https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
"ออมสิน" ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.50 ... กับทศนิยม MUSLIMTHAIPOST

 

"ออมสิน" ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.50 ... กับทศนิยม


777 ผู้ชม


ศธ.เผยแผนแก้ปัญหาหนี้ครูทั้งระบบ สรุปล่าสุด สกสค.ยอมหักเงินกองทุนที่ได้จากธนาคารออมสิน คืนครูอีก 1%   

"ออมสิน" ลดดอกเบี้ยหนี้ครูเหลือ 0.50

"ออมสิน" ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.50 ... กับทศนิยม

        ศธ.เผยแผนแก้ปัญหาหนี้ครูทั้งระบบ สรุปล่าสุด สกสค.ยอมหักเงินกองทุนที่ได้จากธนาคารออมสิน คืนครูอีก 1%
เมื่อวันที่ 25 ส.ค.53 นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ  รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนได้เชิญ รมว.การคลัง  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตครู ธนาคารออมสิน มาร่วมหารือถึงการแก้ไขปัญหาปัญหาหนี้สินครูทั้งระบบ โดยได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ธนาคารออมสิน ยินดีที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตามโครงการพัฒนาชีวิตครู เป็น MLR - 0.50 บาท และ สกสค.เองจะลดในส่วนที่เป็นเงินกองทุนที่ได้มาจากธนาคารร้อยละ 1 คืนให้กลับครูด้วย   รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า จากการหารือร่วมกัน มีความเห็นว่าทำอย่างไรครูถึงจะไม่มีการกู้เงินซ้ำซ้อน เนื่องจากปัจจุบันตัวเลขของครูมีหนี้สินจากแหล่งใหญ่อยู่ 3 ช่องทาง คือ 
1. หนี้สินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 700,000 ล้านบาท 
2. หนี้จากโครงการพัฒนาชีวิติครู 90,000 ล้านบาท 
3. หนี้จากโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนสมาชิกครู (ช.พ.ค.) 200,000 ล้านบาท
 
และบุคลากรทางการศึกษา ที่ยังอยู่ในระบบราชการและมีหนี้สินอยู่ในภาวะวิกฤติ อีกกว่า20,000 ราย ซึ่ง ก.ค.ศ. จะต้องหาวิธีเยียวยาครูกลุ่มนี้ต่อไป  “เราไม่สามารถไปปิดกั้นสิทธิ์ในการกู้ยืมเงินของครูได้ แต่เราสามารถบริหารจัดการดูแลไม่ให้ครูกู้หนี้ซ้ำซ้อนได้ จึงได้ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปดำเนินการอย่างถูกต้องและโปร่งใส ซึ่งผมจะติดตามทุกขั้นตอนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งผมก็อยากให้ครูมีเงินเหลือใช้หลังจากสถาบันการเงินหัก 25% เพราะบางคนเหลือเงินเพียง 10% เท่านั้น” นายชินวรณ์ กล่าว
ที่มาของข้อมูล https://www.siamrath.co.th/?q=node/65202
"ออมสิน" ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.50 ... กับทศนิยมคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ทศนิยม 
        ทศนิยมได้ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวาง เช่น การวัดความยาว อุณหภูมิของอากาศ การคิดราคาสินค้า การคิดภาษี เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากการใช้หน่วยที่เป็นจำนวนเต็มนั้นไม่เพียงพอ ยังมีปริมาณที่เป็นเศษของหน่วยหรือไม่เต็มหน่วย จึงต้องมีระบบการเขียนตัวเลขแทนปริมาณเหล่านั้น ที่เรียกว่า ระบบทศนิยม ซึ่งตกลงกันเป็นสากลให้ใช้ จุด " . " เรียกว่า "จุดทศนิยม" คั่นระหว่างจำนวนเต็มกับ เศษของหน่วย เช่น

การอ่านทศนิยม ตัวเลขหน้าจุดทศนิยมอ่านแบบจำนวนเต็ม ตัวเลขหลังจุดทศนิยมอ่านเรียงตัว เช่น
3.125 อ่านว่า สามจุดหนึ่งสองห้า 
0.02 อ่านว่า ศูนย์จุดศูนย์สอง 
305.50 อ่านว่า สามร้อยห้าจุดห้าศูนย์

ตัวอย่าง 784.126 
7 อยู่ในหลักร้อย  มีค่าเป็น 700 
8 อยู่ในหลักสิบ  มีค่าเป็น 80 
4 อยู่ในหลักหน่วย  มีค่าเป็น 4 
1 อยู่ในหลักส่วนสิบ  มีค่าเป็น หรือ 0.1 
2 อยู่ในหลักส่วนร้อย  มีค่าเป็น หรือ 0.02 
6 อยู่ในหลักส่วนพัน  มีค่าเป็น หรือ 0.006

ตัวอย่าง 2.145 เป็นทศนิยม 3 ตำแหน่ง โดยมี
1 เป็นทศนิยมตำแหน่งที่ 1
4 เป็นทศนิยมตำแหน่งที่ 2
5 เป็นทศนิยมตำแหน่งที่ 3 
อ่านเกี่ยวกับทศนิยมที่ https://www3.ipst.ac.th/primary_math/ebook/decimals/cap01/p01.html
ที่มาของข้อมูล https://www3.ipst.ac.th/primary_math/ebook/decimals/cap01/p01.html
1. การบวกทศนิยม ใช้วิธีตั้งหลักและจุดทศนิยมให้ตรงกัน แล้วบวกตัวเลขที่อยู่ในหลักเดียวกัน ถ้าผลบวกได้เกิน 9 ให้ทศไปยังหลักข้างหน้าเหมือนการบวกจำนวนนับ
ตัวอย่าง 42.36 + 23.86 = ? ตอบ 66.22
2. การลบทศนิยม ใช้วิธีตั้งหลักและจุดทศนิยมให้ตรงกัน แล้วลบจำนวนที่อยู่ในหลักเดียวกัน ถ้าตัวตั้งน้อยกว่าตัวลบให้กระจายหลักข้างหน้ามาเหมือนกับจำนวนนับ
ตัวอย่าง 4.35 - 2.19 = ? ตอบ 2.16
3. โจทย์ปัญหาการบวกและลบทศนิยม 
ขั้นตอนการทำโจทย์ปัญหาการบวกและลบทศนิยม มีดังนี้
1) ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกจำนวนที่เพิ่มขึ้น ใช้วิธีบวก
2) ถ้ากำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกจำนวนที่ลดลง ใช้วิธีลบ
"ออมสิน" ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.50 ... กับทศนิยมตัวอย่าง จ่ายค่าหนังสือเป็นเงิน 206.5 บาท จ่ายค่าสมุดเป็นเงิน 150 บาท ให้ธนบัตรใบละ 500 บาท จะได้รับเงินทอนกี่บาท
ประโยคสัญลักษณ์ 500 - (206.5 + 150 ) = ? 
วิธีทำ
จ่ายค่าหนังสือเป็นเงิน 206.50 บาท
จ่ายค่าสมุดเป็นเงิน 150.00 บาท
จ่ายเงินค่าสมุดและดินสอเป็นเงิน 356.50 บาท
ให้ธนบัตรใบละ 500.00 บาท
จ่ายค่าหนังสือและสมุด 356.50 บาท
จะได้รับเงินทอน 143.50 บาท

4. การคูณทศนิยม 
1. การหาผลคูณโดยใช้การบวก เช่น 2 x 3.5 = 3.5 + 3.5 = 7.0
2. การหาผลคูณโดยการเปลี่ยนทศนิยมให้เป็นเศษส่วน เช่น
3. การหาผลคูณโดยวิธีลัด ให้คูณเหมือนการคูณจำนวนนับด้วยจำนวนนับ และผลคูณจะมีตำแหน่งทศนิยมเท่ากับทศนิยมที่โจทย์กำหนดให้ เช่น 3x0.7 = 2.1 หรือ 4 x2.17 = 8.68 เป็นต้น
คุณสมบัติการสลับที่ของการคูณเช่น 5x0.8 = 0.8x5 =4.0

5. โจทย์การปัญหาการคูณทศนิยม มีหลักดังนี้
ขั้นตอนการทำโจทย์การปัญหาการคูณทศนิยม
1) อ่านโจทย์ให้เข้าใจว่าโจทย์กำหนดสิ่งใดให้ และต้องการทราบอะไร
2) พิจารณาวิธีหาคำตอบโดยถ้าโจทย์กำหนดจำนวนสิ่งของให้ และบอกว่าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเท่าจะใช้วิธีการคูณ

ตัวอย่าง ซื้อผ้าเช็ดหน้า 1/2 โหล ราคาผืนละ 5.25 บาท ให้ธนบัตรใบละ100 บาท จะได้รับเงินทอนกี่บาท 
ประโยคสัญลักษณ์ 100 - (5.25x6) = ?
วิธีทำ ซื้อผ้าเช็ดหน้าราคาผืนละ 5.25 บาท
ผ้าเช็ดหน้า 1/2 โหลเท่ากับ 6 ผืน
จ่ายเงินค่าผ้าเช็ดหน้า 6x5.25 = 31.50 บาท
ให้ธนบัตร 100 บาท
จะได้รับเงินทอน 100 - 31.50 = 63.50 บาท

ทดสอบความเข้าใจ 
ข้อ 1. จงหาค่าของ (7.58 - 3.61) + 2.95 = ?
ก. 5.92 ข. 6.82 ค. 6.92 ง. 14.14 
เฉลย ข้อ 1. ตอบ ค 
ข้อ 2. แดงมีเงิน 24.50 บาท ซื้อหนังสือ 1 เล่มราคา 15 บาท แดงมีเงินเหลือกี่บาท
ก. 9 ข. 9.50 ค. 10 ง. 10.50 
เฉลย ข้อ 2. ตอบ ข 
ข้อ 3. เชือกยาวเส้นละ 2.35 เมตร ถ้านำมาวางต่อกัน 10 เส้น จะได้เชือกยาวกี่เมตร
ก. 12.35 ข. 23.5 ค. 235 ง. 2,350 
เฉลย ข้อ 3. ตอบ ข
ที่มาของข้อมูล https://www.tutormaths.com/pratom9.htm

คำถามในห้องเรียน

1. นักเรียนคิดว่าการลดดอกเบี้ยเหลือ 0.50 จากหนี้สิน 700,000 ล้านบาท คิดเป็นกี่บาท
2. หนี้สินอยู่ในภาวะวิกฤติ อีกกว่า 20,000 ราย ถ้าลดดอกเบี้ยหนี้เหลือ 0.50  นักเรียนคิดว่าเพียงจะแก้ไขปัญหาได้ถูกทางหรือไม่เพราะเหตุใด

ข้อเสนอแนะ
1. ควรเพิ่มค่าตอบแทนหรือเงินเดือนให้เพียงพอกับค่าครองชีพและความจำเป็นขั้นพื้นฐานน่าจะดีที่สุด
2. การกู้ยืมเงิน มีหลายรูปแบบคิดว่าแก้ปัญหาถูกจุดหรือไม่ หรือส่งเสริมให้เกิดการกู้หนี้ยิมสินไม่สิ้นสุด

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 3  เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส.3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 4  การอาชีพ 
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

ที่มาของภาพ https://www4.csc.ku.ac.th/~b5240200297/7-15.jpg
ที่มาของภาพ https://www.trueplookpanya.com/data/product/media/KNOWLEDGE/picknowledge/132.jpg
ที่มาของภาพ https://www.trueplookpanya.com/data/product/media/KNOWLEDGE/picknowledge/133.jpg

"ออมสิน" ลดดอกเบี้ยเหลือ 0.50 ... กับทศนิยม

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3088

อัพเดทล่าสุด