https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ศธ.ทุ่ม 4 พันล้านแจกคอมพ์ ร.ร. MUSLIMTHAIPOST

 

ศธ.ทุ่ม 4 พันล้านแจกคอมพ์ ร.ร.


915 ผู้ชม


สพฐ. เปิดเผยว่า ตามที่นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ ให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ไปใช้เพื่อการเรียนการสอน ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2554 นี้ รมว.ศธ.ได้เตรียมงบประมาณ   

ศธ.ทุ่ม 4 พันล้านแจกคอมพ์ ร.ร.

         สพฐ. เปิดเผยว่า ตามที่นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.ศึกษาธิการ ให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ไปใช้เพื่อการเรียนการสอน ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2554 นี้ รมว.ศธ.ได้เตรียมงบประมาณให้ สพฐ. ใช้เพื่อดำเนินการโครงการจัดหาระบบคอมพิว เตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการศึกษาไว้ 4,221.435 ล้านบาท โดยจัดสรรคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนให้แก่โรงเรียนใน

ศธ.ทุ่ม 4 พันล้านแจกคอมพ์ ร.ร.สังกัด สพฐ. 7,200 โรง ซึ่งมีเป้าหมายคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน 10 คน ในการจัดสรรคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน ส่วนใหญ่จะเน้นการจัดสรรไปที่โรงเรียนดีประจำตำบล ทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

สพฐ.ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์วิจัยแล้ว พบว่า สัดส่วนคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน 10 คน เป็นจุดที่มีความเหมาะสมที่สุดในการบริหารจัดการ ใช้ทรัพยากรเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ไปเพื่อจัดการเรียนการสอนแล้วเกิดคุณภาพมากที่สุด สิ้นเปลืองน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม สำหรับการมีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ หรือที่มากเกินพอดีนั้น ก็จะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองในเรื่องการบริหารสถานที่ ห้องเรียนสำหรับจัดวางคอมพิว เตอร์ไว้ เรื่องของการซ่อมบำรุงรักษาเครื่อง และเรื่องของค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNakEyTVRBMU13PT0=&sectionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1DMHhNQzB3Tmc9PQ==

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ทศนิยม
         ทศนิยมมีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราตลอด  ไม่ว่าจะเป็นการบอกค่าของเงินที่เราใช้   การบอกเวลา   บอกหน่วยความยาว ฯลฯ
         การเขียนทศนิยมในรูปกระจายเป็นการเขียนในรูปการบวกค่าของตัวเลขในหลักต่าง ๆ  ของทศนิยมนั้น
ทศนิยม หมายถึง การเขียนตัวเลขแสดงจำนวนที่มีค่าน้อยกว่า 1 หรือการเขียนตัวเลขประเภทเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 10,100,1000 แต่เปลี่ยนรูปจากเศษส่วนมาเป็นรูปทศนิยม โดยใช้เครื่องหมาย . (จุด) แทนทศนิยมและเศษส่วน ทศนิยมหนึ่งตำแหน่งเทียบได้กับเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นสิบ และทศนิยมสองตำแหน่งเทียบได้กับเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นร้อย  
ทศนิยม หมายถึง ค่าของจำนวนเต็มที่แบ่งออกเป็นสิบส่วน ร้อยส่วน พันส่วน .... เท่า ๆ  กัน ซึ่งเขียนได้ในรูปของเศษส่วน
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/natchaporn_w/ma_t_m1/sec01p01.html
การบวกเลขทศนิยม (ธรรมดา) คือ ตั้งให้จุดทศนิยมตรงกัน แล้วทำการบวกตามการบวกเลขธรรมดาทั่ว ๆ ไป เช่น      35.05  ,  27.09
          35.05
                        +
          27.09    

          62.14     
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/natchaporn_w/ma_t_m1/sec04p01.html

จำนวนตรงข้ามของทศนิยมศธ.ทุ่ม 4 พันล้านแจกคอมพ์ ร.ร.
            ทศนิยมที่เป็นบวกและทศนิยมที่เป็นลบที่มค่าสัมบูรณ์เท่ากัน  จะอยู่คนละข้างของ  0 และอยู่ห่างจาก  0 เป็นระยะเท่ากัน  เช่น  -1.5 และ 1.5

-1.5 เป็นจำนวนตรงข้ามของ 1.5 และ 1.5   เป็นจำนวนตรงข้ามของ -1.5  , 
-1.75  เป็นจำนวนตรงข้ามของ 1.75 และ 1.75  เป็นจำนวนตรงข้ามของ -1.75 
ถ้า  a  เป็นทศนิยมใด ๆ จำนวนตรงข้ามของ a  มีเพียงจำนวนเดียวเขียนแทนด้วย  -a และ a + ( - a ) = ( - a ) + a = 0 
จำนวนตรงข้ามของ -1.75 เขียนแทนด้วย - ( - 1.75 )
จำนวนตรงข้ามของ -1.75   คือ  1.75  เนื่องจากจำนวนตรงข้ามของ -1.75 มีเพียงจำนวนเดียว ดังนั้น -( -1.75 ) =  1.7 
ถ้า a  เป็นทศนิยมใด ๆ จำนวนตรงข้ามของ - a   คือ a และเขียนแทนด้วย -( -a )
ในการหาผลลบของทศนิยมใด ๆ  ใช้ข้อตกลงเดียวกันที่ใช้ในการหาผลลบของจำนวนเต็ม คือ 
ตัวตั้ง  - ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ
เมื่อ   a  และ b แทนทศนิยมใด ๆ        a - b = a+จำนวนตรงข้ามของ b   หรือ    a - b  =  a +( - b ) เช่น 5.01 - 2.32  = 5.01 + (-2.32)   ,  ( -4.17 ) -1.32 = ( -4.17 ) + ( -1.32 )  
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/natchaporn_w/ma_t_m1/sec04p03.html
การลบทศนิยม
จงหาผลลบ  63.02 - ( -86.38 ) 
วิธีทำ  63.02 - ( -86.38 ) = 63.02 + ( 86.38 )
                    63.02 
                              +
                    86.38
                  149.40          
ดังนั้น 63.02 - ( -86.38 ) = 149.40 
จงหาผลลบ  ( - 125.17 ) - ( - 72.9 ) 
วิธีทำ  ( -125.17 ) - (-72.9 ) = ( -125.17 ) + 72.90
 -125.17
               +
    72.90
   -52.27             
ดังนั้น  ( -125.17 ) - ( -72.9 ) = - 52.27
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/natchaporn_w/ma_t_m1/sec04p04.html

การหาผลคูณโดยใช้การบวกทศนิยมซ้ำ ๆ กันศธ.ทุ่ม 4 พันล้านแจกคอมพ์ ร.ร.
การคูณทศนิยมด้วยจำนวนนับ อาจใช้วิธีเปลี่ยนการคูณให้อยู่ในรูปของการบวกทศนิยมนั้นหลาย ๆ ครั้ง โดยจำนวนของทศนิยมที่นำมาบวกกันเท่ากับจำนวนนับนั้นแล้วใช้หลักการบวกทศนิยม

จะสังเกตได้ว่า การคูณนั้นก็เหมือนกับการนำเอาทศนิยมจำนวน ๆ หนึ่ง มาบวกกันให้เท่ากับจำนวนที่เราต้องการ เช่น 
เราต้องการ  หา 4 เท่าของ 0.4     0.4 คูณกับ 4  = 0.4 + 0.4 + 0.4 + 0.4
                                                                = 1.6

- จะเห็นว่าได้ผลลัพธ์เท่ากัน ดังนั้นก็สามารถบอกได้ว่า การหาผลคูณโดยใช้วิธีการนำทศนิยมมาบวกซ้ำ ๆ กัน ให้เท่ากับจำนวนที่เอามาคูณได้ และอาจใช้วิธีตั้งหลักเลขและจุดทศนิยมให้ตรงกัน แล้วบวกกันโดยใช้หลักการเช่นเดียวกับการบวกจำนวนนับ

ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/natchaporn_w/ma_t_m1/sec03p03.html
การนำทศนิยมมาคูณกัน 
         ให้นำตัวตั้งและตัวคูณมาคูณกันแบบเดียวกับการคูณจำนวนเต็ม โดยไม่ต้องสนใจจุดทศนิยม แต่เมื่อคูณเสร็จแล้วจึงเติมจุดทศนิยมลงไปให้ถูกต้อง โดยจำนวนตำแหน่งทศนิยมของผลลัพธ์จะเท่า
กับผลบวกของจำนวนตำแหน่งทศนิยมของตัวตั้ง กับจำนวนตำแหน่งทศนิยมของตัวคูณ เช่น

1.       0.35 x 0.2   มีทศนิยม  2 ตำแหน่ง

                      0.35
                             x
                      0.2
                   00.70   นับทศนิยมรวมกันได้ 3 ตำแหน่ง
ดังนั้น 0.35 x 0.2 = 0.070

2.  4 x 0.5 = 0.5 + 0.5 + 0.5 + 0.5

                            = 2.0

3.    0.2 x  3 = 3 x 0.2 (กฎการสลับที่การคูณ)
                            = 0.2 + 0.2 + 0.2
                            = 0.6
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/natchaporn_w/ma_t_m1/sec03p04.html
การคูณเลขทศนิยมด้วย 10 ,100 ,1000 ฯลฯ

ให้เลื่อนจุดทศนิยมไปทางขวามือ ให้ตำแหน่งที่เลื่อนไปเท่ากับจำนวนเลข 0 จากจำนวนที่นำมาคูณ เช่น
8.46   x 10    = 84.6  (เลื่อนจุดทศนิยมไป  1 ตำแหน่ง)
98.43 x 100  = 9843 (เลื่อนจุดทศนิยมไป 2 ตำแหน่ง ได้เป็นจำนวนเต็ม)
7432 x 1000 = 743.2 (เลื่อนจุดทศนิยมไป 3 ตำแหน่ง)

ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/natchaporn_w/ma_t_m1/sec04p02.html

แบบทดสอบก่อนเรียน
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำ ตอบที่ถูกต้องที่สุด
1.   ผลบวกของ  10.9 + 21.05  ตรงกับข้อใด
ก.  21.95   ข.  31.95   ค.  11.55   ง.  18.95 
2.  ผลบวกของ  ( - 0.37 )+ ( -1.4 ) ตรงกับข้อใด 
ก   -1.47   ข   -0.17   ค   -1.77   ง.   1.77 
3. ผลบวกของ  2.5 + ( - 0.735  )  ตรงกับข้อใด
ก.  1.765   ข.  2.710    ค.  1.755   ง.  0.755 
4. ผลบวกของ  ( - 9.46  ) + 6.75   ตรงกับข้อใด 
ก   - 2.35   ข    -1.75   ค.   2.175   ง.  -2.71 
5. ผลบวกของ  6.07 +  0    ตรงกับข้อใด
ก. 60.7     ข.   6.07   ค.    6    ง.  7.07 
6. ผลบวกของ  0  + ( -13.48 ) ตรงกับข้อใด
ก.13.48    ข.-13.48   ค.11.38    ง. 1.83   
7.   ผลบวกของ  17.3 + ( -12.69 ) + ( -7.31 ) ตรงกับข้อใด 
ก. -2.69    ข.  2.69    ค.12.37    ง. 14.58   
8.  ผลบวกของ  63.02  -  ( - 86.38  ) ตรงกับข้อใด 
ก. 140.40   ข. 149.40   ค. 23.02    ง. 22.32   
9. ผลบวกของ  ( - 125.17  )- ( - 72.9 )    ตรงกับข้อใด
ก. 25.27    ข. 52.72    ค - 52.27   ง. 15.25   
10. ผลบวกของ  ( - 0.37 )+ ( -1.4 ) ตรงกับข้อใด 
ก.63.55   ข.35.63    ค.65.28   ง.56.82
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/natchaporn_w/ma_t_m1/pretest.html

คำถามในห้องเรียน
1. โครงการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการศึกษาไว้ 4,221.435 ล้านบาท  ให้นักเรียน หาค่าของ 4 ทศนิยมตำแหน่งที่ 1 
2.  4 ในหลักพันมากกว่า  4 ทศนิยมตำแหน่งที่ 1 อยู่เท่าไร พร้อมทั้งอธิบายแนวทางการคิด

ข้อเสนอแนะ
1.  สพฐ. 7,200 โรงเรียน ซึ่งมีเป้าหมายคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องต่อนักเรียน 10 คน ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ หรือที่มากเกินพอดีนั้น ก็จะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองในเรื่องการบริหารสถานที่ ห้องเรียน
สำหรับจัด
2. ผลตามมาคือเรื่องค่าใช้จ่าวยการซ่อมบำรุงรักษาเครื่อง และเรื่องของค่าไฟฟ้า

การบูรณาการกับสาระอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 3  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
มาตรฐาน ง 3.1   เข้าใจเห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร  การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล   และมีคุณธรรม  

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 4  หลักการใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน  ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ                             

ที่มาของภาพ https://www.quickpcextreme.com/blog/wp-content/uploads/2008/08/set22.jpg
ที่มาของภาพ https://www.thaidbmarket.com/uploads/20100519-115436-.jpg
ที่มาของภาพ https://www.chakkham.ac.th/technology/number/convertfac10to2.gif
ที่มาของภาพ https://learners.in.th/file/petchjan/504.jpg

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3219

อัพเดทล่าสุด