https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ยอดสมัคร GAT PAT 1/2555 กว่า 3 แสน MUSLIMTHAIPOST

 

ยอดสมัคร GAT PAT 1/2555 กว่า 3 แสน


913 ผู้ชม


วิชาสมัครและจ่ายเงินมากที่สุด 3 อันดับแรก GAT PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ และPAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู   

ยอดสมัคร GAT PAT 1/2555 กว่า 3 แสน

ยอดสมัคร GAT PAT 1/2555 กว่า 3 แสนสทศ.เผยยอดสมัครแกต/แพต ครั้งที่ 1/2555 สอบ เดือน ต.ค. 327,199 คน ชำระเงิน 252,420 คน ชี้วิชาสมัครและจ่ายเงินเยอะสุด 3 อันดับแรก แกต ,แพต1ความถนัดทางคณิตศาสตร์ และแพต 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู พร้อมฝากนร.ตั้งใจจะสอบขอให้รีบมาสมัครและจ่ายเงินให้เรียบร้อย 
          รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการเปิดรับสมัครทดสอบวัดความถนัดทั่วไป หรือแกตและการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือแพต ครั้งที่ 1/2555 สอบเดือนตุลาคม ที่เปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 1 - 29 ก.ค. 2554 ทางเว็บไซต์ www.niets.or.th ว่าการรับสมัครผ่านมาแล้วเกือบ 20 วัน พบว่ามียอดผู้สมัครสอบทั้งหมด 333,147 คน และมีผู้ชำระเงินทั้งหมด 256,290 แบ่งเป็นกลุ่มวิชาต่างๆ

แกต ยอดผู้สมัคร 327,199 คน ชำระเงิน252,420 คน 
แพต 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ สมัคร245,839 คน ชำระเงิน198,136 คน 
แพต 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ สมัคร 207,215 คน ชำระเงิน 166,975 
แพต 3ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ สมัคร 54,524 คน ชำระเงิน 44,594 คน 
แพต 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ สมัคร 24,964 คน ชำระเงิน 18,312 คน 
แพต 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู สมัคร 225,215 คน ชำระเงิน 173,130 คน 
แพต 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ สมัคร 38,573 คน ชำระเงิน 27,476 คน
แพต 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส สมัคร 8,762 คน ชำระเงิน 7,087 คน 
แพต 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน สมัคร2,531 คน ชำระเงิน2,122 คน 
แพต 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น สมัคร 6,428 คน ชำระเงิน 5,220 คน 
แพต 7.4 ความถนัดภาษาจีน สมัคร13,103 คน ชำระเงิน10,634 คน 
แพต 7.5 ความถนัดภาษาอาหรับ สมัคร2,375 คน ชำระเงิน 1,569 คน
แพต 7.6 ความถนัดภาษาบาลี สมัคร 2,397 คน ชำระเงิน 1,966 คน

การชำระเงิน ชำระได้ผ่านทางธนาคารกรุงไทย ธนาคารพาณิชย์ และเคาน์เตอร์เซอร์วิส ตามร้าน 7-Eleven หรือร้านที่มีเครื่องหมายเคาน์เตอร์เซอร์วิส ได้ด้วย โดยชำระเงิน วันที่1 - 30 ก.ค. 2554 
ส่วนการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลผู้สมัคร วันที่ 1 - 31 ก.ค.2554 ประกาศเลขที่นั่งสอบและสถานที่สอบ พร้อมพิมพ์บัตรแสดงข้อมูลเลขที่นั่งสอบ วันที่ 20 ส.ค.2554 กำหนดวันสอบ วันที่ 8 - 11 ต.ค. 2554 www.niets.or.th
ประกาศผลสอบ 10 พ.ย. 2554 www.niets.or.th
ยอดสมัคร GAT PAT 1/2555 กว่า 3 แสนรศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับการจัดทำข้อสอบวิชารับตรงร่วมกัน 7 วิชา ได้แก่ 
เคมี ชีวะ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษและภาษาไทย 
ซึ่งจะสมัครตั้งแต่วันที่ 1 - 30 ตุลาคม 2554 สอบวันที่ 7-8 มกราคม 2555 ประกาศผลวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2555

ที่มาของข้อมูล https://www.komchadluek.net/detail/20110726/104028/ยอดสมัครแกตแพต12555กว่า3แสน.html
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลและสารสนเทศ

      ข้อมูล (DATA) คือ ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูล จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการ รวบรวม ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ดังจะเห็นจาก กระบวนการเลือกตั้ง หลายพรรค การเมือง มีการใช้เทคโนโลยีรวบรวมข้อมูล หาวิธีการที่จะให้ได้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว และเมื่อ สถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างเกิดผันแปรขึ้น การเตรียมการหรือการแก้สถานการณ์ จะดำเนินการได้อย่างทันท่วงที 
      ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่าง ๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถเรียกมาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง ข้อมูลจึงจำเป็น ต้องเป็นข้อมูลที่ดีมี ความถูกต้องแม่นยำ
         สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ สารสนเทศจึงหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะกับการใช้งานได้ทันเวลาและอยู่ในรูปแบบที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ จะต้องมีการควบคุม ดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนด ให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับ จะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุมกำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ
          ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การ ดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว 
         สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้ เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือ มีความเกี่ยว ข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ที่มาของข้อมูล https://www.chakkham.ac.th/technology/techno2/page1.html 
ยอดสมัคร GAT PAT 1/2555 กว่า 3 แสนการจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดำเนินการ หรือกล่าวได้ว่าการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้
ประโยชน์ องค์การจำเป็นต้องลงทุน ทั้งในด้านตัวข้อมูล เครื่องจักร และอุปกรณ์ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขึ้นมารองรับ เพื่อให้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการระบบข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้ และพยายามมองปัญหาแบบที่เป็นจริง สามารถดำเนินการได้ ให้ประสิทธิผลคุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน ดังนี้
        1. ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้าง ข้อมูล ที่ออก แบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศ ส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
        2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ตี ความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียนค้น และรายงานตามผู้ใช้
        3. ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
        4. ความชัดเจนและกะทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
        5. ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ
        การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
        การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศ เพื่อการใช้งาน
1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล ควรประกอบด้วย
        ยอดสมัคร GAT PAT 1/2555 กว่า 3 แสน1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก และต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่าง ๆ เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน
       1.2 การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข การตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธี เช่น การใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคนป้อนข้อมูลชุดเดียวกันเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน

2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ อาจประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
       2.1 การจัดแบ่งข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีกรแบ่งหมวดหมู่สินค้า และบริการ เพื่อความสะดวกในการค้นหา
       2.2 การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ทำให้ค้นหาได้ง่าย
       2.3 การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่นสถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
       2.4 การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย

3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน
 ประกอบด้วย
      3.1 การเก็บรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูลนอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูล เพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้
      3.2 การค้นหาข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไปการค้นหาข้อมูลจะต้องค้นได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงาน ทำให้การเรียกค้นกระทำได้ทันเวลา
      3.3 การทำสำเนาข้อมูล การทำสำเนาเพื่อที่จะนำข้อมูลเก็บรักษาไว้ หรือนำไปแจกจ่ายในภายหลัง จึงควรจัดเก็บข้อมูลให้ง่ายต่อการทำสำเนา หรือนำไปใช้อีกครั้งไดโดยง่าย
      3.4 การสื่อสาร ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งท่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา
ที่มาของข้อมูล https://www.chakkham.ac.th/technology/techno2/page2.html
คำถามในห้องเรียน
1. ให้นักเรียนนำเสนอข้อมูลพร้อมทั้งเปรียบเทียบ ยอดผู้สมัคร PAT กับ GAT
2. นักเรียนคิดว่าแนวโน้มของการชำระเงินในการสมัคร PAT และ GAT เป็นอย่างไรอภิปราย

ข้อเสนอแนะ
การชำระเงิน ทางธนาคารกและเคาน์เตอร์เซอร์วิส สะดวกต่อนักเรียนทุกคนหรือไม่ ส่วนการดูรายละเอียดทาง www.niets.or.th  เมื่อนักเรียนเข้าดูพร้อมกันคงไม่มีปัญหา

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจเห็นคุณค่าและใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้    การสื่อสาร  การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีคุณธรรม  
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1 การอ่าน
มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน    

ที่มาของภาพ https://www.chakkham.ac.th/technology/techno2/data4.jpg
ที่มาของภาพ https://www.chakkham.ac.th/technology/techno2/data3.jpg
ที่มาของภาพ https://www.chakkham.ac.th/technology/techno2/title.jpg
ที่มาของภาพ https://news.mcot.net/_images/MNewsImages_93643.jpg
ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQTl806ABt2l0YKqK47oK29c9p3w_yr8rasmKSd7BXURpb-AfYL

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4211

อัพเดทล่าสุด