https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แผนที่ เครื่องมือสำคัญในการศึกษาภูมิศาสตร์ MUSLIMTHAIPOST

 

แผนที่ เครื่องมือสำคัญในการศึกษาภูมิศาสตร์


827 ผู้ชม


นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความหมาย องค์ประกอบ การอ่านแผนที่ เพื่อการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์   


แผนที่ หมายถึง
      การนำเอารูปภาพสิ่งต่างๆๆ บนพื้นผิวโลก (Earth'surface) มาย่อส่วนให้เล็กลง แล้วนำมาเชียนลงกระดาษแผ่นราบ   สิ่งต่างๆบนพื้นโลกประกอบไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ(nature)และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (manmead) สิ่งเหล่านี้แสดงบนแผนที่โดยใช้สี เส้นหรือรูปร่างต่างๆที่เป็นสัญลักษณ์แทน
     
 แผนที่เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง   ที่มนุษย์ใช้ช่วยในการดำเนินกิจการงานต่างๆตลอดจน การศึกษาหาความรู้ในด้านวิชาการ และในด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ แผนที่เปรียบเสมือนเป็นชวเลขที่ดียิ่งของนักภูมิศาสตร์ อันที่จะเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ให้ละเอียดลึกชึ้ง
  
 
ประวัติและความเป็นมาของแผนที่
  
 ความสามรถในการทำแผนที่เป็นสัญชาติญาณอย่างหนึ่งของมนุษญ์ชาติ พฤติกรรมที่แสดงออกทาง แผนที่มีมานานแล้ว พวงกเอศกิโมรู้จักการทำแผนที่ด้วยการใช้ไม้สลักติดลงบนหนังแมวน้ำแสดงแหล่งล่าสัตว์ ตกปลา    ชาวเกาะมาร์แชลใช้เปลือกหอยแทนเกาะก้านมะพร้าว  แทนเส้นทางการเดินเรือละบริเวณที่มีคลื่นจัด พวก nomad ที่เร่ร่อนทะเลทรายตามที่ต่างๆ จะใช้โดยขีดบนผืนทราย
            - แผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกคือแผนที่ของชาวเมโลโปเตเมีย เมื่อ 2,300ปี ก่อนปีพุทธ
ศักราช
             - สมัยกรีกโบราณ เป็นผู้วางรากฐานในการทำแผนที่ เริ่มด้วยการพิสูจน์ปี พ.ศ.323ว่า
โลกกลม และมีการวัดขนาดของโลกโดย อีแรโตสเตนีส โดยใช้หลักทาคณิตศาสตร์ โดย
สร้างเส้นสมมุติที่เรียกว่า เส้นขนานและเส้นเมอริเดียน
            - ต่อมาปี พ.ศ. 370ปี ปโตเลมี นำเอาผลงานของอีแรโตสเตนีสมาปรับปรุงกำหนดค่ามุม
ของเส้นขนานและเว้นเมอริเดียน
  
  
ประวัติแผนที่ประเทศไทย
            
แผนที่ของปโตเลมี ฉบับที่เขียนเมื่อพ.ศ. 693    เรียกบริเวณที่ตั้งประเทศไทยปัจุบันว่า
Aurea Khersonesus ชึ่งแปลว่า แหลมทอง (Golden Peninsular)แผนที่ในประเทศที่เก่าแก่ที่สุดคือ แผนที่ยุทธ์ศาสตร์รัชกาลพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่างปี 1893 1912 การทำแผนที่ประเทศไทยเริ่มเมื่อ ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2411   ได้มีการทำแผนที่ด้านทิศตะวันตกไทยกำหนดพรมแดนไทยกับพม่า
 

ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่

        แผนที่มีความสำคัญ   คือเป็นเครื่องช่วยในการดำเนินงาน  หรือประกอบกิจการต่างๆมนุษย์รู้จัก  ใช้ แผนที่มาตั้งแต่โบราณ ประโยชน์    ของแผนที่ในสมัยนั้น    คือใช้เป็นเครื่องแสดงเส้นทางเดิน ถิ่นที่อยู่อาศัย  แหล่งอาหารในทางภูมิศาสตร์ถือว่าแผนที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์  มีความสำคัญต่อการศึกษาข้อมูลเพื่อประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางการเมือง ปัจจุบันแผนที่ถูกนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างกว้างขวางตามความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีจากการที่จำนวนประชากรเพิ่มจำนวนขึ้นอย่าง รวดเร็ว  ความจำเป็นในการวาง
ผังเมืองให้ เหมาะสม กับการขยายตัวของชุมชนและการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติจึงเพิ่มมากตาม แผนที่จึงมีความสำคัญต่อ การนำข้อมูลไปคิดวิเคราะห์เพื่อหาศักยภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศตลอดจนทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนประโยชน์ของแผนที่มีมากมาย แต่ได้จัดไว้ ตามการดำเนินกิจกรรมใหญ่ๆ ดังนี้

1. ประโยชน์ทางด้านการเมือง
  
                  
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ ให้คงอยู่ จำเป็น
จะต้องมีความรู้ในเรื่องภูมิศาสตร์การเมือง    หรือที่เรียกกันว่า "ภูมิรัฐศาสตร์"และเครื่องมือ ที่สำคัญของนักภูมิรัฐศาสตร์ก็คือแผนที่ เพราะใช้ประโยชน์ในการศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์และนำมาวางแผนดำเนินการ   เตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อย่างเช่น ปัญหาแนวพรมแดนระหว่างประเทศ
  

2. ประโยชน์ทางด้านการทหาร
     
ในการพิจารณาวางแผนทางยุทธศาสตร์ของทหาร จำเป็นต้อง หาข้อมูลหรือข่าวสารที่เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ และตำแหน่งทางสิ่งแวดล้อมที่ถูก  ต้องแน่นอนเกี่ยวกับระยะทาง ความสูง เส้นทาง ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ
  
3. ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ

      เศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นอยู่  ของประชาชนภายในชาติเ พราะฉะนั้นทุกประเทศก็มุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของตนเพื่อความมั่งคั่งและมั่นคงการดำเนินงานเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาคที่ผ่านมา แผนที่เป็นสิ่งแรกที่ต้องผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานในการสำรวจ    ศึกษาสภาพ   และวางแผนการทำงาน และทุกขั้นตอนของการดำเนินงานมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้แผนที่ที่เหมาะสมเช่น การพัฒนาด้านการเกษตร งานในด้านการคมนาคม
  
4. ประโยชน์ทางด้านสังคม
  
        
จากการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิศาสตร์  ทำให้สิ่งแวดล้อมทางสังคมเดิมเปลี่ยนแปลงไปการศึกษาความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมต้องอาศัยการอ่านรายละเอียดในแผนที่ทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อเปรียบเทียบกัน    เพื่อประโยชน์ในการหาข้อมูล หรือสมมุติฐานของ เหตุการณ์ที่จtเกิดในอนาคตเพื่อหามาตรการและวางแผนการป้องกันผลกระทบจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่จะเกิดในอนาคตหรือเพื่อวางแผนพัฒนาสังคมไปในแนวทางที่ถูกต้องอีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการวาง ผังเมืองให้เหมาะสมกับการขยายตัวของชุมชนนอกจากนี้ในการศึกษาทางด้านโบราณคดีก็ต้องอาศัยแผนที่ เพื่อค้นหาแหล่งชุมชนโบราณอีกด้วย

ชนิดของแผนที่

    การแบ่งประเภทของแผนที่ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่คือ
 

   1. แผนที่แบบแบนราบ (Planimetric Map)
  
     
ได้แก่ แผนที่ถึงแสดงรายละเอียดทั่วไปของพื้นผิวพิภพในทางราบแต่ไม่แสดงความสูง
ต่ำของภูมิประเทศ ให้ประโยขน์ในทางด้านการแสดงตำแหน่งและการหาระยะทางใน
ทางราบ
  
   
   2. แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map)_
  
  
ได้แก่ แผนที่ชึ่งแสดงรายละเอียดทั่วไปรวมทั้งลักษณะสูงต่ำของภูมิประเทศ ชึ่งอาจเป็น
แผนที่ที่มีมาตราส่วนใหญ่และปานกลางแต่เสียเวลาและแรงงานในการจัดทำมาก
  
   3. แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map)
  
   เป็นแผนที่ ที่ทำจากภาพถ่ายทางอากาศ ชึ่งอาจได้เป็นสีหรือภาพขาวดำก็ได้ แล้วนำมาจัดในลักษณะของโมเซค (Mosaic)ชึ่งมีโครงสร้างพิกัดศัพท์ทางภูมิศาสตร์ และรายละเอียดประจำของระวาง แผนที่มีประโยขน์มาก สามารถจัดทำได้อย่ารวดเร็วแต่มีความยากในการอ่าน ผู้อ่านต้องมีความรู้ในการใช้แผนที่ทางอากาศมาก่อน
  
   
ชนิดของแผนที่
  
1. แบ่งตามรายละเอียดที่ปรากฏให้เห็นบนแผนที่ เช่น
          1.1. แผนที่ลายเส้น (Line Map) รายละเอียดที่ปรากฏเป็นลายเส้นตรงหรือเส้นโค้ง อื่นๆ
          1.2. แผนที่แบบผสม (Annotated Maps) ผสมระหว่างภาพถ่ายกับลายเส้นเน้นถนน
  
   
2. แบ่งตามขนาดมาตราส่วน แยกเป็น 2 อย่างคือ
           2.1. แบ่งในทางภูมิศาสตร์
           2.2. แบ่งในกิจการทหาร
   
3. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน แยกเป็น 12 อย่าง
           3.1. แผนที่ทั่วไป General Map เป็นรากฐานในการทำแผนที่อื่นๆ
           3.2. แผนที่โฉนดที่ดิน (Cadastral Map) แสดงระยะขอบเขตที่ดิน
           3.3. แผนที่ผังเมือง (City Map , Ciyt Plan) แสดงอาคารบ้านพัก และตัวเมือง
           3.4. แผนที่ทางหลวง (Highway Map) แสดงถนนสายสำคัญ
           3.5. แผนที่เศรษฐกิจ (Economic Map) แสดงเขตอุตสาหกรรม เกษตรกรรม อื่นๆ
           3.6. แผนที่สถิติ (Statistical Map) แสดงราการทางสถิติต่างๆ
           3.7. แผนที่การใช้ที่ดิน (Land-use Map) นิยมใข้สีแสดงความแตกต่าง
           3.8. แผนที่รัฐกิจ (Political Map) แสดงเขตปกครองและพรมแดน
           3.9. แผนที่ประวัติศาสตร์ (Historical Map) แสดงอาณาเขตสมัยต่างๆ ชาติพันธุ์
           3.10. แผนที่เพื่อนิเทศ (illustortion Map) เพื่อโฆษณา และนิทรรศการต่างๆ
           3.11. แผนที่เฉพาะเรื่อง (Topical Map)แสดงเรื่องต่างๆ
           3.12. แผนที่ทรวดทรง (Relief Map) แสดงรูปร่างผิวพื้นพิภพ สูงต่ำอย่างไร
  
    
4. แบ่งตามกิจการทหาร แบ่งออกเป็น 6 อย่าง
  
         
4.1. แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strstegic Map)
         4.2. แผนที่ยุทธวิธี (Tactical Map)
         4.3. แผนที่ยุทธศาสตร์และยุทธวิธี (Stragic Tactical Map)
         4.4. แผนที่ทหารปืนใหญ่ (Artillery Map)
         4.5. แผนที่การบิน (Aeronautical Map)
         4.6. แผนที่ทะเล (Navigation or nautical charts)
 
 
องค์ประกอบของแผนที่

      คือ สิ่งที่ปรากฏอยู่บนแผนที่เพื่อให้ผู้ที่ใช้แผนที่ได้รับทราบรายละเอียด อย่างพอเพียงเพื่อการอ่านแผนที่ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ โดยทั่วไปจะมี 3 ประการ ก็คือ
1. รูปร่างลักษณะแผ่นแผนที่ โดยต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้
- ขอบกระดาษ (Paper Trim) ต้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสและเหมาะสมกับพื้นที่แผนที่นั้นๆ
- ขอบระวางแผนที่ (Sheet Line) เป็นเส้นกั้นรายละเอียดของภูมิประเทศในพื้นที่ที่ต้อง  การแสดงมีตั้งแต่ 1-3 เส้นก็ได้ เพื่อแสดงราบเอียดความแตกต่างของแต่ละพื้นที่
- ขอบจำกัดแสดงรายละเอียด (Work Limit) แนวกำหนดไว้เพื่อแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม
- รายการขอบระวาง (Marginal Infomation)
2. องค์ประกอบภายนอกขอบระวางแผนที่
- มาตราส่วนแผนที่ (Map Scale) เพื่อใหผู้ใช่ทราบมาตราส่วนในแผนที่กับพื้นที่จริง
- คำอธิบายสัญลักษณ(Legend) เป็นรายละเอียดที่แสดงลักษณ์ที่แสดงปรากฏในขอบระวาง
- คำอธบายศัพท์ (Glossary) คำอธิบายศัพท์ที่ปรากฏในระวางให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
3. องค์ประกอบภายในขอบระวางแผนที่
คือสิ่งต่างๆที่แสดง ไว้ในกรอบชึ่งล้อมรอบด้วยเส้นขอบระวางแผนที่ ตามปกติแล้วรายละเอียดดังกล่าวจะสัมพันธ์กับองค์ประกอบภายนอกขอบเส้นระวาง   ประกอบด้วย
     
1. มาตราส่วนแผนที่ (Map Scale)
        คือ อัตราส่วนของระยะทางบนแผนที่ (map distance หรือ M.D.)กับระยะทางภูมิประเทศ
(ground distance หรือ G.D.)จะทำให้ผู้ใช้ทราบว่าขนาดจริงๆ ของพื้นที่มีเท่าใด นอกจากนี้ยังทำให้ ทราบระยะทางบนแผนที่มีขนาดในพื้นที่จริงเท่าใด มาตราส่วนที่นิยมใช้ มี3 ชนิด คือ
          
(1) มาตราส่วนเศษส่วน (fraction scale หรือ rational scale)
แสดงด้วยตัวเลขอัตราส่วนระหว่างระยะทาง ในพื้นที่จริงกับระยะ ทางในแผนที่ เช่น มาตราส่วน 1:10,000,000 หมายความว่า 1 ส่วน บนแผนที่เท่ากับภูมิประเทศจริง 10 ล้านส่วน
          (2) มาตราส่วนแบบกราฟิก (graphic scale)
มาตราส่วนที่แสดงไว้ด้วยการวาดภาพ รูปภาพ 
เส้นบรรทัดที่ใช้วัดระยะทาง
          
(3) มาตราส่วนคำพูด (verbal scale)
เช่น 1 เซนติเมตร ต่อ 1 กิโลเมตร หมายความว่า 1เซนติเมตรในแผนที่เท่ากับภูมิประเทศ
จริง 1 กิโลเมตร
2. เส้นโครงแผนที่ (Map Projections)
  คือ การเขียนเส้นเมอริเดียนและเส้นขนานตามวิธีต่างๆ ลงบนแผ่นกระดาษแบนราบบน
แผนที่ เพื่อแสดงให้ทราบถึงสิ่งต่างๆ ทั้งหลาย  ว่ามีรูปร่างหน้าตาอย่างไรโดยใช้ค่าละติจูด
(Latitude) หรือที่เรียกว่า เส้นขนาน และค่าลองจิจูด (Longitude)    หรือที่เรียกว่า เส้น
เมอริเดียน เป็นเส้นสมมุติในการเขียนเส้นโครงแผนที
3. สัญลักษณ์
   ในแผนที่จะปรากฏสัญลักษณ์ต่างๆ ที่อาจจะเป็นรูปทรง ลายเส้น หรือสีต่างๆ โดยมีคำอธิบายความหมาย เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายของสัญลักษณ์และอ่านความหมาย ในแผนที่ได้
           นอกจากนี้ยังนิยมใช้สีระบายในแผนที่เพื่อแสดงสิ่งต่างๆ ดังนี้
   สีแดง         ใช้แทน ถนนและเส้นทางคมนาคม
   สีเขียว        ใช้แทน แสดงบริเวณพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ราบ
   สีน้ำเงิน      ใช้แทน แหล่งน้ำ ทางน้ำ และภาษาที่ใช้เขียนกำกับแหล่งน้ำ
   สีน้ำตาล     ใช้แทน ที่สูงและเทือกเขา
    สีดำ          ใช้แทน สถานที่ที่มนุษย์สร้าง
    สีอื่นๆ         แสดงรายละเอียดพิเศษโดยกำหนดไว้ในขอบระวางแผนที่
  
        4. ทิศ    
จะมีเส้นแนวตรงที่ใช้ในการชี้หรือเล็งสิ่งใดๆ เพื่อประโยชน์ในการอ่านแผนที่ โดยทั่วไปจะเขียนเป็นเครื่องหมายแสดงทิศเหนือเป็นทิศหลัก
  
      5. รายละเอียดเกี่ยวกับตำบลที่ตั้งของแผนที่
  
คือข้อมูลที่ปรากฏบนขอบระวาง เพื่อใช้แสดง สัญลักษณ์และแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำบล
      
 6. ระบบบ่งระวาง
 
ในการผลิตแผนที่บางอย่างต้องผลิตให้ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้างใหญ่ จำนวนแผนที่ที่ ผลิตจึงมีหลายระวาง เช่น แผนที่ทหาร เพื่อสะดวกในการใช้จึงจำเป็นต้องมี การบ่งระวาง ซึ่งประกอบด้วยชื่อชุด หมายเลขชุด ชื่อระวาง ฯลฯ
  
     การอ่านและการแปลความหมายในแผนที่
     

     การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ให้เข้าใจ จำเป็นต้องรู้ข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นองค์ประกอบ ของแผนที่และทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อน เพื่อที่จะแปลความหมายและใช้ประโยชน์จากแผนที่ได้อย่างสมบูรณ์โดยเฉพาะแผนที่ภูมิประเทศแบบลายเส้นซึ่งเป็นแผนที่พื้นฐาน ที่ใช้อยู่แพร่หลายในโลก ปัจจุบันนักวิชาการได้คิดหาระบบและสัญญลักษณ์ที่เป็นสากล ในการกำหนดตำแหน่ง เช่น พิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinates) เป็นระบบอ้างอิงบนผิวพิภพ ตำแหน่งของจุดใด ๆ บนพื้นผิวพิภพสามารถ กำหนดด้วยค่าละติจูด (Latitude) หรือที่เรียกว่า เส้นขนาน และเส้นลองจิจูด (Longitude) หรือที่เรียกว่า เส้นเมอริเดียนแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ นอกจากแสดงให้ทราบถึงตำแหน่งที่ตั้ง ระยะทาง และทิศทาง สิ่งสำคัญของแผนที่ชนิดนี้ คือ แสดงความสูงต่ำ และทรวดทรงแบบต่าง ๆ ของภูมิประเทศ การแสดงลักษณะ ภูมิประเทศบนแผนที่ มีหลายวิธี เช่น
     1. แถบสี ใช้แถบสีแสดงความสูงต่ำของภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เช่น สีเขียวแสดง พื้นที่ราบ สีเหลืองจนถึงสีส้มแสดงบริเวณที่เป็นที่สูง สีน้ำตาลเป็นบริเวณที่เป็นภูเขา
      
2. เงา การเขียนเงานั้นตามธรรมดานั้น จะเขียนในลักษณะที่มีแสงส่องมาจากทางด้านหนึ่ง ถ้าเป็น ที่สูงชัน ลักษณะเงาจะเข้ม ถ้าเป็นที่ลาดเงาจะบาง วิธีเขียนเงาจะทำให้จินตนาการถึงความสูงต่ำได้ง่ายขึ้น
     
3. เส้นลาดเขา เป็นการเขียนลายเส้นเพื่อแสดงความสูงต่ำของภูมิประเทศ ลักษณะเส้นจะเป็น เส้นสั้น ๆ ลากขนานกัน ความหนาและช่วงห่างของเส้นมีความหมายต่อการแสดงพื้นที่ คือ ถ้าเส้นหนาเรียง ค่อนข้างชิด แสดงภูมิประเทศที่สูงชัน ถ้าห่างกันแสดงว่าเป็นที่ลาด
    
4. แผนที่ภาพนูน แผนที่ชนิดนี้ถ้าใช้ประกอบกับแถบสี จะทำให้เห็นลักษณะภูมิประเทศได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น
    5. เส้นชั้นความสูง คือเส้นสมมุติที่ลากไปตามพื้นผิวโลกที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เท่ากัน เส้นชั้นความสูงแต่ละเส้นจึงแสดงลักษณะและรูปต่างของพื้นที่ ณ ระดับความสูงหนึ่งเท่านั้น


 กิจกรรมที่ 1 ให้ผู้เรียนศึกษาข้อมูลเรื่องแผนที่พร้อมอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้   แผนที่ คืออะไร  และมีประโยชน์อย่างไร องค์ประกอบของแผนที่มีอะไรบ้าง

  เส้นเมอริเดียนกับเวลา

 เมอริเดียน คือเส้นสมมุติที่ลากผ่านขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ เมอริดียนของแต่ละเส้น จะยาวเป็นครึ่งหนึ่งของวงกลม และปลายของเมอริเดียนทุกเส้นจะบรรจบกันที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ เส้นเมอริเดียนเริ่มแรก ได้แก่ เส้น 0 องศา ที่ลากผ่านตำบลกรีนิช ใกล้กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
 
เส้นเขตวัน คือเส้นเมอริเดียนที่ 180 องศา หรือเส้นตรงกันข้ามกับเส้นเมอริเดียนเริ่มแรก ถือว่าเป็นเส้นแบ่งเขตวันระหว่างชาติ เป็นเส้นที่เพิ่มวันใหม่และสิ้นสุดวันเก่า ผู้เดินทางจะไปทางตะวันตก โดยข้ามเส้นเขตวันจะต้องลดลงหนึ่งวัน และถ้าข้ามเส้นวันไปทางตะวันออกก็ต้องเพิ่มวันอีกหนึ่งวัน
 
เวลามาตรฐาน คือ เวลาที่คิดตามเส้นเมอริเดียนมาตรฐาน เส้นเมอริเดียนทุก 15 องศา เวลาจะต่างกัน 1 ชั่วโมง เช่น เที่ยงวันที่เมอริเดียนเริ่มแรกที่เส้นลองจิจูด 15,30,45 องศาตะวันออก จะเป็นเวลา 13.00 น,14.00 น,15.00 น ตามลำดับ ส่วนเส้นลองจิจูดที่ 15,30,45 องศาตะวันตก จะเป็นเวลา 11.00 น, 10.00 น. และ9.00 น. เวลาท้องถิ่นคือเวลาที่เป็นจริงตามความความแตกต่างกันของเส้นลองจิจูดแต่ละ เส้นเวลาจะต่างกัน 4 นาที ฉะนั้นเวลาของตำบลต่างๆ ในโลกจะต่างกัน เช่น ไทยอยู่ลองจิจูดที่ 105 องศา เวลาของไทยจึงเร็วกว่าที่กรีนิช 7 ชั่วโมง เพราะไทยกับกรีนิช อยู่ห่างกัน 105 องศา ( 15 องศา เวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง) สำหรับเวลาในประเทศไทย เพื่อความสะดวกในการทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันถือว่า อยู่ในเขตเวลาเดียวกัน เวลาแต่ละจังหวัดในประเทศไทย จึงเป็นเวลาเดียวกัน
 

กิจกรรมที่ 2 ให้ผู้เรียนหาเวลาของสถานที่ต่างๆ ดังนี้
          1. ถ้าเมือง ก เป็นเวลาเที่ยง ให้หาเวลาท้องถิ่นของเมือง ข ซึ่งอยู่ทางตะวันออก
         ของเมือง ก 60 องศา
         2. ตำบล ก อยู่ที่ลองติจูด 100 องศาตะวันออก เป็นเวลา 15.00 น. วันอังคาร อยากทราบว่า ตำบล ข ซึ่งอยู่ที่ 90 องศาตะวันตก จะเป็นเวลาอะไร?   และวันอะไร?


การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีอื่นๆ

   นอกจากการใช้แผนที่ทั่วไปเพื่อศึกษาพื้นที่ในแต่ละบริเวณแล้ว ยังมีเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการหาข้อมูล เช่น การศึกษาภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่าย จากดาวเทียม เราสามารถค้นหาข้อมูลและสภาวะแวดล้อมต่างๆ ที่ต้องการได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือหาข้อมูล จากระบบ GIS (Geographic Information System)
     
ภาพถ่ายทางอากาศ หมายถึง รูปถ่ายของภูมิประเทศที่ได้จากการถ่ายรูปโดยนำกล้องถ่ายรูป ขึ้นไปกับอากาศยาน แล้วเปิดหน้ากล้องปล่อยให้แสงสะท้อนจากสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏอยู่เบื้องล่างเข้าสู่เลนส์ กล้องถ่ายรูป และผ่านกรรมวิธีล้างและอัดภาพ จะได้รูปถ่ายที่มีภาพของรายละเอียดอยู่บนพื้นผิวภูมิประเทศ ความเข้มของสิ่งต่างๆ ในรูปถ่ายทางอากาศ จะบอกถึงความแตกต่างกันทั้งทางด้านภูมิศาสตร์กายภาพ พืชพรรณธรรมชาติ และก็จะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล
 

 ภาพถ่ายจากดาวเทียม หมายถึง ภาพถ่ายที่ได้จากการบันทึกข้อมูลของดาวเทียม ด้วยอุปกรณ์ บันทึกข้อมูล (Sensor) ด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อบันทึกข้อมูลในลักษณะของช่วงคลื่น ข้อมูลที่ได้ จากภาพถ่ายดาวเทียมจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลาย ๆ สาขา เช่น ลักษณะภูมิประเทศ ธรณีวิทยา การเกษตร สิ่งแวดล้อม การวางผังเมือง โบราณคดี อุตุนิยมวิทยา การแก้ไขแผนที่ และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
 

    
   อ้างอิง     https://ecurriculum.mv.ac.th/social/social/m4/sara5/unit2/lesson1/map1/geo02_7.html

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=395

อัพเดทล่าสุด