุนเท่าไร  เหลือเท่าไร   
 นอกจากนั้น
แบ่งที่ดินทำเป็นสระเลี้ยงปลา  ปลูกพืชในสระ  ผักกะเฉด  ผักบุ้ง   ตอนแรกจะปลูก
เพื่อไว้ทำอาหารเอง  แต่มีมากจึงนำไปขาย   รอบๆสระน้ำ  ปลูกตะไคร้  มะเขือ  กะเพรา  พริก  ถัวฝักยาว     รอบๆคันนาจะปลูกต้นมะม่วง  
ที่บ้านก็จะเลี้ยงไก่   จะทำบัญชีรับ -  จ่าย  ทุกวันอยากรู้ว่าในการทำนาในแต่ละครั้งได้เท่าไร  ปลูกผักได้เงินเท่าไร   จึงทำ  บัญชีรับ -  จ่าย  ไว้เท่านั้น
ครอบครัวของข้าพเจ้า  รายได้จากการทำนาเป็นเงินเก็บ    ที่เป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน  รายได้จากการปลูกผัก   ผลไม้  
ทำให้ครอบครัว มีรายได้พอกิน  พอใช้   ไม่เป็นหนี้สิน  เหลือจากใช้จ่ายแล้วเก็บไว้เดือนละประมาณไม่ต่ำกว่า  2,000  บาท   
รู้ได้อย่างไรพ่อแม่ว่ามีค่าใช้จ่ายเท่าไรเหลือเงินเท่าไร เพราะแม่จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามที่หนูบอกแม่    ทำให้เรารู้เรามีเงินเท่าไร   ใช้เท่าไร  
ถึงจะเหลือเก็บไว้ซี้อของตามที่เราต้องการได้  ทำให้เรารู้อนาคต  ไม่ต้องมีหนี้สิน

       จากการสัมภาษณ์บิดามารดาเด็กหญิงธมลวรรณ  จันทร์สุนทร  การทำนา  จำนวน  10  ไร่   อยู่ที่ตำบลแพรกศรีราชา    อำเภอสรรคบุรี   จังหวัดชัยนาท
มีค่าใช้จ่าย
1  เป็นน้ำมันไร่ละ   34   บาท    10  ไร่   เป็นเงิน    34 × 4 ×10  =  1,360  บาท
2.  ค่ารถไถ  250   บาท  10  ไร่ เป็นเงิน  250  ×  10  =  2, 500  บาท
3  .ค่าข้าวปลูกถังละ   220  บาท ไร่ละ  3  ถัง  10  ไร่  เป็นเงิน 220 ×3 × 10 = 6,600 บาท 
4.  ค่ายาคุมขวดละ  250  บาท    2ขวด / 10 ไร่    เป็นเงิน  250 ×  2  = 500  บาท
5.  ยาหอยถุงละ     200 บาท  4 ถุง / 10               เป็นเงิน   200  ×  4  =  800   บาท
6.  ค่ายาเพลี้ยขวดละ  550 บาท    2  ขวด / 10  ไร่ เป็นเงิน  550 × 2  = 1,100  บาท
7.  ยาค่าเชื้อรา ขวดละ  800 บาท   1 ขวด /  10  ไร่  เป็นเงิน  800   บาท
8.  ค่ายาฮอร์โมนขวดละ  450  บาท  2  ขวด/10  ไร่   เป็นเงิน   450  ×  2  =  900  บาท
9.  ค่ารถดูด     ไร่ละ   550  บาท   10  ไร่ เป็นเงิน   550 × 10  =  5,500   บาท
10.  ค่ารถขนข้าว  ถังละ  1  บาท   เป็นเงิน  100 × 1  =  100 / ไร่ 
 เป็นเงิน  100 × 10 = 1, 000   บาท
12.  ยาเม็ดหว่านถุงละ  500  บาท  2  ถุง/ 10  ไร่   500   ×  2   =  1,000  บาท
13.  ค่าปุ๋ยลูกละ  1300  บาท  ใช้หว่าน  1.5 ลูก/ไร่    คิดเป็น  19,500  บาท
รวมค่าใช้จ่าย   1360 + 2500 +6600+  500  +  800  +  1100 +  800  +  900  +  5,500  +  1,000 +  1,000 
+ 19500   =  41,560  บาท      
รายได้
จะได้ข้าวไร่ละ  100  ถัง / ไร่     10  ไร่ได้ข้าว        10  ×  100  =  1000  ถัง/ 10 เกวียน
ขายไปเกวียนประมาณ   14,000  บาท   คิดเป็นเงิน    14,000  ×  10  =  140,000  บาท
ใช้เวลาทำนาครั้งละ   120  วัน  /  1  ครั้ง   ( 4  เดือน  )
เหลือค่าใช้จ่าย      140,000  -   41,560  =    98,440   บาท   
ต้องใช้จ่ายทุกเดือน  4  เดือน      98,440   ÷  4  =   24,610 บาท / เดือน มีบุตร   3  คน  24,610 5  =  4,922  บาท
 ซึ่งมีรายได้ที่ต้องใช้เป็นค่าอาหาร  ค่าใช้จ่ายทุกอย่างในครอบครัว   มีบุตร  2  คน 
ไม่พอใช้จ่าย    ต้องเป็นหนี้เงินธนาคารเพื่อการเกษตร

 เนื้อหาคณิตศาสตร์  การจัดโครงงานคณิตศาสตร์  การจัดทำบัญชี รับ-จ่าย  
                              การคำนวณต้นทุน

ประเด็นคำถาม

           1.  การจัดบัญชีรับ -  จ่าย  มีวิธีทำอย่างไร

           2.  ประโยชน์ของการทำนาตามแนวเศณษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง

ข้อมูลจาก     นางบุญส่ง   ใหญ่โต  โรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท

จัดทำ  นางบุญส่ง  ใหญ่โต  ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนอนุบาลสรรคบุรี  
 

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1607

อัพเดทล่าสุด