https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การปรับเนื้อหาในหลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ MUSLIMTHAIPOST

 

การปรับเนื้อหาในหลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระคณิตศาสตร์


545 ผู้ชม


เป็นปรับเปลี่ยนเนื้อหาในสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษา   

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

การปรับเนื้อหาในหลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระคณิตศาสตร์

 

https://www.bskschool.ac.th/web/downloadicon/1292426339.jpg


               กระทรวงศึกษาธิการ (2551) ได้กำหนดสาระหลักวิชาคณิตศาสตร์ในสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน ดังนี้
                 1. การกำหนดประเด็น 
                 2. การเขียนข้อคำถาม 
                 3. การกำหนดวิธีการศึกษา 
                 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 
                 5. การจัดระบบข้อมูล 
                 6. การนำเสนอข้อมูล  
                 7. ค่ากลางและการกระจายของข้อมูล  
                 8. การวิเคราะห์และการแปลความข้อมูล 
                 9. การสำรวจความคิดเห็น  
               10. การใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นในการอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ           และช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน  
    
              กระทรวงศึกษาธิการ (2551) ได้กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลางและตัวชี้วัดของวิชาคณิตศาสตร์ในสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ดังนี้
                1. การเก็บรวบข้อมูล  ตัวชี้วัดได้แก่  กำหนดประเด็น และเขียนข้อคำถามเกี่ยวกับปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งกำหนดวิธีการศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม    
                2. ค่ากลางของข้อมูลและการนำไปใช้  ตัวชี้วัดได้แก่  หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต  มัธยฐานและฐานนิยมของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่ และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม
                3. การนำเสนอข้อมูล  ตัวชี้วัดได้แก่  นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสม      
                4. การวิเคราะห์ข้อมูลจากการนำเสนอ  ตัวชี้วัดได้แก่  อ่าน  แปลความหมายและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการนำเสนอ      
                5. การใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นประกอบการตัดสินใจ  ตัวชี้วัดได้แก่ ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นประกอบการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ และอภิปรายถึงความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการนำเสนอข้อมูลทางสถิติ

               จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า หลักสูตรใหม่ได้มีลดทอนเนื้อหาจากหลักสูตรเดิมในส่วนสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และได้เน้นการนำความรู้ทางสถิติไปใช้ในการแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

เอกสารอ้างอิง

  กระทรวงศึกษาธิการ.  (2551).  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ:  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4241

อัพเดทล่าสุด