https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ดู "ฟุตบอล" แบบ "ธุรกิจฟุตบอล" MUSLIMTHAIPOST

 

ดู "ฟุตบอล" แบบ "ธุรกิจฟุตบอล"


737 ผู้ชม


ลักษณะพิเศษทางธุรกิจ บริหารจัดการ และกฎกติกาของอุตสาหกรรมฟุตบอลลีกอาชีพที่ไม่เหมือนธุรกิจอื่น มี 6 ข้อ   

ดู"ฟุตบอล"แบบเข้าใจ"ธุรกิจฟุตบอล" 
ลักษณะพิเศษทางธุรกิจ บริหารจัดการ และกฎกติกาของอุตสาหกรรมฟุตบอลลีกอาชีพที่ไม่เหมือนธุรกิจอื่น ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า The peculiar economics of professional football leagues ซึ่งจะมี 6 ข้อ

ดู "ฟุตบอล" แบบ "ธุรกิจฟุตบอล"1. ธุรกิจ “ฟุตบอล” เป็นผลผลิตร่วมระหว่าง “ลีก” และ “สโมสรฟุตบอล” (Joint product) ที่ต้องอาศัยกันและกัน เพราะฟุตบอลจะเตะกันเอง ดูกันเอง ทีมเดียวไม่ได้ ต้องมีคู่แข่งขันมาร่วมด้วย และมีการจัดการลีกที่ดีเพื่อผลประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย
2. ธุรกิจฟุตบอลจะมีการกระจายรายได้ (Redistribution) ภายในลีก และระหว่างลีกใหญ่สู่ลีกเล็กรวมไปถึงทีมใหญ่รายได้ดีสู่ทีมเล็กรายได้น้อย เพื่อช่วยให้ลีกและทีมฟุตบอลแต่ละทีมมีความสมดุลกันมากที่สุด 3. แฟนบอล (ลูกค้า) จะมีดีกรีความซื่อสัตย์สูงชนิดไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล เพราะเป็นความรัก ผูกพันด้วยใจโดยไม่มี “ผลประโยชน์” แอบแฝง ดังจะเห็นได้จากแฟนบอลทีมหนึ่งจะไม่เปลี่ยนใจไปเชียร์อีกทีมหนึ่ง    
4. ฟุตบอลเป็น “เกม” หรือเป็น “ธุรกิจ” ที่แตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ เพราะจะมีจุดมุ่งหมายพร้อม ๆ กัน 2 ประการ นั่นคือ ชนะในสนาม และอยู่ได้ไม่ขาดทุนนอกสนาม
5. ตลาดแรงงานนักฟุตบอลนั้นมีกฎระเบียบค่อนข้างละเอียดอ่อนกว่าธุรกิจอื่น ๆ และผู้เล่นชั้นดีจะมีอำนาจในการต่อรองเงินเดือน และการเลือกทีมสูงมาก 
6. ฟุตบอลเป็นเกมที่ควบคุมโดยกฎกติกาสากล ผสมผสานกับการบริหารโดยรัฐบาลลูกหนังหลายระดับตั้งแต่ระดับประเทศ, นานาชาติ, ทวีป และโลก คอยควบคุมดูแล, ปรับปรุง และแก้ไข เพื่อคุณภาพที่ดีของเกม

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfmpage=content&categoryId=306&contentId=141439
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ความน่าจะเป็น (Probability)
ทฤษฎีความน่าจะเป็น คือ การศึกษาความน่าจะเป็นแบบคณิตศาสตร์นักคณิตศาสตร์จะมองความน่าจะเป็นว่าเป็นตัวเลขระหว่างศูนย์กับหนึ่ง ที่กำหนดให้กับ "เหตุการณ์" (ความน่าจะเป็นที่เท่ากับ 0 ก็คือไม่มีโอกาสที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น แต่ถ้าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1 แสดงว่าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน) ที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ความน่าจะเป็น P(E) ถูกกำหนดให้กับเหตุการณ์ E ตามสัจพจน์ของความน่าจะเป็น
ที่มาของข้อมูลhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99
ความน่าจะเป็น (Probability)
1ดู "ฟุตบอล" แบบ "ธุรกิจฟุตบอล".ความน่าจะเป็น คือ จำนวนที่แสดงให้ทราบว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง มี 
โอกาสเกิดขึ้นมากหรือน้อยเพียงใด   สิ่งที่จำเป็นต้องทราบและทำความเข้าใจคือ  
 1.  แซมเปิลสเปซ (Sample Space ) 
 2.  แซมเปิลพ้อยท์ (Sample Point)
 3. เหตุการณ์ (event)
 4. การทดลองสุ่ม (Random Experiment)
2.แซมเปิลสเปซ (Sample Space ) เป็นเซตที่มีสมาชิกประกอบด้วยสิ่งที่ต้องการ ทั้งหมด จากการทดลองอย่างใดอย่างหนึ่ง บางครั้งเรียกว่า Universal Set 
เขียนแทนด้วย S   เช่น ในการโยนลูกเต๋าถ้าต้องการดูว่าหน้าอะไรจะขึ้นมาจะได้  S =  1, 2, 3, 4, 5, 6 
3.แซมเปิลพ้อยท์ (Sample Point)   คือ สมาชิกของแซมเปิลสเปซ (Sample Space )   
4.เหตุการณ์ (event)  คือ เซตที่เป็นสับเซตของ Sample Space  หรือเหตุการณ์ที่เราสนใจ จากการทดลองสุ่ม
5.การทดลองสุ่ม (Random Experiment)  คือ การกระทำที่เราทราบว่าผลทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง  แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่าจะเกิดผลอะไรจากผลทั้งหมดที่เป็นไปได้เหล่านั้น
6.ความน่าจะเป็น  =   จำนวนผลของเหตุการณ์ที่สนใจ / จำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม  
P(E) =    n(E)/   n(S)

ข้อควรจำ  
1. เหตุการณ์ที่แน่นอน คือ เหตุการณ์ที่มีความน่าจะเป็น = 1 เสมอ
2. เหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ คือ เหตุการณ์ที่มีความน่าจะเป็น = 0
3. ความน่าจะเป็นใด ๆ จะมีค่าไม่ต่ำกว่า 0 และ ไม่เกิน 1 เสมอ
4. ในการทดลองหนึ่งสามารถทำให้เกิดผลที่ต้องการอย่างมีโอกาสเท่ากันและมีโอกาสเกิดได้ N สิ่ง และเหตุการณ์ A มีจำนวนสมาชิกเป็น n  ดังนั้นความน่าจะเป็นของ A คือ  P(A) =   n/ N

ทดสอบความเข้าใจ
ข้อ 1.ทอดลูกเต๋า 1 ลูก กำหนดให้ E เป็นเหตุการณ์ที่จะได้แต้มน้อยกว่า 4 จงหาความน่าจะเป็นของ E หรือ P(E)  
ตอบ  1/2
ข้อ 2.โยนเหรียญอันหนึ่งสองครั้งจงหาค่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดหัวอย่างน้อย 1 หัว
ตอบ  3/4
ข้อ 3.จงคำนวณหาความน่าจะเป็นของการหยิบไพ่ 1 ใบ ที่จะได้โพแดง
ตอบ  13/52 = 1/4
ข้อ 4.มีลูกบาศก์ขนาดเท่า ๆ กัน 9 อัน เป็นสีแดง 5 อัน สีขาว 4 อัน  ถ้านำลูกบาศก์เหล่านี้มาเรียงเป็นแถวยาว  จงหาความน่าจะเป็นที่ที่ลูกบาศก์สีแดงอยู่หัวและท้ายแถว
ตอบ  5/18
ที่มาของข้อมูล www.tutormaths.com/mathapa17.doc 
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ดู "ฟุตบอล" แบบ "ธุรกิจฟุตบอล"ในชีวิตประจำวันเราอยู่กับเหตุการณ์ต่าง ๆ และมีคำถามอยู่ในใจตลอดเวลา เช่น
- พรุ่งนี้ฝนจะตกหรือไม่
- บางทีเราต้องไปทำงานวันนี้
- นายกอาจลาออกและยุปสภาเร็ว ๆ นี้
- ทีมฟุตบอลทีมใดจะได้เป็นแชมป์โลก
- ใครชนะเลือกตั้งในสมัยหน้า

คำว่า "ความน่าจะเป็น" หรือ "probability" เป็นวิธีการวัดความไม่แน่นอนในรูปแบบคณิตศาสตร์ เช่น เมื่อโยนเหรียญ ความน่าจะเป็นของเหรียญที่จะออกหัวหรือก้อยเท่ากับ 0.5 
ดังนั้นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอาณาคตเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดาได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ นักอุตุนิยมวิทยาจึงใช้หลักการของความน่าจะเป็นเข้ามาทำนาย เช่น ความน่าจะเป็นของการเกิดฝนตกใน กรุงเทพมหานคร ในวันพรุ่งนี้มีค่าเท่ากับ 0.7 
ความน่าจะเป็น เป็นค่าที่อาจมีความหมายที่หลายคนเข้าใจได้ไม่ยาก ความน่าจะเป็น เป็นศาสตร์ที่มีความละเอียดอ่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ความน่าจะเป็นมีการกำหนดค่าเป็นเศษส่วนหรือเป็นเปอร์เซนต์หรือให้มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 เช่น ถ้านำลูกเต๋า ทอยลงบนพื้น โอกาสที่จะปรากฎหน้า 1 มีค่าเท่ากับ 1/6 หรือ 16.6 เปอร์เซนต์ ถ้าโยนเหรียญหนึ่งเหรียญ และให้ตกบนพื้น (โยนแบบยุติธรรม) โอกาสที่จะปรากฏหัวเท่ากับ 1/2 หรือ 0.5 
ในทางคณิตศาสตร์ เราหา "ค่าของความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ซึ่ง ไม่ทราบแน่ว่าจะเกิดหรือไม่" ได้โดยพิจารณา "น้ำหนัก" ที่เหตุการณ์นั้นๆ จะเกิด ถ้ากำหนดให้น้ำหนักของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้มีค่าเป็น 0 น้ำหนัก ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่มีค่าเป็น 1 และน้ำหนักของเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจ เกิดขึ้นมีค่าเป็นจำนวนเลขที่อยู่ระหว่าง 0 กับ 1 เราจะมีตัวเลขมากมายนับ ไม่ถ้วน แสดงค่าของน้ำหนัก หรือโอกาสที่เหตุการณ์ต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้ และเรียกค่าของน้ำหนักนี้ว่า "ค่าของความน่าจะเป็น" 
พิจารณาการโยนเหรียญบาทหนึ่งเหรียญ ถ้าเหรียญนั้นไม่ได้มีการถ่วง ให้หน้าใดง่ายง่ายกว่าหน้าอื่นก็เชื่อว่า "น้ำหนัก" ของการที่เหรียญจะ หงายหน้าใดหน้าหนึ่งย่อมเท่ากัน 
ผลที่เป็นไปได้ทั้งหมดมี 2 อย่าง คือเหรียญหงายหัวหรือเหรียญ หงายก้อยซึ่งอาจเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งได้เท่า ๆ กัน 
โอกาสที่เหรียญจะหงายหัว=โอกาสที่เหรียญจะหงายก้อย
โอกาสที่เหรียญจะหงายหัว = 1/2 
โอกาสที่เหรียญจะหงายก้อย = 1/2 
เรากล่าวว่า ความน่าจะเป็นที่เหรียญหงายหัวมีค่า 1/2 
และความน่าจะเป็นที่เหรียญหงายก้อยมีค่า 1/2 
ในการทอดลูกเต๋าลูกหนึ่ง เมื่อลูกเต๋านั้น ๆ มีหน้าใหญ่เท่า ๆกัน และไม่มีการถ่วงให้หน้าใดหงายง่ายกว่าหน้าอื่น ก็เชื่อได้ว่า "น้ำหนัก" ของการที่ลูกเต๋าจะหงายหน้าใดหน้าหนึ่งย่อมเท่ากัน 
ผลที่ลูกเต๋าจะขึ้นหน้าต่าง ๆ ทั้งหมดมี 6 อย่าง คือ อาจขึ้นหน้า หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หรือหก ด้วยความน่าจะเป็นเท่า ๆ กัน คือ 1/6  ดู "ฟุตบอล" แบบ "ธุรกิจฟุตบอล"
พิจารณาการโยนเหรียญบาทหนึ่งเหรียญ และเหรียญห้าบาทหนึ่งเหรียญ พร้อม ๆ กัน เหรียญย่อมหงายได้ 4 อย่าง 
ความน่าจะเป็นที่เหรียญใดจะหงายหัวหรือก้อยมีเท่า ๆ กัน คือ 1/2 สำหรับ แต่ละเหรียญ เราใช้ทฤษฎีของความน่าจะเป็นคำนวณค่าของความน่าจะเป็น ได้ดังนี้ 
ความน่าจะเป็นที่เหรียญทั้งสองจะหงายหัว = 1/4 
ความน่าจะเป็นที่เหรียญทั้งสองจะหงายก้อย = 1/4 
ความน่าจะเป็นที่เหรียญหนึ่งหงายหัวกับอีก 
เหรียญหนึ่งหงายก้อย = 1/2 
นอกจากเรื่องโยนลูกเต๋า โยนเหรียญ จับสลาก แจกไพ่แล้ว ยัง มีเรื่องอื่น ๆ อีกมาก ที่มีผลการเกิดซึ่งบอกล่วงหน้าไม่ได้ว่าจะให้ผลอย่าง ไร ทางคณิตศาสตร์จึงต้องใช้สัญลักษณ์มาช่วยจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจ เกิดขึ้นเฉพาะเรื่อง  
และอาศัยกฎเกณฑ์ของคณิตศาสตร์ในแขนงอื่น ๆ ทำให้ เกิดทฤษฎีต่าง ๆ ที่สามารถนำไปหาค่าความน่าจะเป็นของเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับความไม่แน่นอนทั้งหลายได้ และสามารถใช้ค่าเหล่านี้คำนวณหาค่าอื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ เช่น ใช้ค่าของความน่าจะเป็นที่จะมีลูกค้าเข้ามาซื้อของในร้าน เพื่อหาว่าโดยเฉลี่ยจะ มีลูกค้าเข้ามาซื้อของกี่คน นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ให้กำเนิดเรื่องของความน่าจะเป็น เมื่อประมาณ 300 ปีมาแล้ว แต่เพิ่งจะได้มีการศึกษาโดยละเอียดและนำไปใช้เมื่อประมาณ 40 ปีมานี้เอง ปัจจุบัน เรื่องราวของความน่าจะเป็น มีความสำคัญอย่างมาก การค้นคว้า การวิจัย และการปฏิบัติงานใด ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการคาดคะเน จะต้องอาศัยเรื่องของความน่าจะเป็นทั้งสิ้น เช่น การเกษตร การแพทย์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขา ความน่าจะเป็นบางเรื่องใช้คณิตศาสตร์ชั้นสูงหลายวิชามาเกี่ยว โยงกัน และยังมีเรื่องต้องศึกษาค้นคว้าอีกมาก
ที่มาของข้อมูล https://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/prob_even.htm

คำถามในห้องเรียน 
1. กรณี ชนะ เสมอ หรือ แพ้ มีผลต่ธุรกิจฟุตบอลมากน้อยเพียงไร อะไรเป็นปัจจัยให้เหตุผลประกอบ
2. นักเรียนคิดว่าถ้านักกีฬามีแรงจูงใจผลตอบแทนที่ดี อาจจะชนะมากกว่าแพ้ใช่หรือไม่อธิบาย

ข้อเสนอแนะ ดู "ฟุตบอล" แบบ "ธุรกิจฟุตบอล"ดูฟุตบอลอย่างมีสติมองเห็นเป็นเกมกีฬา
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่  3  การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม  กีฬาไทย  และกีฬาสากล
มาตรฐาน  พ 3.1 เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย  การเล่นเกม  และกีฬา
มาตรฐาน  พ 3.2 รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม  และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน   และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว 
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน   และทักษะการแสวงหาความรู้    มีคุณธรรม    และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ที่มาของภาพ https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRB2ZY2yzah56E7JOuLqu0sfL14GG4YhqLBRVQdbwZINuKCaGpPGw
ที่มาของภาพ https://learners.in.th/file/jantarat/soccerr.jpg
ที่มาของภาพ https://offside.igetweb.com/article/art_385505.jpg
ที่มาของภาพ https://seminar.nalueng.com/seminar/upload/images/3UEuzKXTue43938.jpg
ที่มาของภาพ https://www.winningsupplies.com/images/game_hands/3.jpg
ที่มาของภาพ https://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/prob_even_files/image006.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4024

อัพเดทล่าสุด